Formulation of modified fat butter cake using ocimum canum mucilage as a fat replacer
dc.contributor.advisor | Anadi Nitithamyong | |
dc.contributor.advisor | Sitima Jittinandana | |
dc.contributor.author | Kwankaew Kangsadalampai | |
dc.date.accessioned | 2024-02-07T02:13:30Z | |
dc.date.available | 2024-02-07T02:13:30Z | |
dc.date.copyright | 2011 | |
dc.date.created | 2011 | |
dc.date.issued | 2011 | |
dc.description | Food and Nutrition for Development (Mahidol University 2011) | |
dc.description.abstract | การศึกษานี้เป็นการลดปริมาณไขมัน (เนย) ในเค้กเนย โดยการใช้สารสกัดจากเมล็ดแมงลักมา ทดแทน โดยลดปริมาณเนยลงเป็น 4 ระดับคือ 75, 50, 25 และ 0% ของน้ำหนักเนยในสูตรมาตรฐาน และแต่ละ ระดับ จะมีการเติมสารสกัดจากแมงลัก 0, 5 และ 10% โดยน้ำหนักของเนยในสูตรมาตรฐาน เค้กเนยแต่ละ สูตรนำมาทดสอบทางประสาทสัมผัส โดยใช้ 9-point hedonic scale ซึ่งคะแนน 9=ชอบมากที่สุด, 5=เฉย ๆ และ 1=ไม่ชอบมากที่สุด ทดสอบเนื้อสัมผัสของเค้กเนยโดยเครื่องวัดเนื้อสัมผัส TA-XTPlus วัดค่าความแน่น เนื้อ (Firmness) และการคืนตัว (Springiness) วัดค่าสีในระบบ L*a*b* และวัดปริมาณน้ำอิสระ (Water Activity) และมีการเก็บผลิตภัณฑ์ไว้ 5 วัน ที่อุณหภูมิห้องเพื่อทดสอบการเก็บรักษา โดยวัดเนื้อสัมผัส และ ปริมาณน้ำอิสระที่วันที่ 3 และ 5 ผลการทดสอบทางประสาทสัมผัสพบว่า การลดปริมาณเนยลงเหลือ 75 และ 50% ของน้ำหนักเนย ในทุกระดับการทดแทนด้วยสารสกัดจากแมงลัก ได้รับการยอมรับจากผู้ชิม (คะแนนอยู่ ระหว่าง 6.80 ถึง 7.14) ในระดับที่ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติจากสูตรมาตรฐาน (7.30) สำหรับการวัดเนื้อสัมผัส ค่าความแน่นเนื้อมีแนวโน้มที่จะลดลง เมื่อมีการลดปริมาณเนย ในขณะที่ค่าการคืน ตัว มีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้น การเพิ่มปริมาณของสารสกัดจากแมงลักไม่แสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงอย่าง ชัดเจนนัก ผลการวัดค่าสีพบว่า ค่าความสว่าง (L*) เพิ่มขึ้นเป็นลำดับเมื่อลดปริมาณเนยลง ในขณะที่ค่าสี เหลือง (b*) มีแนวโน้มที่จะลดลงเล็กน้อยเมื่อมีการลดปริมาณเนย การเพิ่มสารสกัดจากเมล็ดแมงลักไม่ทำให้ เกิดความแตกต่างด้านสี ในส่วนของค่าของปริมาณน้ำอิสระ ไม่พบความแตกต่างในทุกสูตร การเก็บรักษา เมื่อถึงวันที่ 5 พบว่าค่าปริมาณน้ำอิสระเพิ่มขึ้นเล็กน้อย บางสูตรมีราขึ้นที่ผิวหน้าอย่างเห็นได้ชัด ทำให้ไม่ สามารถทดสอบคุณภาพได้ สูตรที่เหลือในวันที่ 5 มีค่าความแน่นเนื้อและค่าการคืนตัวใกล้เคียงกับค่าเริ่มต้น ดังนั้นเค้กเนยดัดแปลงไขมันที่พัฒนาขึ้นสามารถเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้องประมาณ 3 วันโดยไม่ใช้วัตถุกันเสีย เค้กเนยเหล่านี้จึงเป็นทางเลือกสำหรับผู้บริโภคที่ใส่ใจต่อสุขภาพและผู้ป่วยที่จำกัดการบริโภคไขมัน | |
dc.format.extent | x, 87 leaves : ill. (some col.) | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.identifier.citation | Thesis (M.Sc. (Food and Nutrition for Development))--Mahidol University, 2011 | |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/94994 | |
dc.language.iso | eng | |
dc.publisher | Mahidol University. Mahidol University Library and Knowledge Center | |
dc.rights | ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า | |
dc.rights.holder | Mahidol University | |
dc.subject | Baking | |
dc.subject | Cake | |
dc.subject | Ocimum Canum | |
dc.subject | Low-fat foods | |
dc.title | Formulation of modified fat butter cake using ocimum canum mucilage as a fat replacer | |
dc.title.alternative | การพัฒนาสูตรเค้กเนยดัดแปลงไขมันโดยใช้สารสกัดจาก ocimum canum (แมงลัก) เป็นสารทดแทนไขมัน | |
dc.type | Master Thesis | |
dcterms.accessRights | open access | |
mods.location.url | http://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2553/cd448/5037420.pdf | |
thesis.degree.department | Institute of Nutrition | |
thesis.degree.discipline | Food and Nutrition for Development | |
thesis.degree.grantor | Mahidol University | |
thesis.degree.level | Master's degree | |
thesis.degree.name | Master of Science |