คู่มือปฏิบัติงาน เรื่อง การจัดทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic book) เพื่อการประชาสัมพันธ์
dc.contributor.author | ศุภลักษณ์ จุเครือ | |
dc.date.accessioned | 2025-04-24T07:00:56Z | |
dc.date.available | 2025-04-24T07:00:56Z | |
dc.date.created | 2568-04-24 | |
dc.date.issued | 2567 | |
dc.description.abstract | ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology : ICT) ได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว และเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันตอบสนองความต้องการผู้ใช้ให้สามารถเข้าถึงข้อมูล ข่าวสารได้ทุกหน ทุกแห่ง อย่างไร้พรมแดน ระยะทางและเวลาไม่ถูกจำกัด และมีรูปแบบการให้บริการที่รองรับ ปัจเจกบุคคลมากยิ่งขึ้นและเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันอย่างไม่รู้ตัว (สุขุม เฉลยทรัพย์ และคณะ, 2555) เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ นำไปสู่ “สังคมแห่งข้อมูลข่าวสาร (Information Society)” สังคมที่มีการนำข้อมูลสารสนเทศในรูปแบบต่าง ๆ มาช่วยดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวันทั้งเพื่อประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ส่วนรวม ซึ่งการที่มนุษย์ สามารถรับ-ส่งข้อมูลสารสนเทศได้อย่างรวดเร็วกว้างขวางและทั่วถึงยิ่งขึ้นนี้เอง ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้าน พฤติกรรมของผู้รับข่าวสาร เช่น นิยมอ่านหนังสือออนไลน์ อ่านข่าวออนไลน์ มีการติดต่อสื่อสารส่งข้อมูล ระหว่างกันผ่านระบบอีเมล พูดคุยกันผ่าน Social Networking หรือเครือข่ายทางสังคมในอินเทอร์เน็ต เป็นต้น การประชาสัมพันธ์และสื่อประชาสัมพันธ์ที่มีความเหมาะสมกับพฤติกรรมของผู้รับชมจึงมีส่วนสำคัญ ที่จะช่วยส่งเสริมให้องค์กรบรรลุผลสำเร็จ ส่งเสริมความมั่นคง เสริมสร้างความสามัคคี และความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน องค์กรจึงจะก้าวไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic book) หรือที่นิยมเรียกกันอย่างแพร่หลายว่า E-book มีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่ข้อมูลและการประชาสัมพันธ์ข่าวสารต่าง ๆ มากขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากสามารถนำเสนอได้หลายรูปแบบ เช่น ข้อความ ตัวอักษร ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียงบรรยาย เสียงดนตรี และสามารถเผยแพร่ประชาสัมพันธ์หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ บนเว็บไซต์ได้ ทำให้ผู้อ่านสามารถรับชมได้ผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ตพีซี สมาร์ตโฟน ฯลฯ อีกทั้งยังสามารถแก้ไข ปรับปรุงข้อมูลใหม่ๆ ให้มีความทันสมัยได้ตลอดเวลา ในทุก ๆ ปี กองเทคโนโลยีสารสนเทศในฐานะคณะกรรมการฝ่ายจัดทำหนังสือที่ระลึกเว็บไซต์และระบบดิจิทัลสนับสนุนการบริหารจัดการจะจัดทำและพิมพ์หนังสือที่ระลึกพระราชทานปริญญาบัตร มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อมอบให้แต่ผู้ที่ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์ คณะกรรมการฝ่ายต่าง ๆ ผู้สื่อข่าว รวมถึงบัณฑิตทุกคน เพื่อเป็นสูจิบัตรงาน และเป็นที่ระลึกในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ของมหาวิทยาลัยมหิดลต่อมาในปี พ.ศ. 2565 คณะกรรมการดำเนินงานจัดพิธีพระราชทานปริญญาบัตร มหาวิทยาลัยมหิดล ได้มีมติว่า จะเปลี่ยนรูปแบบของหนังสือระลึกพิธีพระราชทานปริญญาบัตร มหาวิทยาลัยมหิดล จากรูปแบบ หนังสือแบบพิมพ์เล่มมาเป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้อ่าน ช่วยลดปริมาณการ ใช้กระดาษ ลดงบประมาณที่ใช้การจัดพิมพ์ และเพื่อเพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์ข้อมูลให้มีความทันสมัย ทั่วถึง และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เนื่องจากหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถประชาสัมพันธ์ข้อมูลบนเว็บไซต์ของ มหาวิทยาลัยได้ ผู้อ่านสามารถรับชมได้สะดวก อ่านได้จากหลายอุปกรณ์ ซึ่งสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงด้าน พฤติกรรม รูปแบบวิถีชีวิตของคนในยุคปัจจุบัน และยังสนับสนุนนโยบาย Digital Transformation การลดการใช้ กระดาษ ตามนโยบายการพัฒนามหาวิทยาลัยมหิดลให้เป็นมหาวิทยาลัยยั่งยืน (Eco-University) ที่มุ่งเน้น รณรงค์เรื่องการใช้ทรัพยากรให้เกิดความคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด ดังนั้นผู้จัดทำจึงเห็นความสำคัญของการจัดทำคู่มือปฏิบัติการการจัดทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อการประชาสัมพันธ์ กรณีตัวอย่าง หนังสือที่ระลึกพิธีพระราชทานปริญญาบัตร มหาวิทยาลัยมหิดล โดยจัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานแก่ผู้ปฏิบัติงานด้านโสตทัศนศึกษาของหน่วยออกแบบ เว็บไซต์และกราฟิกดีไซน์ งานพัฒนาสื่อผสม กองเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานอธิการบดี ให้ได้มีความรู้ ความเข้าใจ ในขั้นตอนของการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม และเพื่อความก้าวหน้าของกองเทคโนโลยีสารสนเทศต่อไป | |
dc.format.extent | 157 หน้า, Full Text (Intranet only) | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/109727 | |
dc.language.iso | tha | |
dc.rights | ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า | |
dc.rights.holder | สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.subject | การทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ | |
dc.subject | หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ | |
dc.subject | การประชาสัมพันธ์ | |
dc.subject | Electronic book | |
dc.subject | นักวิชาการโสตทัศนศึกษา | |
dc.subject | คู่มือปฏิบัติงาน | |
dc.subject | ผลงานการขอเลื่อนตำแหน่ง | |
dc.subject | ผลงานบุคลากรสายสนับสนุน | |
dc.title | คู่มือปฏิบัติงาน เรื่อง การจัดทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic book) เพื่อการประชาสัมพันธ์ | |
dc.type | Work Manual | |
dcterms.accessRights | restricted access | |
mu.link.internalLink | http://intranet.mahidol/op/orpr/newhr/wp-content/uploads/2024/04/manual-of-Electronic-book_compressed.pdf | |
oairecerif.author.affiliation | มหาวิทยาลัยมหิดล. สำนักงานอธิการบดี. กองเทคโนโลยีสารสนเทศ |