ผลของการใช้เครื่องช่วยออกกำลังกายชนิดแสดงผล (GJ Biofeedback) สำหรับการออกกำลังกายหลังในผู้ป่วยปวดหลังส่วนล่าง
Issued Date
2017
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
Volume
ครั้งที่5
Start Page
127
End Page
147
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Suggested Citation
ศิวรักษ์ ขนอม, นิดา วงศ์สวัสดิ์ (2017). ผลของการใช้เครื่องช่วยออกกำลังกายชนิดแสดงผล (GJ Biofeedback) สำหรับการออกกำลังกายหลังในผู้ป่วยปวดหลังส่วนล่าง. ครั้งที่5 147. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/98011
Title
ผลของการใช้เครื่องช่วยออกกำลังกายชนิดแสดงผล (GJ Biofeedback) สำหรับการออกกำลังกายหลังในผู้ป่วยปวดหลังส่วนล่าง
Alternative Title(s)
Effect of biofeedback for back exercise in low back pain.
Author(s)
Author's Affiliation
Abstract
อาการปวดหลังส่วนล่างเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญพบได้บ่อยที่สุดในโรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ โดยเกิดขึ้นได้ทั้งกับวัยทำงานและวัยผู้สูงอายุ ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการปวดหลังคือ การอ่อนแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว ทั้งกล้ามเนื้อหน้าท้องและกล้ามเนื้อหลัง ดังนั้น การออกกำลังกายเสริมความมั่นคงให้กับกล้ามเนื้อหลังอาจช่วยลดอาการปวดหลังและเพิ่มความสามารถในการปฏิบัติกิจกรรมได้
การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้เครื่องช่วยออกกำลังกายชนิดแสดงผล (GJ Biofeedback) สำหรับการออกกำลังกายหลังในผู้ป่วยปวดหลังส่วนล่าง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยปวดหลังส่วนล่างที่มารับการรักษาที่ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนดมีความคล้ายคลึงกัน คือ อายุ ดัชนีมวลกาย และคะแนนอาการปวดหลังส่วนล่างสุ่มให้อยู่ในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 ราย กลุ่มทดลองได้รับการรักษาทางการแพทย์และทางกายภาพบำบัดร่วมกับการออกกำลังกายเสริมความมั่นคงของกล้ามเนื้อหลังในขณะที่กลุ่มควบคุมได้รับการรักษาทางการแพทย์ ร่วมกับการรักษาทางกายภาพบำบัด จำนวน 10 ครั้ง เป็นเวลา 5 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 ครั้ง
เครื่องมือที่ใช้ดำเนินการศึกษา คือ เครื่องช่วยออกกำลังกายชนิดแสดงผล(GJ Biofeedback) แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดระดับความปวดด้วยการมอง และแบบแสดงความเห็นระดับความพึงพอใจต่อการใช้เครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคล ใช้สถิติเชิงพรรณนาเปรียบเทียบคะแนนอาการปวดหลังส่วนล่างที่ลดลง ใช้สถิติ Wilcoxon Signed Ranks test เปรียบเทียบคะแนนอาการปวดหลังที่ลดลงของ 2 กลุ่มใช้สถิติt-test ที่เป็นอิสระต่อกันผลการศึกษา พบว่า ผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังทั้ง 2 กลุ่ม มีคะแนนอาการ
ปวดหลังลดลง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<0.05) ผู้ป่วยในกลุ่มออกกำลังกายเสริมความมั่นคงของกล้ามเนื้อหลังโดยใช้เครื่องช่วยออกกำลังกายชนิดแสดงผล
(GJ Biofeedback) มีอาการปวดหลังลดลงดีกว่ากลุ่มควบคุม แต่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า การออกกำลังกายเสริมความมั่นคงของกล้ามเนื้อหลัง โดยใช้ GJ Biofeedback สามารถช่วยลดอาการปวดหลังได้และสามารถใช้เป็นอีกหนึ่งแนวทางในการออกกำลังกายเสริมความมั่นคงของกล้ามเนื้อหลัง
Description
การประชุมวิชาการประจำปีศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก ครั้งที่ 5 หัวข้อ “การบูรณาการสุขภาพผู้สูงอายุในยุค Thailand 4.0” อาคารสิ่งแวดล้อมพัฒนดล คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา, 5 เมษายน 2560 . หน้า 127-147