The process of resilience promotion in school children in an urban slum area
Issued Date
2023
Copyright Date
2012
Language
eng
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
xiii, 183 leaves
Access Rights
restricted access
Rights Holder(s)
Mahidol University
Bibliographic Citation
Thesis (Ph.D. (Population Education))--Mahidol University, 2012
Suggested Citation
Sompoch Ratioran The process of resilience promotion in school children in an urban slum area. Thesis (Ph.D. (Population Education))--Mahidol University, 2012. Retrieved from: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/89487
Title
The process of resilience promotion in school children in an urban slum area
Alternative Title(s)
กระบวนการส่งเสริมความยืดหยุ่นทนทานของเด็กนักเรียนในชุมชนแออัดในเขตเมือง
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนส่งเสริมความยืดหยุ่นทนทานของเด็กนักเรียนในชุมชนแออัดในเขตเมือง โดยศึกษา 1) คุณลักษณะความยืดหยุ่นทนทาน 2) ปัจจัยปกป้องด้านครอบครัวโรงเรียน เพื่อนและด้านชุมชน 3) ผลลัพธ์การปรับตัว 4) ปัจจัยทำนายความยืดหยุ่นทนทานและผลลัพธ์การปรับตัว และ 5) กระบวนการส่งเสริมความยืดหยุ่นทนทาน ใช้วิธีการศึกษาแบบผสมผสาน การศึกษาเชิงปริมาณสุ่มตัวอย่างจาก นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่อาศัยในชุมชนแออัดในเขตกรุงเทพมหานคร จานวน 306 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน การศึกษาเชิงคุณภาพเลือกตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงจากกลุ่มศึกษาเชิงปริมาณ สัมภาษณ์เชิงลึกและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษา พบว่าคุณลักษณะความยืดหยุ่นทนทานเฉลี่ยด้านการมีเป้าหมายชีวิต และการมีศีลธรรม จริยธรรมอยู่ในระดับสูง ส่วนด้านการรู้สึกดีต่อตนเองและความสามารถในการเผชิญปัญหาอยู่ในระดับต่ำ ปัจจัยปกป้องเฉลี่ยด้านครอบครัวและโรงเรียนอยู่ในระดับสูง ส่วนปัจจัยปกป้องด้านเพื่อนและชุมชนอยู่ในระดับต่ำ สาหรับผลลัพธ์การปรับตัวเฉลี่ย พบว่า ด้านสัมฤทธิผลทางการเรียนอยู่ในระดับสูง ส่วนพฤติกรรมทางสังคมอยู่ในระดับต่ำ ปัจจัยปกป้องสามารถร่วมกันทำนายความยืดหยุ่นทนทานได้ร้อยละ 37.2 ส่วนคุณลักษณะความยืดหยุ่นทนทานพบบางคุณลักษณะสามารถทำนายผลลัพธ์การปรับตัวของนักเรียน กระบวนการส่งเสริมความยืดหยุ่นทนทานพบ 3 กระบวนการที่สำคัญ คือ 1) กระบวนการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ เป็นการเสริมสร้าง สนับสนุนให้เด็กเห็นคุณค่าในตน สมรรถนะแห่งตนและส่งเสริมให้เด็กมีความสามารถเชิงบวก 2) กระบวนการป้องกันปัจจัยเสี่ยง คือ การป้องกันไม่ให้เด็กเข้าไปเผชิญกับปัญหา 3) กระบวนการแก้ปัญหาและเยียวยา เป็นกระบวนการที่พบในเด็กกลุ่มที่สัมผัสกับปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ กระบวนการจัดการกับปัญหา และกระบวนการลดผลกระทบจากการสัมผัสปัจจัยเสี่ยง ข้อเสนอแนะ การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ การป้องกันปัจจัยเสี่ยง และการแก้ปัญหาและเยียวยา เป็นกระบวนการที่ควรสนับสนุนโดยครอบครัว โรงเรียน เพื่อนและชุมชน เพื่อให้เด็กเกิดความยืดหยุ่นทนทาน
Degree Name
Doctor of Philosophy
Degree Level
Doctoral Degree
Degree Department
Faculty of Social Sciences and Humanities
Degree Discipline
Population Education
Degree Grantor(s)
Mahidol University