MULKC-Article
Permanent URI for this collectionhttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/155
Browse
Recent Submissions
Publication Metadata only เรียนรู้ให้มากและเล่นให้มากกว่า เพื่อประสบการณ์การเรียนรู้บนโลกเสมือนจริง(2567) นภัสวรรณ สุพัตร; Naphatsawan Supatปัจจุบันการเรียนการสอนด้านการแพทย์จําเป็นที่ต้องมีพื้นฐานด้านกายวิภาคศาสตร์ และเนื่องด้วยเทคโนโลยี VR(Virtual Reality)กําลังเข้ามามีบทบาทในด้านการศึกษา หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล จึงได้จัดกิจกรรม The VR Anatomy Challenge Unleashing the Human Anatomy Puzzle โดยคัดเลือกเกมการศึกษาจากแพลตฟอร์ม VR ชื่อว่า Human Anatomy Puzzle ซึ่งเป็นเกมที่ส่งเสริมการเรียนรู้เกี่ยวกับระบบกายวิภาคศาสตร์นําเสนอเนื้อหาบนสภาพแวดล้อมเสมือนจริงที่สามารถมีปฏิสัมพันธ์ผ่านแว่น VR ได้หลากหลายโหมดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะในการคิดวิเคราะห์ ความรู้ และความแม่นยํา เปิดโอกาสให้นักศึกษามีส่วนร่วมและสนับสนุนนักศึกษาให้มีประสบการณ์การเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือนผ่านเกม พบว่าคะแนนแบบทดสอบวัดความรู้พื้นฐานด้านกายวิภาคศาสตร์หลังเล่นเกมของนักศึกษาสูงกว่าก่อนเล่นเกมอย่างมีนัยสําคัญ และจากแบบสํารวจพบว่านักศึกษามีความพึงพอใจระดับมากที่สุดค่าเฉลี่ย 4.95 สรุปได้ว่าการประยุกต์ใช้เกม VR เพื่อการศึกษามีส่วนช่วยส่งเสริมความความรู้ความเข้าใจพื้นฐานด้านกายวิภาคศาสตร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเปิดประสบการณ์การเรียนรู้รูปแบบใหม่บนโลกเสมือนจริงPublication Metadata only การเรียนรู้เชิงรุกวิถีใหม่่ เพื่อเปิดประสบการณ์การเรียนรู้บนโลกเสมือนจริง(2567) นภัสวรรณ สุพัตร; เอกนฤน บางท่าไม้; สิทธิชัย ลายเสมาปัจจุบันพบหลายปัจจัยที่มีผลต่อกระบวนการการเรียนรู้ของนักเรียน ได้แก่ ความขาดแคลนแรงจูงใจในการเรียน การจัดสรรเวลาของผู้เรียน ความขาดเชื่อมั่นในตนเอง และขาดทรัพยากรการเรียนรู้ที่เพียงพอ ด้วยเหตุนี้การส่งเสริมการพัฒนาบุคลิกภาพและศักยภาพทางการศึกษาของผู้เรียนผ่านกระบวนการเรียนรู้เชิงรุกเป็นสิ่งสำคัญ โดยการให้ ผู้เรียนมีส่วนร่วมและมีปฏิสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติ เพื่อให้เกิดการคิดวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และลงมือปฏิบัติ การใช้เทคโนโลยี Virtual Reality จึงเป็นหนึ่งในวิธีที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับกระบวนการเรียนรู้ เช่น เพิ่มความสนใจและกระตุ้นกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน สร้างสถานการณ์การเรียนรู้ ที่เชื่อมโยงผู้เรียนกับชีวิตจริง ประสบการณ์การเรียนรู้ผ่านการเล่นเกมบนโลกเสมือนจริง และสร้างประสบการณ์ การเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติบนสถานการณ์จำลอง ดังนั้น การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี VR กับการศึกษานั้น มีทั้งโอกาสและความท้าทายในการสนับสนุนทางการศึกษา โดยเปลี่ยนวิธีการเรียนรู้แบบเดิมเป็นการเรียนรู้เชิงรุกอย่างสร้างสรรค์และกว้างขวางมากขึ้นในโลกอนาคตPublication Open Access Video Abstract : สื่อดิจิทัลเพื่อการเผยแพร่ผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดลให้กว้างไกลสู่ระดับโลก(2566) นภัสวรรณ สุพัตร; สกัญญา รัตนมนตรี; อภิชยาภา คูพะเนียด; Naphatsawan Supat; Sakanya Ruttanamontree; Apichayapa Kupaneadหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดลได้จัดทําสื่อดิจิทัล Video Abstract ที่รวบรวมผลงานวิจัยตีพิมพ์ระดับนานาชาติของอาจารย์ นักวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดลขึ้นภายใต้โครงการยุทธศาสตร์ เพื่อนําเสนอบนแพลตฟอร์มยูทูบ Mahidol Library Channel เพลย์ลิสต์ The Author by Mahidol University Library and Knowledge Center และในรูปแบบหน้าเพจเว็บไซต์ www.li.mahidol.ac.th/the-author ซึ่งมีการจัดแบ่งเป็นหมวดหมู่ตามสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ง่ายต่อการรับชม โดยได้รับความร่วมมือจากหน่วยสื่อสารองค์กรฯ งานวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ และงานเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อพัฒนาช่องทางประชาสัมพันธ์ผลงานวิชาการของมหาวิทยาลัยในแนวทางใหม่ และวิเคราะห์ผลการเข้าถึงสื่อดิจิทัลจากช่องทางประชาสัมพันธ์ดังกล่าว โดยดําเนินงานตามแนวคิดทฤษฎี PDCA โดยใช้เครื่องมือการวิเคราะห์สถิติหน้าเพจเว็บไซต์ Google Analyticsและใช้แพลตฟอร์ม studio.youtube วิเคราะห์ภาพรวมการรับชมคลิปจากช่องยูทูบ ผลพบว่าภายในระยะเวลาหนึ่งเดือนมีจํานวนการเข้ารับชมทั้งหมด 508 ครั้ง มีผู้รับชมใหม่เพิ่มขึ้นคิดเป็น 13% และมีผู้ติดตามช่องยูทูบเพิ่มขึ้นคิดเป็น 572% ในระยะเวลา 3 เดือนPublication Metadata only การพัฒนาสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการประชาสัมพันธ์ห้องสมุดดนตรีสมเด็จพระเทพรัตน์ ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม(2566) นภัสวรรณ สุพัตร; Naphatsawan Supatการพัฒนาสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการประชาสัมพันธ์ห้องสมุดดนตรีสมเด็จพระเทพรัตน์ด้วยการประยุกต์ใช้นวัตกรรม Augmented Reality (AR) ในครั้งนี้ มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์แผ่นพับห้องสมุดดนตรีสมเด็จพระเทพรัตน์ด้วยการ ประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Augmented Reality (AR) และศึกษาผลการประเมินประสิทธิภาพและความพึงพอใจต่อการใช้สื่อสิ่งพิมพ์ฯ โดยใช้ทฤษฎี ADDIE Model เป็นกระบวนการสร้างและพัฒนานวัตกรรม 5 ขั้นตอน 1) การวิเคราะห์ศึกษาและรวบรวมข้อมูล (Analysis) 2) การศึกษาคัดเลือกวัตกรรมที่เกี่ยวข้อง (Design) 3) การพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย (Development) สร้างสรรค์ สื่อสิ่งพิมพ์ห้องสมุดดนตรีฯ และสื่อมัลติมีเดียในรูปแบบภาพ เสียง และวิดีโอผ่าน Platform Web Application V-Director & Application V-Player 4) การหาประสิทธิภาพของนวัตกรรม (Implement) ประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรี และ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมและประเมินความพึงพอใจบุคคลทั่วไปที่มาศึกษาดูงานห้องสมุดดนตรีฯ 5) ดาเนินการ ทดลองเก็บรวบรวมข้อมูลและปรับปรุงนวัตกรรม (Evaluate) โดยใช้สถิติวิเคราะห์ข้อมูลสถิติจากค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่าผลการประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรีในภาพรวมด้านกราฟิกและการออกแบบค่าเฉลี่ยอยู่ ระดับมากที่สุด 4.95 ด้านเทคนิคนวัตกรรมค่าเฉลี่ยอยู่ระดับมากที่สุด 4.90 และด้านเนื้อหาค่าเฉลี่ยอยู่ระดับมากที่สุด 4.86 ผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรีทั้ง 5 ท่านเห็นด้วยกับการนำสื่อสิ่งพิมพ์ห้องสมุดดนตรี ไปใช้งานได้จริง ผลการประเมินคุณภาพโดย ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมภาพรวมด้านเทคนิคนวัตกรรมค่าเฉลี่ยอยู่ระดับมาก 4.35 ด้านกราฟิกและการออกแบบ ค่าเฉลี่ยอยู่ระดับมาก 4.05 และด้านเนื้อหาค่าเฉลี่ยอยู่ระดับมาก 3.94 ผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยีและนวัตกรรมทั้ง 5 ท่านเห็นด้วยกับ การนำสื่อสิ่งพิมพ์ห้องสมุดดนตรี ไปใช้งานได้จริง และผลประเมินความพึงพอใจบุคคลทั่วไปภาพรวมด้านกราฟิกและการออกแบบ ค่าเฉลี่ยอยู่ระดับมากที่สุด 4.65 ด้านเนื้อหาค่าเฉลี่ยอยู่ระดับมากที่สุด 4.62 และด้านเทคนิคนวัตกรรมค่าเฉลี่ยอยู่ระดับมากที่สุด 4.60Publication Open Access การพัฒนาระบบจัดเก็บและสืบค้นวัสดุสำนักงานผ่านออนไลน์ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล(2564) สุทธิณี ฝุ่นครบุรี; จิรวรรณ นารีเลิศ; ปิยวัฒน์ ชวนวารี; Sutthinee Fonkornburi; Jirawan Nareelerd; Piyawat Chuanvaree; มหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดลการพัฒนาระบบจัดเก็บและสืบค้นวัสดุสำนักงานผ่านออนไลน์หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล (Online Office Material Management System) ได้พัฒนาขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวก และสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง แก่ผู้รับบริการกับหน่วยพัสดุของหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล ให้สามารถสืบค้นรหัสวัสดุ ชื่อวัสดุ รูปภาพวัสดุ และสถานะของวัสดุ ทั้งนี้เมื่อมีการพัฒนาระบบฯ ขึ้น ผู้วิจัยได้ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อระบบฯในด้านข้อมูลของระบบจัดเก็บและสืบค้นวัสดุสานักงานผ่านออนไลน์ และด้านการบริหารจัดการประสิทธิภาพของระบบจัดเก็บและสืบค้นวัสดุสำนักงานผ่านออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นบุคลากรในสังกัดหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 126 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ผลการศึกษาพบว่าบุคลากรในสังกัดหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล มีความพึงพอใจต่อระบบจัดเก็บและสืบค้นวัสดุสำนักงานผ่านออนไลน์หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล (Online Office Material Management System) อยู่ในระดับมาก ( X ̅ = 4.26) โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านการบริหารจัดการและประสิทธิภาพของระบบจัดเก็บและสืบค้นวัสดุสำนักงานผ่านออนไลน์ ( X ̅ = 4.21) รองลงมา คือ ด้านข้อมูลของระบบจัดเก็บและสืบค้นวัสดุสำนักงานผ่านออนไลน์ (X ̅ = 4.12)Publication Open Access วงกลองยาวไทยใหญ่ บ้านเทอดไทย จังหวัดเชียงราย(2563) กฤตวิทย์ ภููมิถาวร; Krittavit Bhumithavara; มหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดลบทความวิิชาการนี้้มีจุุดประสงค์เพื่อศึกษาให้เห็นรููปแบบดนตรีและการแสดงของวงกลองยาวไทยใหญ่ บ้านเทอดไทย จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์แสดงถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวไทยใหญ่ เช่น การร่ายรำ การแสดง บทร้อง และดนตรีของวงชาวไทยใหญ่ เป็นต้น บทความวิชาการวงกลองยาวไทยใหญ่ บ้านเทอดไทย จังหวัดเชียงราย นำเสนอองค์ประกอบของบทความได้ดังนี้ 1. องค์ประกอบเครื่องดนตรีของวงกลองยาวไทยใหญ่ มีเครื่องดนตรีที่สำคัญทั้งหมด 3 ชิ้น ได้แก่ 1) กลองยาว 2) ฉาบ 3) ฆ้อง (มองเซิ้ง; ฆ้องลักษณะพิเศษ 7 เสียง โดยใช้การบรรเลงคนเดียว) 2. ลักษณะการบรรเลงของวงดนตรี เริ่่มบรรเลงด้วยเครื่่องเคาะทองเหลือง ตามด้วย ฉาบ หลังจากนั้นกลองตอบรับตามลำดับ และไม่มีลูกจบตายตัว แล้วแต่คนใดคนหนึ่่งให้สั้ญญาณจบ 3. การฟ้อนนก คือ ศิลปะการร่ายรำประกอบจังหวะกลองยาวไทยใหญ่ โดยแต่งกายชุุดนกกินนารี 4. การประกวดประจำปี แข่งขันการแสดงดนตรีและการร่ายรำของชาวไทยใหญ่ในแต่ละเขตต่าง ๆ 5. การสืบสานวัฒนธรรมชาวไทยใหญ่ 6. ทางด้านศาสนา 7. เครื่่องดนตรีอื่่นๆ และ 8. เพลงชาวไทยใหญ่ จากการศึกษาแสดงให้เห็นถึงองค์รวมของ วงกลองยาวไทยใหญ่ บ้านเทอดไทย จังหวัดเชียงราย เพื่่อเป็นประโยชน์ต่์อผู้ที่่ ผู้นำไปศึกษาหรือต่อยอดในอนาคต ต่อไปPublication Open Access เสียงลูกค้ากับแนวทางการพัฒนางานบริการยืมระหว่างห้องสมุด ในมหาวิทยาลัยมหิดล(2559) รุ่งนภา แสงระวี; วิชาดา บุญจันทร์กุล; Rungnapa Saengrawee; Vichada Boonchankul; มหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลันมหิดล. หอสมุดกลางงานวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจ ความคิดเห็น และข้อเสนอแนะของผู้รับบริการที่มีต่อการใช้บริการยืมระหว่างห้องสมุดในมหาวิทยาลัยมหิดลของหอสมุดกลาง หอสมุดและคลังความรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อนำผลการศึกษามาใช้เป็นแนวทางการพัฒนางานบริการยืมระหว่างห้องสมุดในมหาวิทยาลัยมหิดล ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาระดับปริญญาโท/เอกขอใช้บริการจำนวนมากที่สุด ร้อยละ 45.61 ความถี่ที่ ขอใช้บริการนาน ๆ ครั้งจำนวนมากที่สุด ร้อยละ 41.23 วัตถุประสงค์ในการใช้บริการเพื่อทำวิจัย/ทำวิทยานิพนธ์จำนวนมากที่สุด ร้อยละ 48.53 มีระดับความพึงพอใจโดยรวม ด้านกระบวนการ /ขั้นตอนการขอใช้บริการในระดับมาก (¯x = 4.34) ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการในระดับมากที่สุด (¯x = 4.67) ระดับความพึงพอใจในภาพรวมของบริการยืมระหว่างห้องสมุดในระดับมากที่สุด (¯x= 4.61) ผู้รับบริการยืมระหว่างห้องสมุดให้ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาคุณภาพบริการยืมระหว่างห้องสมุด ด้านแบบฟอร์มการขอใช้บริการให้ยืมระหว่างห้องสมุดควรระบุรายการยืมได้มากกว่า 1 เล่ม ควรมองเห็นได้ชัดเจนจากหน้าเว็บไซต์ ของหอสมุดและคลังความรู้ฯ ควรขอใช้บริการจากหน้าจอการสืบค้นหนังสือได้ และระยะเวลาในการจัดส่งควรน้อยกว่า 3 วันทำการ ผลการวิจัย สามารถ นำไปประยุกต์ใช้ เป็นแนวทางการพัฒนางานบริการยืมระหว่างห้องสมุดในมหาวิทยาลัยมหิดลโดยร่วมมือกับงานเทคโนโลยีสารสนเทศทำการปรับปรุงระบบบริการยืมระหว่างห้องสมุดออนไลน์ให้ใช้งานได้ง่าย สามารถส่งคำขอใช้บริการจากหน้าจอการสืบค้นหนังสือได้ และระบุรายการยืมได้มากกว่า 1 เล่ม รวมถึงการสร้างความร่วมมือเพื่อให้ห้องสมุดทุกคณะ/สถาบัน ได้เข้าร่วมบริการยืมระหว่างห้องสมุด เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรร่วมกันอย่างคุ้มค่า เป็นการอำนวยความสะดวก ลดภาระ ค่าใช้จ่าย และประหยัดเวลาของผู้รับบริการPublication Open Access OKRs@ Work บริหารผลงานสู่ความเป็นเลิศด้วย OKRs (บทวิจารณ์หนังสือ)(2562) รุจเรขา วิทยาวุฑฒิกุล; Ruchareka Wittayawuttikul; กิตติพัทธ์ จิรวัสวงศ์; มหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดลPublication Metadata only คู่มือสร้างโมเดลธุรกิจ (บทวิจารณ์หนังสือ)(2560) รุจเรขา วิทยาวุฑฒิกุล; วิญญู กิ่งหิรัญวัฒนา, ผู้แปล; Osterwalder, Alexander; Pigneur, Yves; มหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะวิทยาศาสตร์Publication Open Access คลังสารสนเทศสถาบันของมหาวิทยาลัยมหิดล (Mahidol IR)(2560) สาวิตรี บุญปาลิต; Sawitree Boonpalit; มหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล. งานเผยแพร่ผลงานวิชาการของมหาวิทยาลัยคลังสารสนเทศสถาบันของมหาวิทยาลัยมหิดล = Mahidol University’s Institutional Repository (Mahidol IR) (http://repository.li.mahidol.ac.th) จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแหล่งรวบรวม จัดเก็บ เผยแพร่ งานวิจัย ผลงานวิชาการที่ผ่านการตีพิมพ์ และไม่ได้ตีพิมพ์ ซึ่งเป็นภูมิปัญญาที่มีคุณค่าของคณาจารย์ นักวิจัย และบุคลากรทุกคณะ สถาบันของมหาวิทยาลัยมหิดลในรูปสื่อดิจิทัลอย่างเป็นระบบ ให้บริการบนเว็บเพจของหอสมุดและคลังความรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล สนับสนุนวิสัยทัศน์ พันธกิจของมหาวิทยาลัยมหิดลให้บรรลุเป้าประสงค์ในการเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ ใช้โปรแกรม DSpace ในการดำเนินงาน อำนวยความสะดวกในการสืบค้นข้อมูลจากการทำงาน (function) ในระบบ และสามารถสืบค้นด้วย Search Engine เข้าถึงได้ทุกที่ ทุกเวลา มีความร่วมมือกับเครือข่ายคลัง เชื่อมโยงข้อมูล ข้ามระบบในระดับสากล และใช้สารสนเทศร่วมกันPublication Open Access การศึกษาปัญหา อุปสรรคและแนวทางแก้ไขการดำเนินงานพัฒนาฐานข้อมูล Mahidol-IR ในปี 2554-2558(2560) สาวิตรี บุญปาลิต; Sawitree Boonpalit; มหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล. งานเผยแพร่ผลงานวิชาการของมหาวิทยาลัยการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคที่พบในการดำเนินงานพัฒนาฐานข้อมูล Mahidol-IR และ 2) หาแนวทางปรับปรุงการดำเนินงานพัฒนาฐานข้อมูล Mahidol-IR ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาและอุปสรรคของกลุ่มผู้บริหาร กลุ่มผู้ปฏิบัติงาน และผู้ดูแลระบบ มีดังนี้ 1. ขาดนโยบายที่ปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษรจากมหาวิทยาลัย 2. บุคลากรที่มีหน้าที่นำเข้าข้อมูลมีน้อย 3. ขาดบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านโปรแกรม DSpace 4. ต้องการเข้าร่วมฝึกอบรม/สัมมนาทั้งที่จัดในประเทศ และต่างประเทศ 5. ต้องการฝึกอบรม/ทบทวนการนำเข้าข้อมูลเพิ่มเติม 6. ไม่ได้ปฏิบัติงานนี้แบบต่อเนื่องทำให้ลืมและต้องทบทวนใหม่อยู่เสมอ 7. ไม่มีโอกาสในการพัฒนาฐานข้อมูลเนื่องจากมีงานประจำ สำหรับข้อเสนอแนะ แนวทางปรับปรุงแก้ไขปัญหาการดำเนินงานพัฒนาฐานข้อมูล Mahidol-IR มีดังนี้ 1. ผลักดันให้มหาวิทยาลัยมีนโยบายเป็นลายลักษณ์อักษร 2. เพิ่มบุคลากรให้หน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง 3. กำหนดให้มีการจัดอบรม/สัมมนาภายในหน่วยงาน และส่งเข้าอบรม/สัมมนาทั้งที่จัดในประเทศ และต่างประเทศ 4. มอบหมายงานให้ผู้รับผิดชอบนำเข้าข้อมูลถือปฏิบัติตามข้อตกลงการปฏิบัติงานล่วงหน้า (PA) กับส่วนงานอย่างชัดเจนและมีการประเมินผลผู้ปฏิบัติงาน 5. จัดทำคู่มือการลงรายการฐานข้อมูล Mahidol-IR ด้วยมาตรฐานเมตาดาตาฉบับย่อที่เข้าใจง่าย เพื่ออำนวยความสะดวกและช่วยประหยัดเวลาในการนำเข้าข้อมูลPublication Open Access งานดนตรีไทยสากลของครูมงคล อมาตยกุล : ลักษณะเด่นในอุปนิสัย ความรอบรู้ ความสำเร็จในการสร้างวงดนตรีและนักร้องเพลงลูกทุ่ง(2561) กฤตวิทย์ ภูมิถาวร; Krittavit Pommitavon; มหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดลวิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาชีวประวัติและงานของครูมงคล อมาตยกุล ในการบริหาร ควบคุมวงดนตรีการฝึกหัดขัดเกลาบรรดาศิลปินที่อยู่ในสังกัดจนประสบความสำเร็จจนเป็นนักร้องระดับ ชาติจำนวนมาก รวมไปถึงความสำเร็จในการสร้างคนทำงานดนตรีออกสู่สาธารณะ โดยใช้ระเบียบวิจัย เชิงคุณภาพในการศึกษา ได้รวบรวมประวัติส่วนตัว ผลงานทั้งหลายและได้ศึกษาเจาะลึกด้านดนตรี จากตัวอย่าง 6 ผลงานเพลงที่ท่านสร้างไว้ล้วนเป็นเพลงที่ได้รับรางวัลหรือได้จากการคัดเลือกจาก ผู้ทรงคุณวุฒิคือ เพลงเย้ยฟ้าท้าดิน ช่างร้ายเหลือ ความหลังฝังใจ ตัวไกลใจยัง อยากจะบอกรักแต่ไม่กล้า และนกเขาขันฉันครวญ ครูมงคล อมาตยกุล เกิดวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2461 ที่อำเภอพระนคร เรียนหนังสือที่ วัดชนะสงคราม โรงเรียนหอวัง โรงเรียนประทุมคงคา โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย คณะสัตวแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จนถึงชั้นปี4 (พ.ศ. 2485–2486) เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 มหาวิทยาลัยปิด และเพราะเหตุที่รักวิชาดนตรีมาก ในช่วงวัยเด็กและวัยรุ่นได้มีโอกาสร่ำเรียนเปียโน และวิธีการประสาน เสียง กับครูหลายคน ครั้นมาว่างงานว่างเรียนจึงเริ่มสนใจดนตรีอย่างจริงจัง ระหว่างสงครามได้สร้างวง ดนตรีรับงานย่อยที่นครสวรรค์แล้วทิ้งการเรียนจากมหาวิทยาลัย มาสร้างครอบครัวกับทำอาชีพดนตรี อย่างเดียว ในปี2500 ได้สร้างวงดนตรีจุฬารัตน์เป็นวงประเภท Big Band มีศิลปินหลัก ได้แก่ ปอง ปรีดา, นคร ถนอมทรัพย์, ทูล ทองใจ และ พร ภิรมย์ ทั้ง 4 คนนี้ท่านตั้งสมญาว่า สี่ทหารเสือของจุฬารัตน์ นักร้องที่มีชื่อเสียงของจุฬารัตน์ ได้แก่ ชาย เมืองสิงห์, สังข์ทอง สีใส, ประจวบ จำปาทอง และอีกหลาย ท่านที่ได้รับการยกย่องเป็นศิลปินแห่งชาติจุฬารัตน์ยุบวงเมื่อปีพ.ศ. 2516 เนื่องจากสุขภาพของครูมงคล ไม่อำนวย บรรดาศิษย์ได้ช ่วยกันช ่วยเหลือในการรักษาจนถึงที่สุด และถึงแก ่กรรมได้รับพระราชทาน เพลิงศพวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2533 ที่วัดมงกุฏกษัติการาม รวมอายุทั้งสิ้นได้72 ปี บทเพลง 6 ชิ้น ที่คัดกรองมาศึกษาในรายละเอียด พบว่า มีโครงสร้างสังคีตลักษณ์แบบ AABA และ ABCD อัตราจังหวะ 3/4 และ 4/4 ใช้กระสวนจังหวะหลายรูปแบบต่อ 1 เพลง เคลื่อนแบบตาม ขั้นมากกว่าข้ามขั้น มีพิสัยระหว่าง 11 Perfect ถึง 12 Perfect ในองค์รวม พบว่านิยมใช้บันไดเสียง เพนทาโทนิคค่อนข้างถี่ นอกจากนี้คำร้องของท่านยังใช้ภาษาไทยที่มีสัมผัสงดงาม และเพลงส่วนมากมักจบ ลงในจังหวะตกเสมอPublication Open Access การศึกษาวิเคราะห์การขอใช้บริการยืมระหว่างห้องสมุดในมหาวิทยาลัยมหิดล (Mahidol Library Book Delivery Service) ของหอสมุดกลาง หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล(2559) รุ่งนภา แสงระวี; Rungnapa Saengrawee; มหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดกลางการวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงศึกษาวิเคราะห์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลของผู้รับบริการ การใช้บริการยืมระหว่างห้องสมุดในมหาวิทยาลัยมหิดลของหอสมุดกลาง หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงและพัฒนาการบริการ และใช้ประกอบการตัดสินใจในการจัดซื้อ จัดหาทรัพยากรสารสนเทศเพิ่มเติมของหอสมุดกลาง หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล ประชากรและกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้รับบริการที่ขอใช้บริการยืมระหว่างห้องสมุดในมหาวิทยาลัยมหิดลของหอสมุดกลาง หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล จากระบบบริการยืมระหว่างห้องสมุดในมหาวิทยาลัยมหิดล ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2554 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2556 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิเคราะห์ คือ แบบบันทึกข้อมูลที่สร้างโดยใช้โปรแกรมไมโครซอฟท์เอ็กเซล การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา โดยการหาค่าความถี่ และร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า การขอใช้บริการยืมระหว่างห้องสมุดในมหาวิทยาลัยมหิดลของหอสมุดกลาง หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดลในช่วงปี 2554 - 2556 มีแนวโน้มสูงขึ้น ผู้รับบริการขอใช้บริการหนังสือภาษาไทย คิดเป็นร้อยละ 64.93 มากกว่าหนังสือภาษาอังกฤษ คิดเป็นร้อยละ 35.07 วิทยาเขตพญาไทขอใช้บริการจัดส่งมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 66.94 วิทยาเขตศาลายาขอใช้บริการขอรับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 81.55 ผู้รับบริการที่มีสถานภาพปริญญาโท/เอกขอใช้บริการมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 33.59 หนังสือสาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์มีผู้ขอใช้บริการมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 44.39 ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงและพัฒนาการบริการ คือ ควรเพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์ให้ผู้รับบริการทราบถึงบริการยืมระหว่างห้องสมุดในมหาวิทยาลัยมหิดลของหอสมุดกลาง หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรสารสนเทศอย่างคุ้มค่า ครอบคลุม และทั่วถึง และควรทำการบันทึกข้อมูลสำรองการขอใช้บริการ เพื่อป้องกันการสูญหายและสามารถนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์01ต่อไปได้ ข้อเสนอแนะเพื่อการจัดซื้อ จัดหาทรัพยากรสารสนเทศเพิ่มเติมของหอสมุดกลาง การวิจัยพบว่า ผู้รับบริการขอใช้บริการขอรับสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือ สิ่งพิมพ์ภาษาไทย และสิ่งพิมพ์สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี/วิทยาศาสตร์สุขภาพมากที่สุด โดยนำผลการวิจัยไปใช้เป็นแนวทางประกอบการตัดสินใจในการจัดซื้อ จัดหาทรัพยากรสารสนเทศเพิ่มเติมของหอสมุดกลาง หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดลต่อไปPublication Open Access ความสัมพันธ์ของการจัดซื้อ และการใช้หนังสือของ ห้องสมุดคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ปีงบประมาณ 2549 - 2558(2559) โสมรัศมิ์ พิบูลย์มณี; Sommarat Pibulmanee; มหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลันมหิดล. ห้องสมุดคณะเภสัชศาสตร์การวิจัยครั้ง นี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการจัดซิ้อ และการใช้หนังสือใน ปีงบประมาณ 2549 - 2558 รวมทั้ง ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการจัดซื้อ และการใช้หนังสือดังกล่าวของห้องสมุด คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพิ่ือนำผลการวิจัยมาใช้เป็นแนวทางในการจัดซื้อ หนังสือของห้องสมุด คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลต่อไป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ (Frequency Distributions) ค่าร้อยละ (Percentage) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation Coefficient) ผลการวิจัยพบว่า ในปีงบประมาณ 2549 - 2558 ห้องสมุดคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดซื้อ หนังสือภาษาต่างประเทศมากกว่าหนังสือภาษาไทย หนังสือภาษาต่างประเทศและหนังสือภาษา ไทยหมวดหมู่ที่ีมี การจัดซื้อ และมีการใช้มากที่ีสุดคือ หมวด QV (Pharmacology) หนังสือภาษาต่างประเทศหมวดหมู่ที่ีมีการจัดซื้อ และมีการใช้น้อยที่ีสุดคือ หมวด QL (Zoology) และ WO (Surgery) หนังสือภาษาไทยหมวดหมู่ที่ีมีการจัดซื้อ และมี การใช้น้อยที่ีสุดคือ หมวด QY (Clinical Pathology), WM (Psychiatry) และ WW (Ophthalmology) หมวดหมู่ที่ไม่ มีการจัดซื้อ เลยคือ หมวด QX (Parasitology), WN (Radiology. Diagnostic Imaging), WU (Dentistry. Oral Surgery) และ WV (Otolaryngology) สำหรับอัตราการใช้ต่อเล่มของหนังสือสาขาเภสัชศาสตร์และวิ ทยาศาสตร์ สุขภาพโดยรวมเท่ากับ 23.96 ครั้ง ต่อเล่ม หนังสือภาษาต่างประเทศมีอัตราการใช้ต่อเล่มสูงสุดในหมวด WQ (Obstetrics) คือ 47.75 ครั้ง ต่อเล่ม หนังสือภาษาไทยมีอัตราการใช้ต่อเล่มสูงสุดในหมวด QT (Physiology) คือ 25.13 ครั้ง ต่อเล่ม และหมวดหมู่ที่ีมีอัตราการใ ช้ต่อเล่มต่อที่ีสุดคือ หมวด QL (Zoology) และ WO (Surgery) คือ 2.00 ครั้ง ต่อเล่ม รวมทั้ง พบว่าการจัดซื้อ และการใช้หนังสือในช่วงเวลาดังกล่าวมีความสัมพันธ์กันในระดับสูงมากทั้ง หนังสือภาษาต่างประเทศและภาษาไทย สำหรับหนังสือทั่วไป ห้องสมุดจัดซื้อ หนังสือสารคดีมากกว่าหนังสือบันเทิง คดี แต่พบว่าหนังสือบันเทิงคดีมีอัตราการใช้สูงกว่า โดยความสัมพันธ์ระหว่างการจัดซื้อ และการใช้ของหนังสือทั่วไปมีความสัมพันธ์กันในระดับสูงมาก งานวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะว่า ห้องสมุดควรมีการศึกษาในลักษณะคล้ายกันนี้อย่าง ต่อเนื่องทุก 3 - 5 ปี เพื่ือตรวจสอบอัตราการใช้หนังสือในแต่ละหมวดหมู่ ควรเพิ่มเติมวิธีการพิจารณาจัดซื้อ หนังสือ จากแผนการสอนในรายวิชาต่างๆ ที่เปิดสอนในหลักสูตร ควรมีการประชาสัมพันธ์แนะนำหนังสือใหม่ให้หลากหลาย ช่องทางและมีความน่าสนใจเพิ่มขึ้น หรือส่งเสริมการใช้หนังสือที่มีการใช้น้อย รวมถึงเนื้อหาที่มีการจัดพิมพ์ ภาษาไทยน้อย บรรณารักษ์ควรแนะนำผู้ใช้บริการในการค้นคว้าสารสนเทศจากหนังสือภาษาต่างประเทศ เพื่อให้มี การใช้หนังสืออย่างคุ้มค่าPublication Open Access มิติใหม่ของงานจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหิดล กับการพัฒนานักศึกษายุวมัคคุเทศก์ (โครงการ MU Guide)(2017) เพชรดา ฐิติยาภรณ์; อาทิตยา ทรัพย์สิน; มหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล. ฝ่ายจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์งานวิจัยเรื่องมิติใหม่ของงานจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหิดล กับการพัฒนานักศึกษายุวมัคคุเทศก์ (โครงการ MU Guide) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการจัดฝึกอบรมเพื่อพัฒนานักศึกษายุวมัคคุเทศก์ของมหาวิทยาลัยมหิดล โดยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรมระหว่างปี พ.