Association between lifestyle factors and metabolic syndrome among population of Banphaeo, Samutsakorn, Thailand 2008
Issued Date
2011
Copyright Date
2011
Resource Type
Language
eng
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
xi, 89 leaves
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
Mahidol University
Bibliographic Citation
Thesis (M.Sc. (Infectious Diseases and Epidemiology))--Mahidol University, 2011
Suggested Citation
Nitikorn Phoosuwan Association between lifestyle factors and metabolic syndrome among population of Banphaeo, Samutsakorn, Thailand 2008. Thesis (M.Sc. (Infectious Diseases and Epidemiology))--Mahidol University, 2011. Retrieved from: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/94987
Title
Association between lifestyle factors and metabolic syndrome among population of Banphaeo, Samutsakorn, Thailand 2008
Alternative Title(s)
ปัจจัยทางวิถีชีวิตที่มีผลต่อการเกิดโรคเมตรบอลิกซินโดรมในประชาชนอำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร
Author(s)
Abstract
การศึกษาเชิงสังเกตแบบเคสคอนโทลในชุมชน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทางวิถีชีวิตและปัจจัยอื่นที่มีผลต่อโรคเมตาบอลิกซินโดรมในประชาชนอำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร การศึกษาใช้เกณฑ์โรคเมตาบอลิกซินโดรมจากรายงานฉบับที่ 3 ของ NCEP โดยกลุ่มประชากรศึกษาประกอบด้วยกลุ่มผู้ป่วยด้วยโรคเมตาบอลิกซินโดรมจำนวน 196 ราย และกลุ่มเปรียบเทียบที่ไม่มีโรคเมตาบอลิกซินโดรมจำนวน 212 ราย ที่มีอายุ 35 ถึง 60 ปี ที่เข้าร่วมโครงการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานที่ดำเนินการโดยกระทรวงสาธารณสุขในเดือนพฤศจิกายน 2550 ถึงเดือนมิถุนายน 2551 เก็บข้อมูลด้วยการเยี่ยมบ้านและโดยสัมภาษณ์ปัจจัยทางวิถีชีวิตในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ซึ่งได้แก่ ลักษณะของกิจกรรมทางกายจากการประกอบอาชีพ และการออกกำลัง กาย พฤติกรรมบริโภคอาหาร การดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ และสุขภาพจิต ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงซ้อนโดยการแยกเพศ พบว่าในเพศชายปัจจัยทางวิถีชีวิตหรือ พฤติกรรมที่มีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การมีอาชีพที่ส่วนใหญ่ของเวลาการทำงานไม่ได้เคลื่อนไหวหรือใช้แรงงาน (OR 2.82, 95%CI 1.22-6.55) และการบริโภคอาหารทะเลได้แก่ ปลาหมึก กุ้ง และหอย ไม่รวมปลา (OR 4.82, 95%CI 1.36-17.15) ในเพศหญิงไม่พบปัจจัยทางวิถีชีวิตที่มีนัยสำคัญทางสถิติ แต่พบว่าโอกาสที่เพศหญิงจะมี อาการ 3 ใน 5 ของเมตาบอลิกซินโดรมจะเพิ่มขึ้นทุกปีที่อายุเพิ่มขึ้นหนึ่งปี (OR 1.05, 95%CI 1.01-1.10) ผลการศึกษาชี้ให้เห็นถึงปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วนลงพุงในเพศชาย การพัฒนาและปรับปรุงกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพที่มีอยู่ เช่น การออกกำลังกาย จะสามารถลดอุบัติการณ์การเกิดโรคอ้วนลงพุงที่สามารถนำไปสู่การเกิดโรคหลอดเลือดสมองและโรคหลอดเลือดหัวใจได้
Description
Infectious Diseases and Epidemiology (Mahidol University 2011)
Degree Name
Master of Science
Degree Level
Master's degree
Degree Department
Faculty of Public Health
Degree Discipline
Infectious Diseases and Epidemiology
Degree Grantor(s)
Mahidol University