ผลของโปรแกรมการกำกับตนเองต่อพฤติกรรมการควบคุมอาหารของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2
dc.contributor.advisor | มลินี สมภพเจริญ | |
dc.contributor.advisor | ธราดล เก่งการพานิช | |
dc.contributor.advisor | ทัศนีย์ รวิวรกุล | |
dc.contributor.author | สุกาญจน์ อยู่คง | |
dc.date.accessioned | 2024-01-13T05:17:14Z | |
dc.date.available | 2024-01-13T05:17:14Z | |
dc.date.copyright | 2558 | |
dc.date.created | 2567 | |
dc.date.issued | 2558 | |
dc.description | สุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2558) | |
dc.description.abstract | การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการกำกับตนเองต่อพฤติกรรมการควบคุมอาหารของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เข้ารับการรักษาในสถานีกาชาดที่ 2 กรุงเทพมหานคร และไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ รูปแบบการวิจัยเป็นแบบทดลองกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง (One-group pre-test post-test experiment) กลุ่มทดลอง จำนวน 28 คน เข้าร่วมโปรแกรมการกำกับตนเอง กิจกรรมการทดลองประกอบด้วย การบรรยายประกอบสไลด์ การอภิปรายกลุ่ม การฝึกทักษะเลือกรับประทานอาหาร การใช้ตัวแบบทั้งมีชีวิตและตัวแบบสัญลักษณ์ ระยะเวลาในการทดลองนาน 8 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังการทดลอง ด้านการรับรู้ ความสามารถตนเอง ความคาดหวังในผลดีของการปฏิบัติตัวด้านการควบคุมอาหาร และพฤติกรรมการควบคุมอาหารด้วยสถิติ Paired Samples t-test ผลการศึกษาพบว่าโปรแกรมการกำกับตนเอง มีผลทำให้ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ รับรู้ความสามารถตนเอง (p < 0.001) มีความคาดหวังในผลดีของการปฏิบัติตัวด้านการควบคุมอาหาร (p < 0.001) และมีพฤติกรรมการควบคุมอาหาร ซึ่งดีขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แสดงให้เห็นว่า โปรแกรมการกากับตนเองมีผลทำให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มีพฤติกรรมการควบคุมอาหารดีขึ้น ข้อเสนอแนะจากงานวิจัยโปรแกรมการกากับตนเองนี้สามารถนำรูปแบบการจัดกิจกรรมดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ เพื่อการควบคุมอาหารในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ เพื่อควบคุมและยังสามารถป้องกัน ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานได้อีกด้วย | |
dc.description.abstract | The purpose of this quasi experimental research was to study selfregulation program on diet control for patients with type 2 diabetes that were unable to control blood glucose and were treated at Red Cross station 2, Bangkok. The methodology was one-group pre-test and post-test design experiment of 28 patients who had joined self-regulation program. The self - regulation program consisted of providing nutrition knowledge with slides presentation, group discussion, practical skill for food selection and applied both life and symbolic models in 8 weeks. Data was collected by questionnaires. The statistics were analyzed by percentage, mean and standard deviation. Paired samples t-test was used to compare between average before and after participating a self regulation program. The results of this study showed that samplings have increased in self-perception efficiency (p<0.001), outcome expectancy (p<0.001) and self-regulation on diet control behavior. These results showed that a self-regulation program regulates diet behavior of type 2 diabetes patients. This research suggested applying the self-regulation program to regulate diet cannot control blood glucose of diabetes patients and protect from complications from diabetes | |
dc.format.extent | ก-ฌ, 137 แผ่น | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.identifier.citation | วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (สุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2558 | |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92659 | |
dc.language.iso | tha | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.rights | ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า | |
dc.rights.holder | มหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.subject | การควบคุมตนเอง | |
dc.subject | เบาหวาน -- ผู้ป่วย | |
dc.subject | เบาหวาน -- โภชนบำบัด | |
dc.title | ผลของโปรแกรมการกำกับตนเองต่อพฤติกรรมการควบคุมอาหารของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 | |
dc.title.alternative | Effects of self-regulation program on diet control for patients with type 2 diabetes | |
dc.type | Master Thesis | |
dcterms.accessRights | open access | |
mods.location.url | http://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2557/cd498/5436842.pdf | |
thesis.degree.department | คณะสาธารณสุขศาสตร์ | |
thesis.degree.discipline | สุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์ | |
thesis.degree.grantor | มหาวิทยาลัยมหิดล | |
thesis.degree.level | ปริญญาโท | |
thesis.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |