The motivation approach for dietary control on blood pressure and weight reduction among overweight/obese hypertensive patients
Issued Date
2013
Copyright Date
2013
Resource Type
Language
eng
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
xi, 158 leaves
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
Mahidol University
Bibliographic Citation
Thesis (M.Sc. (Food and Nutrition for Development))--Mahidol University, 2013
Suggested Citation
Sumitta Vuttisinaksara The motivation approach for dietary control on blood pressure and weight reduction among overweight/obese hypertensive patients. Thesis (M.Sc. (Food and Nutrition for Development))--Mahidol University, 2013. Retrieved from: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/95154
Title
The motivation approach for dietary control on blood pressure and weight reduction among overweight/obese hypertensive patients
Alternative Title(s)
การสร้างแรงจูงใจในการควบคุมอาหารเพื่อลดความดันโลหิตและน้ำหนักตัวในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีน้ำหนักตัวเกิน/อ้วน
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
โรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี การดูแลตนเองเพื่อป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อนจึงเป็นเรื่องสำคัญ การศึกษานี้เป็นการศึกษากึ่งทดลองที่ต้องการพัฒนากิจกรรมโดยใช้ทฤษฎีแรงจูงใจร่วมกับการบริโภคอาหารแบบแดช ไดเอท เพื่อควบคุมความดันโลหิตและนํ้าหนักตัวในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มีนํ้าหนักตัวเกินหรืออ้วน ซึ่งประกอบด้วย 5 หัวข้อ 13 กิจกรรม โดยเนื้อหาภายในกิจกรรมประกอบด้วย ความรู้โรคความดันโลหิตสูง ความรู้ทางด้านโภชนาการ อาหารแลกเปลี่ยนการวางแผนอาหาร การลดการบริโคโซเดียม การเลือกชนิดของไขมันโดยผู้ที่เข้าร่วมการศึกษานี้มีทั้งหมด 80 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละเท่าๆกัน โดยกลุ่มทดลองจะเข้าร่วมกิจกรรมเป็นระยะเวลา 6 เดือนๆละ 1 ครั้ง เช่นเดียวกับกลุ่มควบคุม จะมีการนัดหมายเดือนละ 1 ครั้ง เป็นระยะเวลา 6 เดือน ทั้ง 2 กลุ่มจะได้รับการประเมินทัศนคติ ความรู้ การวัดสัดส่วนของร่างกาย การประเมินอาหารที่บริโภค และ วัดความดันโลหิต ผลการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยของนํ้าหนักตัวในกลุ่มทดลองลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับก่อนการทดลอง คือ 76.34±12.64 และ75.05±12.64 กิโลกรัม ค่าเฉลี่ยความดันตัวบนและความดันตัวล่างลดลงอย่างมีนัยสำคัญคือ 154.65±13.14 และ 134.25±12.99 mmHg และ 88.58±8.16 และ 78.98±7.88 mmHg ตามลำดับ นอกจากนี้ ค่าเฉลี่ยของไขมันในช่องท้องและปริมาณโซเดียมที่รับประทาน ลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับก่อนการทดลอง ในขณะที่ คะแนนความรู้เฉลี่ยและคะแนนทัศนคติหลังจากที่สิ้นสุดการศึกษาพบว่า มีคะแนนดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมพบว่า ค่าเฉลี่ยนํ้าหนักและไขมันในช่องท้องแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ค่าเฉลี่ยความดันโลหิตลดลงอย่างมีนัยสำคัญทั้ง 2 กลุ่ม อย่างไรก็ตามไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ยังพบว่า คะแนนความรู้เฉลี่ยและคะแนนทัศนคติ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นแต่ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ผลการศึกษานี้สรุปได้ว่า กิจกรรมสร้างแรงจูงใจช่วยให้มีความรู้และทัศนคติเพิ่มขึ้นในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มีนํ้าหนักตัวเกินหรืออ้วน และยังช่วยในการควบคุมความดันโลหิตและลดนํ้าหนักตัวในผู้ป่วยกลุ่มนี้ด้วย
Description
Food and Nutrition for Development (Mahidol University 2013)
Degree Name
Master of Science
Degree Level
Master's degree
Degree Department
Institute of Nutrition
Degree Discipline
Food and Nutrition for Development
Degree Grantor(s)
Mahidol University