ICT-Proceeding Document
Permanent URI for this collectionhttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/56
Browse
Recent Submissions
Item Open Access PLEASE CHECK TO SAVE(2564) ยุทธนา จีนสมุทร; สมศักดิ์ ธนาศรี; Yuttana Jeansamoot; Somsak Tanasriงานวิศวกรรมและกายภาพ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการ สื่อสาร ( ICT ) มหาวิทยาลัยมหิดล ฝ่ายงานฯ มีบทบาทหน้าที่ดูแลและ สนับสนุนด้านการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมในการทำงาน สนับสนุนนโยบายมหาวิทยาลัย ด้าน Eco University และ UI Green เพื่อสนับสนุนการทำงานของระบบต่าง ๆ และงานอื่น ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ ฝ่ายงานฯ ได้มีการดำเนินการตาม แผนงานหลักในการทำงานเพื่อขับเคลื่อนองค์กรให้มีคุณภาพและยั่งยืน ใน การดำเนินการตามข้อกำหนดมาตรฐานนโยบาย และคุณภาพพื้นฐาน เพื่อ วิเคราะห์หาผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น สภาพปัญหาที่ฝ่ายงานฯ ได้มีรับมอบหมายดูแล บริหารจัดการด้านพลังงานให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ โดยการทำงานพบ ปัญหาอุปสรรคในการบริหารจัดการใช้ทรัพยากรพื้นที่ภายใน โดยบันทึก เจ้าหน้าที่ดูแลด้านความปลอดภัยประจำอาคาร การตรวจเช็คการลืมปิดระบบ แสงสว่าง และเครื่องปรับอากาศ พบว่าในแต่ละปีงบประมาณ 2560 – 2564 พบว่าระบบแสงสว่างมีจานวน 61 ครั้งและเครื่องปรับอากาศมีจานวน 109 ครั้ง ซึ่งเกิดจากสถานที่สำนักงาน และ ห้องพักคณาจารย์ ซึ่งเกิดจาก พฤติกรรมการใช้งานของบุคลากรภายในองค์กร และไม่รู้เท่าถึงการณ์ถึงการ สิ้นเปลืองพลังงานโดยเปล่าประโยชน์ คณะกรรมการจัดการพลังงาน คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการ สื่อสาร ( ICT ) ได้รับความร่วมมือร่วมใจ ตามบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ ของทุกคนในองค์กร นับตั้งแต่ คณะผู้บริหาร ผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชา ทุกระดับ และนักศึกษาของคณะฯ โดยมีการแต่งตั้งคณะกรรม และ คณะทางานด้านการจัดการพลังงาน เพื่อเป็นการกำหนดนโนบาย แผนการ พัฒนา มาตรการ ตลอดจนการแต่งตั้งคณะทางานจัดการพลังงานภายในขึ้นItem Open Access “รักษาลูกค้าเก่า เข้าถึงลูกค้าใหม่” การพัฒนา Customer Relationship Management ของลูกค้างานบริการวิชาการ(2564) บังอร กรวิรัตน์; Bang-on Kornwirat; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. งานบริการวิชาการและถ่ายทอดเทคโนโลยีงานบริการวิชาการและถ่ายทอดเทคโนโลยี มีบทบาทสาคัญและเน้นการให้บริการจัดฝึกอบรมหลักสูตรต่าง ๆ ให้มีคุณภาพและตอบสนองต่อพันธกิจของคณะที่วางไว้ การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าโดยใช้เทคโนโลยี และการใช้บุคลากรอย่างมีหลักการ CRM (Customer RelationshipManagement) จึงได้นำมาพัฒนาการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ เพื่อการติดตามความต้องการของลูกค้าเพื่อให้เกิดการจงรักภักดี รวมทั้งจัดเก็บข้อมูลการลงทะเบียน และความต้องการหลักสูตรฝึกอบรมลงในระบบ Short CourseManagement เป้าหมายสุดท้ายคือการเปลี่ยนจากผู้ใช้บริการไปสู่การเป็นลูกค้าตลอดไปสรุปผลจากการนำ CRM มาใช้เพื่อสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า ตามทฤษฎี DEAR Mode โดยการวิเคราะห์ด้วยค่า Chi-square พบว่า ผู้เคยเข้า ร่วมกิจกรรม (มาช้า) เป็นบุคคลทั่วไป ที่มากสุด 15.3% ในขณะที่บุคลากร ม.มหิดล ไม่เคยร่วม มีมากสุด 51.4% และดูความสัมพันธ์ของตัวแปร พบว่าค่าp-value ที่ระดับ 0.039 < 0.05 แสดงว่าการเข้าร่วมกิจกรรม (มาซ้า) มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับประเภทผู้อบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรม พบว่า มีค่าเฉลี่ย 4.71 อยู่ในระดับมากที่สุดItem Open Access ส่งอีเมลเยอะๆ ใช้ Tools ไหนดี(2564) วรมน เจริญสุข; ปฏิพัทธ์ ชิวปรีชา; ศิริพร โรจนโกศล; Waramon Chareonsok; Patipat Chewprecha; Siriporn Rojanakosol; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. งานสารสนเทศและระบบคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดลได้นำอีเมล มาใช้เป็นช่องทางในการสื่อสารทั้งภายในและภายนอกองค์กรอย่างกว้างขวาง เช่น ส่งข้อมูลคะแนนสอบให้นักศึกษาส่งข้อมูลประชาสัมพันธ์หลักสูตรอบรมให้ผู้สนใจ เป็นต้น การส่งข่าวสารผ่านอีเมลจึงเป็นช่องทางที่สำคัญในการสื่อสาร การส่งอีเมลถึงผู้รับจำนวนมากจะต้องใช้เวลาในการระบุ อีเมลผู้รับ และหากเนื้อหามีความแตกต่างตามข้อมูลส่วนบุคคลผู้ส่งจะต้องสร้างอีเมลทีละรายการการพัฒนาโปรแกรมสำหรับส่งอีเมลต้องอาศัยความเชี่ยวชาญด้านเขียนโปรแกรม ต้องใช้ทรัพยากรในการติดตั้งโปรแกรม ในปัจจุบันมีหลายซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการส่งอีเมล โดยแต่ละซอฟต์แวร์มีจุดเด่นและข้อจำกัดที่แตกต่างกัน เป็นที่น่าเสียดายบุคลากรส่วนใหญ่ยังไม่รู้จัก ซอฟต์แวร์เหล่านี้หรือเลือกใช้เครื่องมือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้อย่างเหมาะสม คณะผู้วิจัยจึงศึกษา วิเคราะห์ และเปรียบเทียบเครื่องมือสำหรับส่งอีเมลปริมาณมากในมิติของความชำนาญ การนำไปใช้ ข้อจำกัด ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้สามารถช่วยให้บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องมือและเลือกใช้ได้อย่างเหมาะสมและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานItem Open Access การพัฒนาและสร้างภาพลักษณ์องค์กร(2564) ณัฐณิชาช์ ปลาบู่ทอง; ปิยวรรณ ทองพันธ์; ปาลนา ชัยพิชญ์พงษ์; ศรุตา ชินธเนศ; ธนพร เพ็งสอน; Natnicha Plaboothong; Piyawan Tongpan; Saruta Chintanet; Thanaporn Pengsorn; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารการปรับปรุงกระบวนการทำงานเรื่อง “การพัฒนาและสร้างภาพลักษณ์องค์กร” มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างการจดจำชื่อของคณะ ICT เพื่อสร้างภาพลักษณ์ด้านความเป็นนานาชาติ เพื่อทำให้กลุ่มลูกค้านึกถึงและเลือกใช้บริการคณะ ICT เป็นลำดับแรก และเพื่อวัดระดับการรับรู้ภาพลักษณ์ของคณะ ICTผลลัพธ์ด้านการจดจำชื่อคณะฯ ในปี 2564 พบว่า ร้อยละ 61.07 รับรู้และจดจำชื่อคณะฯ ได้ในชื่อ “ICT มหิดล” หรือ “ICT Mahidol” ซึ่งลดลงจากปี 2563 ส่วนด้านการเลือกคณะ ICT เป็นลำดับแรกเมื่อนึกถึงคณะทางด้าน IT พบว่า ในปี 2564 ร้อยละ 68.02 ตัดสินใจเลือกคณะ ICT เป็นลำดับแรกเมื่อนึกถึงคณะด้าน IT ซึ่งเพิ่มสูงขึ้นจากปี 2563 ที่มีผู้ตัดสินใจเลือกคณะ ICT เป็นลำดับแรก ร้อยละ 67.65 และปี 2562 ร้อยละ 54.79 ผลลัพธ์ด้านภาพลักษณ์ความเป็นนานาชาติ ในปี 2564 อยู่ที่ระดับ 3.52 ซึ่งเพิ่มสูงขึ้นจากปี 2563 ส่วนผลลัพธ์ด้านระดับการรับรู้ภาพลักษณ์ของคณะฯ ในปี 2564 อยู่ที่ระดับ 4.24 ซึ่งเพิ่มสูงขึ้นจากปี 2563 ที่ระดับ 4.07 และปี 2562 ที่ระดับ 3.32Item Open Access การวิเคราะห์และทบทวนช่องทางการสื่อสารและการรับฟังเสียงลูกค้ากรณีศึกษากลุ่มลูกค้าในอนาคต (นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย)(2564) ณัฐณิชาช์ ปลาบู่ทอง; ปิยวรรณ ทองพันธุ์; ปาลนา ชัยพิชญ์พงษ์; ศรุตา ชินธเนศ; ธนพร เพ็งสอน; Natnicha Plaboothong; Piyawan Tongpan; Saruta Chintanet; Thanaporn Pengsorn; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารการปรับปรุงกระบวนการทำงานเรื่อง “การวิเคราะห์และทบทวนช่องทางการสื่อสารและการรับฟังเสียงลูกค้ากรณีศึกษากลุ่มลูกค้าในอนาคต (นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย)” มีวัตถุประสงค์เพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการวางแผนประชาสัมพันธ์ ขยายฐานลูกค้า และเข้าถึงกลุ่มลูกค้าในอนาคตให้มากยิ่งขึ้น เพื่อทบทวนช่องทางการสื่อสารและการรับฟังเสียงลูกค้าในอนาคต และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเลือก/ไม่เลือกศึกษาต่อคณะ ICT จากกลุ่มลูกค้าในอนาคต (นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย)ผลการปรับปรุงกระบวนการทำงานด้านการรับฟังเสียงลูกค้ากลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการเลือก/ไม่เลือกศึกษาต่อคณะ ICT พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกศึกษาต่อ 3 ลำดับแรก ได้แก่ ชื่อเสียงของคณะ/มหาวิทยาลัย สิ่งอำนวยความสะดวกและการเดินทางตามลำดับ ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อการไม่เลือกศึกษาต่อ 3 ลำดับแรก ได้แก่ ค่าเทอม ลองสมัครเฉยๆ และต้องการทุนการศึกษา ตามลำดับItem Open Access MUICT Media สู่ยุค The Next Normal(2564) ศิริรัตน์ วิทยาคุณสถิต; Sirirat Wittayakunsatid; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารปัจจุบันการพัฒนาเทคโนโลยีในยุคดิจิทัล นำมาซึ่งแพลตฟอร์มใหม่ เป็นตัวเลือกในการบริโภคข่าวสาร รวมไปถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของ โควิด-19 เป็นการเร่งให้พฤติกรรมการบริโภคสื่อของคนเปลี่ยนไป ส่งผลให้ ด้านอุตสาหกรรมสื่อมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ท่ามกลางการแข่งขันของ สื่อรูปแบบเดิมและรูปแบบออนไลน์ โดย 83% ของนักการตลาดเชื่อว่าสื่อ รูปแบบวิดีโอได้รับความนิยมมาเป็นอันดับหนึ่งในการทำการตลาดบน Social Media มากขึ้นเรื่อยๆ จากเหตุผลดังกล่าวงานโสตฯ ซึ่งมีหน้าที่หลักในการ ผลิตสื่อจึงได้ทำการศึกษาและจัดทำวิดีโอคอนเทนต์ในรูปแบบที่กำลังเป็นที่ นิยมในปัจจุบัน 4 รูปแบบ คือ Short-form video, Viral Video, Educational video และ Explainer Video ให้สอดคล้องกับเนื้อหาที่ ต้องการสื่อสารเพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคสื่อของกลุ่มเป้าหมาย และ ประสิทธิภาพของคอนเทนต์วิดีโอ ที่สามารถสร้าง positive engagement ได้ มากที่สุด บน Facebook ของคณะ เป็นจุดเริ่มต้นการสร้างกรอบความคิด รูปแบบการผลิตสื่อวิดีโอในการประชาสัมพันธ์ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการ ผลักดัน Social Media Marketing รองรับการเปลี่ยนแปลงการบริโภคสื่อใน ยุค The Next Normal ของคณะต่อไปItem Open Access การประยุกต์ใช้ Model 4R ในกระบวนการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์(2561) ดวงหทัย แพงจิกรี; กิตติยา พลอยวัฒนาวงศ์; Duanghathai Pangjikri; Kittiya