ศ. 2554-2559 มาประเมินผล วิเคราะห์ความพึงพอใจ และสรุปบทเรียน เพื่อเป็นต้นแบบการจัดฝึกอบรมนักศึกษายุวมัคคุเทศก์ที่มีประสิทธิภาพ และได้รับการตอบรับระดับดี จากการศึกษาพบว่า การจัดฝึกอบรมนักศึกษายุวมัคคุเทศก์ ควรคำนึงถึงจำนวนนักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรม และรูปแบบกิจกรรม ดังนี้ จำนวนนักศึกษาที่เข้าอบรมไม่ควรเกิน 30-40 คน กิจกรรมไม่ควรเกิน 4 กิจกรรม เพื่อการเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่ ควรเน้นการศึกษาข้อมูลที่อยู่ในมหาวิทยาลัยและชุมชนโดยรอบ และ รุ่นพี่ควรมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับนักศึกษาที่เข้าอบรมเพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีและความผูกพันต่อองค์กร งานวิจัยชิ้นนี้เป็นประโยชน์แก่สถาบันการศึกษาต่างๆ ที่สนใจศึกษาเป็นแนวทางในการพัฒนานักศึกษายุวมัคคุเทศก์ของสถาบัน โดยสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบได้ตามความเหมาะสม เพื่อให้สอดคล้องกับทิศทางการดำเนินงานของสถาบันนั้นPublication Open Access การสำรวจความพึงพอใจเจ้าหน้าที่บริการรายบุคคล ของห้องสมุดวิทยาเขตราชวิถีด้วยระบบ QR Code(2018) จันทรา เทพอวยพร; ชูเกียรติ จารุธนกิจพานิช; สุจรรยา จินดาวงศ์; โชติกา วีระพงษ์; มหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล. ห้องสมุดวิทยาเขตราชวิถีการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่มีต่อการให้บริการของเจ้าหน้าที่ของห้องสมุดวิทยาเขตราชวิถีรายบุคคลโดยใช้รหัสคิวอาร์ (Quick Response Code : QR-Code) สแกนผ่านสมาร์ทโฟนจากแผ่นประชาสัมพันธ์การประเมินความพึงพอใจผู้ให้บริการห้องสมุดรายบุคคล และประเมินผลจากแบบสอบถามออนไลน์ (Google form) รวบรวมข้อมูลตั้งแต่เดือนสิงหาคม - ตุลาคม พ.ศ. 2559 จากผู้ใช้บริการในห้องสมุดจำนวน 202 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ผลการสำรวจพบว่า ผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจต่อเจ้าหน้าที่บริการในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x= 4.49) เมื่อพิจารณาเป็นรายบุคคลพบว่า ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจรายบุคคลสูงสุดอยู่ในระดับมากที่สุด (X= 4.95) และค่าเฉลี่ยความพึงพอใจต่ำสุดอยู่ในระดับมาก (X=4.00) ผลการสำรวจที่ได้ห้องสมุดจะนำมาปรับปรุงวิธีการให้บริการของห้องสมุด รวมทั้งพัฒนาและปรับปรุงผู้ให้บริการทางด้านการบริการด้วยเทคโนโลยีใหม่ เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้รับความสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้นในการใช้บริการห้องสมุดPublication Open Access มุมรักการอ่านบริการประชาชน ณ สถานีตำรวจนครบาลพญาไท และ สำนักงานเขตราชเทวี กรุงเทพฯ(2018) สุพรรณษา นนทเกษ; อังคณา อินทรพาณิชย์; มหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล. ห้องสมุดคณะเภสัชศาสตร์การจัดบริการมุมรักการอ่านเพื่อบริการประชาชนในโครงการปันความรู้สู่ชุมชนพญาไท เป็นบริการเพื่อชุมชน มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมรักการอ่านและส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่ประชาชนผู้มารอติดต่อราชการ ณ สถานีตำรวจนครบาลพญาไท และ สำนักงานเขตราชเทวี กรุงเทพฯ โดยการใช้ประโยชน์จากหนังสือบริจาคที่ได้รับเป็นฉบับซ้ำที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ การใช้ยาและสมุนไพร อาหารและโภชนาการ ธรรมะ สารคดี การท่องเที่ยวและงานอดิเรก โดยจัดส่งหนังสือและเอกสารไปวางให้บริการเป็นประจำทุกเดือนเป็นเวลากว่า 4 ปี จึงประสงค์จะสำรวจความพึงพอใจของผู้อ่านหนังสือในโครงการ ด้วยการใช้แบบสำรวจสุ่มผู้อ่านทั้ง 2 แห่ง จำนวน 100 คน เมื่อเดือนเมษายน 2559 ผลการสำรวจพบว่า ผู้อ่านส่วนใหญ่เป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง อยู่ในช่วงอายุ 36-40 ปี (ร้อยละ 19.00) จบการศึกษาระดับปริญญาตรี (ร้อยละ 46.00) เป็นผู้มารอติดต่อราชการ (ร้อยละ 76.00) และเคยอ่านหนังสือในโครงการนี้มาก่อน มีความถี่ในการอ่านหนังสือแบบนาน ๆ ครั้ง (ร้อยละ 52.00) ผู้อ่านส่วนใหญ่อ่านหนังสือ 2-3 วัน ต่อครั้ง (ร้อยละ 39.00) มีความรักการอ่านเมื่อพบหนังสือวางอยู่ที่ใดมักจะหยิบมาอ่านเสมอ (ร้อยละ 59.00) ชอบอ่านหนังสือประเภทข่าวสารทั่วไป (ร้อยละ 72.00) ผู้ตอบแบบสำรวจเคยอ่านหนังสือในโครงการมาก่อนแล้ว (ร้อยละ 64.00) และอ่านเป็นครั้งแรก (ร้อยละ 36.00) มีระดับความพึงพอใจในภาพรวมทั้ง 2 แห่ง ระดับมากที่สุด (x=4.21) ต้องการจัดโครงการต่อไปและต้องการหนังสือเพิ่มด้านกีฬา ศิลปวัฒนธรรม ความงาม และหนังสือการ์ตูนคลายเครียดPublication Open Access QR Code ลดเวลาต่ออายุสมาชิก: กรณีศึกษา หอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยมหิดล(2018) พิมพิไร สุพัตร; มหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดลการศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อปรับปรุงวิธีการปฏิบัติงานของผู้ให้บริการ ในการให้บริการผู้ใช้ได้อย่างรวดเร็วทันต่อความต้องการ 2) เพื่อลดขั้นตอนการดำเนินการ 3) เพื่อสร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการด้วยการใช้เทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด (QR Code) ในการอำนวยความสะดวกกับขั้นตอนการต่ออายุบัตรสมาชิก โดยได้ทดลองนำมาใช้ ณ หอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยมหิดล ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2558 ผลการดำเนินการพบว่า การนำเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด (QR Code) มาใช้เป็นช่องทางเข้าถึงข้อมูลแสดงหลักฐานการลงทะเบียน สามารถปรับปรุงวิธีการทำงานในเรื่องการลดเวลาในการให้บริการต่ออายุสมาชิกเป็นเวลา 90 วินาที (1.30นาที) และ ลดขั้นตอนการทำงานได้ถึง 2 ขั้นตอน ด้านความพึงพอใจต่อการใช้เทคโนโลยีคิวอาร์โค้ดภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.01 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.15 จากผลการประเมินระบบงานข้างต้น สามารถสรุปได้ว่า การนำเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด (QR Code) มาแก้ปัญหาในการต่ออายุสมาชิกห้องสมุดให้กับนักศึกษาที่มาใช้บริการ ช่วยลดขั้นตอนการให้บริการต่ออายุสมาชิกสาหรับเจ้าหน้าที่ ช่วยลดระยะเวลาในการต่ออายุสมาชิกห้องสมุด และสร้างความพึงพอใจให้แก่นักศึกษาและเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานมากขึ้นPublication Open Access การใช้ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของนักศึกษาและอาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล(2558) โสมรัศมิ์ พิบูลย์มณี; มหาวิทยาลัยมหิดล.หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล.ห้องสมุดคณะเภสัชศาสตร์การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ฐานข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์ของนักศึกษาและอาจารย์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยใช้ แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษา และอาจารย์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 302 คน และได้รับแบบสอบถามคืน จำนวน 286 ชุด คิดเป็นร้อยละ 94.70 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (x) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์ความ แปรปรวนทางเดียว (One-way Analysis of Variance) ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนมากที่สุด ใช้ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อประกอบการเรียน/การสอน (ร้อยละ 87.41) ใช้ที่ห้องสมุดคณะเภสัชศาสตร์ (ร้อยละ 80.77) 1-2 ครั้ง/สัปดาห์ (ร้อยละ 40.56) เข้าถึงโดยผ่านหน้าเว็บไซต์ของหอสมุด และคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล (ร้อยละ 67.83) ฐานข้อมูลที่มีการใช้มากที่สุดคือ ฐานข้อมูล PubMed (ร้อยละ 92.31) เรียนรู้การใช้ฐานข้อมูลจากที่อาจารย์แนะนำ/จาก การศึกษาตามรายวิชาในหลักสูตร (ร้อยละ 71.33) เริ่มต้นสืบค้นด้วยวิธีการสืบค้นอย่าง ง่าย (Basic search) (ร้อยละ 70.28) โดยเลือกใช้คำสำคัญ (Keyword) (ร้อยละ 81.47) ประกอบการใช้เทคนิคขั้นสูงคือ คำเชื่อมบูลีน AND, OR, NOT เชื่อมระหว่างคำค้น (ร้อยละ 61.54) รูปแบบผลการสืบค้นที่ได้รับคือ เอกสารฉบับเต็มแบบ PDF (ร้อยละ 88.81) โดยนิยมอ่านผลการสืบค้นจากหน้าจอ (ร้อยละ 78.67) บริการอื่นๆที่มีในฐานข้อมูลจะใช้ บริการลงทะเบียนสมัครสมาชิกกับฐานข้อมูลเพื่อใช้จัดเก็บผลการสืบค้นของตนเอง (ร้อยละ 37.41) สำหรับปัญหาในการใช้ฐานข้อมูลที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ จำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ ให้บริการฐานข้อมูลในห้องสมุดมีจำนวนน้อย (x =3.58, SD=1.245) เป็นปัญหาในระดับ มาก รองลงมาคือ ไม่สามารถติดตามเอกสารฉบับเต็มจากรายการที่สืบค้นได้ (x=3.47, SD=1.162) เป็นปัญหาในระดับปานกลางPublication Open Access ความพึงพอใจของผู้ใช้คลังเก็บสารสนเทศดิจิทัลสาขาเวชศาสตร์เขตร้อน(2553) จันทรา เทพอวยพร; มหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลันมหิดล. ห้องสมุดวิทยาเขตราชวิถี