ผลของการจำกัดการเคลื่อนไหวของข้อเท้าต่อองศาการเคลื่อนไหวของข้อตะโพกและข้อเท้าขณะเดินในวัยรุ่นสุขภาพดี
Issued Date
2554
Resource Type
Language
tha
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Rights Holder(s)
สมาคมกายภาพบำบัดแห่งประเทศไทย
Suggested Citation
สุนีย์ บวรสุนทรชัย, รุ่งทิวา วัจฉละฐิติ, ธีรพัฒน์ ลัดดาวงศ์, ณัฏฐพัธร อิทธิชัยธัญญา, รัชดาภรณ์ ดุษฎีพันธ์, Sunee Bovonsunthonchai, Roongtiwa Vachalathiti, Teerapat Laddawong, Nutthapat Itthichaithanya, Rachadaporn Dutsadeephun (2554). ผลของการจำกัดการเคลื่อนไหวของข้อเท้าต่อองศาการเคลื่อนไหวของข้อตะโพกและข้อเท้าขณะเดินในวัยรุ่นสุขภาพดี. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/30104
Title
ผลของการจำกัดการเคลื่อนไหวของข้อเท้าต่อองศาการเคลื่อนไหวของข้อตะโพกและข้อเท้าขณะเดินในวัยรุ่นสุขภาพดี
Alternative Title(s)
Effect of ankle joint restraints on hip and knee angular displacements during walking in healthy adolescent
Other Contributor(s)
Abstract
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาถึงผลของการจำกัดการเคลือนไหวของเท้าต่อองศาการเคลื่อนไหวของข้อสะโพกและข้อเท้าขณะเดินในวัยรุ่นไทยสุขภาพดี โดยการเปรียบเทียบมุมการงอข้อสะโพกสูงสุดขณะเท้าเริ่มสัมผัสพื้น มุมการเหยียดข้อสะโพกสูงสุดขณะเท้ายกพื้น และมุมการงอข้อเข่าสูงสุดขณะก้าวขา ระหว่างไม่มีการจัดการเคลื่อนไหวและมีการกำจัดการเคลื่อนไหวของข้อเท้า ผู้เข้าร่วมการวิจัย: วัยรุ่นชายไทยสุขภาพดีอายุ 19-20 ปี จำนวน 10 คน สามารถร่วมการเก็บข้อมูลทุกขั้นตอน ไม่มีการจำกัดการเคลื่อนไหวของข้อต่อต่างๆ และมีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาปกติ วิธีการวิจัย: ทำการเก็บข้อมูลการเคลื่อนไหวแบบสามมิติด้วย ViconPeak TM motion analysis system ขณะเดินระหว่างไม่มีการจำกัดการเคลื่อนไหวของเท้า มีการจำกัดการเคลื่อนไหวของเท้าที่ 90 องศา และมีการจำกัดการเคลื่อนไหวข้อเท้าที่ 130 องศา โดยการพันเทปกาว วิเคราะห์ผล: ทดสอบความแตกต่างระหว่างภาวะต่างๆโดยใช้ Friedman ANOVA และ Bonferroni post hoc test ผลการวิจัย: พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของมุมการงอข้อสะโพกสูงสุด (F=6.927. df=2, p=0.006) และมุมการเหยียดข้อสะโพกสูงสุด (F=7.20, df=2, p=0.005) จากการทดสอบพบว่ามีความแตกต่างระหว่างไม่มีการจำกัดการเคลื่อนไหวของข้อเท้าและมีการจำกัดการเคลื่อนไหวของเท้าที่ 130 องศา ในขณะที่ไม่พบความแตกต่างระหว่างไม่มีการจำกัดการเคลื่อนไหวของข้อเท้าและมีการจำกัดการเคลื่อนไหวของเท้าที่ 130 องศา ในขณะที่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของการงอข้อเข่าสูงสุด (F=1.151, df=2, p=0.202) ระหว่างการไม่มีการจำกัดและมีการจำกัดการเคลื่อนไหวของข้อเท้า สรุปผลการวิจัย การจำกัดการเคลื่อนไหวของข้อเท้าส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของข้อสะโพกทำให้ลักษณะการเดินเปลี่ยนแปลงไป การประยุกต์ใช้ทางคลินิก: แม้เพียงการจำกัดการเคลื่อนไหวของข้อต่อใดข้อต่อหนึ่งสามารถส่งผลต่อส่วนอื่นตามมาได้ ดังนั้นบุคลากรทางการแพทย์หรือผู้ดูแลควรตระหนักถึงผลเสียที่อาจเกิดขึ้นหากเกิดการจำกัดการเคลื่อนไหว
Description
การประชุมวิชาการกายภาพบำบัดแห่งชาติ ครั้งที่ 3 เรื่อง “กายภาพบำบัดเพื่อส่งเสริมชีวิต”. โรงแรมมิราเคลิล แกรนด์ คอนเวนชั่น, กรุงเทพฯ. 2-4 พฤษภาคม 2554.