โปรแกรมการป้องกันภาวะไตวายเรื้อรัง ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้
Issued Date
2559
Copyright Date
2559
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ฌ, 192 แผ่น : ภาพประกอบ
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2559
Suggested Citation
อ้อ พรมดี โปรแกรมการป้องกันภาวะไตวายเรื้อรัง ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้. วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2559. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93335
Title
โปรแกรมการป้องกันภาวะไตวายเรื้อรัง ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้
Alternative Title(s)
Chronic kidney disease preventing program among uncontrolled diabetic type II patients
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการป้องกันภาวะไตวายเรื้อรัง ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ โดยประยุกต์ทฤษฎีใช้แรงจูงใจในการป้องกันโรคร่วมกับแนวคิดแรงสนับสนุนทางสังคม กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยอายุ 40-60 ปี ที่มาตรวจรักษาที่ คลินิกเบาหวานโรงพยาบาลสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 30 คน ระยะเวลาศึกษา 6 สัปดาห์ เป็นระยะทดลอง 2 สัปดาห์ และระยะติดตามผล 4 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามในระยะก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และระยะติดตามผล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Chi-square, Repeated measure ANOVA และ Independent t-test ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความรุนแรงของภาวะไตวายเรื้อรังการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะไตวายเรื้อรัง การรับรู้ความสามารถของตนเองในการปฏิบัติพฤติกรรม การคาดหวังในผลลัพธ์ของการปฏิบัติพฤติกรรม และการปฏิบัติพฤติกรรมเพื่อป้องกันภาวะไตวายเรื้อรัง ดีขึ้นกว่าก่อนการทดลอง และดีกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) จากการวิจัยครั้งนี้สรุปได้ว่าโปรแกรมการป้องกันภาวะไตวายเรื้อรัง ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ร่วมกับการให้แรงสนับสนุนทางสังคมจากบุคคลในครอบครัว สามารถทำให้ผู้ป่วยมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเพื่อป้องกันการเกิดภาวะไตวายเรื้อรังดีขึ้น ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับประชากรกลุ่มโรคเรื้อรังที่มีลักษณะใกล้เคียงกันได้
The purpose of this Quasi-Experimental study was to evaluate the effects of the chronic kidney disease-preventing program among uncontrolled diabetic patients applying protection-motivation theory and social support. The samples were uncontrolled diabetic type II patients aged 40-60 years old that visited a diabetic clinic at Sirinthron hospital, Ubonrachathani province. 60 participants were equally divided into 2 groups an experimental group and a comparison group which consisted of 30 patients in each group. The research was conducted over a period of 6 weeks. 2 weeks were allotted for the intervention and another 4 weeks provided for follow-up. The data collection was conducted by questionnaire for the pre- test, post-test and follow-up periods. The statistical analysis was performed by using percentage, mean, standard deviation, Chi-square, Repeated measure ANOVA and Independent t-test. The research results indicated that the experimental group had a significantly higher mean score of perceived severity, perceived vulnerability, perceived self-efficacy, response efficacy, chronic kidney disease prevention behaviors than before the intervention and those in the comparison group (p-value < 0.05). From this research's result, the program along with social support from family members, shows it to be beneficial in a positive change for the experimental group's behavior in preventing chronic kidney disease, which can be applied to other similar groups of chronic disease populations.
The purpose of this Quasi-Experimental study was to evaluate the effects of the chronic kidney disease-preventing program among uncontrolled diabetic patients applying protection-motivation theory and social support. The samples were uncontrolled diabetic type II patients aged 40-60 years old that visited a diabetic clinic at Sirinthron hospital, Ubonrachathani province. 60 participants were equally divided into 2 groups an experimental group and a comparison group which consisted of 30 patients in each group. The research was conducted over a period of 6 weeks. 2 weeks were allotted for the intervention and another 4 weeks provided for follow-up. The data collection was conducted by questionnaire for the pre- test, post-test and follow-up periods. The statistical analysis was performed by using percentage, mean, standard deviation, Chi-square, Repeated measure ANOVA and Independent t-test. The research results indicated that the experimental group had a significantly higher mean score of perceived severity, perceived vulnerability, perceived self-efficacy, response efficacy, chronic kidney disease prevention behaviors than before the intervention and those in the comparison group (p-value < 0.05). From this research's result, the program along with social support from family members, shows it to be beneficial in a positive change for the experimental group's behavior in preventing chronic kidney disease, which can be applied to other similar groups of chronic disease populations.
Description
การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน (มหาวิทยาลัยมหิดล 2559)
Degree Name
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
คณะสาธารณสุขศาสตร์
Degree Discipline
การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล