Effects of pursed lips breathing with forced expiration techniques and active cycle of breathing technique on airway clearance in chronic obstructive pulmonary disease patients
Issued Date
2023
Copyright Date
2009
Language
eng
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
xix, 231 leaves : ill.
Access Rights
restricted access
Rights Holder(s)
Mahidol University
Bibliographic Citation
Thesis (Ph.D. (Physical Therapy))--Mahidol University, 2009
Suggested Citation
Saowanee Woravutrangkul Effects of pursed lips breathing with forced expiration techniques and active cycle of breathing technique on airway clearance in chronic obstructive pulmonary disease patients. Thesis (Ph.D. (Physical Therapy))--Mahidol University, 2009. Retrieved from: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/89335
Title
Effects of pursed lips breathing with forced expiration techniques and active cycle of breathing technique on airway clearance in chronic obstructive pulmonary disease patients
Alternative Title(s)
ผลของเทคนิคการหายใจแบบห่อริมฝีปากร่วมกับการหายใจออกอย่างแรง และเทคนิคการหายใจแบบวงจรด้วยตนเองต่อการขจัดเสมหะของทางเดินหายใจในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
Author(s)
Abstract
การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของเทคนิคการหายใจแบบห่อริมฝีปาก ร่วมกับการหายใจออกอย่างแรง และเทคนิคการหายใจแบบวงจรด้วยตนเองต่อการระบายเสมหะใน ทางเดินหายใจของคนสุขภาพดี และศึกษาประสิทธิภาพของเทคนิคทั้งสองในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้น เรื้อรังในการศึกษาที่ 1 ผู้เข้าร่วมการศึกษาเป็นชายสุขภาพดี 3 คน ได้รับการตรวจวัดเทคนิคละออง สารเภสัชรังสีต่อการเคลื่อนของเสมหะในทางเดินหายใจภายในเวลา 70 นาที ตลอด 3 วันศึกษาด้วย เทคนิคการรักษาที่ต่างกัน ผลพบว่าทั้งสองเทคนิคมีประสิทธิผลใกล้เคียงกันแต่ดีกว่าการหายใจปกติ ในการศึกษาควบคุม โดยเทคนิคการหายใจแบบห่อริมฝีปากร่วมกับการหายใจออกอย่างแรงมีการ เคลื่อนระบายเสมหะในทางเดินหายใจส่วนต้นได้ดีกว่าเล็กน้อย ส่วนทางเดินหายใจส่วนกลางและ ทางเดินหายใจส่วนปลายนั้น ทั้งสองเทคนิคจะได้ผลดีชัดเจนเมื่อเทียบกับการหายใจปกติ ดังนั้นการ ระบายเสมหะในปอดปกติโดยรวมจะเกิดขึ้นได้ดีด้วยเทคนิคการหายใจแบบห่อริมฝีปากร่วมกับการ หายใจออกอย่างแรงและเทคนิคการหายใจแบบวงจรด้วยตนเอง
การศึกษาที่ 2 ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังระดับรุนแรงน้อย-ปานกลาง จำนวน 22 ราย เข้า ร่วมการศึกษาและได้รับการตรวจประเมิน ประกอบด้วย 1) การวัดค่าสมรรถภาพปอด, 2) แบบสอบ ถามการประเมินอาการด้วยตนเอง, 3) ใบบันทึกประจำวันด้วยตนเองเกี่ยวกับค่าอัตราการไหลสูงสุด ของอากาศขณะหายใจออก, ปริมาณเสมหะ, ค่าคะแนนความรู้สึกเหนื่อยด้วยบอร์ก และ4) แบบสอบ ถามความพอใจต่อเทคนิครักษาของผู้ป่วย ผู้ป่วยถูกสุ่มคัดเลือกเข้ากลุ่มศึกษา คือ กลุ่มที่ได้รับการ รักษาด้วยเทคนิคการหายใจแบบห่อริมฝีปากร่วมกับการหายใจออกอย่างแรง (กลุ่ม 1) และกลุ่มที่ ได้รับการรักษาด้วยเทคนิคการหายใจแบบวงจรด้วยตนเอง (กลุ่มที่ 2) ตลอดระยะเวลา 2 สัปดาห์ ผลการศึกษาพบว่า ตัวแปรการศึกษาต่างๆ ไม่พบความแตกต่างระหว่างกลุ่มในช่วงเวลาศึกษา ส่วน ภายในกลุ่ม 1 ค่าเฉลี่ยรวมของอัตราการไหลสูงสุดของอากาศขณะหายใจออกสูงขึ้นและปริมาณ เสมหะลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างสัปดาห์แรกและสอง ในกลุ่มที่ 2 พบว่า ค่าความเร็ว ลมหายใจออกสูงสุดของสมรรถภาพปอดมีค่าสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในวันที่ 14 เทียบกับเมื่อแรกเข้า นอกจากนี้ทั้งสองกลุ่มมีค่าคะแนนแบบสอบถามการประเมินอาการด้วยตนเองลดลง นั่นคือ อาการ โดยรวมของผู้ป่วยดีขึ้นในวันที่ 14 เทียบกับวันแรกของการศึกษา การศึกษานี้ ชี้ให้เห็นถึงผลของ ทั้งสองเทคนิคต่อเพิ่มการระบายเสมหะและสมรรถภาพปอดดีขึ้นในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังและ ทั้งสองเทคนิคมีประสิทธิภาพดีพอกัน
Degree Name
Doctor of Philosophy
Degree Level
Doctoral Degree
Degree Department
Faculty of Physical Therapy
Degree Discipline
Physical Therapy
Degree Grantor(s)
Mahidol University