โปรแกรมการป้องกันภาวะไตวายเรื้อรัง ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้

dc.contributor.advisorวีณา เที่ยงธรรม
dc.contributor.advisorปาหนัน พิชยภิญโญ
dc.contributor.authorอ้อ พรมดี
dc.date.accessioned2024-01-22T01:42:34Z
dc.date.available2024-01-22T01:42:34Z
dc.date.copyright2559
dc.date.created2567
dc.date.issued2559
dc.descriptionการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน (มหาวิทยาลัยมหิดล 2559)
dc.description.abstractการวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการป้องกันภาวะไตวายเรื้อรัง ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ โดยประยุกต์ทฤษฎีใช้แรงจูงใจในการป้องกันโรคร่วมกับแนวคิดแรงสนับสนุนทางสังคม กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยอายุ 40-60 ปี ที่มาตรวจรักษาที่ คลินิกเบาหวานโรงพยาบาลสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 30 คน ระยะเวลาศึกษา 6 สัปดาห์ เป็นระยะทดลอง 2 สัปดาห์ และระยะติดตามผล 4 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามในระยะก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และระยะติดตามผล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Chi-square, Repeated measure ANOVA และ Independent t-test ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความรุนแรงของภาวะไตวายเรื้อรังการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะไตวายเรื้อรัง การรับรู้ความสามารถของตนเองในการปฏิบัติพฤติกรรม การคาดหวังในผลลัพธ์ของการปฏิบัติพฤติกรรม และการปฏิบัติพฤติกรรมเพื่อป้องกันภาวะไตวายเรื้อรัง ดีขึ้นกว่าก่อนการทดลอง และดีกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) จากการวิจัยครั้งนี้สรุปได้ว่าโปรแกรมการป้องกันภาวะไตวายเรื้อรัง ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ร่วมกับการให้แรงสนับสนุนทางสังคมจากบุคคลในครอบครัว สามารถทำให้ผู้ป่วยมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเพื่อป้องกันการเกิดภาวะไตวายเรื้อรังดีขึ้น ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับประชากรกลุ่มโรคเรื้อรังที่มีลักษณะใกล้เคียงกันได้
dc.description.abstractThe purpose of this Quasi-Experimental study was to evaluate the effects of the chronic kidney disease-preventing program among uncontrolled diabetic patients applying protection-motivation theory and social support. The samples were uncontrolled diabetic type II patients aged 40-60 years old that visited a diabetic clinic at Sirinthron hospital, Ubonrachathani province. 60 participants were equally divided into 2 groups an experimental group and a comparison group which consisted of 30 patients in each group. The research was conducted over a period of 6 weeks. 2 weeks were allotted for the intervention and another 4 weeks provided for follow-up. The data collection was conducted by questionnaire for the pre- test, post-test and follow-up periods. The statistical analysis was performed by using percentage, mean, standard deviation, Chi-square, Repeated measure ANOVA and Independent t-test. The research results indicated that the experimental group had a significantly higher mean score of perceived severity, perceived vulnerability, perceived self-efficacy, response efficacy, chronic kidney disease prevention behaviors than before the intervention and those in the comparison group (p-value < 0.05). From this research's result, the program along with social support from family members, shows it to be beneficial in a positive change for the experimental group's behavior in preventing chronic kidney disease, which can be applied to other similar groups of chronic disease populations.
dc.format.extentก-ฌ, 192 แผ่น : ภาพประกอบ
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.identifier.citationวิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2559
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93335
dc.language.isotha
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
dc.rightsผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
dc.rights.holderมหาวิทยาลัยมหิดล
dc.subjectเบาหวาน -- ผู้ป่วย -- การดูแล
dc.subjectไตวายเรื้อรัง
dc.titleโปรแกรมการป้องกันภาวะไตวายเรื้อรัง ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้
dc.title.alternativeChronic kidney disease preventing program among uncontrolled diabetic type II patients
dc.typeMaster Thesis
dcterms.accessRightsopen access
mods.location.urlhttp://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2558/510/5637731.pdf
thesis.degree.departmentคณะสาธารณสุขศาสตร์
thesis.degree.disciplineการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน
thesis.degree.grantorมหาวิทยาลัยมหิดล
thesis.degree.levelปริญญาโท
thesis.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต

Files