Controlled-porosity osmotic pump tablets : influences of membrane and formulation variables on drug release in In Vitro and In Vivo
Issued Date
2023
Copyright Date
2007
Language
eng
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
xxii, 246 leaves : ill.
Access Rights
restricted access
Rights Holder(s)
Mahidol University
Bibliographic Citation
Thesis (Ph.D. (Pharmaceutics))--Mahidol University, 2007
Suggested Citation
Siracha Tuntikulwattana Controlled-porosity osmotic pump tablets : influences of membrane and formulation variables on drug release in In Vitro and In Vivo. Thesis (Ph.D. (Pharmaceutics))--Mahidol University, 2007. Retrieved from: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/89019
Title
Controlled-porosity osmotic pump tablets : influences of membrane and formulation variables on drug release in In Vitro and In Vivo
Alternative Title(s)
ยาเม็ดออสโมติคปั๊มชนิดควบคุมรูพรุน : อิทธิพลของตัวแปรเมมเบรนและสูตรตำรับต่อการปลดปล่อยยาในหลอดทดลองและสัตว์ทดลอง
Author(s)
Abstract
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมไฮโดรเจลไคโตแซน-กรดโพลิอะไครลิคและไฮโดรซีโปรพิลเมทิล เซลลูโลส (CS-PAA:HPMC) และใช้ไฮโดรเจลที่เตรียมได้เป็นสารโพลิเมอร์ก่อแรงดันในการพัฒนายาเม็ดออสโม ติคปั๊มชนิดควบคุมรูพรุนควบคุมการปลดปล่อยยาโปรปรานอลอล ยาเม็ดออสโมติคปั๊มเคลือบด้วยเมมเบรน เซลลูโลสอะซิเตทซึ่งประกอบด้วยพีวีพีเค 30 และพีวีพีเค 90 เป็นสารก่อรู การทดลองใช้ response surface methodology เพื่อหาส่วนประกอบของเมมเบรนที่เหมาะสมต่อการปลดปล่อยยาตามข้อกำหนดทางเภสัชกรรม การปลดปล่อยยาจนถึงปริมาณร้อยละ 70 เป็นไปตามจลนศาสตร์อันดับศูนย์โดยไม่ขึ้นกับสภาวะแวดล้อม ปัจจัยที่ มีผลต่อการปลดปล่อยยาได้แก่ น้ำหนักโมเลกุลและปริมาณของพีวีพี และปริมาณในการเคลือบเมมเบรน พบว่า ยา เม็ดที่เมมเบรนประกอบด้วยพีวีพีเค 30 เท่านั้นที่สามารถควบคุมการปลดปล่อยยาตามข้อกำหนดในระยะเวลา 12 และ 24 ชั่วโมง จากการศึกษาการพองตัวของไฮโดรเจล พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการพองตัวได้แก่ น้ำหนักโมเลกุล ของไคโตแซน อัตราส่วนของไคโตแซนและกรดโพลิอะไครลิค และอัตราส่วนของไฮโดรซีโปรพิลเมทิล เซลลูโลส เมื่อนำยาเม็ดออสโมติคปั๊มชนิดควบคุมรูพรุนที่พัฒนาขึ้นไปทำการศึกษาการปลดปล่อยยาใน สัตว์ทดลอง โดยใช้ 3-way crossover study design เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการปลดปล่อยยาในหลอดทดลอง และการดูดซึมในสัตว์ทดลอง พบว่า ยาเม็ดออสโมติคปั๊มในรูปแบบยาเม็ดสองชั้นที่ประกอบด้วยไฮโดรเจล CSPAA: HPMC ในอัตราส่วน 1-1:1 ปริมาณ 20 มก. เคลือบด้วยเมมเบรนเซลลูโลสอะซิเตทที่ประกอบด้วย พีวีพีเค 30 ปริมาณร้อยละ 60 เป็นสารก่อรูและพีอีจี 400 ปริมาณร้อยละ 10 เป็นพลาสติไซเซอร์ เคลือบด้วยปริมาณน้ำหนัก ของเมมเบรนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 8 มีค่าชีวประสิทธิผลสัมพัทธ์เทียบเท่ากับยาเม็ดโปรปรานอลอลชนิดปลดปล่อยทันที ที่มีขายในท้องตลาด ผลการศึกษาแสดงในเห็นว่าไฮโดรเจล CS-PAA:HPMC มีคุณสมบัติเหมาะสมในการนำมาใช้ เป็นสารโพลิเมอร์ก่อแรงดันในยาเม็ดออสโมติคปั๊มชนิดควบคุมรูพรุนเพื่อควบคุมการปลดปล่อยตัวยาทั้งในหลอด ทดลองและสัตว์ทดลอง
Degree Name
Doctor of Philosophy
Degree Level
Doctoral Degree
Degree Department
Faculty of Pharmacy
Degree Discipline
Pharmaceutics
Degree Grantor(s)
Mahidol University