คู่มือปฏิบัติงาน เรื่อง การจัดทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic book) เพื่อการประชาสัมพันธ์
Issued Date
2567
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
157 หน้า, Full Text (Intranet only)
Access Rights
restricted access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
Suggested Citation
ศุภลักษณ์ จุเครือ (2567). คู่มือปฏิบัติงาน เรื่อง การจัดทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic book) เพื่อการประชาสัมพันธ์. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/109727
Title
คู่มือปฏิบัติงาน เรื่อง การจัดทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic book) เพื่อการประชาสัมพันธ์
Author(s)
Author's Affiliation
Abstract
ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology : ICT) ได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว และเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันตอบสนองความต้องการผู้ใช้ให้สามารถเข้าถึงข้อมูล ข่าวสารได้ทุกหน ทุกแห่ง อย่างไร้พรมแดน ระยะทางและเวลาไม่ถูกจำกัด และมีรูปแบบการให้บริการที่รองรับ ปัจเจกบุคคลมากยิ่งขึ้นและเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันอย่างไม่รู้ตัว (สุขุม เฉลยทรัพย์ และคณะ, 2555) เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ นำไปสู่ “สังคมแห่งข้อมูลข่าวสาร (Information Society)” สังคมที่มีการนำข้อมูลสารสนเทศในรูปแบบต่าง ๆ มาช่วยดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวันทั้งเพื่อประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ส่วนรวม ซึ่งการที่มนุษย์ สามารถรับ-ส่งข้อมูลสารสนเทศได้อย่างรวดเร็วกว้างขวางและทั่วถึงยิ่งขึ้นนี้เอง ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้าน พฤติกรรมของผู้รับข่าวสาร เช่น นิยมอ่านหนังสือออนไลน์ อ่านข่าวออนไลน์ มีการติดต่อสื่อสารส่งข้อมูล ระหว่างกันผ่านระบบอีเมล พูดคุยกันผ่าน Social Networking หรือเครือข่ายทางสังคมในอินเทอร์เน็ต เป็นต้น การประชาสัมพันธ์และสื่อประชาสัมพันธ์ที่มีความเหมาะสมกับพฤติกรรมของผู้รับชมจึงมีส่วนสำคัญ ที่จะช่วยส่งเสริมให้องค์กรบรรลุผลสำเร็จ ส่งเสริมความมั่นคง เสริมสร้างความสามัคคี และความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน องค์กรจึงจะก้าวไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic book) หรือที่นิยมเรียกกันอย่างแพร่หลายว่า E-book มีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่ข้อมูลและการประชาสัมพันธ์ข่าวสารต่าง ๆ มากขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากสามารถนำเสนอได้หลายรูปแบบ เช่น ข้อความ ตัวอักษร ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียงบรรยาย เสียงดนตรี และสามารถเผยแพร่ประชาสัมพันธ์หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ บนเว็บไซต์ได้ ทำให้ผู้อ่านสามารถรับชมได้ผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ตพีซี สมาร์ตโฟน ฯลฯ อีกทั้งยังสามารถแก้ไข ปรับปรุงข้อมูลใหม่ๆ ให้มีความทันสมัยได้ตลอดเวลา ในทุก ๆ ปี กองเทคโนโลยีสารสนเทศในฐานะคณะกรรมการฝ่ายจัดทำหนังสือที่ระลึกเว็บไซต์และระบบดิจิทัลสนับสนุนการบริหารจัดการจะจัดทำและพิมพ์หนังสือที่ระลึกพระราชทานปริญญาบัตร มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อมอบให้แต่ผู้ที่ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์ คณะกรรมการฝ่ายต่าง ๆ ผู้สื่อข่าว รวมถึงบัณฑิตทุกคน เพื่อเป็นสูจิบัตรงาน และเป็นที่ระลึกในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ของมหาวิทยาลัยมหิดลต่อมาในปี พ.ศ. 2565 คณะกรรมการดำเนินงานจัดพิธีพระราชทานปริญญาบัตร มหาวิทยาลัยมหิดล ได้มีมติว่า จะเปลี่ยนรูปแบบของหนังสือระลึกพิธีพระราชทานปริญญาบัตร มหาวิทยาลัยมหิดล จากรูปแบบ หนังสือแบบพิมพ์เล่มมาเป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้อ่าน ช่วยลดปริมาณการ ใช้กระดาษ ลดงบประมาณที่ใช้การจัดพิมพ์ และเพื่อเพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์ข้อมูลให้มีความทันสมัย ทั่วถึง และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เนื่องจากหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถประชาสัมพันธ์ข้อมูลบนเว็บไซต์ของ มหาวิทยาลัยได้ ผู้อ่านสามารถรับชมได้สะดวก อ่านได้จากหลายอุปกรณ์ ซึ่งสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงด้าน พฤติกรรม รูปแบบวิถีชีวิตของคนในยุคปัจจุบัน และยังสนับสนุนนโยบาย Digital Transformation การลดการใช้ กระดาษ ตามนโยบายการพัฒนามหาวิทยาลัยมหิดลให้เป็นมหาวิทยาลัยยั่งยืน (Eco-University) ที่มุ่งเน้น รณรงค์เรื่องการใช้ทรัพยากรให้เกิดความคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด ดังนั้นผู้จัดทำจึงเห็นความสำคัญของการจัดทำคู่มือปฏิบัติการการจัดทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อการประชาสัมพันธ์ กรณีตัวอย่าง หนังสือที่ระลึกพิธีพระราชทานปริญญาบัตร มหาวิทยาลัยมหิดล โดยจัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานแก่ผู้ปฏิบัติงานด้านโสตทัศนศึกษาของหน่วยออกแบบ เว็บไซต์และกราฟิกดีไซน์ งานพัฒนาสื่อผสม กองเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานอธิการบดี ให้ได้มีความรู้ ความเข้าใจ ในขั้นตอนของการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม และเพื่อความก้าวหน้าของกองเทคโนโลยีสารสนเทศต่อไป