ผลของโปรแกรมการสอนเรื่องการให้ยาชนิดรับประทานต่อความรู้และพฤติกรรมในการให้ยาชนิดรับประทานของผู้ดูแลเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดหลังผ่าตัดหัวใจ
Issued Date
2559
Copyright Date
2559
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ฌ, 147 แผ่น : ภาพประกอบ, ตาราง
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลเด็ก))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2559
Suggested Citation
มัณฑนา ประชุมจิตร ผลของโปรแกรมการสอนเรื่องการให้ยาชนิดรับประทานต่อความรู้และพฤติกรรมในการให้ยาชนิดรับประทานของผู้ดูแลเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดหลังผ่าตัดหัวใจ. วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลเด็ก))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2559. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93358
Title
ผลของโปรแกรมการสอนเรื่องการให้ยาชนิดรับประทานต่อความรู้และพฤติกรรมในการให้ยาชนิดรับประทานของผู้ดูแลเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดหลังผ่าตัดหัวใจ
Alternative Title(s)
Effect of medication teaching program on knowledge and behavior of caregivers for post operative pediatric patients with congenital heart disease
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสอนเรื่องการให้ยาชนิดรับประทานต่อความรู้และพฤติกรรมในการให้ยาชนิดรับประทานของผู้ดูแลเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดหลังผ่าตัดหัวใจ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจ และเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่ง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการสอนเรื่องการให้ยาชนิดรับประทาน จำนวน 29 ราย โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฏีการเรียนรู้ของ Gagne, Briggs, และWager (1988) ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ จำนวน 25 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความรู้และแบบสอบถามพฤติกรรมของผู้ดูแลในการให้ยาชนิดรับประทานแก่เด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดหลังผ่าตัดหัวใจ สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม (ANCOVA) ผลการทดลอง พบว่า ผู้ดูแลในกลุ่มทดลอง ภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมการสอนเรื่องการให้ยาชนิดรับประทาน มีคะแนนความรู้ในการให้ยาชนิดรับประทานแก่เด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดหลังผ่าตัดหัวใจสูงกว่าผู้ดูแลกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F = 69.12, p < .05) และผู้ดูแลกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการสอนเรื่องการให้ยาชนิดรับประทาน มีคะแนนพฤติกรรมในการให้ยาชนิดรับประทานสูงกว่าผู้ดูแลกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F = 35.89, p < .05) จากผลการศึกษาจะเห็นได้ว่าโปรแกรมการสอนเรื่องการให้ยาชนิดรับประทาน มีประสิทธิภาพในการส่งเสริมให้ผู้ดูแลเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดหลังผ่าตัดหัวใจ มีความรู้และพฤติกรรมในการให้ยาชนิดรับประทานที่ดีขึ้น เพื่อให้เด็กได้รับยาอย่างถูกต้อง ครบถ้วน และปลอดภัยจากการได้รับยาชนิดรับประทานเมื่อกลับไปอยู่ที่บ้าน
This quasi-experimental study aimed to study the effect of the medication teaching program on knowledge and behavior of caregivers for postoperative children with congenital heart disease. The study sample was composed of caregivers of postoperative pediatric patients with congenital heart disease who were treated at a tertiary hospital. The sample was divided into two groups, namely, the experimental group which received the medication teaching program (29 subjects) by applying all nine events of instruction of the Learning Theory of Gagne, Briggs and Wager (1988). The control group received routine care (25 subjects). Data were collected using the medication knowledge and behavior questionnaires for caregivers of postoperative children with congenital heart disease. Data analysis statistics consisted of frequency, percentage, mean, standard deviation and analysis of covariance (ANCOVA). The study findings revealed that the caregivers in the experimental group had higher medication knowledge score than the caregivers in the control group with statistical significance (F = 69.12, p < .05). In addition, the caregivers in the experimental group had higher medication behavior score than the caregivers in the control group with statistical significance (F = 35.89, p < .05). The findings showed that the medication teaching program is effective in improving caregivers's medication knowledge and behavior. These would assist the caregivers to provide medications to postoperative children with congenital heart disease in order to receive medications with accuracy, completeness and safety when children return home.
This quasi-experimental study aimed to study the effect of the medication teaching program on knowledge and behavior of caregivers for postoperative children with congenital heart disease. The study sample was composed of caregivers of postoperative pediatric patients with congenital heart disease who were treated at a tertiary hospital. The sample was divided into two groups, namely, the experimental group which received the medication teaching program (29 subjects) by applying all nine events of instruction of the Learning Theory of Gagne, Briggs and Wager (1988). The control group received routine care (25 subjects). Data were collected using the medication knowledge and behavior questionnaires for caregivers of postoperative children with congenital heart disease. Data analysis statistics consisted of frequency, percentage, mean, standard deviation and analysis of covariance (ANCOVA). The study findings revealed that the caregivers in the experimental group had higher medication knowledge score than the caregivers in the control group with statistical significance (F = 69.12, p < .05). In addition, the caregivers in the experimental group had higher medication behavior score than the caregivers in the control group with statistical significance (F = 35.89, p < .05). The findings showed that the medication teaching program is effective in improving caregivers's medication knowledge and behavior. These would assist the caregivers to provide medications to postoperative children with congenital heart disease in order to receive medications with accuracy, completeness and safety when children return home.
Description
การพยาบาลเด็ก (มหาวิทยาลัยมหิดล 2559)
Degree Name
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
คณะพยาบาลศาสตร์
Degree Discipline
การพยาบาลเด็ก
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล