Palm heat reduction using rapid thermal exchange unit during simulated taekwondo competition
dc.contributor.advisor | Rungchai Chaunchaiyakul | |
dc.contributor.advisor | Thyon Chentanez | |
dc.contributor.advisor | Waree Widjaja | |
dc.contributor.author | Suchada Saovieng | |
dc.date.accessioned | 2024-02-07T02:13:31Z | |
dc.date.available | 2024-02-07T02:13:31Z | |
dc.date.copyright | 2011 | |
dc.date.created | 2011 | |
dc.date.issued | 2011 | |
dc.description | Sports Science (Mahidol University 2011) | |
dc.description.abstract | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการลดความร้อนที่ฝ่ามือด้วยเครื่องลดอุณหภูมิชนิด เร็วในช่วงพัก 1 นาทีระหว่างภาวะเลียนแบบการแข่งขันเทควันโด โดยศึกษาผลการตอบสนองด้านสรีรวิทยา และสมรรถภาพการทำงานแบบแอนแอโรบิก กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาเทควันโด 10 คน เข้าร่วมการทดลอง 3 ครั้ง แยกห่างกัน 1 สัปดาห์ โดยใช้โปรแกรม Modified Wingate Anaerobic Test ที่ความหนัก 0.06/5 xน้ำหนัก ตัว (กิโลกรัม) เพื่อเลียนแบบการชกรวม 3 ยกๆละ 2 นาที พัก 1 นาที ผู้เข้าร่วมวิจัยซึ่งไม่ได้รับการทดสอบด้วย เครื่องมือใดๆจะนั่งพักนิ่งๆ (กลุ่ม 1, กลุ่มควบคุม), การให้ความเย็นที่ฝ่ามือแบบไม่มีสุญญากาศ (กลุ่ม 2) หรือ แบบมีสุญญากาศ (กลุ่ม 3) ทำการเก็บข้อมูลของระบบหัวใจไหลเวียนเลือด ระบบควบคุมอุณหภูมิกายระหว่าง การออกกำลัง, ช่วงพัก 1 นาทีระหว่างยก, 5 และ 30 นาทีภายหลังการออกกำลังกาย ผลการศึกษาพบว่าทั้งสาม กลุ่ม สมรรถภาพการทำงานแบบแอนแอโรบิกลดลงในยกที่ 2 ในขณะที่กลุ่มที่ได้รับการทดลองด้วยเครื่องลด อุณหภูมิชนิดเร็วแบบมีสุญญากาศพบว่ามีการเพิ่มขึ้นของสมรรถภาพการทำงานแบบแอนแอโรบิกในยกที่ 3 กลุ่มควบคุมมีอุณหภูมิในช่องหู, การรับรู้ความร้อน เพิ่มขึ้นภายหลังการออกกำลังกายในนาทีที่ 5 แต่ในนาทีที่ 30 กลุ่มควบคุมมีอุณหภูมิในช่องหูลดลงต่ำกว่ากลุ่มที่ 3 ในกลุ่มที่ใช้เครื่องลดอุณหภูมิชนิดเร็วแบบมี สุญญากาศ มีการลดลงอย่างมีนัยสำคัญของอุณหภูมิที่ท่อนแขนด้านล่าง, มือ และค่าเฉลี่ยอุณหภูมิผิวหนัง มากกว่ากลุ่มควบคุมในช่วงพักนาทีที่ 30 นอกจากนี้ ไม่พบการเปลี่ยนแปลงของอัตราการไหลเวียนเลือด, อัตราการเต้นของชีพจร และค่าเฉลี่ยอุณหภูมิกายทั้ง 3 กลุ่ม จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการลดความร้อนที่ ฝ่ามือด้วยเครื่องลดอุณหภูมิชนิดเร็วช่วยฟื้นสมรรถภาพการทำงานแบบแอนแอโรบิกในนักกีฬาเทควันโด โดยเฉพาะในยกที่ 3 อีกทั้งยังแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นของระบบควบคุมอุณหภูมิกาย ในระหว่างการ ออกกำลังกายซ้ำหลาย ๆ ยก | |
dc.format.extent | xii, 118 leaves : ill. | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.identifier.citation | Thesis (M.Sc. (Sports Science))--Mahidol University, 2011 | |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/94997 | |
dc.language.iso | eng | |
dc.publisher | Mahidol University. Mahidol University Library and Knowledge Center | |
dc.rights | ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า | |
dc.rights.holder | Mahidol University | |
dc.subject | Anaerobiosis | |
dc.subject | Exercise Test | |
dc.subject | Wingate Anaerobic Test | |
dc.title | Palm heat reduction using rapid thermal exchange unit during simulated taekwondo competition | |
dc.title.alternative | การลดความร้อนที่ฝ่ามือด้วยเครื่องลดอุณหภูมิชนิดเร็วในระหว่างภาวะเลียนแบบการแข่งขันกีฬาเทควันโด | |
dc.type | Master Thesis | |
dcterms.accessRights | open access | |
mods.location.url | http://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2553/cd448/5137307.pdf | |
thesis.degree.department | College of Sports Science and Technology | |
thesis.degree.discipline | Sports Science | |
thesis.degree.grantor | Mahidol University | |
thesis.degree.level | Master's degree | |
thesis.degree.name | Master of Science |