ภาพลักษณ์ด้านการพัฒนาประเทศของทหารผ่านพิพิธภัณฑ์กองทัพบกเฉลิมพระเกียรติ

dc.contributor.advisorวีรานันท์ ดำรงสกุล
dc.contributor.advisorชิตชยางค์ ยมาภัย
dc.contributor.authorตฤษณา โสรัจจ์
dc.date.accessioned2024-01-23T06:22:41Z
dc.date.available2024-01-23T06:22:41Z
dc.date.copyright2555
dc.date.created2567
dc.date.issued2555
dc.descriptionพัฒนาชนบทศึกษา (มหาวิทยาลัยมหิดล 2555)
dc.description.abstractงานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ภาพลักษณ์ด้านการพัฒนาประเทศที่ประชาชนมีต่อทหารบก และ เพื่อหาแนวทางการสื่อสารภาพลักษณ์ด้านการพัฒนาประเทศของทหารบกแก่ประชาชนด้วยการเข้าชมพิพิธภัณฑ์กองทัพบกเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งงานวิจัยนี้ได้วิธีวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยนำแนวคิดการสื่อสารเพื่อการพัฒนา แนวคิดการรับรู้ แนวคิดการเรียนรู้และแนวคิดเกี่ยวกับภาพลักษณ์มาเป็นแนวทางในการศึกษา ผลการศึกษาพบว่า ในการสำรวจภาพลักษณ์ด้านการพัฒนาประเทศของทหารบกในความคิดของประชาชนในกลุ่มของประชาชนทั่วไปและกลุ่มแกนนำชุมชน พบว่า ความคิดเห็นของประชาชนในการรับรู้งานด้านการพัฒนาประเทศของทหารบกที่ระดับมากที่สุดของทั้งสองกลุ่ม คือ ความจงรักภักดี เทิดทูนและพิทักษ์รักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ และ ความคิดเห็นของประชาชนในการรับรู้งานด้านการพัฒนาประเทศของทหารบกที่ระดับน้อยที่สุดของทั้งสองกลุ่มคือ การวางตัวเป็นกลางไม่สนับสนุนพรรคการเมืองใดๆ และเมื่อสำรวจเบื้องต้นการรับข้อมูลเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์กองทัพบกเฉลิมพระเกียรติพบว่า ประชาชนร้อยละ 97.6 ไม่เคยเข้าชมพิพิธภัณฑ์ฯ เพราะไม่ทราบว่ามีพิพิธภัณฑ์ฯนี้อยู่ ส่วนผู้ที่เคยเข้าชมเพราะต้องการทราบประวัติศาสตร์ทหารและพัฒนาการทางการทหารของกองทัพบกและได้รับทราบข้อมูลข่าวสารของพิพิธภัณฑ์ฯจากโทรทัศน์และแผ่นพับ และเมื่อนำกลุ่มแกนนำชุมชนเข้าชมพิพิธภัณฑ์ฯ กลุ่มแกนนำชุมชนมีการรับรู้ภาพลักษณ์ด้านการพัฒนาประเทศผ่านสื่อนิทรรศการต่างๆจำนวน 5 ห้อง ซึ่งกลุ่มแกนนำชุมชนมีการรับรู้และเข้าใจสื่อนิทรรศการในแต่ละห้องในเรื่องของความจงรักภักดี เทิดทูนและพิทักษ์รักษาสถาบันพระมหากษัตริย์และความกล้าหาญ/เสียสละของทหารมากที่สุด และแกนนำชุมชนส่วนใหญ่เสนอให้พิพิธภัณฑ์ฯเปิดในช่วงวันหยุดราชการหรือวันหยุดนักขัตฤกษ์ และลดขั้นตอนการขออนุญาตเข้าชมพิพิธภัณฑ์ฯ ข้อเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมพิพิธภัณฑ์ฯให้เป็นสื่อกลางในสร้างภาพลักษณ์ด้านการพัฒนาประเทศของทหารบกแก่ประชาชนด้วยการเข้าชมพิพิธภัณฑ์ฯนั้น ทางพิพิธภัณฑ์ฯควรเพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์ให้เพิ่มขึ้นเพื่อให้ประชาชนรับทราบ เช่น การจัดทำเว็บไซต์ของพิพิธภัณฑ์ฯ การจัดตั้งแฟนเพจพิพิธภัณฑ์ฯในเฟสบุค เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้พิพิธภัณฑ์ฯเป็นที่รู้จักในวงกว้างและเป็นการเพิ่มโอกาสให้ประชาชนได้เข้าถึงข้อมูลและเข้าชมพิพิธภัณฑ์ฯมากยิ่งขึ้น
dc.format.extentก-ฎ, 184 แผ่น : ภาพประกอบ
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.identifier.citationวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (พัฒนาชนบทศึกษา))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2555
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93617
dc.language.isotha
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
dc.rightsผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
dc.rights.holderมหาวิทยาลัยมหิดล
dc.subjectภาพลักษณ์องค์การ
dc.subjectทหารกับการพัฒนาชุมชน
dc.subjectพิพิธภัณฑ์ทหาร
dc.titleภาพลักษณ์ด้านการพัฒนาประเทศของทหารผ่านพิพิธภัณฑ์กองทัพบกเฉลิมพระเกียรติ
dc.title.alternativeThe military's image on national developmet as portrayed through the Royal Thai Army Museum Honor of His Majesty The King
dc.typeMaster Thesis
dcterms.accessRightsopen access
mods.location.urlhttp://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2555/cd467/5037454.pdf
thesis.degree.departmentสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย
thesis.degree.disciplineพัฒนาชนบทศึกษา
thesis.degree.grantorมหาวิทยาลัยมหิดล
thesis.degree.levelปริญญาโท
thesis.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Files