Ploywattanawong; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารบทความนำเสนอการศึกษาและประยุกต์ใช้ Model 4R ในกระบวนการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ ประเภทโปสเตอร์ เพื่อลดทรัพยากรด้านงบประมาณ จากการใช้วัสดุน้ำหมึกกับกระดาษ เพื่อลดระยะเวลากระบวนการผลิตชิ้นงาน จำนวนทั้งสิ้น 90 ชิ้นงาน/13,500 แผ่น ระยะเวลา 6เดือน โดยศึกษาปัญหาและวิเคราะห์กระบวนการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ สาเหตุของค่าใช้จ่ายในแต่ละกระบวนการ เพื่อนำไปใช้ในการวางแผน ปรับปรุงกระบวนการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ ในรูปแบบใหม่ โดยใช้มาตรฐานการออกแบบ Eco Design และ Model 4R ผลการศึกษา พบว่า ผลของการ Reduce ลดการปูสีพื้นแบบไม่จำเป็นร่วมกับการใช้รูปแบบตัวอักษร (Eco Font) ภาษาไทยและอังกฤษ สามารถลดค่าใช้จ่ายการใช้หมึกสีได้ถึง 27,000 บาท ค่าใช้จ่ายลดลง ร้อยละ 28.57 ผลของการ Reuse การนำกระดาษหน้าเดียวที่ใช้แล้วมาใช้ซ้ำ ลดค่าใช้จ่ายได้สูงถึง 47,250 บาท ค่าใช้จ่ายลดลง ร้อยละ 50 เมื่อเทียบกับกระบวนการผลิตแบบเดิม ต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นเงิน 94,500 บาท และผลของการ Recycle และ Repair ออกแบบ Template ให้ง่ายต่อการนำกลับมาแก้ไขใหม่ มีผลให้ลดอัตราชิ้นงานที่ต้องนำกลับมาทำซ้ำ สามารถลดระยะเวลาลงได้ถึง 80 นาที/ชิ้นงานItem Open Access Stop Electrical breakdown by Cycle PM (Preventive Maintenance)(2561) ยุทธนา จีนสมุทร; Yuttana Jeansamut; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารระบบสาธารณูปโภคเป็นระบบหลักในการดำเนินกิจกรรมให้ได้ตามยุทธศาตร์ของคณะ โดยเฉพาะระบบไฟฟ้าอาคาร เป็นปัจจัยหลักในการดำเนินงานขององค์กร เพื่อใช้ในการขับเคลื่อนกิจกรรม ตลอดจนการดำเนินการตามแผนงานขององค์กร หากมีการหยุดการทำงานของระบบดังกล่าว ส่งผลให้เกิดความเสียหายที่จะตามมาในหลายรูปแบบ ทางผู้ดูแลหลักจึงคิดขบวนการหรือวิธีการจัดการที่ดี เพื่อดูแลรักษาและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ไม่ให้เกิดผลกระทบในการหยุดดำเนินการของส่วนงาน จึงได้นำปัญหามาศึกษาวิเคราะห์ เพื่อวางแผนและออกแบบรอบการดำเนินงานในการดูแลรักษาและปรับปรุงระยะยาว ให้ปราศจากปัญหาหยุดการทำงานของระบบไฟฟ้า ซึ่งเป็นหัวใจหลักในการขับเคลื่อนระบบอื่นใน การดำเนินงานต่อไป จึงได้ออกแบบวงรอบในการดูแลรักษาและเพิ่มประสิทธิภาพระบบจ่ายไฟฟ้าหลัก ได้แก่ หม้อแปลงไฟฟ้า ตู้จ่ายไฟฟ้าหลัก เครื่องกำเนิดไฟฟ้า เครื่องสำรองไฟฟ้า และตู้จ่ายไฟฟ้าย่อยผลการศึกษาออกแบบพบว่าหน่วยงานไม่ได้หยุดดำเนินงานจากปัญหาการจ่ายระบบไฟฟ้าหลักของตัวอาคาร จากการบำรุงดูแลรักษาตามวงรอบของการดำเนินงานItem Open Access สื่อสารเข้าถึง Alumni ตรวจสอบได้ด้วย Email Marketing(2561) ณัฐณิชาช์ ปลาบู่ทอง; Natnichat Plabuthong; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารการปรับปรุงกระบวนการทำงานเรื่อง “สื่อสารเข้าถึง Alumni ตรวจสอบได้ด้วย Email Marketing” มีวัตถุประสงค์เพื่อวัดประสิทธิภาพการสื่อสารผ่านช่องทางอีเมล และเพื่อลดระยะเวลาในการจัดเก็บข้อมูลอีเมลของศิษย์เก่า ผลการปรับปรุงกระบวนการทำงานโดยนำระบบ Email Marketing: Mailchimp เข้ามาใช้พบว่า ศิษย์เก่าคณะ ICT รับทราบข่าวสารผ่านทางอีเมล27.51% ของ email address ที่มีการใช้งานอยู่ ซึ่งระบบเดิมจะไม่ทราบว่าใครเปิดอ่านอีเมลบ้าง หากเปรียบเทียบการเปิดอ่านอีเมลของศิษย์เก่าแต่ละรุ่นและกิจกรรมที่ส่งประชาสัมพันธ์ พบว่าศิษย์เก่า ICT รุ่น 11 ซึ่งเป็นรุ่นที่เพิ่งจบการศึกษา มีค่าเฉลี่ยการเปิดอ่านอีเมลสูงสุดถึง 29.85% โดยข่าวสารเกี่ยวกับกิจกรรมกีฬาเป็นข้อมูลที่ถูกเปิดอ่านสูงสุดในเรื่องของการลดระยะเวลาการทำงาน พบว่าระบบนี้ช่วยลดเวลาในการจัดกลุ่ม email address ได้ 100 % เมื่อเทียบกับการส่งอีเมลแบบเดิมที่ต้องคัดแยกกลุ่ม email address ออกทีละคน ซึ่งช่วยลดเวลาการทำงานได้ถึง 1,250 นาที หรือคิดเป็น 5 นาทีต่อการบันทึกข้อมูล 1 email address ที่ไม่ได้ใช้งานแล้วItem Open Access เว็บไซต์ทันสมัย อัพเดทว่องไว ถูกใจผู้ใช้งาน(2561) ปิยวรรณ ทองพันธุ์; Piyawan Tongpan; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารการปรับปรุงกระบวนการทำงานเรื่อง “เว็บไซต์ทันสมัย อัพเดทว่องไว ถูกใจผู้ใช้งาน” มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงการอัพเดทข้อมูลบนเว็บไซต์คณะให้เป็นปัจจุบัน และเพื่อลดระยะเวลาในการรอคอยการอัพเดทข้อมูลขึ้นเว็บไซต์ โดยมีระยะเวลาเก็บข้อมูลกระบวนการเดิมระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม – 31 ธันวาคม 2560 และเก็บข้อมูลกระบวนการใหม่ระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 30 มิถุนายน 2561ผลการปรับปรุงกระบวนการทำงาน จากเดิมในปี 2560 ที่ทีมดูแลเว็บไซต์เป็นผู้อัพเดทข้อมูลจากฝ่ายงานต่างๆ ขึ้นเว็บไซต์ให้ ซึ่งกระบวนการอัพเดทมีขั้นตอนที่ซ้ำซ้อน ดังนั้นในปี 2561 จึงได้มีการปรับเปลี่ยนให้แต่ละ ฝ่ายงานสามารถอัพเดทข้อมูลที่ตนเองรับผิดชอบได้เองบนเว็บไซต์ โดยผลการปรับกระบวนการทำงาน พบว่าในปี 2561 มีการอัพเดทข้อมูลบนเว็บไซต์ 287 ครั้ง เพิ่มขึ้นจากปี 2560 ที่มีการอัพเดทเพียง 75 ครั้ง หรือคิดเป็น 3.83 เท่า ส่วนระยะเวลาการอัพเดทข้อมูลขึ้นเว็บไซต์ จากเดิมใช้ระยะเวลาโดยเฉลี่ย 1.68 วัน ลดลงเหลือ 1 วันItem Open Access อ่านรายงาน สอบทาน PDCA(2561) ธนพร สังข์ประเสริฐ; Thanaporn Sungprasert; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีนโยบายในการ ขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง จึงมอบหมายให้งานนโยบายและ พัฒนาคุณภาพจัดให้มีกิจกรรมเยี่ยมสำรวจฝ่ายงาน เพื่อเป็นการประเมินผล และเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินการแบบกัลยาณมิตร ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2553 จนถึงปีงบประมาณ 2557 การดำเนินการในระดับ PD ครบ 100% งาน นโยบายและพัฒนาคุณภาพ จึงได้จัดทำแบบฟอร์ม “รายงานสรุปผลราย โครงการ” ขึ้น โดยเริ่มใช้ในช่วงกิจกรรมเยี่ยมสำรวจฝ่ายงานประจำปี งบประมาณ 2558 โดยมีวัตถุประสงค์ให้ฝ่ายงานเขียนวิเคราะห์โครงการตาม ตัวชี้วัด และนำประเด็น/ข้อเสนอแนะมาปรับปรุงพัฒนาต่อในกิจกรรมครั้ง ถัดไป โดยคณะกรรมการเยี่ยมสำรวจฝ่ายงาน จะพิจารณาจากรายงาน ดังกล่าว เพื่อประเมินผลและให้ข้อเสนอแนะกับฝ่ายงานมุ่งหวังให้เกิดการ พัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง จากผลการดำเนินงาน พบว่า ในปีงบประมาณ 2558-2560 ฝ่ายงานมีรายงานสรุปผลรายโครงการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง คือ 77.08% , 86.04% , 90.69% ตามลำดับ และเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ฝ่ายงาน มีระดับการพัฒนาในระดับ “PDC” เพิ่มขึ้นมากกว่า 40% ต่อเนื่อง 3 ปีItem Open Access iICT* Newsletter สื่อดี มีพลัง(2561) จรัสศรี ปักกัดตัง; Jarassri Pakkadtong; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารการศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปิดรับและความพึงพอใจของบุคลากรคณะ ICT ที่มีต่อวารสาร iICT* Newsletter ในด้านของเนื้อหา ด้านการออกแบบ และด้านการเผยแพร่ เก็บรวบรวมข้อมูลจากบุคลากรของคณะ ICT ม.