กระบวนการถ่ายทอดทางขิม เพลงเดี่ยวลาวแพน ทางหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) : กรณีศึกษา อาจารย์ชนก สาคริก
Issued Date
2556
Copyright Date
2556
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ฐ, 187 แผ่น : ภาพประกอบ
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ดนตรี))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2559
Suggested Citation
ณัฐิดา นุ่มปราณี กระบวนการถ่ายทอดทางขิม เพลงเดี่ยวลาวแพน ทางหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) : กรณีศึกษา อาจารย์ชนก สาคริก. วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ดนตรี))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2559. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93589
Title
กระบวนการถ่ายทอดทางขิม เพลงเดี่ยวลาวแพน ทางหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) : กรณีศึกษา อาจารย์ชนก สาคริก
Alternative Title(s)
The process of teaching Khim Lao Phaen Song of Luang Pradit Pairho (Sorn Silpabanleng) : a case study of Chanok Sagarik
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
การวิจัยเรื่อง "กระบวนการถ่ายทอดทางขิมเพลงเดี่ยวลาวแพน ทางหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลป บรรเลง) : กรณีศึกษา อาจารย์ชนก สาคริก" เป็นงานวิจัยที่ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษารูปและโครงสร้างของเพลง เพื่อศึกษากระบวนการถ่ายทอดของอาจารย์ชนก สาคริก โดยใช้หลักการของดนตรีศึกษา หลักการทางจิตวิทยาการศึกษา และทฤษฎีดนตรีไทย ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบและโครงสร้างของทางขิมเพลงเดี่ยวลาวแพน ทางหลวงประดิษฐไพเราะ กรณีศึกษา อาจารย์ชนก สาคริก นั้นมีความแตกต่างจากทางอื่นคือมีบทเพลงทั้งสิ้น 7 บทเพลง ดังนี้ ว่าดอก (บรรเลงคลอร้อง) เกริ่นนำ ลาวแพนใหญ่ ลาวสมเด็จ ลาวลอดค่าย ลาวแพนน้อย และซุ้มลาวแพน ซึ่งเป็นเพลงที่มีอัตราจังหวะ 2 ชั้น หน้าทับลาว แต่ละบทเพลงเป็นเพลงท่อนเดียว กระบวนการถ่ายทอดของอาจารย์ชนก สาคริก นั้น ใช้การสอนทั้งแบบกลุ่มและตัวต่อตัว ลำดับการ ต่อเพลงเดี่ยวนั้นผู้เรียนจะต้องเป็นฝ่ายขอ และต้องมีระดับฝีมือที่สามารถบรรเลงเทคนิคที่ใช้ในเพลงเดี่ยวได้ และ ต้องผ่านการไหว้ครู ครอบครูเสียก่อน เมื่อได้เริ่มเรียนเพลงเดี่ยวลาวแพนอาจารย์ชนก สาคริก มีขั้นตอนและวิธีการ สอนโดยการต่อเพลง เมื่อผู้เรียนเกิดอาการต่อต้านหรือเมื่อยล้า จะมีกิจกรรมหรือเกมส์เพื่อเป็นการผ่อนคลายอีกทั้งยังเป็นการฝึกทักษะของผู้เรียนไปในตัว การวัดผลประเมินผล ใช้วิธีการสังเกต เน้นฝึกปฏิบัติให้ถูกต้อง และการ ฝึกปฏิบัติโดยใช้ระบบพี่สอนน้อง ถือว่าเป็นการประเมินของอาจารย์ชนก สาคริก ถึงความสามารถในการจดจำ
The study was a qualitative research aimed to study the form and structure of Lao Phaen song and the process of teaching Khim using the pedagogy of Chanok Sagarik. Observation, interview and the practicing of music were used for gathering data which was analyzed by Theory of Thai music analysis, music education and educational psychology. The results indicated that form and structure of the Lao Phaen Song were different from the other ways because the solo included a total of seven songs including the Wah Douk (Play with vocals), Intro, Lao Phaen Yai, Lao Som Dej, Lao Lod Khai, Lao Phaen Noi, Soim Lao Phaen. The process of Chanok Sagarik was used in teaching of group and in private. When the students were required to have special skills to play Khim with different techniques and they also needed to pass the Wai khru ceremony. Chanok Sagarik taught steps and methods to prevent students from having symptoms of fatigue. Activities and games were designed for relaxing as well as student being taught skills that were assessed using observation focused on correct exercising. The practice used a system where older students taught the younger ones. This was considered Chanok Sagarik's assessment of memory.
The study was a qualitative research aimed to study the form and structure of Lao Phaen song and the process of teaching Khim using the pedagogy of Chanok Sagarik. Observation, interview and the practicing of music were used for gathering data which was analyzed by Theory of Thai music analysis, music education and educational psychology. The results indicated that form and structure of the Lao Phaen Song were different from the other ways because the solo included a total of seven songs including the Wah Douk (Play with vocals), Intro, Lao Phaen Yai, Lao Som Dej, Lao Lod Khai, Lao Phaen Noi, Soim Lao Phaen. The process of Chanok Sagarik was used in teaching of group and in private. When the students were required to have special skills to play Khim with different techniques and they also needed to pass the Wai khru ceremony. Chanok Sagarik taught steps and methods to prevent students from having symptoms of fatigue. Activities and games were designed for relaxing as well as student being taught skills that were assessed using observation focused on correct exercising. The practice used a system where older students taught the younger ones. This was considered Chanok Sagarik's assessment of memory.
Description
ดนตรี (มหาวิทยาลัยมหิดล 2559)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
วิทยาลัยดุริยางคศิลป์
Degree Discipline
ดนตรี
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล