Browsing by Author "มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์"
Now showing 1 - 20 of 40
- Results Per Page
- Sort Options
Publication Open Access The Effect of Comfort Program on Satisfaction, Anxiety, and Pain among Patients Receiving Colonoscopy(2017) Truong Thi Thuy Huong; วัลย์ลดา ฉันท์เรืองวณิชย์; Wallada Chanruangvanich; อรพรรณ โตสิงห์; Orapan Thosingha; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลศัลยศาสตร์Purpose: To evaluate the effect of comfort program on satisfaction, anxiety, and pain among patients receiving colonoscopy. Design: A quasi-experiment design. Methods: The sample was 152 patients both males and females with the age of 18 years and older who received colonoscopy at the Functional Examination Department of Bach Mai Hospital, Hanoi, Vietnam. The sample was divided into control and experimental groups. The comfort program was provided to the experimental group, and the control group received routine care. Data were collected with 3 questionnaires: 1) Hamilton Anxiety Rating Scale, 2) Numerical Rating Scale, and 3) Group Health Association of America-9 survey. ANCOVA, Mann-Whitney U, and Chi-square test were used to analyze the data. Main findings: There was significant difference of satisfaction and anxiety level between the control and experimental group after colonoscopy (p < .05). The majority of patients in the experimental group (75.9%) were satisfied with very good and 24.1% with excellent level. Pain levels increased to the mean score of 4.96 (SD = 2.02) in the experiment group and mean score of 6.41 (SD = 2.10) in the control group. However, there was no difference in pain perception between two groups. Conclusion and recommendations: The comfort program shows an effectiveness to increase patients’ satisfaction and reduce anxiety. Thus, nurses should sustain this program by training all nurses and health care personal to improve the quality of patient’s care.Publication Open Access Factors Associated with Functional Recovery among Patients with Low Back Pain(2017) Khuc Thi Hong Anh; อรพรรณ โตสิงห์; Orapan Thosingha; วัลย์ลดา ฉันท์เรืองวณิชย์; Wallada Chanruangvanich; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลศัลยศาสตร์Purpose: To examine the relationships between pain, pain self-efficacy, anxiety, depression, and co-morbid diseases with functional recovery among patients with low back pain (LBP). Design: Descriptive correlational design. Methods: The sample was 126 patients with LBP who were treated in Rheumatology Unit at Bach Mai Hospital, Hanoi, Vietnam. Data were collected using patients’ hospital record and 4 questionnaires: 1) the Numerical Rating Scale, 2) the Pain Self-efficacy Questionnaire, 3) the Hamilton Anxiety Rating Scale and Hamilton Depression Rating Scale, 4) the Oswestry Disability Index. Spearman’s Rho was employed to test the relationships among studied variables. Main findings: The findings revealed that pain was negatively correlated with functional recovery (rs = - .56, p < .05), anxiety and depression were also negatively correlated with functional recovery (rs = - .46, - .58, p < .05). Pain self-efficacy was positively correlated with functional recovery (rs = .48, p < .05). Nevertheless, co-morbidity did not correlate with functional recovery (p > .05). Conclusion and recommendation: To improve patients’ functional recovery, nurses should assess and control pain, anxiety and depression as well as increase pain self-efficacy. A comprehensive guideline to improve patients’ recovery should be developed and tested for its effectiveness with research before implementation.Publication Open Access Factors Predicting Health-Related Quality of Life among Patients with Myocardial Infarction in Myanmar(2018) Su Kalayar Hlaing; อรวมน ศรียุกตศุทธ; Aurawamon Sriyuktasuth; ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ; Doungrut Wattanakitkrileart; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์Purpose: To examine the predictive power of age, sex, depression, and social support on health-related quality of life among patients with myocardial infarction in Myanmar. Design: Predictive correlational design. Methods: The sample consisted of 100 myocardial infarction patients diagnosed for at least three months and came to follow-up at Cardiology Clinic, Yangon General Hospital, Myanmar. Data were collected by using demographic form, the World Health Organization Quality of Life Questionnaire (WHOQoL-BREF), the Patients Health Questionnaire (PHQ-9), and the Social Support Questionnaire. Descriptive statistics and multiple regression analysis were used for data analysis. Main findings: The mean score of the overall health-related quality of life was found to be moderate (M = 82.02, SD = 8.84). The mean age of the samples was 60.6 years (SD = 8.98) and 67% were men. The majority of the sample had mild depression (M = 5.23, SD = 6.10). Sixty percent of them perceived high-level social support. In multiple regression analysis, age, sex, depression, and social support jointly accounted for 34.1% of the variance in overall health-related quality of life (R2 = .341, F(4, 95) = 7.327, p < .001). Depression was the only one variable significantly predicting health-related quality of life (β = - .505, p < .001). Conclusion and recommendations: Findings from this study revealed moderate health-related quality of life in Myanmar patients with myocardial infarction and depression was the important predictor. The patients should be assessed for depression regularly to reduce depressive symptoms and improve health-related quality of life.Publication Open Access Factors related to Emergency Room Discharge Destination among Patients with Trauma(2017) Nguyen Quynh Cham; อรพรรณ โตสิงห์; Orapan Thosingha; วัลย์ลดา ฉันท์เรืองวณิชย์; Wallada Chanruangvanich; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลศัลยศาสตร์; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์Purpose: To investigate the relationships between age, physiological deterioration, co-morbidity and emergency room discharge destination among patients with trauma. Design: Descriptive correlation design. Methods: The sample composed of 300 patients with traumatic injuries in emergency department, Bach Mai Hospital in Hanoi, Vietnam. Data were collected from the patient’s hospital chart. Spearman’s Rho was employed to test the relationships among studies variables. Main findings: Approximately 60% of patients with traumatic injuries (59.7%) were admitted in hospital, while 35.4% received surgery and/or admitted to intensive care unit. About 40.3% received treatment and were discharged from emergency department to home. Physiological deterioration as measured by Modified Early Warning Score, age, and co-morbidity were positively correlated with emergency room discharge destination (rs = .38, rs = .14, rs = .16, p < .05). Conclusion and recommendations: Modified Early Warning Score should be used to classify trauma injuries patients on their arrival at the emergency department. Hence, the patients can receive appropriate treatment at the right time. Co-morbid diseases should be routinely assessed in all trauma injuries patients on arrival at the emergency room.Publication Open Access Factors Related to Needs in Palliative Care among Patients with Hepatocellular Carcinoma(2017) Le Thi Hien; วัลย์ลดา ฉันท์เรืองวณิชย์; Wallada Chanruangvanich; อรพรรณ โตสิงห์; Orapan Thosingha; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลศัลยศาสตร์Purpose: To identify relationships between physical symptoms, anxiety and depression, social support, and needs in palliative care among patients with hepatocellular carcinoma (HCC). Design: Descriptive correlational study. Methods: The study was conducted among 115 patients with HCC at the Nuclear Medicine and Oncology Center in Hanoi, Vietnam. Data were collected from the patients’ record and interviewed using demographic questionnaire, the Cohen-Hoberman Inventory of Physical Symptoms scale (CHIPS), the Hopkins Symptoms Checklist-25 scale (HSCL- 25), the Multidimensional Scale Perceived Social Support (MSPSS), and the Problems and Needs in Palliative Care-short version (PNPC-sv). Spearman’s rho was employed to test the relationship among studied variables. Main findings: Physical symptoms, anxiety, and depression were significant positively correlated with needs in palliative care (rs = .775, rs = .828, p < .05). Social support had a significant negative correlation with needs in palliative care (rs = - .307, p < .05). Conclusion and recommendations: Nurses should assess and manage patients’ symptoms, control their psychology and promote their social support. To improve palliative care, standard guidelines for symptom management in palliative care should be developed and implemented.Publication Open Access Factors Related to Quality of Life among Persons with End Stage Renal Disease Receiving Hemodialysis(2017) Vu Dinh Tien; อรพรรณ โตสิงห์; Orapan Thosingha; วิมลรัตน์ ภู่วราวุฒิพานิช; Wimolrat Puwarawuttipanit; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลศัลยศาสตร์; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์Purpose: To determine the relationships between co-morbidity, social support, symptom status, and quality of life among persons with end stage renal disease receiving hemodialysis. Design: Descriptive correlational research. Methods: The sample composed of 115 persons with end stage renal disease receiving hemodialysis in a tertiary care hospital in Hanoi, Vietnam. Data were collected using the patients’ hospital record and interview with 3 questionnaires: The Multidimensional Scale Perceived Social Support, the Edmonton Symptom Assessment System Scale, and the Kidney Disease Quality of Life-Short Form 36 Scale. Spearman’s Rho was employed to test the relationships among variables. Main findings: The findings revealed that the average score of quality of life among persons with end stage renal disease receiving hemodialysis was 45.53 (SD = 13.20), 62.61% of those had score of quality of life below average level. Co-morbidity and symptom status were negatively related to QOL (rs = - .46, - .67, p < .05). Social support was positively related to quality of life among persons with end stage renal disease (rs = .63, p < .05). Conclusion and recommendations: In order to improve quality of life among persons with end stage renal disease receiving hemodialysis, it is recommended that nurses should assess and manage patients’ symptoms, control their co-morbidity, and seek appropriate resources to support them.Publication Open Access Factors Related to Recovery in Patients after Total Hysterectomy(2017) Pham Thi Thu Thuy; อรพรรณ โตสิงห์; Orapan Thosingha; วัลย์ลดา ฉันท์เรืองวณิชย์; Wallada Chanruangvanich; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลศัลยศาสตร์Purpose: To identify factors related to recovery among patients after total hysterectomy. Design: Descriptive correlational design. Methods: The sample composed of 115 adult patients after total hysterectomy at Bach Mai Hospital and the National Hospital of Obstetrics & Gynecology, Hanoi, Viet Nam. Data were collected using the patients’ medical record and interviewed with 3 questionnaires: 1) the Numerical Rating Scale, 2) the Multidimensional Scale of Perceived Social Support, and 3) the Quality of Recovery-15. Spearman’s Rho was employed to test correlation among studied variables. Main findings: The findings revealed that pain score was negatively related to recovery (rs = - .70, p < .05); while co-morbidity and social support were not related to recovery (p > .05). Conclusions and recommendations: Pain was the vital factor inhibiting patients’ recovery. Therefore, in order to promote the patients’ smooth transition to their optimum recovery, pain should be well controlled. Pain management protocol should be developed and tested for their effectiveness through research before implementation.Publication Open Access การรับรู้ปัจจัยเอื้อและปัจจัยอุปสรรคต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการกับอาการของผู้ป่วยมะเร็งระบบโลหิตวิทยาระหว่างรับการรักษาในโรงพยาบาล(2563) วารุณี พลิกบัว; คนึงนิจ พงศ์ถาวรกมล; พิจิตรา เล็กดำรงกุล; ชลธิรา เรียงคำ; Warunee Phligbua; Kanaungnit Pongthavornkamol; Pichitra Lekdamrongkul; Chontira Riangkam; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการรับรู้ปัจจัยเอื้อและปัจจัยอุปสรรคต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการกับอาการของผู้ป่วยมะเร็งระบบโลหิตวิทยาระหว่างเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงคุณภาพ วิธีดำเนินการวิจัย: สัมภาษณ์เชิงลึกผู้ป่วยมะเร็งระบบโลหิตวิทยาที่เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยในในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิของมหาวิทยาลัย ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 50 ราย ด้วยข้อคำถามปลายเปิดกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย: พบว่าการรับรู้ปัจจัยเอื้อและอุปสรรคต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการกับอาการของผู้ป่วยมี 4 ประเด็นหลัก คือ 1) ด้านผู้ป่วย เช่น บุคลิกหรือลักษณะของผู้ป่วย ความเจ็บป่วยและความรุนแรงของโรคในขณะนั้น ความรู้เกี่ยวกับโรคและการรักษา ความจำ 2) ด้านบุคลากรทางการแพทย์และระบบของโรงพยาบาล เช่น เวลาและระบบการทำงานของโรงพยาบาล พฤติกรรมและลักษณะบุคลิกภาพของบุคลากรสุขภาพ 3) การสื่อสารระหว่างผู้ป่วยและแพทย์ เช่น การสื่อสารด้วยภาษาที่เป็นศัพท์เฉพาะทางการแพทย์ 4) ข้อมูล เช่น ข้อมูลที่ได้รับจากแพทย์และพยาบาลที่อาจจะเพียงพอหรือไม่เพียงพอ เป็นต้น จากการวิเคราะห์พบว่าปัจจัยเอื้อและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการมีส่วนร่วมของผู้ป่วยขณะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมีความเหมือนกันในหลายประเด็นหลัก สรุปและข้อเสนอแนะ: ผลการวิจัยครั้งนี้ทำให้เกิดความเข้าใจการรับรู้ของผู้ป่วยมะเร็งโลหิตวิทยาเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งเสริม และที่เป็นอุปสรรคต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการกับอาการขณะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับบุคลากรสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแพทย์และพยาบาล นำไปสู่การพัฒนาและปรับปรุงระบบการทำงานที่จะส่งเสริมให้เกิดปัจจัยเอื้อเพิ่มขึ้น และจัดการกับปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการมีส่วนร่วมของผู้ป่วยให้น้อยลง ทำให้เกิดความปลอดภัยในการดูแลผู้ป่วย อันนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ดีของการจัดการกับอาการ และคุณภาพของการดูแลที่ดียิ่งขึ้นต่อไปPublication Open Access การศึกษาการถูกขัดจังหวะงานสำคัญของพยาบาลช่วยรอบนอกในห้องผ่าตัด โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย(2563) รัตติมา ศิริโหราชัย; อุษาวดี อัศดรวิเศษ; ศิวพร ถือชาติ; มนวัฒน์ เงินฉ่ำ; Rattima Sirihorachai; Usavadee Asdornwised; Siwaporn Thuchart; Monawat Ngemcham; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลศัลยศาสตร์; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. ภาควิชาศัลยศาสตร์วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความถี่และแหล่งที่มาของการถูกขัดจังหวะขณะปฏิบัติงานของพยาบาลช่วยรอบนอก และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของจำนวนครั้งของการถูกขัดจังหวะในแต่ละระดับผลกระทบของการเกิดการถูกขัดจังหวะของพยาบาลช่วยรอบนอกขณะปฏิบัติงานสำคัญกับชนิดของการผ่าตัด และจำนวนปีประสบการณ์การทำงานของพยาบาลช่วยรอบนอก รูปแบบการวิจัย: การศึกษาเชิงพรรณนา วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรในห้องผ่าตัดจำนวน 99 ราย ที่ทำหน้าที่เป็นพยาบาลช่วยรอบนอก ในการผ่าตัด 1) ศีรษะ ลำคอ เต้านม 2) ทางเดินอาหารและช่องท้อง 3) ทางเดินปัสสาวะ และ 4) กล้ามเนื้อและกระดูก ในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งในประเทศไทย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสังเกตการถูกขัดจังหวะขณะปฏิบัติงานในห้องผ่าตัด วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงวิเคราะห์แบบ Kruskal Wallis Test และ Mann Whitney U ผลการวิจัย: ผลจากการสังเกตการทำงานของพยาบาลช่วยรอบนอกในการผ่าตัดจำนวน 99 ราย ณ ห้องผ่าตัด พบว่า ค่าเฉลี่ยของระยะเวลาในการผ่าตัด เท่ากับ 155.1 นาที (SD = 77.2) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 86.9 อายุเฉลี่ย 41.1 ปี (SD = 9.69) บทบาทการให้บริการเป็นพยาบาลร้อยละ 56.6 และผู้ช่วยพยาบาลร้อยละ 43.4 โดยภาพรวมพบว่า การถูกขัดจังหวะขณะปฏิบัติงานในห้องผ่าตัดรวม 446 ครั้ง โดยแหล่งที่มาของการถูกขัดจังหวะมากที่สุด 3 ลำดับแรก คือ คนเดินเข้า-ออกในห้องผ่าตัด (153 ครั้ง หรือร้อยละ 34.3) รองลงมา คือ โทรศัพท์/วิทยุติดตามตัว/วิทยุ (118 ครั้ง หรือร้อยละ 26.45) และการพูดคุยที่ไม่เกี่ยวข้องกับการผ่าตัดเกิดขึ้นเป็นอันดับที่ 3 (72 ครั้ง หรือร้อยละ 16.14) และการพูดคุยที่ไม่เกี่ยวข้องกับการผ่าตัดมีผลกระทบต่อการทำงานของผู้ที่มีประสบการณ์ทำงานมานานมากกว่า 10 ปีขึ้นไป อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = .033)Publication Open Access ความคาดหวัง การได้รับการตอบสนอง และความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อการบริการของสำนักงานคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล(2560) วีระชัย คุ้มพงษ์พันธุ์; Weerachai Khumphongphan; ณัฐา วงศ์วุฒิสาโรช; Natta Wongwuttisaroj; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอำนาจการทำนายของการรับรู้เกี่ยวกับการควบคุมโรค ความและความต้องการบริการเพิ่มเติม ของผู้รับบริการ และความสัมพันธ์ระหว่างความคาดหวังและการได้รับการตอบสนองกับความพึงพอใจของผู้รับบริการ จากสำนักงานคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงพรรณาแบบสหสัมพันธ์ วิธีดำเนินการวิจัย: เก็บข้อมูลจากผู้รับบริการที่ขอรับการพิจารณารับรองโครงการวิจัยจากคณะกรรมการฯ ในปี พ.ศ. 2555-2557 จำนวน 71 คน (ร้อยละ 34.8) โดยแบบสอบถามออนไลน์ ผลการวิจัย: กิจกรรมการบริการที่ผู้รับบริการคาดหวังมากที่สุด ได้แก่ ระยะเวลาที่ผู้รับบริการทราบผลการพิจารณาในแต่ละกระบวนการฯ (gif.latex?\fn_cm&space;\bar{x} = 86.39, SD = 22.24) กิจกรรมการบริการที่ได้รับการตอบสนองมากที่สุด ได้แก่ เว็บไซต์ของสำนักงานฯ (gif.latex?\fn_cm&space;\bar{x} = 85.45, SD = 22.53) กิจกรรมการบริการที่ได้รับความพึงพอใจมากที่สุด ได้แก่ การให้คำแนะนำในด้านธุรการจากเจ้าหน้าที่สำนักงานฯ (gif.latex?\fn_cm&space;\bar{x} = 89.32, SD = 18.91) ทั้งนี้ ความคาดหวังมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการได้รับการตอบสนองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และการได้รับการตอบสนองมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความพึงพอใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (rs = .700 และ .595 ตามลำดับ, p < .01) ส่วนกิจกรรมการบริการที่ผู้รับบริการต้องการให้เพิ่มเติมมากที่สุด คือ ระบบลงทะเบียนยื่นแบบเสนอโครงการฯ ผ่านช่องทางออนไลน์ และระบบการให้คำปรึกษารายบุคคลเกี่ยวกับแนวทางการปรับแก้ไขตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการฯ โดยมีสัดส่วนที่เท่ากัน คือ ร้อยละ 69.0 สรุปและข้อเสนอแนะ: การจัดบริการของสำนักงานฯ ควรเป็นไปตามความคาดหวังของผู้รับบริการ โดยควรปรับปรุงกิจกรรมการบริการในด้านระยะเวลาที่ผู้รับบริการทราบผลการพิจารณาในแต่ละกระบวนการฯ และควรจัดบริการให้คำปรึกษารายบุคคลเกี่ยวกับการเขียนแบบเสนอโครงการและแนวทางการปรับแก้ไขตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการฯPublication Open Access ความชุกการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไต และปัจจัยทำนายการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในศูนย์บริการสาธารณสุข กรุงเทพมหานคร(2563) นิตยา สิตะเสน; กีรดา ไกรนุวัตร; รักชนก คชไกร; Nittaya Sitasean; Kerada Krainuwat; Rukchanok Koshakri; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุขศาสตร์วัตถุประสงค์: เพื่อสำรวจหาความชุกของการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 และเพื่อตรวจหาอำนาจการทำนายของปัจจัยน้ำตาลในเลือดสะสม น้ำตาลในเลือด ความดันโลหิต พฤติกรรมสุขภาพ ความรอบรู้ด้านสุขภาพ พันธุกรรม และรายได้ ต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ของศูนย์บริการสาธารณสุข กรุงเทพมหานคร รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงสำรวจและการศึกษาภาพตัดขวางเชิงพรรณนา วิธีดำเนินการวิจัย: การสำรวจหาความชุกของการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตจากกลุ่มตัวอย่าง 1,084 คน เก็บข้อมูลจากการทบทวนเวชระเบียน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2561 และใช้การวิจัยภาพตัดขวางเชิงพรรณนา เพื่อหาอำนาจการทำนายของปัจจัยต่างๆ ต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 175 คน โดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติการถดถอยโลจิสติก ผลการวิจัย: พบความชุกการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไต คือ 363 คนต่อ 1,000 ประชากร กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 66.0 อายุเฉลี่ย 67.3 ปี (SD = 8.9) ปัจจัยต่างๆสามารถร่วมกันทำนายการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ร้อยละ 45.6 (R2 .456) น้ำตาลสะสมในเลือด พฤติกรรมสุขภาพ ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และรายได้สามารถทำนายการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตได้ 2.0, 0.8, 0.9 และ 0.1 เท่า ตามลำดับ สรุปและข้อเสนอแนะ: การศึกษานี้สรุปได้ว่าความชุกการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตมีค่าสูง ผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลสะสมในเลือด มีคะแนนพฤติกรรมสุขภาพต่ำ มีคะแนนความรอบรู้ด้านสุขภาพต่ำ และมีรายได้ต่ำ มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตมากขึ้น การศึกษานี้ให้ข้อมูลสำคัญที่สามารถนำไปใช้ในการปรับปรุงคุณภาพงาน และพัฒนาโปรแกรม/กิจกรรมเพื่อป้องกัน หรือชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2Publication Open Access ความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมทางกาย ความรู้ โรคร่วมและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่มีภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ภายหลังผ่าตัดต่อมลูกหมากออกทั้งหมด(2556) อรวรรณ ปรางประสิทธิ์; Orawan Prangprasit; สุพร ดนัยดุษฎีกุล; Suporn Danaidutsadeekul; อรพรรณ โตสิงห์; Orapan Thosingha; ภควัฒน์ ระมาตร์; Patkawat Ramart; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมทางกาย ความรู้ โรคร่วม และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่มีภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ภายหลังผ่าตัดต่อมลูกหมากออกทั้งหมด รูปแบบการวิจัย:เป็นการวิจัยเชิงบรรยายความสัมพันธ์ วิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่มีภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ภายหลังผ่าตัดมะเร็งต่อมลูกหมาก 3 เดือนขึ้นไปที่ผ่าตัดด้วยกล้องและแขนกลหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด 88 ราย ระยะเวลาการศึกษาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม 2556 เครื่องมือรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามเกี่ยวกับการมีกิจกรรมทางกาย3) แบบประเมินความรู้ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ 4) แบบประเมินโรคร่วม 5) แบบประเมินคุณภาพชีวิตผู้ที่มีปัญหาภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัย: คุณภาพชีวิตโดยรวมของผู้ป่วยที่มีภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ภายหลังผ่าตัดมะเร็งต่อมลูกหมากค่อนข้างสูง(X = 88.8, SD = 10.63) มีระดับการออกกําลังกายที่มีการใช้พลังงานในการมีกิจกรรมทางกายอยู่ระหว่าง 52.36-293.91หน่วยพลังงานมาตรฐาน ชั่วโมง/สัปดาห์ ร้อยละ 58 มีความรู้เกี่ยวกับภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ69.3 มีระดับความรุนแรงของโรคร่วมในระดับน้อย และพบว่าความรู้มีความสัมพันธ์ทางลบกับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่มีภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ภายหลังผ่าตัดต่อมลูกหมากออกทั้งหมดอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (r = - .22, p < .05) สรุปและข้อเสนอแนะ: ควรมีการวางแผนการพยาบาลเพื่อให้ความรู้ไปพร้อมกับการฝึกบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานก่อนการผ่าตัดมะเร็งต่อมลูกหมาก ตลอดทั้งควรมีการติดตามเป็นระยะ เพราะทุกขั้นตอนมีความสําคัญยิ่งที่จะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถเปลี่ยนผ่านไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีเมื่อผู้ป่วยกลับไปอยู่ที่บ้านPublication Open Access ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง แรงสนับสนุน ทางสังคม ความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนผิวหนัง ชนิดทางเดินปัสสาวะ และคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยทําทางเดินปัสสาวะใหม่ระยะยาว(2556) ทิฆัมพร อิทธิพงษ์วัฒน์; Thikumporn Ittipongwat; สุพร ดนัยดุษฎีกุล; Suporn Danaidutsadeekul; อรพรรณ โตสิงห์; Orapan Thosing; ธีระพล อมรเวชสุกิจ; Teerapon Amornvesukit; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง แรงสนับสนุนทางสังคม ความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนผิวหนัง ชนิดทางเดินปัสสาวะ และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยทําทางเดินปัสสาวะใหม่ระยะยาว รูปแบบการวิจัย: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยายความสัมพันธ์ วิธีการดําเนินการวิจัย: คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสะดวก มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป มาตรวจตามนัดภายหลังผ่าตัดครั้งที่1 หรือครั้งที่ 2 ตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2554 ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2555 ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 85 ราย จากโรงพยาบาลตติยภูมิ 3 แห่ง เครื่องมือรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) คุณภาพชีวิตผู้ป่วยทําทางเดินปัสสาวะใหม่ระยะยาว 3) ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง 4) แบบสัมภาษณ์แรงสนับสนุนทางสังคม 5) แบบสังเกตความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนผิวหนัง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สเปียร์แมน และค่าสหสัมพันธ์พอยท์ไบซีเรียล ผลการวิจัย: พบกลุ่มตัวอย่างที่ทําทางเดินปัสสาวะใหม่ระยะยาวชนิด ileal conduit ร้อยละ 54.1 รองลงมาเป็นชนิดpercutaneous nephrostomy ร้อยละ 32.9 มีความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง และแรงสนับสนุนทางสังคมระดับปานกลาง ทางเดินปัสสาวะใหม่เป็นชนิดไม่มีสายร้อยละ 60 และมีสายร้อยละ 40 ความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนผิวหนัง พบผิวหนังที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง (ระดับ 0) มากที่สุดร้อยละ 52.9 รองลงมาเป็นความรุนแรงระดับ 1 และ 2 ตามลําดับ และคุณภาพชีวิตผู้ป่วยทางเดินปัสสาวะใหม่ระยะยาวอยู่ในระดับปานกลาง ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองกับคุณภาพชีวิตมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลาง (r = .34, p < .01) แรงสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพชีวิตระดับต่ํา (r = .2, p < .05) ส่วนความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนผิวหนังและชนิดทางเดินปัสสาวะไม่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิต สรุปและข้อเสนอแนะ: พยาบาลควรพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและแรงสนับสนุนทางสังคมเพื่อการเปลี่ยนผ่านไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วยทําทางเดินปัสสาวะใหม่ระยะยาวPublication Open Access ความสัมพันธ์ระหว่างระยะเวลาการเป็นเบาหวานกับระดับความรุนแรงของการเกิดโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตันในผู้ป่วยไทยที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2(2554) เกศศิริ วงษ์คงคำ; Kessiri Wongkongkam; อรพรรณ โตสิงห์; OrapanThosingha; เกศรินทร์ อุทริยะประสิทธิ์; Ketsarin Utriyaprasi; Barbara Riegel; เฉนียน เรืองเศรษฐกิจ; Chanean Ruangsetakit; ชูเกียรติ วิวัฒน์วงศ์เกษม; Chukiat Viwatwongkasem; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์วัตถุประสงค์: โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตันมีสาเหตุการเกิดจากการพอกของไขมันบนผนังหลอดเลือดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นปัจจัยหลักของการเกิดโรคนี้ ความรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างระยะเวลาการเป็นเบาหวานกับระดับความรุนแรงของการเกิดโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตันจะช่วยให้การค้นหาโรคในระยะเริ่มต้นมีประสิทธิภาพ การวิเคราะห์ ทุติยมานในการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระยะเวลาการเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 กับระดับความรุนแรงของการเกิดโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน รูปแบบการวิจัย: การวิเคราะห์ข้อมูลทุติยมานจากข้อมูลปฐมภูมิ วิธีดำเนินการวิจัย: เลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มอย่างง่ายตามเกณฑ์ที่กำหนดกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 405 คน ข้อมูลปฐมภูมิเก็บรวบรวมด้วยการสัมภาษณ์และการวัดค่าดัชนีความดันของข้อเท้าเมื่อเทียบกับแขนวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติไคสแคว์ ผลการวิจัย: ระยะเวลาการเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 มีความสัมพันธ์กับระดับความรุนแรงของการเกิดโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) สรุปและข้อเสนอแนะ: ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ทุกราย โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยที่มีระยะเวลาการเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 มากกว่า 10 ปี ควรได้รับการประเมินเพื่อค้นหาโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน วิธีการคัดกรองที่ควรใช้ คือ การคลำชีพจรที่เท้าการสัมภาษณ์อาการสำคัญ และ การตรวจวัดค่าดัชนีความดันของข้อเท้าเมื่อเทียบกับแขนItem Metadata only แนวปฏิบัติสำหรับพยาบาลวิชาชีพในการบำบัดเพื่อช่วยให้เลิกบุหรี่(2552) ผ่องศรี ศรีมรกต; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์Item Metadata only บทความวิชาการการศึกษาต่อเนื่องสาขาพยาบาลศาสตร์ เล่มที่ 10 การพยาบาลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง(2553) ศิริอร สินธุ; สุพัตรา บัวที; ศิริอร สินธุ; สุพัตรา บัวที; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์; สภาการพยาบาล. ศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง. สาขาพยาบาลศาสตร์Item Metadata only บุหรี่กับสุขภาพ : บทบาทของพยาบาลต่อการสร้างสังคมไทยปลอดบุหรี่(2551) ทัศนา บุญทอง; ผ่องศรี ศรีมรกต; สุรินธร กลัมพากร; ทัศนา บุญทอง; ผ่องศรี ศรีมรกต; สุรินธร กลัมพากร; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์; สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย. กรรมการเครือข่ายพยาบาลเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่; สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)Publication Open Access แบบวัดความครุ่นคิดต่อสถานการณ์ฉบับภาษาไทยสําหรับวัยรุ่น: คุณภาพของเครื่องมือ(2554) วารีรัตน์ ถาน้อย; Wareerat Thanoi; รุ้งนภา ผาณิตรัตน์; Rungnapa Panitrat; กอบกุล พันธ์เจริญวรกุล; Kobkul Phancharoenworakul; Elaine A. Thompson; เดชาวุธ นิตยสุทธิ; Dachavudh Nityasuddhi; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวชศาสตร์; USA. University of Washington at Seattle. School of Nursing.; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาชีวสถิติวัตถุประสงค์: เพื่อประเมินคุณภาพของแบบวัดความครุ่นคิดต่อสถานการณ์ในบริบทของวัยรุ่นไทย รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเครื่องมือวิจัย วิธีดําเนินการวิจัย: แบบวัดความครุ่นคิดต่อสถานการณ์ได้รับการแปลเป็นภาษาไทยและนําไปทดสอบในกลุ่มวัยรุ่นไทยที่กําลังศึกษาในโรงเรียนในเขตกรุงเทพจํานวน 1,417 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามประเมินตนเองซึ่งประกอบด้วยแบบวัดความคิด ความรู้สึกและประสบการณ์ของวัยรุ่น แบบวัดความครุ่นคิดต่อสถานการณ์ เพื่อทดสอบความตรงเชิงโครงสร้างโดยการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง ความครุ่นคิด ความตึงเครียดทางอารมณ์ และพฤติกรรมเสี่ยงในการฆ่าตัวตาย และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ความตรงเชิงเนื้อหา รวมทั้งทดสอบความเชื่อมั่นของแบบวัดโดยคํานวณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ผลการศึกษา: โมเดลองค์ประกอบเชิงยืนยันของแบบวัดความครุ่นคิดต่อสถานการณ์ซึ่งประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (χ2= 0.094, df = 1, p = 0.759,GFI = 1.000, AGFI = 1.000, RMSEA = 0.000) มีค่าความตรงเชิงเนื้อหา (CVI = 0.95) และความเชื่อมั่นระดับดี ( α=0.90) นอกจากนี้ยังพบว่า ความครุ่นคิดมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความตึงเครียดทางอารมณ์ (r = .736, p < .01) และพฤติกรรมเสี่ยงในการฆ่าตัวตาย (r = .46, p < .01) อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ สรุปและข้อเสนอแนะ: แบบวัดความครุ่นคิดต่อสถานการณ์มีคุณภาพของเครื่องมือเป็นที่น่าพอใจคล้ายคลึงกับฉบับเริ่มต้นและสามารถนํามาประยุกต์ใช้ในเชิงปฏิบัติทางคลินิกและการวิจัยในอนาคตในบริบทของวัฒนธรรมไทยPublication Open Access ประสบการณ์การรับบริการฝากครรภ์และการแสวงหาข้อมูลสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์ที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่(2563) ศศิธารา น่วมภา; พรนภา ตั้งสุขสันต์; ฉันทิกา จันทร์เปีย; วชิรา วรรณสถิตย์; Sasitara Nuampa; Pornnapa Tangsuksan; Chantika Chunpia; Wachira Wanasathit; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยาวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสบการณ์การรับบริการฝากครรภ์ และการแสวงหาข้อมูลทางสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์ที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ รูปแบบการวิจัย: การศึกษาเชิงคุณภาพแบบบรรยาย วิธีดำเนินการวิจัย: สตรีตั้งครรภ์ที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ได้รับคัดเข้าตามเกณฑ์แบบเฉพาะเจาะจงจำนวน 21 คน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล แนวการสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบบันทึกภาคสนาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณสถิติเชิงพรรณา และข้อมูลประสบการณ์ด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย: ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเลือกใช้บริการสถานที่ฝากครรภ์ ได้แก่ ผลกระทบต่อการทำงานและค่าตอบแทน การรับรู้สุขภาพ ความพึงพอใจในบริการ และการสนับสนุนทางสังคม นอกจากนี้ เพื่อนที่ทำงาน และสื่อออนไลน์คือแหล่งข้อมูลที่สำคัญสำหรับสตรีตั้งครรภ์ในการแสวงหาข้อมูลสุขภาพขณะตั้งครรภ์ สรุปและข้อเสนอแนะ: บุคลากรสุขภาพควรส่งเสริมการดูแลสุขภาพขณะตั้งครรภ์อย่างครอบคลุมทุกมิติ รวมทั้งคำนึงบริบทด้านการทำงาน และสนับสนุนทางสังคมทุกด้านทั้งข้อมูลความรู้ อารมณ์จิตใจ สิ่งของ และการประเมินย้อนกลับเพื่อก่อให้เกิดการตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพPublication Open Access ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ(2555) ลิวรรณ อุนนาภิรักษ์; Liwan Ounnapiruk; วิราพรรณ วิโรจน์รัตน์; Virapun Wirojratana; วรรณา คงสุริยะนาวิน; Wanna Kongsuriyanavin; วิลาสินี เติมเศรษฐเจริญ; Wilasinee Termsettajaroen; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลรากฐานวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุรูปแบบการวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง แบบกลุ่มเดียว ประเมินก่อนและหลังการทดลอง วิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุตรอกข้าวเม่า จํานวน 43 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล การรับรู้ภาวะสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพ การดําเนินชีวิต และแบบวัดคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ กรอบแนวคิดของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ ได้แก่ ทฤษฎีความสามารถตนเองและแนวคิดคุณภาพชีวิตครอบคลุมด้านร่างกาย จิตใจ ความสัมพันธ์ทางสังคมและสิ่งแวดล้อม กิจกรรมของโปรแกรมประกอบด้วย การบรรยายการส่งเสริมสุขภาพ กระบวนการกลุ่ม วิเคราะห์ปัญหา หาแนวทางแก้ไข พูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ สาธิตและฝึกปฏิบัติ การดําเนินโปรแกรมใช้เวลานาน 2 เดือน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การทดสอบที และไคร์สแควร์ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างมีคุณภาพชีวิตโดยรวมระหว่างก่อนและหลังได้รับโปรแกรมฯ ไม่มีความแตกต่างกัน (p > .05) แต่คุณภาพชีวิตด้านร่างกาย และการรับรู้ภาวะสุขภาพดีกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < .05) ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ (ร้อยละ 83.33) มีความพึงพอใจมากกับโปรแกรมฯสรุปและข้อเสนอแนะ: โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ มีความสําคัญและจําเป็นต้องทําอย่างต่อเนื่อง เพื่อนําสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุอย่างยั่งยืนต่อไป