มหิดล จำนวน 60 คน โดยใช้แบบสอบถามผ่านระบบ Google Form วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย จากการศึกษาพบว่า 1. บุคลากรที่เคยได้อ่านวารสาร iICT* Newsletter คิดเป็นร้อยละ 88.1 2. วัตถุประสงค์ของการรับข่าวสารผ่านวารสาร iICT* Newsletter มาก ที่สุด ได้แก่ เพื่อรับรู้รับทราบเหตุการณ์หรือเรื่องราวสำคัญความ เคลื่อนไหวที่เกี่ยวข้องกับพันธกิจของคณะ ICT คิดเป็นร้อยละ 41.7 3. บุคลากรรับรู้ว่าคณะ ICT มีการจัดทำวารสาร iICT* Newsletter โดย ภาพรวมอยู่ในระดับมาก และมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 35.0 เท่ากัน 4. ความพึงพอใจของบุคลากรที่มีต่อข้อมูลข่าวสารจาก iICT* Newsletter ด้านเนื้อหาอยู่ในระดับ 4.01 ด้านการออกแบบ อยู่ในระดับ 4.00 ด้าน การเผยแพร่ อยู่ในระดับ 3.64 และในภาพรวม อยู่ในระดับ 3.39Item Open Access สื่อสารฉับไวเข้าใจตรงกัน(2561) กุลภรณ์ หงษ์ทอง; มยุเรศ ยอดคำ; Kullaporn Hongthong; Mayuret Yodkamการปรับปรุงกระบวนการทำงานเรื่อง “การสื่อสารฉับไวเข้าใจตรงกัน” วัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มจำนวนผู้สนใจเข้าศึกษาต่อและมาสอบสัมภาษณ์กับคณะ ICT เพิ่มมากยิ่งขึ้น โดยการโทรศัพท์ถึงสัมภาษณ์โดยตรง เพื่อให้ทราบข้อมูลข่าวสารอย่างครบถ้วนสร้างขีดความสามารถฉับไว เป็นเป้าประสงค์หลักขององค์กร เพื่อพัฒนาบัณฑิตที่มีสมรรถนะด้าน ICT สร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับประเทศและตอบสนองนโยบาย Thailand 4.0 และเป็นที่ต้องการของตลาด การเพิ่มช่องทางการสื่อสารผ่านทางโทรศัพท์เพื่อ แจ้งข้อมูลเบื้องต้นในการเตรียมตัวสำหรับการสอบสัมภาษณ์และข้อมูลอื่นๆ เดิมมีการส่งอีเมลเพียงช่องทางเดียว (one way communication) หากปลายทางไม่เปิดอ่านเมลหรือมีปัญหาอย่างอื่นอาจทำให้ไม่ได้รับข้อมูลที่ส่งให้ทำให้ไม่ได้มาสอบสัมภาษณ์ ดังนั้นจึงได้มีการปรับปรุงกระบวนการทำงาน โดยเริ่มการสำรวจจัดเก็บข้อมูลและปรับปรุงการบวนการการทำงาน 3 ปี ( 2559-2560) และเพิ่ม ช่องทางการสื่อสารเป็นแบบ (Two way communication) พบว่ามีผู้ตอบรับมาสอบสัมภาษณ์และลงทะเบียนเพิ่มมากขึ้นในปี 2558 คิดเป็น 79.57% ปี 2560 คิดเป็น 85.45% และปี 2561 คิดเป็น 90.27%Item Open Access New Media … More Targets(2561) บุณยนุช พิศสุวรรณ; Boonyanuch Phitsuwan; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารการปรับกระบวนการทำงาน และการเพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อแคมป์ฮัพ หรือ www.camphub.in.th มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มจำนวนผู้สมัครเข้าร่วมกิจกรรม ICT Junior Camp และเพื่อเพิ่มจำนวนนักเรียนที่สนใจสมัครเข้าเรียนทางด้าน IT / ICT ที่คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในอนาคตผลการปรับปรุงกระบวนการทำงานดังกล่าว พบว่าหลังจากการทำการปรับกระบวนการทำงาน และการทำการประชาสัมพันธ์เพิ่มขึ้นโดยผ่านสื่อ แคมป์ฮัพ หรือwww.camphub.in.th จำนวนนักเรียนในระดับชั้น ม. 4 – ม. 6 เข้ามาสมัครเข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก เมื่อเทียบกับอดีตที่ส่งประชาสัมพันธ์เชิญเฉพาะโรงเรียนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เมื่อเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์จะเห็นได้ว่าสูงกว่าปี 2560 ที่ผ่านมาเป็นจำนวนมาก โดยในปี 2561 จำนวนผู้สมัครเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 327.33%Item Open Access ส่งไว ติดตามได้ด้วย Private Submission System for ICT Student Lab (ICT-PSS Lab)(2561) วรมน เจริญสุข; ปราชญ์ ชัยศิริ; Woramon Chareonsuk; Prach Chaisiri; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารการเรียนการสอนในบางรายวิชาของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จะมีการวัดประเมินผลด้วยการสอบภาคปฏิบัติกับคอมพิวเตอร์ โดยลักษณะการสอบเป็นการให้นักศึกษาแก้ไขและตอบโจทย์คำถามของอาจารย์ จนได้ผลลัพธ์ออกมาในรูปแบบของไฟล์ แล้วส่งไฟล์คำตอบนั้นให้กับอาจารย์เพื่อตรวจสอบและประเมินผล ซึ่งการจัดสอบฯวิธีเดิม ได้แก่ การใช้ Flash Drive, การสร้าง Shared Folder มักพบปัญหาเรื่องการเตรียมการสอบฯ ที่จำเป็นต้องใช้คนจำนวนมากและใช้เวลานาน และเรื่องการสูญหายของไฟล์คำตอบในกรณีที่ตั้งชื่อไฟล์ซำกัน ดังนั้น จึงได้พัฒนาระบบ ICT-PSS Lab ขึ้น เพื่อลดเวลาและขั้นตอนในการจัดการไฟล์คำถามและคำตอบ รวมถึงป้องกันการสูญหายของไฟล์คำตอบที่อาจเกิดขึ้น และเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการและควบคุมการสอบฯ ให้เป็นไปอย่างเป็นระบบ ซึ่งจากการวัดผลที่ได้แสดงให้เห็นว่า ระบบ ICT-PSS Lab สามารถช่วยให้นักศึกษาส่งไฟล์คำตอบผ่านระบบได้ 100% รวมถึง สามารถลดเวลาและขั้นตอนของกระบวนการการทำงานโดยรวมตั้งแต่การเตรียมการสอบฯ จนถึงการเก็บรวบรวมไฟล์Item Open Access The Sponsorship, The Growing Strong Together(2561) จรัสศรี ปักกัดตัง; Jarassri Pakkadtong; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยหลักที่ทำให้บริษัทตัดสินใจ ร่วมสนับสนุนกิจกรรมและระดับความพึงพอใจของคู่ความร่วมมือ และเพื่อนำ ข้อมูลที่ได้มาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาและปรับปรุงขั้นตอนการทำงานด้าน การจัดหารายได้ โดยการสำรวจใช้ระยะเวลาตั้งแต่เดือนเมษายน – สิงหาคม 2561 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามความต้องการและความพึง พอใจของบริษัทคู่ความร่วมมือ กำหนดกลุ่มตัวอย่างคือบริษัทที่เคยเข้าร่วม กิจกรรมกับคณะ ICT ในปี 2561 จ านวน 32 บริษัท ได้รับแบบสอบถามคืน 22 บริษัท (ร้อยละ 68.75) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม Excel โดยใช้สถิติ พรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่ทำให้บริษัทฯ ตัดสินใจให้การสนับสนุน กิจกรรมอันดับแรก คือ เพื่อประชาสัมพันธ์บริษัทให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น และ สิทธิประโยชน์ที่ทำให้บริษัทฯ ตัดสินใจเข้าร่วมกิจกรรมอันดับแรก คือ การ ประชาสัมพันธ์โลโก้ของบริษัทบนของที่ระลึก โดยบริษัทฯ มีความพึงพอใจต่อ การสนับสนุนการจัดกิจกรรมของคณะ ICT ม.