ภาพลักษณ์ด้านการพัฒนาประเทศของทหารผ่านพิพิธภัณฑ์กองทัพบกเฉลิมพระเกียรติ
Issued Date
2555
Copyright Date
2555
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ฎ, 184 แผ่น : ภาพประกอบ
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (พัฒนาชนบทศึกษา))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2555
Suggested Citation
ตฤษณา โสรัจจ์ ภาพลักษณ์ด้านการพัฒนาประเทศของทหารผ่านพิพิธภัณฑ์กองทัพบกเฉลิมพระเกียรติ. วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (พัฒนาชนบทศึกษา))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2555. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93617
Title
ภาพลักษณ์ด้านการพัฒนาประเทศของทหารผ่านพิพิธภัณฑ์กองทัพบกเฉลิมพระเกียรติ
Alternative Title(s)
The military's image on national developmet as portrayed through the Royal Thai Army Museum Honor of His Majesty The King
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ภาพลักษณ์ด้านการพัฒนาประเทศที่ประชาชนมีต่อทหารบก และ เพื่อหาแนวทางการสื่อสารภาพลักษณ์ด้านการพัฒนาประเทศของทหารบกแก่ประชาชนด้วยการเข้าชมพิพิธภัณฑ์กองทัพบกเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งงานวิจัยนี้ได้วิธีวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยนำแนวคิดการสื่อสารเพื่อการพัฒนา แนวคิดการรับรู้ แนวคิดการเรียนรู้และแนวคิดเกี่ยวกับภาพลักษณ์มาเป็นแนวทางในการศึกษา ผลการศึกษาพบว่า ในการสำรวจภาพลักษณ์ด้านการพัฒนาประเทศของทหารบกในความคิดของประชาชนในกลุ่มของประชาชนทั่วไปและกลุ่มแกนนำชุมชน พบว่า ความคิดเห็นของประชาชนในการรับรู้งานด้านการพัฒนาประเทศของทหารบกที่ระดับมากที่สุดของทั้งสองกลุ่ม คือ ความจงรักภักดี เทิดทูนและพิทักษ์รักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ และ ความคิดเห็นของประชาชนในการรับรู้งานด้านการพัฒนาประเทศของทหารบกที่ระดับน้อยที่สุดของทั้งสองกลุ่มคือ การวางตัวเป็นกลางไม่สนับสนุนพรรคการเมืองใดๆ และเมื่อสำรวจเบื้องต้นการรับข้อมูลเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์กองทัพบกเฉลิมพระเกียรติพบว่า ประชาชนร้อยละ 97.6 ไม่เคยเข้าชมพิพิธภัณฑ์ฯ เพราะไม่ทราบว่ามีพิพิธภัณฑ์ฯนี้อยู่ ส่วนผู้ที่เคยเข้าชมเพราะต้องการทราบประวัติศาสตร์ทหารและพัฒนาการทางการทหารของกองทัพบกและได้รับทราบข้อมูลข่าวสารของพิพิธภัณฑ์ฯจากโทรทัศน์และแผ่นพับ และเมื่อนำกลุ่มแกนนำชุมชนเข้าชมพิพิธภัณฑ์ฯ กลุ่มแกนนำชุมชนมีการรับรู้ภาพลักษณ์ด้านการพัฒนาประเทศผ่านสื่อนิทรรศการต่างๆจำนวน 5 ห้อง ซึ่งกลุ่มแกนนำชุมชนมีการรับรู้และเข้าใจสื่อนิทรรศการในแต่ละห้องในเรื่องของความจงรักภักดี เทิดทูนและพิทักษ์รักษาสถาบันพระมหากษัตริย์และความกล้าหาญ/เสียสละของทหารมากที่สุด และแกนนำชุมชนส่วนใหญ่เสนอให้พิพิธภัณฑ์ฯเปิดในช่วงวันหยุดราชการหรือวันหยุดนักขัตฤกษ์ และลดขั้นตอนการขออนุญาตเข้าชมพิพิธภัณฑ์ฯ ข้อเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมพิพิธภัณฑ์ฯให้เป็นสื่อกลางในสร้างภาพลักษณ์ด้านการพัฒนาประเทศของทหารบกแก่ประชาชนด้วยการเข้าชมพิพิธภัณฑ์ฯนั้น ทางพิพิธภัณฑ์ฯควรเพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์ให้เพิ่มขึ้นเพื่อให้ประชาชนรับทราบ เช่น การจัดทำเว็บไซต์ของพิพิธภัณฑ์ฯ การจัดตั้งแฟนเพจพิพิธภัณฑ์ฯในเฟสบุค เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้พิพิธภัณฑ์ฯเป็นที่รู้จักในวงกว้างและเป็นการเพิ่มโอกาสให้ประชาชนได้เข้าถึงข้อมูลและเข้าชมพิพิธภัณฑ์ฯมากยิ่งขึ้น
Description
พัฒนาชนบทศึกษา (มหาวิทยาลัยมหิดล 2555)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย
Degree Discipline
พัฒนาชนบทศึกษา
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล