มิติทางวัฒนธรรมของความตายในโรงพยาบาลสมัยใหม่ : การศึกษาเชิงชาติพันธุ์วรรณาในโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Issued Date
2556
Copyright Date
2556
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ญ, 194 แผ่น
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2556
Suggested Citation
เอกภพ สิทธิวรรณธนะ มิติทางวัฒนธรรมของความตายในโรงพยาบาลสมัยใหม่ : การศึกษาเชิงชาติพันธุ์วรรณาในโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2556. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93531
Title
มิติทางวัฒนธรรมของความตายในโรงพยาบาลสมัยใหม่ : การศึกษาเชิงชาติพันธุ์วรรณาในโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Alternative Title(s)
Cultural aspects of death in modern hospital : an ethnographic study in a Hospital in Northeast Thailand
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจปรากฏการณ์การจัดการความตายในโรงพยาบาลสมัยใหม่ อธิบายและ วิเคราะห์มิติทางวัฒนธรรมของความตายในโรงพยาบาลสมัยใหม่ โดยใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพแบบชาติพันธุ์วรรณาใน โรงพยาบาล ผู้วิจัยได้เข้าไปใช้ชีวิตอย่างมีส่วนร่วมในระบบบริการสุขภาพในโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นเวลา 3 เดือน ผลการศึกษาพบว่า 1. การตายในโรงพยาบาลมีความหลากหลาย การตายแปรผันไปตามสาเหตุความเจ็บป่วย เพศ วัย สถานะทาง เศรษฐกิจสังคม ความคิดความเชื่อการให้ความหมายต่อความตายทั้งของผู้รับบริการสุขภาพและผู้ให้บริการสุขภาพ สถานการณ์การตายในโรงพยาบาลเป็นผลลัพธ์จากพลังทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมของสังคม 2. โรงพยาบาลเป็นสถาบันหลักที่มีอิทธิพลต่อการจัดการการตายทั้งก่อนตาย ขณะตาย และหลังตาย ทั้งนี้ ระบบประกันสุขภาพ ระบบยุติธรรม ระบบประกันชีวิต มีอิทธิพลต่อการจัดการร่างกายหลังการตายอย่างมีนัยสำคัญ 3. ระบบบริการสุขภาพมีทัศนะต่อความตายชุดหลักตามแนวคิดการแพทย์สมัยใหม่ ที่ประกอบด้วยทัศนะที่ มองความตายว่าเป็นความเสียหายล้มเหลวของอวัยวะหรือระบบอวัยวะ ความตายเป็นภัยอันตรายที่น่ากลัว และความตายเป็นสภาวะที่สามารถควบคุม ป้องกัน ตอบโต้ได้ด้วยระบบบริการทางการแพทย์สมัยใหม่ ชุดทัศนะดังกล่าวดำรงอยู่ในกิจกรรมบริการสุขภาพในลักษณะที่เป็นปกติ อัตโนมัติ เกิดขึ้นโดยทั่วไปอย่างกว้างขวาง 4. ระบบบริการสุขภาพมีทัศนะต่อความตายชุดรอง ที่ได้รับอิทธิพลจากวิธีการมองความตายแบบงานดูแลแบบ ประคับประคองระยะท้าย (Palliative Care) และแนวคิดแบบศาสนาและจิตวิญญาณ ซึ่งดำรงอยู่ในลักษณะกิจกรรมพิเศษ 5. ทัศนะต่อความตายมีความหลากหลาย ได้ทับซ้อนลงในกรณีการตายหนึ่งๆ ทำให้การตายช่วงเวลาของชีวิตที่ ยาก ซับซ้อน การดูแลการตายจึงตกอยู่ในมือของวิชาชีพสุขภาพมากขึ้นเพราะเชื่อว่าสามารถจัดการการตายได้มีประสิทธิภาพกว่าความรู้แบบชาวบ้าน ปรากฏการณ์ดังกล่าวสร้างวิกฤติและความทุกข์ทั้งต่อผู้ป่วย ครอบครัวผู้ดูแล ผู้ให้บริการ และต่อระบบบริการสุขภาพ ของโรงพยาบาลสมัยใหม่ งานวิจัยชิ้นนี้เสนอให้ระบบบริการสุขภาพและสังคมเปิดพื้นที่สาธารณะเพื่อการสนทนา อภิปรายถึงทัศนะต่อ ความตายที่ดำรงอยู่ในสังคมและกำหนดวิถีสุขภาพและการตาย เพื่อสร้างตระหนักถึงอิทธิพลของทัศนะต่อความตายในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพและระบบสังคม อันจะนำไปสู่การวางท่าทีต่อความตายอย่างใคร่ครวญไตร่ตรองและระมัดระวังมากขึ้น
Description
สังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข (มหาวิทยาลัยมหิดล 2556)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
Degree Discipline
สังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล