ปัจจัยทำนายสุขภาวะทางจิตใจในวัยรุ่นตอนปลาย
Issued Date
2567
Copyright Date
2563
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ฌ, 140 แผ่น : ภาพประกอบ
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
สารนิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2563
Suggested Citation
ชุติมา จิรัฐิเกรียงไกร ปัจจัยทำนายสุขภาวะทางจิตใจในวัยรุ่นตอนปลาย. สารนิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2563. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/99555
Title
ปัจจัยทำนายสุขภาวะทางจิตใจในวัยรุ่นตอนปลาย
Alternative Title(s)
Factors predicting psychological well-being in late adolescents
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทำนาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้สถานการณ์ความเครียด ความแข็งแกร่งและยืดหยุ่นของชีวิต การสนับสนุนทางสังคม และกลยุทธ์ในการจัดการความเครียด (การจัดการความเครียดแบบมุ่งแก้ไขปัญหา และการจัดการความเครียดแบบมุ่งจัดการอารมณ์) ในการทำนายสุขภาวะทางจิตใจในวัยรุ่นตอนปลาย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 - 6 โรงเรียนรัฐบาล ประเภทสหศึกษา กรุงเทพมหานคร จำนวน 490 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความรู้สึกความเครียด แบบประเมินความแข็งแกร่งและยืดหยุ่นของชีวิต แบบประเมินการรับรู้สนับสนุนทางสังคมแบบพหุมิติ และแบบประเมินกลยุทธ์ในการรับมือกับความเครียดแบบสั้นฉบับภาษาไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติสัมประสิทธิ์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า การรับรู้สถานการณ์ความเครียด ความแข็งแกร่งและยืดหยุ่นของชีวิต การสนับสนุนทางสังคม และกลยุทธ์ในการจัดการความเครียด (การจัดการความเครียดแบบมุ่งแก้ไขปัญหา และการจัดการความเครียดแบบมุ่งจัดการอารมณ์) สามารถทำนายสุขภาวะทางจิตใจในวัยรุ่นตอนปลายได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (R2= .63, p < .05) สรุปและข้อเสนอแนะ: การรับรู้สถานการณ์ความเครียด ความแข็งแกร่งและยืดหยุ่นของชีวิต การสนับสนุนทางสังคมและกลยุทธ์ในการจัดการความเครียด (การจัดการความเครียดแบบมุ่งแก้ไขปัญหา และการจัดการความเครียดแบบมุ่งจัดการอารมณ์) สามารถทำนายสุขภาวะทางจิตใจในวัยรุ่นตอนปลายได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและสามารถนำผลการศึกษาที่ได้ไปเป็นข้อมูลพื้นฐานในการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสุขภาวะทางจิตใจให้วัยรุ่นตอนปลายได้
This research aims to study the predictive power of perceived stress, resilience, social support, and coping strategies (problem-focused coping and emotional-focused coping) on psychological well-being in late adolescents. Participants were 490 senior high school students in government schools in Bangkok. The instruments used in data collection consisted of Ryff's Psychological Well-Being Scale; Perceived Stress Scale; Connor- Davidson Resilience Scale; Multidimensional Scale of perceived social support; and the Brief COPE inventory. Data were analyzed by multiple linear regression. The study results showed that perceived stress, resilience, social support, and coping strategies (problem-focused coping and emotional-focused coping) can predictive psychological well-being in late adolescents with statistical significance (R2 = .63, p < .05). The conclusion shows that perceive stress, resilience, social support, and coping strategies (problem-focused coping and emotional-focused coping) help prediction of psychological well-being in late adolescents. The results of the study can be used as basic information for developing programs to promote psychological well-being for late adolescents.
This research aims to study the predictive power of perceived stress, resilience, social support, and coping strategies (problem-focused coping and emotional-focused coping) on psychological well-being in late adolescents. Participants were 490 senior high school students in government schools in Bangkok. The instruments used in data collection consisted of Ryff's Psychological Well-Being Scale; Perceived Stress Scale; Connor- Davidson Resilience Scale; Multidimensional Scale of perceived social support; and the Brief COPE inventory. Data were analyzed by multiple linear regression. The study results showed that perceived stress, resilience, social support, and coping strategies (problem-focused coping and emotional-focused coping) can predictive psychological well-being in late adolescents with statistical significance (R2 = .63, p < .05). The conclusion shows that perceive stress, resilience, social support, and coping strategies (problem-focused coping and emotional-focused coping) help prediction of psychological well-being in late adolescents. The results of the study can be used as basic information for developing programs to promote psychological well-being for late adolescents.
Description
การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต (มหาวิทยาลัยมหิดล 2563)
Degree Name
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
คณะพยาบาลศาสตร์
Degree Discipline
การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล