Risk factors of Cefoperazone/Sulbactam resistant Acinetobacter baumannii nosocomial infection at Rajavithi Hospital

dc.contributor.advisorKitiphong Harncharoen
dc.contributor.advisorKanokrat Siripanichgon
dc.contributor.advisorTavatchai Jariyasethpong
dc.contributor.authorJuntiwa Ponsa
dc.date.accessioned2024-02-09T05:49:56Z
dc.date.available2024-02-09T05:49:56Z
dc.date.copyright2009
dc.date.created2009
dc.date.issued2009
dc.descriptionInfectious Diseases and Epidemiology (Mahidol University 2009)
dc.description.abstractAcinetobacter baumannii เป็นเชื้อฉวยโอกาสที่ก่อโรคในโรงพยาบาล และเพิ่มอัตรา ตายของผู้ป่วยให้สูงขึ้น การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบย้อนหลัง เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับ การติดเชื้อ A. baumannii ที่ดื้อต่อยา เซฟโฟเพอราโซล/ซัลแบกแทม โดยทำการศึกษาวิจัยในผู้ป่วย ที่เข้านอนรักษาในโรงพยาบาลราชวิถี ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2550 ถึง 30 พฤศจิกายน 2550 โดย ใช้แบบเก็บข้อมูลที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือ ผู้ป่วยที่ติดเชื้อ A. baumannii ที่ดื้อต่อยา เซฟโฟเพอราโซล/ซัลแบกแทม จำนวน 148 ราย และกลุ่มเปรียบเทียบคือ ผู้ป่วยที่ติดเชื้อ A. baumannii ที่ไม่ดื้อยา เซฟโฟเพอราโซล/ซัลแบกแทม จำนวน 295 ราย ผลการศึกษาพบว่า กลุ่ม ศึกษามีอายุเฉลี่ย 62.56±19.6 ปี และในกลุ่มเปรียบเทียบ 58.31±20.3 ปี ระยะเวลาการนอน โรงพยาบาลเฉลี่ยในกลุ่มศึกษา 7.8±7.28 สัปดาห์ และในกลุ่มเปรียบเทียบ 6.89±7.35 สัปดาห์ สิ่งส่ง ตรวจที่พบเชื้อ A. baumannii ในกลุ่มศึกษา มากที่สุดคือ เสมหะ 62.8 % เชื้อจุลชีพที่สามารถตรวจ พบพร้อมกับ A. baumannii ในกลุ่มศึกษามากที่สุดคือ E. coli 33.1% อุบัติการการติดเชื้อ A. baumannii ที่ดื้อต่อยา เซฟโฟเพอราโซล/ซัลแบกแทม คือ 6.2 ต่อผู้ป่วย 1,000 คน อัตราตายเฉพาะ สาเหตุในกลุ่มศึกษา คือ ร้อยละ 62.2 ในกลุ่มเปรียบเทียบ คือ ร้อยละ 42.2 ผลการวิเคราะห์ตัวแปร เชิงซ้อนพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อ A. baumannii ท่ดี ื้อต่อยาเซฟโฟเพอราโซล/ ซัลแบกแทม ได้แก่ โรคมะเร็ง (OR= 3.00, 95%CI= 1.48-6.10), โรคไตวายเรื้อรัง (OR= 2.90, 95%CI= 1.39-6.05), การใส่สายยางให้อาหารทางจมูกสู่กระเพาะอาหารนานกว่า 1 สัปดาห์ (OR= 2.38, 95%CI= 1..21-4.70) ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า อัตราอุบัติการณ์ของการติดเชื้อ A. baumannii ที่ดื้อต่อยา เซฟโฟเพอราโซล/ซัลแบกแทม สอดคล้องไปกับการติดเชื้อ A. baumannii ปัจจัยที่มีผลกับการติด เชื้อ A. baumannii ที่ดื้อต่อยา เซฟโฟเพอราโซล/ซัลแบกแทม คือ โรคมะเร็ง, โรคไตวายเรื้อรัง และ การใส่สายยางให้อาหารทางจมูกสู่กระเพาะอาหาร
dc.format.extentix, 85 leaves
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.identifier.citationThesis (M.Sc. (Infectious Diseases and Epidemiology))--Mahidol University, 2009
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/96331
dc.language.isoeng
dc.publisherMahidol University. Mahidol University Library and Knowledge Center
dc.rightsผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
dc.rights.holderMahidol University
dc.subjectAcinetobacter baumannii
dc.subjectCefoperazone
dc.subjectDrug resistance in microorganisms
dc.subjectNosocomial infections
dc.titleRisk factors of Cefoperazone/Sulbactam resistant Acinetobacter baumannii nosocomial infection at Rajavithi Hospital
dc.title.alternativeปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อ Acinetobacter baumannii ที่ดื้อต่อยาเซฟโฟเพอราโซล/ซัลแบกแทมในโรงพยาบาลราชวิถี
dc.typeMaster Thesis
dcterms.accessRightsopen access
mods.location.urlhttp://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2553/cd447/5037146.pdf
thesis.degree.departmentFaculty of Public Health
thesis.degree.disciplineInfectious Diseases and Epidemiology
thesis.degree.grantorMahidol University
thesis.degree.levelMaster's degree
thesis.degree.nameMaster of Science

Files