Recovery of functional abilities after treatment for 3 months in stroke patients who did not receive recombinant tissue plasminogen activator therapy : the comparison between patients who arrived at a hospital within 4.5 hours and those who arrived after 4.5 hours of symptom onset

dc.contributor.advisorWeerasak Muangpaisan
dc.contributor.advisorWattanachai Chotinaiwattarakul
dc.contributor.authorSujittra Duangjit
dc.date.accessioned2024-02-07T02:13:34Z
dc.date.available2024-02-07T02:13:34Z
dc.date.copyright2012
dc.date.created2012
dc.date.issued2012
dc.descriptionEpidemiology (Mahidol University 2012)
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบติดตามไปข้างหน้า เพื่อศึกษาการฟื้นตัวด้านความสามารถในการ ประกอบกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ไม่ได้รับยาละลายลิ่มเลือดหลังรับการรักษา 3 เดือน : เปรียบเทียบระหว่างผู้ป่วยที่มาโรงพยาบาลเร็วภายใน 4.5 ชั่วโมงและมาช้ามากกว่า 4.5 ชั่วโมงหลังเกิดอาการ เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงตามคุณสมบัติเกณฑ์คัดเข้า-คัดออกที่กำหนดจำนวน 194 ราย เป็นผู้ป่วยที่เข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลสระบุรี เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ผู้ป่วยและ/หรือญาติ 2 ครั้ง ครั้งแรกในวันแรกที่ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาและครั้งที่ 2 จะสัมภาษณ์หลังจากนี้ 3 เดือนทำงโทรศัพท์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบบันทึก สำหรับการทำวิจัย ได้แก่ แบบประเมิน mRS, Barthel Index, NIHSS, GCS, และ WHOQOL-Bref-Thai วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สาเร็จรูป SPSS เวอร์ชั่น 19 ผู้ป่วยจำนวน 173 รายที่ได้รับการสัมภาษณ์ครบหลังรับการรักษา 3 เดือน (88 รายเป็นผู้ป่วยที่มา โรงพยาบาลเร็วและ 85 รายเป็นผู้ป่วยที่มาโรงพยาบาลช้า) ผลการศึกษาพบว่าในวันแรกที่ผู้ป่วยเข้ารับการรักษา ความรุนแรงของโรค (คะแนน NIHSS ตั้งแต่ 15 ขึ้นไป) ของผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่มมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทำงสถิติ (p=0.003) โดยผู้ป่วยที่มาโรงพยาบาลเร็วจะมีความรุนแรงของโรคมากกว่าผู้ป่วยที่มาโรงพยาบาลช้า และที่ 3 เดือนหลังรับการรักษา การฟื้นตัวโดยใช้แบบประเมิน mRS, Barthel Index และ WHOQOL-Bref-Thai ของผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่มไม่แตกต่างกัน (p>0.05) เมื่อวิเคราะห์ถึงปัจจัยที่สามารถทำนายการฟื้นตัวด้านความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ไม่ได้รับยาละลายลิ่มเลือดที่มีระดับคะแนนความสามารถในการช่วยเหลือตนเองดีขึ้นหลังรับการรักษา 3 เดือน พบว่า อายุ ความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันก่อนเกิดโรค คะแนนความรุนแรงของโรค และความสามารถในการช่วยเหลือตนเองของการประเมินในวันแรกที่ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เป็นตัวแปรที่ส่งผลต่อการฟื้นตัวของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอย่างมีนัยสาคัญทำงสถิติ (p<0.05) ข้อมูลจากการวิจัยนี้อาจนำไปใช้ในการทำนายการฟื้นตัวด้านความสามารถในการประกอบกิจวัตร ประจำวันของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ไม่ได้รับยาละลายลิ่มเลือด
dc.format.extentxi, 117 leaves : ill.
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.identifier.citationThesis (M.Sc. (Epidemiology))--Mahidol University, 2012
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/95013
dc.language.isoeng
dc.publisherMahidol University. Mahidol University Library and Knowledge Center
dc.rightsผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
dc.rights.holderMahidol University
dc.subjectRecovery of Function
dc.subjectStroke
dc.subjectTissue Plasminogen Activator
dc.titleRecovery of functional abilities after treatment for 3 months in stroke patients who did not receive recombinant tissue plasminogen activator therapy : the comparison between patients who arrived at a hospital within 4.5 hours and those who arrived after 4.5 hours of symptom onset
dc.title.alternativeการฟื้นตัวด้านความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ไม่ได้รับยาละลายลิ่มเลือดหลังรับการรักษา 3 เดือน : เปรียบเทียบระหว่างผู้ป่วยที่มาโรงพยาบาลเร็วภายใน 4.5 ชั่งโมงและมาช้ามากกว่า 4.5 ชั่วโมงหลังเกิดอาการ
dc.typeMaster Thesis
dcterms.accessRightsopen access
mods.location.urlhttp://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2555/cd471/5236048.pdf
thesis.degree.departmentFaculty of Public Health
thesis.degree.disciplineEpidemiology
thesis.degree.grantorMahidol University
thesis.degree.levelMaster's degree
thesis.degree.nameMaster of Science

Files