The impact of delayed graft funcion on patients and graft survival in cadaveric kidney transplant recipients at Siriraj Hospital, Thailand

dc.contributor.authorSukgunya Piakhummueang
dc.date.accessioned2024-02-08T02:09:52Z
dc.date.available2024-02-08T02:09:52Z
dc.date.copyright2010
dc.date.created2010
dc.date.issued2010
dc.descriptionEpidemiology (Mahidol University 2010)
dc.description.abstractภาวะไตทำงานล่าช้าเป็นภาวะแทรกซ้อนภายหลังการผ่าตัดเปลี่ยนไตที่สำคัญ ซึ่งส่งผลกระทบ ต่อไตใหม่ที่ได้รับทั้งทันทีภายหลังการผ่าตัด และระยะยาว การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการศึกษา ปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัพันธ์ต่อการเกิดภาวะไตทำงานล่าช้า และระยะเวลาที่ไตทำงานภายหลังการผ่าตัด โดยทำการศึกษาแบบย้อนหลัง ในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดปลูกถ่ายตัดจากผู้บริจาคที่เสียชีวิต จากภาวะสมองตายของโรงพยาบาลศิริราชในช่วงเดือนมกราคม 2545 ถึง มกราคม 2552 จำนวน 140 ราย ที่มี ภาวะไตทำงานล่าช้าภายหลังการผ่าตัด และศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการเกิดภาวะไตทำงานล่าช้า โดย ศึกษาปัจจัย 3 ด้านได้แก่ ปัจจัยของผู้รับบริจาค (อายุ ,เพศ และ ระยะเวลาฟอกเลือด) , ปัจจัยผู้บริจาค (เพศ, อายุและสาเหตุการเสียชีวิต) ปัจจัยในส่วนของ transplant factors ( PRA, HLA,CIT และการได้รับ ยาในกลุ่ม IL-2 ก่อนการผ่าตัด) จากการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงซ้อนโดยการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุแบบลอจิสติก พบว่าระยะเวลา ฟอกเลือดก่อนได้รับการผ่าตัดที่ มากกว่า 24 เดือน มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดภาวะไตทำงานล่าช้าอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ (OR= 4.167vs10.47, 95%CI=1.260-13.83vs1.93-56.74, p =0.020vs.006). ในด้านของผู้บริจาค นั้น ผุ้บริจาคที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 50 ปี สาเหตุของการเสียชีวิต จาก CVA มีความสัมพันธ์ต่อการเกิด ภาวะไตทำงานล่าช้าแต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับปัจจัยอื่น ๆนั้นไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ อัตราการเกิดภาวะไตทำงานล่าช้าภายหลังการผ่าตัดคือ 80.7 % โดยอัตราการทำงานของไต ภายหลังการผ่าตัดถึงสิ้นสุดการศึกษาที่ 7 ปี ในกลุ่ม DGF และ IGF คือ 56.3 % และ 89 % ซึ่งแตกต่างกันอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.016 ) , ปัจจัยอื่น ๆ ได้แก่ CIT < 24 ชั่วโมง และ > 24 ชั่วโมง 76ราย (79.2%), 29ราย (85.3%), HLA < 3 mismatch 50ราย (78.1%), HLA > 3 mismatch 51 ราย (81%), PRA < 30% 101ราย (81.5%), PRA> 30% 12ราย (75%) และจำนวนผู้ป่วยที่ได้รับและไม่ได้รับ induction therapy 38 ราย (84.4%) และ 75ราย (78.9%)ไม่มีความสัมพันธ์ต่ออัตราการทำงานของไตภายหลังการผ่าตัด ภาวะ DGF มีผลต่ออัตราการทำงานของไตในระยะยาว การป้องกัน หรือ ลดสาเหตุของการ เกิดภาวะ DGF จะมีประโยชน์อย่างมากต่อการผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ
dc.format.extentxi, 72 leaves : ill.
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.identifier.citationThesis (M.Sc. (Epidemiology))--Mahidol University, 2010
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/95486
dc.language.isoeng
dc.publisherMahidol University. Mahidol University Library and Knowledge Center
dc.rightsผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
dc.rights.holderMahidol University
dc.subjectDonation of organs, tissues, etc
dc.subjectKidneys -- Transplantation
dc.subjectTransplantation of organs, tissues, etc.
dc.titleThe impact of delayed graft funcion on patients and graft survival in cadaveric kidney transplant recipients at Siriraj Hospital, Thailand
dc.title.alternativeผลกระทบของภาวะไตทำงานล่าช้าต่อภาวะรอดชีพของผู้ป่วยและไตที่ได้รับการปลูกถ่ายในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดปลูกถ่ายไตจากผู้บริจาคที่เสียชีวิตด้วยภาวะสมองตายที่โรงพยาบาลศิริราช, ประเทศไทย
dc.typeMaster Thesis
dcterms.accessRightsopen access
mods.location.urlhttp://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2553/cd446/4837157.pdf
thesis.degree.departmentFaculty of Medicine Siriraj Hospital
thesis.degree.disciplineEpidemiology
thesis.degree.grantorMahidol University
thesis.degree.levelMaster's degree
thesis.degree.nameMaster of Science

Files