The motivation approach for dietary control on blood pressure and weight reduction among overweight/obese hypertensive patients
dc.contributor.advisor | Sunard Taechangam | |
dc.contributor.advisor | Chanida Pachotikarn | |
dc.contributor.author | Sumitta Vuttisinaksara | |
dc.date.accessioned | 2024-02-07T02:14:21Z | |
dc.date.available | 2024-02-07T02:14:21Z | |
dc.date.copyright | 2013 | |
dc.date.created | 2013 | |
dc.date.issued | 2013 | |
dc.description | Food and Nutrition for Development (Mahidol University 2013) | |
dc.description.abstract | โรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี การดูแลตนเองเพื่อป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อนจึงเป็นเรื่องสำคัญ การศึกษานี้เป็นการศึกษากึ่งทดลองที่ต้องการพัฒนากิจกรรมโดยใช้ทฤษฎีแรงจูงใจร่วมกับการบริโภคอาหารแบบแดช ไดเอท เพื่อควบคุมความดันโลหิตและนํ้าหนักตัวในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มีนํ้าหนักตัวเกินหรืออ้วน ซึ่งประกอบด้วย 5 หัวข้อ 13 กิจกรรม โดยเนื้อหาภายในกิจกรรมประกอบด้วย ความรู้โรคความดันโลหิตสูง ความรู้ทางด้านโภชนาการ อาหารแลกเปลี่ยนการวางแผนอาหาร การลดการบริโคโซเดียม การเลือกชนิดของไขมันโดยผู้ที่เข้าร่วมการศึกษานี้มีทั้งหมด 80 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละเท่าๆกัน โดยกลุ่มทดลองจะเข้าร่วมกิจกรรมเป็นระยะเวลา 6 เดือนๆละ 1 ครั้ง เช่นเดียวกับกลุ่มควบคุม จะมีการนัดหมายเดือนละ 1 ครั้ง เป็นระยะเวลา 6 เดือน ทั้ง 2 กลุ่มจะได้รับการประเมินทัศนคติ ความรู้ การวัดสัดส่วนของร่างกาย การประเมินอาหารที่บริโภค และ วัดความดันโลหิต ผลการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยของนํ้าหนักตัวในกลุ่มทดลองลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับก่อนการทดลอง คือ 76.34±12.64 และ75.05±12.64 กิโลกรัม ค่าเฉลี่ยความดันตัวบนและความดันตัวล่างลดลงอย่างมีนัยสำคัญคือ 154.65±13.14 และ 134.25±12.99 mmHg และ 88.58±8.16 และ 78.98±7.88 mmHg ตามลำดับ นอกจากนี้ ค่าเฉลี่ยของไขมันในช่องท้องและปริมาณโซเดียมที่รับประทาน ลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับก่อนการทดลอง ในขณะที่ คะแนนความรู้เฉลี่ยและคะแนนทัศนคติหลังจากที่สิ้นสุดการศึกษาพบว่า มีคะแนนดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมพบว่า ค่าเฉลี่ยนํ้าหนักและไขมันในช่องท้องแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ค่าเฉลี่ยความดันโลหิตลดลงอย่างมีนัยสำคัญทั้ง 2 กลุ่ม อย่างไรก็ตามไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ยังพบว่า คะแนนความรู้เฉลี่ยและคะแนนทัศนคติ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นแต่ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ผลการศึกษานี้สรุปได้ว่า กิจกรรมสร้างแรงจูงใจช่วยให้มีความรู้และทัศนคติเพิ่มขึ้นในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มีนํ้าหนักตัวเกินหรืออ้วน และยังช่วยในการควบคุมความดันโลหิตและลดนํ้าหนักตัวในผู้ป่วยกลุ่มนี้ด้วย | |
dc.format.extent | xi, 158 leaves | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.identifier.citation | Thesis (M.Sc. (Food and Nutrition for Development))--Mahidol University, 2013 | |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/95154 | |
dc.language.iso | eng | |
dc.publisher | Mahidol University. Mahidol University Library and Knowledge Center | |
dc.rights | ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า | |
dc.rights.holder | Mahidol University | |
dc.subject | Motivation | |
dc.subject | Hypertension | |
dc.subject | Psychological Theory | |
dc.subject | Hypertension -- Diet therapy | |
dc.title | The motivation approach for dietary control on blood pressure and weight reduction among overweight/obese hypertensive patients | |
dc.title.alternative | การสร้างแรงจูงใจในการควบคุมอาหารเพื่อลดความดันโลหิตและน้ำหนักตัวในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีน้ำหนักตัวเกิน/อ้วน | |
dc.type | Master Thesis | |
dcterms.accessRights | open access | |
mods.location.url | http://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2555/cd472/5136844.pdf | |
thesis.degree.department | Institute of Nutrition | |
thesis.degree.discipline | Food and Nutrition for Development | |
thesis.degree.grantor | Mahidol University | |
thesis.degree.level | Master's degree | |
thesis.degree.name | Master of Science |