ความรู้และการปฏิบัติเกี่ยวกับโรคเอดส์ของนักเรียนหูหนวก มัธยมศึกษา 1-6 โรงเรียนโสตศึกษา

dc.contributor.authorวิไล กุศลวิศิษฎ์en_US
dc.contributor.authorดุษฎี สินเดิมสุขen_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาชีวสถิติen_US
dc.date.accessioned2015-09-30T02:59:00Z
dc.date.accessioned2021-09-15T16:06:19Z
dc.date.available2015-09-30T02:59:00Z
dc.date.available2021-09-15T16:06:19Z
dc.date.created2558-09-30
dc.date.issued2538
dc.descriptionการประชุมวิชาการสาธารณสุขแห่งชาติ ครั้งที่ 7 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิถีชีวิตไทยยุคโลกาภิวัฒน์กับกระบวนทัศน์ในการพัฒนาสุขภาพ, 6-8 ธันวาคม 2538 ณ โรงแรมเอเซีย กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2538. หน้า 164-165.en
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ ศึกษาและเปรียบเทียบความรู้และการปฏิบัติตัวเกี่ยวกับโรคเอดส์ ของนักเรียนหูหนวกระดับชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนโสตศึกษา ในด้านอาจารย์ ศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนการสอน เรื่องโรคเอดส์ และการปฏิบัติตัวของนักเรียนที่เสี่ยงต่อการติดโรคเอดส์ วิธีการ ใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ เก็บข้อมูลจากนักเรียนโดยให้กรอกแบบสอบถามเอง สุ่มตัวอย่างนักเรียน 334 คน เก็บข้อมูลในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน 2537 ใช้สถิติพรรณาสถิติทดสอบทีและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และทำการสัมภาษณ์ระดับลึกกับอาจารย์ที่เกี่ยวข้องกับการสอนเรื่องโรคเอดส์ 11 ท่าน ผลการวิจัย 1. นักเรียนมีความรู้ในระดับปานกลาง มีการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องเป็นส่วนมาก แต่ยังคงมีการปฏิบัติตัวที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคเอดส์อยู่บ้าง 2. คะแนนความรู้ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นสูงกว่าตอนปลาย (P-value = 0.0270) แต่คะแนนการปฏิบัติตัวไม่แตกต่างกัน (P-value = 0.0830) 3. เพศชายมีคะแนนความรู้และการปฏิบัติต่ำกว่าเพศหญิง (P-value = 0.0005 และ < 0.0001 ตามลำดับ) 4. นักเรียนที่พักอยู่ที่หอพักของโรงเรียนมีคะแนนความรู้และการปฏิบัติสูงกว่านักเรียนที่พักอยู่นอกโรงเรียน (P-value < 0.0001 และ 0.0020 ตามลำดับ 5. สภาพครอบครัวที่ต่างกัน คะแนนความรู้และการปฏิบัติไม่มีความแตกต่างกัน (P-value = 0.4795 และ 0.2950 ตามลำดับ) 6. ความรู้และการปฏิบัติพบว่ามีความสัมพันธ์กันในทางบวก (r = 0.2019) 7. จากการสัมภาษณ์ระดับลึกพบว่า อาจารย์ใช้เอกสารการสอนเรื่องโรคเอดส์ของกระทรวงศึกษา และจากหน่วยงานทางสาธารณุสข สอนโดยใช้ภาษามือ นักเรียนมีข้อจำกัดต่อการเรียนรู้เพราะสูญเสียการได้ยิน สื่อการสอนเรื่องเอดส์ที่เหมาะสมกับนักเรียนหูหนวกคือสื่อ วีดีโอ พฤติกรรมของนักเรียนที่เสี่ยงต่อการติดโรคเอดส์มีเหมือนวัยรุ่นทั่วๆไป ข้อเสนอแนะ ควรให้ความรู้เรื่องโรคเอดส์ในทุกระดับชั้นเรียน โดยเน้นเรื่องวิธีการติดต่อและการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรคเอดส์ โดยเฉพาะในนักเรียนชาย โรงเรียนควรทำโครงการหรือกิจกรรมเรื่องโรคเอดส์อย่างสม่ำเสมอ สื่อการสอนต่างควรได้รับการสนับสนุนเพื่อช่วยเพิ่มความรู้และการปฏิบัติตัวเกี่ยวกับโรคเอดส์en_US
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/63559
dc.language.isothaen_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.subjectนักเรียนหูหนวกen_US
dc.subjectโรคเอดส์en_US
dc.subjectโรงเรียนen_US
dc.subjectโสตศึกษาen_US
dc.titleความรู้และการปฏิบัติเกี่ยวกับโรคเอดส์ของนักเรียนหูหนวก มัธยมศึกษา 1-6 โรงเรียนโสตศึกษาen_US
dc.typeProceeding Abstracten_US

Files

License bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Plain Text
Description: