ผลของโปรแกรมการกำกับตนเองต่อพฤติกรรมการควบคุมอาหารของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2
Issued Date
2558
Copyright Date
2558
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ฌ, 137 แผ่น
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (สุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2558
Suggested Citation
สุกาญจน์ อยู่คง ผลของโปรแกรมการกำกับตนเองต่อพฤติกรรมการควบคุมอาหารของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2. วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (สุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2558. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92659
Title
ผลของโปรแกรมการกำกับตนเองต่อพฤติกรรมการควบคุมอาหารของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2
Alternative Title(s)
Effects of self-regulation program on diet control for patients with type 2 diabetes
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการกำกับตนเองต่อพฤติกรรมการควบคุมอาหารของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เข้ารับการรักษาในสถานีกาชาดที่ 2 กรุงเทพมหานคร และไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ รูปแบบการวิจัยเป็นแบบทดลองกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง (One-group pre-test post-test experiment) กลุ่มทดลอง จำนวน 28 คน เข้าร่วมโปรแกรมการกำกับตนเอง กิจกรรมการทดลองประกอบด้วย การบรรยายประกอบสไลด์ การอภิปรายกลุ่ม การฝึกทักษะเลือกรับประทานอาหาร การใช้ตัวแบบทั้งมีชีวิตและตัวแบบสัญลักษณ์ ระยะเวลาในการทดลองนาน 8 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังการทดลอง ด้านการรับรู้ ความสามารถตนเอง ความคาดหวังในผลดีของการปฏิบัติตัวด้านการควบคุมอาหาร และพฤติกรรมการควบคุมอาหารด้วยสถิติ Paired Samples t-test ผลการศึกษาพบว่าโปรแกรมการกำกับตนเอง มีผลทำให้ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ รับรู้ความสามารถตนเอง (p < 0.001) มีความคาดหวังในผลดีของการปฏิบัติตัวด้านการควบคุมอาหาร (p < 0.001) และมีพฤติกรรมการควบคุมอาหาร ซึ่งดีขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แสดงให้เห็นว่า โปรแกรมการกากับตนเองมีผลทำให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มีพฤติกรรมการควบคุมอาหารดีขึ้น ข้อเสนอแนะจากงานวิจัยโปรแกรมการกากับตนเองนี้สามารถนำรูปแบบการจัดกิจกรรมดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ เพื่อการควบคุมอาหารในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ เพื่อควบคุมและยังสามารถป้องกัน ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานได้อีกด้วย
The purpose of this quasi experimental research was to study selfregulation program on diet control for patients with type 2 diabetes that were unable to control blood glucose and were treated at Red Cross station 2, Bangkok. The methodology was one-group pre-test and post-test design experiment of 28 patients who had joined self-regulation program. The self - regulation program consisted of providing nutrition knowledge with slides presentation, group discussion, practical skill for food selection and applied both life and symbolic models in 8 weeks. Data was collected by questionnaires. The statistics were analyzed by percentage, mean and standard deviation. Paired samples t-test was used to compare between average before and after participating a self regulation program. The results of this study showed that samplings have increased in self-perception efficiency (p<0.001), outcome expectancy (p<0.001) and self-regulation on diet control behavior. These results showed that a self-regulation program regulates diet behavior of type 2 diabetes patients. This research suggested applying the self-regulation program to regulate diet cannot control blood glucose of diabetes patients and protect from complications from diabetes
The purpose of this quasi experimental research was to study selfregulation program on diet control for patients with type 2 diabetes that were unable to control blood glucose and were treated at Red Cross station 2, Bangkok. The methodology was one-group pre-test and post-test design experiment of 28 patients who had joined self-regulation program. The self - regulation program consisted of providing nutrition knowledge with slides presentation, group discussion, practical skill for food selection and applied both life and symbolic models in 8 weeks. Data was collected by questionnaires. The statistics were analyzed by percentage, mean and standard deviation. Paired samples t-test was used to compare between average before and after participating a self regulation program. The results of this study showed that samplings have increased in self-perception efficiency (p<0.001), outcome expectancy (p<0.001) and self-regulation on diet control behavior. These results showed that a self-regulation program regulates diet behavior of type 2 diabetes patients. This research suggested applying the self-regulation program to regulate diet cannot control blood glucose of diabetes patients and protect from complications from diabetes
Description
สุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2558)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
คณะสาธารณสุขศาสตร์
Degree Discipline
สุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล