ความสัมพันธ์ระหว่างโรคร่วม สัมพันธภาพในครอบครัว การสนับสนุนกิจกรรมซับซ้อน ความไว้วางใจในทีมสุขภาพ และพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้สูงอายุที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว
dc.contributor.advisor | วิราพรรณ วิโรจน์รัตน์ | |
dc.contributor.advisor | นารีรัตน์ จิตรมนตรี | |
dc.contributor.author | ประภัสสร พิมพาสาร | |
dc.date.accessioned | 2024-01-05T02:02:07Z | |
dc.date.available | 2024-01-05T02:02:07Z | |
dc.date.copyright | 2560 | |
dc.date.created | 2560 | |
dc.date.issued | 2567 | |
dc.description | การพยาบาลผู้สูงอายุ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2560) | |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างโรคร่วม สัมพันธภาพในครอบครัว การสนับสนุนกิจกรรมซับซ้อน ความไว้วางใจในทีมสุขภาพ และพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้สูงอายุที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว โดยใช้กรอบแนวคิดการดูแลตนเองในผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวของ Riegel และคณะ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุอายุ 60 - 79 ปีที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว จำนวน 116 คน โดยใช้แบบบันทึกโรคร่วม แบบสัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไปสัมพันธภาพในครอบครัว การสนับสนุนกิจกรรมซับซ้อน ความไว้วางใจในทีมสุขภาพ และพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสัมประสิทธิ์ความสัมพันธ์ สเปียร์แมน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับความรุนแรงของโรคร่วมในระดับต่ำ (X =2.48, SD = 1.24) สัมพันธภาพในครอบครัว การสนับสนุนกิจกรรมซับซ้อน ความไว้วางใจในทีมสุขภาพ และพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้สูงอายุที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวอยู่ในระดับสูง (X = 68.85, SD =12.69; X = 20.62, SD = 5.46; X = 44.16, SD = 4.28; X = 83.70, SD = 10.64) ตามลำดับ และผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรพบว่า โรคร่วม สัมพันธภาพในครอบครัว การสนับสนุนกิจกรรมซับซ้อน และความไว้วางใจในทีมสุขภาพ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.191, p < 0.05, r = 0.360, p < 0.01, r = 0.348, p < 0.01, r = 0.221, p < 0.05) ตามลำดับ จากผลการศึกษา พยาบาลและทีมสุขภาพสนับสนุนให้สมาชิกในครอบครัวมีสัมพันธภาพที่ดีและส่งเสริมให้มีบทบาทในการสนับสนุนกิจกรรมซับซ้อนในผู้สูงอายุที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว | |
dc.description.abstract | This research studies correlations between comorbidities, family relationship, instrumental support, trust in health care team, and self-care behaviors in older adults with heart failure. The situation-specific theory of heart failure self-care model developed by Riegel et al was used as the conceptual framework. The sample consisted of 116 older adults with heart failure aged 60-79 years. Data were collected by using Charlson Comorbidity Index, (CCI), interview data on family relationship, instrumental (heart failure) social support scales, trust in their health care team, and self-care behaviors in heart failure. The data were analyzed by descriptive statistics and Spearman's correlation coefficient. The results showed that the samples had low levels of comorbidities with a mean±SD of 2.48±1.24, and high levels of family relationship, instrumental support, trust in health care team, and self-care behaviors in older adults with heart failure with means±SDs of 68.85±12.69, 20.62±5.46, 44.16±4.28, and 83.70±10.64, respectively. Analysis of the relationship between variables show that comorbidities, family relationship, instrumental support, and trust in health care team statistically significantly relate with self-care behaviors in older adults with heart failure (r = 0.191, p < 0.05, r = 0.360, p < 0.01, r = 0.348, p < 0.01, and r = 0.221, p < 0.05 respectively). The study findings indicate that nurses and health care teams should encourage family members in enhancing family relationship and provide instrumental support in older adults with heart failure. | |
dc.format.extent | ก-ญ, 170 แผ่น : ภาพประกอบ | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.identifier.citation | วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลผู้สูงอายุ))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2560 | |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/91822 | |
dc.language.iso | tha | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.rights | ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า | |
dc.rights.holder | มหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.subject | การดูแลตนเอง | |
dc.subject | ผู้สูงอายุ | |
dc.subject | สัมพันธภาพในครอบครัว | |
dc.subject | หัวใจวาย | |
dc.title | ความสัมพันธ์ระหว่างโรคร่วม สัมพันธภาพในครอบครัว การสนับสนุนกิจกรรมซับซ้อน ความไว้วางใจในทีมสุขภาพ และพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้สูงอายุที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว | |
dc.title.alternative | Relationships between comorbidity, family relationship, instrumental support, trust in health care team, and self-care behaviors in older adults with heart failure | |
dc.type | Master Thesis | |
dcterms.accessRights | open access | |
mods.location.url | http://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2561/537/5736858.pdf | |
thesis.degree.department | คณะพยาบาลศาสตร์ | |
thesis.degree.discipline | การพยาบาลผู้สูงอายุ | |
thesis.degree.grantor | มหาวิทยาลัยมหิดล | |
thesis.degree.level | ปริญญาโท | |
thesis.degree.name | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |