การศึกษาการแปลภาษาภาพพจน์ในวรรณกรรมซีไรต์จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ
Issued Date
2558
Copyright Date
2558
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
[ก]-ญ, 182 แผ่น : ภาพประกอบ
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ภาษาและวัฒนธรรมเพื่อการสื่อสารและการพัฒนา))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2558
Suggested Citation
ชินา วินิจนฤมาลย์ การศึกษาการแปลภาษาภาพพจน์ในวรรณกรรมซีไรต์จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ. วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ภาษาและวัฒนธรรมเพื่อการสื่อสารและการพัฒนา))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2558. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92861
Title
การศึกษาการแปลภาษาภาพพจน์ในวรรณกรรมซีไรต์จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ
Alternative Title(s)
A study of figurative language translation in the S.E.A. write awarded literature from Thai into English
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
การศึกษานี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการแปลภาษาภาพพจน์จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ ในการศึกษานี้ ผู้วิจัยใช้คำนิยามภาษาภาพพจน์ของ Abrams (1999) และทฤษฎี Conceptual Metaphors ของ Lakoff และ Johnson (1980) คัดเลือกภาษาภาพพจน์ 7 ประเภท ได้แก่ อุปมา อุปลักษณ์ บุคลาธิษฐาน การอ้างถึง อติพจน์ การเลี่ยงคำไม่สุภาพ และ สัมพจนัย และใช้วิธีการแปลของ Newmark (1988) และ Baker (1992) ซึ่งได้แก่ การแปลตรงตัว การแปลแบบยึดต้นฉบับ การแปลแบบอรรถศาสตร์ การแปลเพื่อสื่อสาร การแปลโดยใช้สำนวน ภาษาเป้าหมาย การแปลเอาความ การดัดแปลง และการไม่แปล ในการวิเคราะห์การแปลภาษาภาพพจน์จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ วรรณกรรมซีไรต์ซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลภาษาภาพพจน์ ได้แก่ รวมกวีนิพนธ์ "เพียงความเคลื่อนไหว" ของเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ นวนิยายเรื่อง "เวลา" ของชาติ กอบจิตติ และรวมเรื่องสั้น "สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคน" ของวินทร์ เลียววาริณ และฉบับแปลภาษาอังกฤษ ได้แก่ "Mere Movement" "Time" "Man Doomed" และ "Man Alive" ผลการศึกษาพบว่า วิธีการแปลที่ผู้แปลใช้มากที่สุดในการแปลภาพพจน์แต่ละประเภทเป็นดังนี้ 1) อุปมา: การดัดแปลง 2) อุปลักษณ์: การดัดแปลง 3) บุคลาธิษฐาน: การดัดแปลง 4) การอ้างถึง: การแปลตรงตัว 5) อติพจน์: การแปลแบบยึดต้นฉบับและการดัดแปลง 6) การเลี่ยงคำไม่สุภาพ: การดัดแปลง 7) สัมพจนัย: การแปลเอาความ
This qualitative research's objective was to study figurative language translation from Thai into English. The sources of figurative language were three items of the S.E.A. Write Awarded literature namely, Naowarat Pongpaiboon's Phiang Khwam Khluean Wai , Chart Korbjitti's Wei La and Win Lyovarin's Sing Mi Chivit Thi Riak Wa Khon and English translation: Mere Movement , Time , Man Doomed and Man Alive .Abrams' (1999) definition of simile, personification, allusion, hyperbole, euphemism and synecdoche and Lakoff and Johnson's (1980) Conceptual Metaphors were used to select and categorize figurative language. In addition, Newmark's (1988) translation methods: literal translation, faithful translation, semantic translation, communicative translation, idiomatic translation, free translation, adaptation and Baker's (1992) omission were applied to analyze figurative language translation. The results showed that the translation methods used mostly in each type of figurative language were: 1) simile: adaptation 2) metaphor: adaptation 3) personification: adaptation 4) allusion: literal translation 5) hyperbole: faithful translation and adaptation 6) euphemism: adaptation and 7) synecdoche: free translation
This qualitative research's objective was to study figurative language translation from Thai into English. The sources of figurative language were three items of the S.E.A. Write Awarded literature namely, Naowarat Pongpaiboon's Phiang Khwam Khluean Wai , Chart Korbjitti's Wei La and Win Lyovarin's Sing Mi Chivit Thi Riak Wa Khon and English translation: Mere Movement , Time , Man Doomed and Man Alive .Abrams' (1999) definition of simile, personification, allusion, hyperbole, euphemism and synecdoche and Lakoff and Johnson's (1980) Conceptual Metaphors were used to select and categorize figurative language. In addition, Newmark's (1988) translation methods: literal translation, faithful translation, semantic translation, communicative translation, idiomatic translation, free translation, adaptation and Baker's (1992) omission were applied to analyze figurative language translation. The results showed that the translation methods used mostly in each type of figurative language were: 1) simile: adaptation 2) metaphor: adaptation 3) personification: adaptation 4) allusion: literal translation 5) hyperbole: faithful translation and adaptation 6) euphemism: adaptation and 7) synecdoche: free translation
Description
ภาษาและวัฒนธรรมเพื่อการสื่อสารและการพัฒนา (มหาวิทยาลัยมหิดล 2558)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย
Degree Discipline
ภาษาและวัฒนธรรมเพื่อการสื่อสารและการพัฒนา
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล