ผลของการจำกัดการเคลื่อนไหวของข้อเท้าต่อองศาการเคลื่อนไหวของข้อตะโพกและข้อเท้าขณะเดินในวัยรุ่นสุขภาพดี
dc.contributor.author | สุนีย์ บวรสุนทรชัย | en_US |
dc.contributor.author | รุ่งทิวา วัจฉละฐิติ | en_US |
dc.contributor.author | ธีรพัฒน์ ลัดดาวงศ์ | en_US |
dc.contributor.author | ณัฏฐพัธร อิทธิชัยธัญญา | en_US |
dc.contributor.author | รัชดาภรณ์ ดุษฎีพันธ์ | en_US |
dc.contributor.author | Sunee Bovonsunthonchai | en_US |
dc.contributor.author | Roongtiwa Vachalathiti | en_US |
dc.contributor.author | Teerapat Laddawong | en_US |
dc.contributor.author | Nutthapat Itthichaithanya | en_US |
dc.contributor.author | Rachadaporn Dutsadeephun | en_US |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะกายภาพบำบัด | |
dc.date.accessioned | 2013-05-08T07:13:02Z | |
dc.date.accessioned | 2018-10-04T07:16:14Z | |
dc.date.available | 2013-05-08T07:13:02Z | |
dc.date.available | 2018-10-04T07:16:14Z | |
dc.date.created | 2556-04-05 | |
dc.date.issued | 2554 | |
dc.description | การประชุมวิชาการกายภาพบำบัดแห่งชาติ ครั้งที่ 3 เรื่อง “กายภาพบำบัดเพื่อส่งเสริมชีวิต”. โรงแรมมิราเคลิล แกรนด์ คอนเวนชั่น, กรุงเทพฯ. 2-4 พฤษภาคม 2554. | |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาถึงผลของการจำกัดการเคลือนไหวของเท้าต่อองศาการเคลื่อนไหวของข้อสะโพกและข้อเท้าขณะเดินในวัยรุ่นไทยสุขภาพดี โดยการเปรียบเทียบมุมการงอข้อสะโพกสูงสุดขณะเท้าเริ่มสัมผัสพื้น มุมการเหยียดข้อสะโพกสูงสุดขณะเท้ายกพื้น และมุมการงอข้อเข่าสูงสุดขณะก้าวขา ระหว่างไม่มีการจัดการเคลื่อนไหวและมีการกำจัดการเคลื่อนไหวของข้อเท้า ผู้เข้าร่วมการวิจัย: วัยรุ่นชายไทยสุขภาพดีอายุ 19-20 ปี จำนวน 10 คน สามารถร่วมการเก็บข้อมูลทุกขั้นตอน ไม่มีการจำกัดการเคลื่อนไหวของข้อต่อต่างๆ และมีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาปกติ วิธีการวิจัย: ทำการเก็บข้อมูลการเคลื่อนไหวแบบสามมิติด้วย ViconPeak TM motion analysis system ขณะเดินระหว่างไม่มีการจำกัดการเคลื่อนไหวของเท้า มีการจำกัดการเคลื่อนไหวของเท้าที่ 90 องศา และมีการจำกัดการเคลื่อนไหวข้อเท้าที่ 130 องศา โดยการพันเทปกาว วิเคราะห์ผล: ทดสอบความแตกต่างระหว่างภาวะต่างๆโดยใช้ Friedman ANOVA และ Bonferroni post hoc test ผลการวิจัย: พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของมุมการงอข้อสะโพกสูงสุด (F=6.927. df=2, p=0.006) และมุมการเหยียดข้อสะโพกสูงสุด (F=7.20, df=2, p=0.005) จากการทดสอบพบว่ามีความแตกต่างระหว่างไม่มีการจำกัดการเคลื่อนไหวของข้อเท้าและมีการจำกัดการเคลื่อนไหวของเท้าที่ 130 องศา ในขณะที่ไม่พบความแตกต่างระหว่างไม่มีการจำกัดการเคลื่อนไหวของข้อเท้าและมีการจำกัดการเคลื่อนไหวของเท้าที่ 130 องศา ในขณะที่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของการงอข้อเข่าสูงสุด (F=1.151, df=2, p=0.202) ระหว่างการไม่มีการจำกัดและมีการจำกัดการเคลื่อนไหวของข้อเท้า สรุปผลการวิจัย การจำกัดการเคลื่อนไหวของข้อเท้าส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของข้อสะโพกทำให้ลักษณะการเดินเปลี่ยนแปลงไป การประยุกต์ใช้ทางคลินิก: แม้เพียงการจำกัดการเคลื่อนไหวของข้อต่อใดข้อต่อหนึ่งสามารถส่งผลต่อส่วนอื่นตามมาได้ ดังนั้นบุคลากรทางการแพทย์หรือผู้ดูแลควรตระหนักถึงผลเสียที่อาจเกิดขึ้นหากเกิดการจำกัดการเคลื่อนไหว | en_US |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/30104 | |
dc.language.iso | tha | en_US |
dc.rights | มหาวิทยาลัยมหิดล | en_US |
dc.rights.holder | สมาคมกายภาพบำบัดแห่งประเทศไทย | en_US |
dc.subject | การเคลื่อนไหวของข้อเท้า | en_US |
dc.subject | การเคลื่อนไหวของข้อสะโพก | en_US |
dc.subject | การจำกัดการเคลื่อนไหว | en_US |
dc.subject | Restraint | en_US |
dc.subject | Movement | en_US |
dc.subject | Gait | en_US |
dc.subject | วัยรุ่นสุขภาพดี | |
dc.title | ผลของการจำกัดการเคลื่อนไหวของข้อเท้าต่อองศาการเคลื่อนไหวของข้อตะโพกและข้อเท้าขณะเดินในวัยรุ่นสุขภาพดี | en_US |
dc.title.alternative | Effect of ankle joint restraints on hip and knee angular displacements during walking in healthy adolescent | en_US |
dc.type | Proceeding Abstract | en_US |