การปฏิบัติตามพระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ. 2551 ของแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ตำรวจ : ศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดนครปฐม
Issued Date
2556
Copyright Date
2556
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-จ, 124 แผ่น
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (อาชญาวิทยาและงานยุติธรรม))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2556
Suggested Citation
กรกนก พงษ์ประดิษฐ์ การปฏิบัติตามพระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ. 2551 ของแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ตำรวจ : ศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (อาชญาวิทยาและงานยุติธรรม))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2556. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93541
Title
การปฏิบัติตามพระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ. 2551 ของแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ตำรวจ : ศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดนครปฐม
Alternative Title(s)
The implementation of the Mental Health Act B.E. 2551 doctor, nurses and police officers : a case study of Nakhon Pathom province
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ.2551 ของแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ตำรวจในจังหวัดนครปฐม และเพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ.2551 ของแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ตำรวจในจังหวัดนครปฐม ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างในการเก็บข้อมูลโดยเก็บข้อมูลกับผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ แพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ตำรวจ จานวนทั้งสิ้น 15 คน ผลการศึกษาพบว่า เมื่อตำรวจได้รับแจ้งจากประชาชนหรือพบเห็นบุคคลที่มีความผิดปกติทางจิต เจ้าหน้าที่ตำรวจได้นำตัวบุคคลนั้นมาควบคุมไว้ที่สถานีตำรวจเพื่อทำการสอบสวน หากไม่พบญาติมาด้วยก็จะทำการติดต่อหาญาติ หากเมื่อพิจารณาเห็นว่าบุคคลนั้นอาจก่อให้เกิดอันตรายและมีความจำเป็นต้องได้รับการบำบัดรักษา เจ้าหน้าที่ตำรวจจะนำตัวบุคคลนั้นไปยังสถานพยาบาลเบื้องต้นหรือสถานบำบัดรักษาทางสุขภาพจิตที่อยู่ใกล้โดยไม่ชักช้า เพื่อให้ได้รับการตรวจวินิจฉัยและประเมินอาการเบื้องต้น ส่วนแพทย์และพยาบาลในสถานพยาบาลเบื้องต้น เมื่อมีผู้นำส่งบุคคลที่มีความผิดปกติทางจิตมายังสถานพยาบาลของตน แพทย์และพยาบาลทำการตรวจวินิจฉัยและประเมินอาการเบื้องต้นทันที เมื่อพบว่าผู้ที่มีความผิดปกติทางจิตมีอาการรุนแรงจำเป็นต้องได้รับการรักษาในสถานพยาบาลที่มีความพร้อมทั้งบุคลากรและเครื่องมือมากกว่า แพทย์จะทำการติดต่อประสานงานไปยัง สถานบำบัดรักษาทางสุขภาพจิตที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อทำการส่งต่อผู้ที่มีความผิดปกติทางจิตไปรับการตรวจวินิจฉัยและประเมินอาการอย่างละเอียดกับแพทย์เฉพาะทาง สำหรับปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ.2551 พบว่า แพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ตำรวจ ขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ. 2551 และขาดความรู้ในเรื่องปัญหาทางสุขภาพจิตและโรคทางจิตเวช โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทำให้ไม่สามารถระบุได้ว่าบุคคลที่พบหรือได้รับแจ้งมีความผิดปกติทางจิตจริงหรือไม่ และเรื่องจำนวนบุคลากรที่มีจำนวนไม่เพียงพอ รวมถึงความยุ่งยากในการควบคุมและเคลื่อนย้ายผู้ที่มีความผิดปกติทางจิต อีกทั้งแพทย์และพยาบาลจากสถานพยาบาลเบื้องต้นไม่ใช้แบบรายงานผลการตรวจวินิจฉัยและประเมินอาการเบื้องต้น (ตจ.1) เมื่อต้องนำส่งไปยังสถานบำบัดรักษาทางสุขภาพจิต ซึ่งปัญหาในเรื่องดังกล่าวข้างต้นล้วนแต่เป็นปัญหาและอุปสรรคต่อการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ.2551 ทั้งสิ้น ดังนั้นควรมีการจัดอบรมเกี่ยวกับพระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ.2551 และความรู้เกี่ยวกับโรคทางสุขภาพจิตให้กับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ตำรวจ รวมถึงจัดสรรงบประมาณในเรื่องการเคลื่อนย้ายผู้ที่มี ความผิดปกติทางจิต และเพิ่มจำนวนบุคลากรให้มีความเพียงพอ
Description
อาชญาวิทยาและงานยุติธรรม (มหาวิทยาลัยมหิดล 2556)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
Degree Discipline
อาชญาวิทยาและงานยุติธรรม
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล