Risk factors of Cefoperazone/Sulbactam resistant Acinetobacter baumannii nosocomial infection at Rajavithi Hospital
Issued Date
2009
Copyright Date
2009
Resource Type
Language
eng
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ix, 85 leaves
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
Mahidol University
Bibliographic Citation
Thesis (M.Sc. (Infectious Diseases and Epidemiology))--Mahidol University, 2009
Suggested Citation
Juntiwa Ponsa Risk factors of Cefoperazone/Sulbactam resistant Acinetobacter baumannii nosocomial infection at Rajavithi Hospital. Thesis (M.Sc. (Infectious Diseases and Epidemiology))--Mahidol University, 2009. Retrieved from: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/96331
Title
Risk factors of Cefoperazone/Sulbactam resistant Acinetobacter baumannii nosocomial infection at Rajavithi Hospital
Alternative Title(s)
ปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อ Acinetobacter baumannii ที่ดื้อต่อยาเซฟโฟเพอราโซล/ซัลแบกแทมในโรงพยาบาลราชวิถี
Author(s)
Abstract
Acinetobacter baumannii เป็นเชื้อฉวยโอกาสที่ก่อโรคในโรงพยาบาล และเพิ่มอัตรา ตายของผู้ป่วยให้สูงขึ้น การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบย้อนหลัง เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับ การติดเชื้อ A. baumannii ที่ดื้อต่อยา เซฟโฟเพอราโซล/ซัลแบกแทม โดยทำการศึกษาวิจัยในผู้ป่วย ที่เข้านอนรักษาในโรงพยาบาลราชวิถี ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2550 ถึง 30 พฤศจิกายน 2550 โดย ใช้แบบเก็บข้อมูลที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือ ผู้ป่วยที่ติดเชื้อ A. baumannii ที่ดื้อต่อยา เซฟโฟเพอราโซล/ซัลแบกแทม จำนวน 148 ราย และกลุ่มเปรียบเทียบคือ ผู้ป่วยที่ติดเชื้อ A. baumannii ที่ไม่ดื้อยา เซฟโฟเพอราโซล/ซัลแบกแทม จำนวน 295 ราย ผลการศึกษาพบว่า กลุ่ม ศึกษามีอายุเฉลี่ย 62.56±19.6 ปี และในกลุ่มเปรียบเทียบ 58.31±20.3 ปี ระยะเวลาการนอน โรงพยาบาลเฉลี่ยในกลุ่มศึกษา 7.8±7.28 สัปดาห์ และในกลุ่มเปรียบเทียบ 6.89±7.35 สัปดาห์ สิ่งส่ง ตรวจที่พบเชื้อ A. baumannii ในกลุ่มศึกษา มากที่สุดคือ เสมหะ 62.8 % เชื้อจุลชีพที่สามารถตรวจ พบพร้อมกับ A. baumannii ในกลุ่มศึกษามากที่สุดคือ E. coli 33.1% อุบัติการการติดเชื้อ A. baumannii ที่ดื้อต่อยา เซฟโฟเพอราโซล/ซัลแบกแทม คือ 6.2 ต่อผู้ป่วย 1,000 คน อัตราตายเฉพาะ สาเหตุในกลุ่มศึกษา คือ ร้อยละ 62.2 ในกลุ่มเปรียบเทียบ คือ ร้อยละ 42.2 ผลการวิเคราะห์ตัวแปร เชิงซ้อนพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อ A. baumannii ท่ดี ื้อต่อยาเซฟโฟเพอราโซล/ ซัลแบกแทม ได้แก่ โรคมะเร็ง (OR= 3.00, 95%CI= 1.48-6.10), โรคไตวายเรื้อรัง (OR= 2.90, 95%CI= 1.39-6.05), การใส่สายยางให้อาหารทางจมูกสู่กระเพาะอาหารนานกว่า 1 สัปดาห์ (OR= 2.38, 95%CI= 1..21-4.70) ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า อัตราอุบัติการณ์ของการติดเชื้อ A. baumannii ที่ดื้อต่อยา เซฟโฟเพอราโซล/ซัลแบกแทม สอดคล้องไปกับการติดเชื้อ A. baumannii ปัจจัยที่มีผลกับการติด เชื้อ A. baumannii ที่ดื้อต่อยา เซฟโฟเพอราโซล/ซัลแบกแทม คือ โรคมะเร็ง, โรคไตวายเรื้อรัง และ การใส่สายยางให้อาหารทางจมูกสู่กระเพาะอาหาร
Description
Infectious Diseases and Epidemiology (Mahidol University 2009)
Degree Name
Master of Science
Degree Level
Master's degree
Degree Department
Faculty of Public Health
Degree Discipline
Infectious Diseases and Epidemiology
Degree Grantor(s)
Mahidol University