OP-Work Manual
Permanent URI for this collectionhttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/1158
Browse
Recent Submissions
Item Metadata only คู่มือปฏิบัติงาน เรื่อง การจัดทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic book) เพื่อการประชาสัมพันธ์(2567) ศุภลักษณ์ จุเครือปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology : ICT) ได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว และเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันตอบสนองความต้องการผู้ใช้ให้สามารถเข้าถึงข้อมูล ข่าวสารได้ทุกหน ทุกแห่ง อย่างไร้พรมแดน ระยะทางและเวลาไม่ถูกจำกัด และมีรูปแบบการให้บริการที่รองรับ ปัจเจกบุคคลมากยิ่งขึ้นและเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันอย่างไม่รู้ตัว (สุขุม เฉลยทรัพย์ และคณะ, 2555) เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ นำไปสู่ “สังคมแห่งข้อมูลข่าวสาร (Information Society)” สังคมที่มีการนำข้อมูลสารสนเทศในรูปแบบต่าง ๆ มาช่วยดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวันทั้งเพื่อประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ส่วนรวม ซึ่งการที่มนุษย์ สามารถรับ-ส่งข้อมูลสารสนเทศได้อย่างรวดเร็วกว้างขวางและทั่วถึงยิ่งขึ้นนี้เอง ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้าน พฤติกรรมของผู้รับข่าวสาร เช่น นิยมอ่านหนังสือออนไลน์ อ่านข่าวออนไลน์ มีการติดต่อสื่อสารส่งข้อมูล ระหว่างกันผ่านระบบอีเมล พูดคุยกันผ่าน Social Networking หรือเครือข่ายทางสังคมในอินเทอร์เน็ต เป็นต้น การประชาสัมพันธ์และสื่อประชาสัมพันธ์ที่มีความเหมาะสมกับพฤติกรรมของผู้รับชมจึงมีส่วนสำคัญ ที่จะช่วยส่งเสริมให้องค์กรบรรลุผลสำเร็จ ส่งเสริมความมั่นคง เสริมสร้างความสามัคคี และความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน องค์กรจึงจะก้าวไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic book) หรือที่นิยมเรียกกันอย่างแพร่หลายว่า E-book มีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่ข้อมูลและการประชาสัมพันธ์ข่าวสารต่าง ๆ มากขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากสามารถนำเสนอได้หลายรูปแบบ เช่น ข้อความ ตัวอักษร ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียงบรรยาย เสียงดนตรี และสามารถเผยแพร่ประชาสัมพันธ์หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ บนเว็บไซต์ได้ ทำให้ผู้อ่านสามารถรับชมได้ผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ตพีซี สมาร์ตโฟน ฯลฯ อีกทั้งยังสามารถแก้ไข ปรับปรุงข้อมูลใหม่ๆ ให้มีความทันสมัยได้ตลอดเวลา ในทุก ๆ ปี กองเทคโนโลยีสารสนเทศในฐานะคณะกรรมการฝ่ายจัดทำหนังสือที่ระลึกเว็บไซต์และระบบดิจิทัลสนับสนุนการบริหารจัดการจะจัดทำและพิมพ์หนังสือที่ระลึกพระราชทานปริญญาบัตร มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อมอบให้แต่ผู้ที่ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์ คณะกรรมการฝ่ายต่าง ๆ ผู้สื่อข่าว รวมถึงบัณฑิตทุกคน เพื่อเป็นสูจิบัตรงาน และเป็นที่ระลึกในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ของมหาวิทยาลัยมหิดลต่อมาในปี พ.ศ. 2565 คณะกรรมการดำเนินงานจัดพิธีพระราชทานปริญญาบัตร มหาวิทยาลัยมหิดล ได้มีมติว่า จะเปลี่ยนรูปแบบของหนังสือระลึกพิธีพระราชทานปริญญาบัตร มหาวิทยาลัยมหิดล จากรูปแบบ หนังสือแบบพิมพ์เล่มมาเป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้อ่าน ช่วยลดปริมาณการ ใช้กระดาษ ลดงบประมาณที่ใช้การจัดพิมพ์ และเพื่อเพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์ข้อมูลให้มีความทันสมัย ทั่วถึง และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เนื่องจากหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถประชาสัมพันธ์ข้อมูลบนเว็บไซต์ของ มหาวิทยาลัยได้ ผู้อ่านสามารถรับชมได้สะดวก อ่านได้จากหลายอุปกรณ์ ซึ่งสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงด้าน พฤติกรรม รูปแบบวิถีชีวิตของคนในยุคปัจจุบัน และยังสนับสนุนนโยบาย Digital Transformation การลดการใช้ กระดาษ ตามนโยบายการพัฒนามหาวิทยาลัยมหิดลให้เป็นมหาวิทยาลัยยั่งยืน (Eco-University) ที่มุ่งเน้น รณรงค์เรื่องการใช้ทรัพยากรให้เกิดความคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด ดังนั้นผู้จัดทำจึงเห็นความสำคัญของการจัดทำคู่มือปฏิบัติการการจัดทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อการประชาสัมพันธ์ กรณีตัวอย่าง หนังสือที่ระลึกพิธีพระราชทานปริญญาบัตร มหาวิทยาลัยมหิดล โดยจัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานแก่ผู้ปฏิบัติงานด้านโสตทัศนศึกษาของหน่วยออกแบบ เว็บไซต์และกราฟิกดีไซน์ งานพัฒนาสื่อผสม กองเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานอธิการบดี ให้ได้มีความรู้ ความเข้าใจ ในขั้นตอนของการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม และเพื่อความก้าวหน้าของกองเทคโนโลยีสารสนเทศต่อไปItem Metadata only คู่มือปฏิบัติงาน เรื่อง การประยุกต์ใช้ S-Curve บริหารงบประมาณ กองกายภาพและสิ่งแวดล้อม(2567) พุฒิเศรษฐ์ ตันติเมฆิน; สุพจน์ ภาษีรอดจากสถิติการใช้จ่ายงบประมาณในปีงบประมาณที่ผ่านมา พบว่า สัดส่วนการใช้จ่ายเมื่อสิ้นปีงบประมาณสามารถดำเนินการได้เพียงร้อยละ 60-70 ของงบประมาณทั้งหมด ส่วนงบประมาณที่ไม่สามารถใช้จ่ายให้แล้วเสร็จภายในปีงบประมาณ จำเป็นต้องบริหารโครงการข้ามปีงบประมาณหรือทำภาระผูกพันงบประมาณข้ามปี ซึ่งจะส่งผลกระทบต่องบประมาณที่จะได้รับในปีต่อไปให้มีความล่าช้าตามไปด้วย จากปัญหาที่กล่าวมา ผู้จัดทำพบว่า การบริหารงบประมาณประจำปีของกองกายภาพและสิ่งแวดล้อม เปรียบเสมือนการบริหารโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ ซึ่งมีรายละเอียดและกิจกรรมการปฏิบัติงานเป็นจำนวนมาก การบริหารงบประมาณที่มีความซับซ้อนและระยะเวลาที่ยาวนานแตกต่างกันไปตามแต่ละกิจกรรมลักษณะนี้จำเป็นต้องมีเครื่องมือหรือโปรแกรมการบริหารงานที่เหมาะสมในโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ นิยมใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการบริหารจัดการ เช่น Microsoft Project และ Microsoft Excel รวมถึงปัจจุบันมีสเปรดชีตประยุกต์ใช้ในการทำ S-Curve ให้บริการกับผู้ใช้งานมากมาย ผู้จัดทำเห็นว่า การทำ S-Curve บนสเปรดซีตที่พัฒนาบน Microsoft Excel เป็นโปรแกรมที่เข้าถึงและใช้งานได้สะดวก ผู้ใช้งานส่วนใหญ่มีพื้นฐานการใช้งานโปรแกรม Microsoft Excel อยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจในการวางแผนโครงการก่อสร้างโดยละเอียด ก็สามารถรายงาน อ่านผล ติดตามงบประมาณโครงการได้ ผู้จัดทำจึงนำ S-Curve ที่โดยมากใช้ในงานก่อสร้างมาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการงบประมาณของกองกายภาพและสิ่งแวดล้อม โดยเลือกใช้ Google Sheet แทนโปรแกรม Microsoft Excel เนื่องจาก Google Sheet มีคุณสมบัติการใช้งานได้หลากหลาย Platform และหลากหลายอุปกรณ์ เช่นการเข้าถึงผ่านโทรศัพท์มือถือ หรือ Tablet หรือ Computer Notebook ไม่จำเป็นต้องปฏิบัติงานที่สำนักงานเพียงสถานที่เดียว เหมาะกับยุคของการสื่อสารในปัจจุบัน อีกทั้งการทำงานมีความคล้ายคลึงกับโปรแกรม Microsoft Excel จึงสะดวกสำหรับเจ้าหน้าที่ผู้ใช้งานระบบของ Google Sheet สามารถใช้งานได้พร้อมกันหลายบุคคล ซึ่งเหมาะกับการบริหารงบประมาณที่มีผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่าย ผู้บริหารหรือผู้ใช้งานที่มีหน้าที่ติดตามความคืบหน้างบประมาณสามารถติดตามแผนและผลงานร่วมกันในลักษณะ Realtime ผู้กรอกข้อมูลไม่จำเป็นต้องคำนวณเปอร์เซ็นต์ความคืบหน้าและ Plot Graph ระบบจะประมวลผลให้โดยอัตโนมัติสามารถติดตามผลได้ตลอดเวลาเมื่อมีการ Update จากผู้ปฏิบัติงานหรือจากหน่วยงานItem Metadata only คู่มือปฏิบัติงาน เรื่อง คู่มือการตรวจสอบคุณภาพวารสารจากฐานข้อมูล Scimago Journal & Country Rank (SJR)(2566) สุปรานี ลิ้มพวงแก้ว; มณีรัตน์ จอมพุกItem Metadata only คู่มือการปฏิบัติงานการคำนวณเงินชดใช้ทุนลาศึกษาฝึกอบรมพนักงานมหาวิทยาลัยมหิดล(2567) อุไรวรรณ เช้าวงศ์พาณิชย์; รำไพ มีชัยItem Metadata only คู่มือการปฏิบัติงานกระบวนการเบิก – จ่ายเงินเดือน ผ่านระบบ MU-ERP- Payroll และระบบ SCB Business Net มหาวิทยาลัยมหิดล(2567) อุไรวรรณ เช้าวงศ์พาณิชย์; รำไพ มีชัยItem Metadata only คู่มือปฏิบัติงานการใช้โปรแกรมระบบฐานข้อมูลกองคลัง E-Service ด้านการเงิน กองคลัง มหาวิทยาลัยมหิดล(2567) นิดาภรณ์ เจริญศิลป์Item Metadata only คู่มือปฏิบัติงานเรื่องการรับเงินรายได้มหาวิทยาลัยมหิดล(2567) นิดาภรณ์ เจริญศิลป์Item Metadata only คู่มือปฏิบัติงาน การจัดซื้อจัดจ้างจากต่างประเทศ โดยวิธีเฉพาะเจาะจง มหาวิทยาลัยมหิดล(2566) วรางคณา หิรัญวาทิต; เยาวพา มังคละItem Metadata only Item Metadata only คู่มือการปฏิบัติงาน เรื่อง “การจัดอบรมโครงการพัฒนานักบริหารระดับต้น มหาวิทยาลัยมหิดล (Mahidol University Supervisory Development Program) รูปแบบผสมผสานในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID 19)(2564) กุลพัชร์ ศิริไพศาลโสภา; ธีรัตน์ คูคานธรรมทัศน์Item Metadata only คู่มือการปฏิบัติงาน เรื่อง การฝึกอบรมโครงการปฐมนิเทศบุคลากรใหม่ผ่านเว็บไซต์ (Webinar) ด้วยโปรแกรม Webex Event(2563) ธีรัตน์ คูคานธรรมทัศน์; กุลพัชร์ ศิริไพศาลโสภาItem Metadata only Item Metadata only คู่มือปฏิบัติงาน ระบบการประเมินผลการปฏิบัติงาน บุคลากรกองกายภาพและสิ่งแวดล้อม สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล(2565) รรินทิพย์ จักรพันธุ์ ณ อยุธยาItem Metadata only คู่มือปฏิบัติงาน แนวทางการออกแบบห้องน้ำเพื่อคนพิการและทุกคน(2565) สุภาดา ศรีสารคาม; สมชาย มิตรเทวินItem Metadata only คู่มือการปฏิบัติงาน เรื่อง การบริหารจัดการโครงการวิจัยทางคลินิก ที่ได้รับเงินทุนวิจัยจากแหล่งทุนภาคเอกชน(2565) ชนินาถ สุริยะลังกาItem Metadata only คู่มือปฏิบัติงาน แนวทางการออกแบบปรับปรุงพื้นที่สำนักงาน เพื่อความปลอดภัยในการทำงาน(2564) ศุภวรรณ อารีจิตรานุสรณ์Item Metadata only คู่มือปฏิบัติงาน เรื่อง การใช้งานถังหมัก Biostat Cplus ขนาด 10 ลิตร(2566) ภารุจีร์ ภูมิไกลItem Metadata only คู่มือปฏิบัติงานการแก้ไขสัญญางานก่อสร้าง สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล(2565) อชิรมินทร์ สุทธิสินธ์; กาญดา กันพงษ์
- «
- 1 (current)
- 2
- 3
- »