ผลของการใช้เครื่องช่วยออกกำลังกายชนิดแสดงผล (GJ Biofeedback) สำหรับการออกกำลังกายหลังในผู้ป่วยปวดหลังส่วนล่าง
dc.contributor.author | ศิวรักษ์ ขนอม | |
dc.contributor.author | นิดา วงศ์สวัสดิ์ | |
dc.date.accessioned | 2024-04-17T06:23:41Z | |
dc.date.available | 2024-04-17T06:23:41Z | |
dc.date.created | 2024-02-27 | |
dc.date.issued | 2017 | |
dc.description | การประชุมวิชาการประจำปีศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก ครั้งที่ 5 หัวข้อ “การบูรณาการสุขภาพผู้สูงอายุในยุค Thailand 4.0” อาคารสิ่งแวดล้อมพัฒนดล คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา, 5 เมษายน 2560 . หน้า 127-147 | |
dc.description.abstract | อาการปวดหลังส่วนล่างเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญพบได้บ่อยที่สุดในโรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ โดยเกิดขึ้นได้ทั้งกับวัยทำงานและวัยผู้สูงอายุ ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการปวดหลังคือ การอ่อนแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว ทั้งกล้ามเนื้อหน้าท้องและกล้ามเนื้อหลัง ดังนั้น การออกกำลังกายเสริมความมั่นคงให้กับกล้ามเนื้อหลังอาจช่วยลดอาการปวดหลังและเพิ่มความสามารถในการปฏิบัติกิจกรรมได้ การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้เครื่องช่วยออกกำลังกายชนิดแสดงผล (GJ Biofeedback) สำหรับการออกกำลังกายหลังในผู้ป่วยปวดหลังส่วนล่าง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยปวดหลังส่วนล่างที่มารับการรักษาที่ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนดมีความคล้ายคลึงกัน คือ อายุ ดัชนีมวลกาย และคะแนนอาการปวดหลังส่วนล่างสุ่มให้อยู่ในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 ราย กลุ่มทดลองได้รับการรักษาทางการแพทย์และทางกายภาพบำบัดร่วมกับการออกกำลังกายเสริมความมั่นคงของกล้ามเนื้อหลังในขณะที่กลุ่มควบคุมได้รับการรักษาทางการแพทย์ ร่วมกับการรักษาทางกายภาพบำบัด จำนวน 10 ครั้ง เป็นเวลา 5 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 ครั้ง เครื่องมือที่ใช้ดำเนินการศึกษา คือ เครื่องช่วยออกกำลังกายชนิดแสดงผล(GJ Biofeedback) แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดระดับความปวดด้วยการมอง และแบบแสดงความเห็นระดับความพึงพอใจต่อการใช้เครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคล ใช้สถิติเชิงพรรณนาเปรียบเทียบคะแนนอาการปวดหลังส่วนล่างที่ลดลง ใช้สถิติ Wilcoxon Signed Ranks test เปรียบเทียบคะแนนอาการปวดหลังที่ลดลงของ 2 กลุ่มใช้สถิติt-test ที่เป็นอิสระต่อกันผลการศึกษา พบว่า ผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังทั้ง 2 กลุ่ม มีคะแนนอาการ ปวดหลังลดลง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<0.05) ผู้ป่วยในกลุ่มออกกำลังกายเสริมความมั่นคงของกล้ามเนื้อหลังโดยใช้เครื่องช่วยออกกำลังกายชนิดแสดงผล (GJ Biofeedback) มีอาการปวดหลังลดลงดีกว่ากลุ่มควบคุม แต่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า การออกกำลังกายเสริมความมั่นคงของกล้ามเนื้อหลัง โดยใช้ GJ Biofeedback สามารถช่วยลดอาการปวดหลังได้และสามารถใช้เป็นอีกหนึ่งแนวทางในการออกกำลังกายเสริมความมั่นคงของกล้ามเนื้อหลัง | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/98011 | |
dc.language.iso | tha | |
dc.rights | ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า | |
dc.rights.holder | มหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.subject | อาการปวดหลังส่วนล่าง | |
dc.subject | Biofeedback | |
dc.subject | Low Back Pain | |
dc.subject | Stabilization exercise | |
dc.subject | เครื่องช่วยออกกำลัง | |
dc.title | ผลของการใช้เครื่องช่วยออกกำลังกายชนิดแสดงผล (GJ Biofeedback) สำหรับการออกกำลังกายหลังในผู้ป่วยปวดหลังส่วนล่าง | |
dc.title.alternative | Effect of biofeedback for back exercise in low back pain. | |
dc.type | Proceeding Article | |
oaire.citation.endPage | 147 | |
oaire.citation.startPage | 127 | |
oaire.citation.volume | ครั้งที่5 | |
oairecerif.author.affiliation | มหาวิทยาลัยมหิดล. ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก | |
oairecerif.event.country | ไทย | |
oairecerif.event.name | การประชุมวิชาการประจำปีศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก ประจำปี 2560 ครั้งที่5 | |
oairecerif.event.place | อาคารสิ่งแวดล้อมพัฒนดล คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา |