Controlled-porosity osmotic pump tablets : influences of membrane and formulation variables on drug release in In Vitro and In Vivo

dc.contributor.advisorNuttanan Sinchaipanid
dc.contributor.advisorAmpol Mitrevej
dc.contributor.advisorWilliams, Desmond B.
dc.contributor.advisorTeerakiat Kerdcharoen
dc.contributor.authorSiracha Tuntikulwattana
dc.date.accessioned2023-08-31T02:33:27Z
dc.date.available2023-08-31T02:33:27Z
dc.date.copyright2007
dc.date.created2007
dc.date.issued2023
dc.description.abstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมไฮโดรเจลไคโตแซน-กรดโพลิอะไครลิคและไฮโดรซีโปรพิลเมทิล เซลลูโลส (CS-PAA:HPMC) และใช้ไฮโดรเจลที่เตรียมได้เป็นสารโพลิเมอร์ก่อแรงดันในการพัฒนายาเม็ดออสโม ติคปั๊มชนิดควบคุมรูพรุนควบคุมการปลดปล่อยยาโปรปรานอลอล ยาเม็ดออสโมติคปั๊มเคลือบด้วยเมมเบรน เซลลูโลสอะซิเตทซึ่งประกอบด้วยพีวีพีเค 30 และพีวีพีเค 90 เป็นสารก่อรู การทดลองใช้ response surface methodology เพื่อหาส่วนประกอบของเมมเบรนที่เหมาะสมต่อการปลดปล่อยยาตามข้อกำหนดทางเภสัชกรรม การปลดปล่อยยาจนถึงปริมาณร้อยละ 70 เป็นไปตามจลนศาสตร์อันดับศูนย์โดยไม่ขึ้นกับสภาวะแวดล้อม ปัจจัยที่ มีผลต่อการปลดปล่อยยาได้แก่ น้ำหนักโมเลกุลและปริมาณของพีวีพี และปริมาณในการเคลือบเมมเบรน พบว่า ยา เม็ดที่เมมเบรนประกอบด้วยพีวีพีเค 30 เท่านั้นที่สามารถควบคุมการปลดปล่อยยาตามข้อกำหนดในระยะเวลา 12 และ 24 ชั่วโมง จากการศึกษาการพองตัวของไฮโดรเจล พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการพองตัวได้แก่ น้ำหนักโมเลกุล ของไคโตแซน อัตราส่วนของไคโตแซนและกรดโพลิอะไครลิค และอัตราส่วนของไฮโดรซีโปรพิลเมทิล เซลลูโลส เมื่อนำยาเม็ดออสโมติคปั๊มชนิดควบคุมรูพรุนที่พัฒนาขึ้นไปทำการศึกษาการปลดปล่อยยาใน สัตว์ทดลอง โดยใช้ 3-way crossover study design เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการปลดปล่อยยาในหลอดทดลอง และการดูดซึมในสัตว์ทดลอง พบว่า ยาเม็ดออสโมติคปั๊มในรูปแบบยาเม็ดสองชั้นที่ประกอบด้วยไฮโดรเจล CSPAA: HPMC ในอัตราส่วน 1-1:1 ปริมาณ 20 มก. เคลือบด้วยเมมเบรนเซลลูโลสอะซิเตทที่ประกอบด้วย พีวีพีเค 30 ปริมาณร้อยละ 60 เป็นสารก่อรูและพีอีจี 400 ปริมาณร้อยละ 10 เป็นพลาสติไซเซอร์ เคลือบด้วยปริมาณน้ำหนัก ของเมมเบรนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 8 มีค่าชีวประสิทธิผลสัมพัทธ์เทียบเท่ากับยาเม็ดโปรปรานอลอลชนิดปลดปล่อยทันที ที่มีขายในท้องตลาด ผลการศึกษาแสดงในเห็นว่าไฮโดรเจล CS-PAA:HPMC มีคุณสมบัติเหมาะสมในการนำมาใช้ เป็นสารโพลิเมอร์ก่อแรงดันในยาเม็ดออสโมติคปั๊มชนิดควบคุมรูพรุนเพื่อควบคุมการปลดปล่อยตัวยาทั้งในหลอด ทดลองและสัตว์ทดลอง
dc.format.extentxxii, 246 leaves : ill.
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.identifier.citationThesis (Ph.D. (Pharmaceutics))--Mahidol University, 2007
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/89019
dc.language.isoeng
dc.publisherMahidol University. Mahidol University Library and Knowledge Center
dc.rights.holderMahidol University
dc.subjectDrugs -- controlled release
dc.subjectChitosan
dc.subjectDelayed-Action Preparations
dc.subjectOsmotic Pump System
dc.subjectTablets, Osmotic Pump
dc.titleControlled-porosity osmotic pump tablets : influences of membrane and formulation variables on drug release in In Vitro and In Vivo
dc.title.alternativeยาเม็ดออสโมติคปั๊มชนิดควบคุมรูพรุน : อิทธิพลของตัวแปรเมมเบรนและสูตรตำรับต่อการปลดปล่อยยาในหลอดทดลองและสัตว์ทดลอง
dcterms.accessRightsrestricted access
mu.link.internalLinkhttp://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2553/cd446.1/4336417.pdf
thesis.degree.departmentFaculty of Pharmacy
thesis.degree.disciplinePharmaceutics
thesis.degree.grantorMahidol University
thesis.degree.levelDoctoral Degree
thesis.degree.nameDoctor of Philosophy

Files

Collections