มหิดล ภาพรวมอยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.06 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.46Item Open Access SAFETY รู้ไว้ ชีวิตปลอดภัย ใครๆ ก็ HAPPY(2561) สมศักดิ์ ธนาศรี; Somsak Tanasri; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารคณะ ICT ตระหนักถึงความสำคัญ และสนับสนุนนโยบาย SATETY DAY ของมหาวิทยาลัย โดยในปี 2560 งานวิศวกรรมและกายภาพ ได้จัด โครงการ SAFETY DAY ครั้งที่ 1 ขึ้น เพื่อให้ความรู้ ด้านความปลอดภัย และ ปลูกฝังพฤติกรรมการทำงานที่ถูกต้อง ซึ่งกิจกรรมผ่านไปด้วยดี ได้รับผล ประเมินความพึงพอใจในระดับสูง แต่อย่างไรก็ตามยังมีผล Feedback จากผู้ เข้ารับการอบรมเกี่ยวกับปัญหา และข้อควรปรับปรุงหลายประการแสดงให้ เห็นถึงกระบวนการทำงานที่ไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ และความคาดหวัง คณะทำงานจึงปรับปรุงกระบวนการทำงานโดยใช้ ขั้นตอน CHECK (PDCA ) มาใช้วางแผนและปรับปรุงในการดำเนินกิจกรรม SAFETY DAY ครั้งที่ 2 ในปี 2561 ซึ่งผลจากการปรับปรุงกระบวนการ มีผลลัพธ์ที่สำคัญคือ บุคลากรที่มี ความรู้ในแต่ละฐานหลังการอบรมในระดับ 4 และระดับ 5 มีจำนวนสูงกว่าร้อย ละ 70 ทุกฐาน ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรมหลังจากจบ กิจกรรม สูงกว่า 4.0 และ ค่าเฉลี่ยความคิดเห็นด้านประโยชน์ที่ได้รับสูงกว่า 4.0Item Open Access บันทึกไว้...ช่วยติดตาม (ข้อมูลผู้เข้าอบรม)(2561) สารัชย์ เจี่ยภักดี; Sarachaya Chiabhakdee; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารการจัดโครงการหลักสูตรอบรมระยะสั้นของหน่วยงานที่ผ่านมา จะพบว่าทางฝ่ายงานจะไม่สามารถทราบถึงจำนวนผู้เข้าอบรมที่แท้จริงหรือประมาณการคร่าวๆ ได้ จนกว่าจะถึงวันเริ่มอบรมก่อให้เกิดการสูญเสีย (7-Waste) ในเรื่องของเวลาในการรอคอย (Waiting-Time) ผู้สมัครเข้าอบรมที่อยู่ระหว่างการตัดสินใจหรือรอผลการอนุมัติเข้าอบรมก่อน แล้วถึงจะมาทำการลงทะเบียนอบรมออนไลน์ผ่านระบบ จนถึงวันอบรมแล้วค่อยมาสมัคร และเรื่องของงบประมาณ (Cost) ที่จะต้องใช้ในการเตรียมความพร้อมเพื่อให้พอเพียงกับผู้เข้าอบรม จากปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น เมื่อนำองค์ความรู้ในเรื่องของ CRM ในเรื่องของการติดตามลูกค้าแล้ว จึงเกิดแนวคิดที่จะปรับปรุงเพิ่มเติมกระบวนการดำเนินใหม่ กล่าวคือ ให้มีกระบวนการติดตามผู้สมัครอยู่ เป็นระยะๆ และบันทึกสถานะของผู้สมัครให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ ถือว่าเป็นการปรับปรุงสถานะของผู้สมัครเข้าอบรม ให้เปลี่ยนมาเป็นผู้เข้าอบรม ซึ่งเป็นการ Log-in CustomerItem Open Access เครื่องมือช่วยเทียบเคียงการกำหนดข้อย่อยในเนื้อหาพระไตรปิฎกฉบับภาษาไทยกับบาลี(2561) ณัฐพล บุญสม; บังอร กรวิรัตน์; อุปถัมภ์ ชมภู; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการศึกษาพระพุทธศาสนาในประเทศไทยนั้น พระไตรปิฎกทั้ง 45 เล่ม ถือเป็นหัวใจหลักของการศึกษา แต่ด้วยวิธีการจัดกลุ่มเนื้อหาและอ้างอิงโดยใช้เลขที่เล่มและข้อเป็นหลัก ผู้ศึกษาจึงมักประสบปัญหาเมื่อต้องการอ้างอิงเนื้อหาในข้อที่มีความยาวมาก ๆ บางข้ออาจกินพื้นที่หลายหน้ากระดาษ ทำให้ยากต่อการอ้างอิง โดยเฉพาะการเชื่อมโยงหรือเทียบเคียงเนื้อหาระหว่างพระไตรปิฎกภาษาบาลีกับภาษาไทย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) ในสมัยนั้นดำรงสมณศักดิ์ที่ พระพรหมคุณาภรณ์ ซึ่งเป็นที่ปรึกษาของโครงการพระไตรปิฎกฉบับคอมพิวเตอร์ (BUDSIR) ได้มีดำริให้เพิ่มย่อหน้าเข้า ไปอีกชั้นหนึ่งรองจากข้อ เพื่อประโยชน์ในการอ้างอิงและการเทียบเคียงที่ละเอียดและชัดเจนยิ่งขึ้นในขั้นตอนการเพิ่มเติมย่อหน้า ปัญหาที่พบคือการใช้เวลาตรวจสอบ/เทียบเคียงนานเกินไป และต้องทำหลายรอบ จึงได้คิดสร้างเครื่องมือเพื่อช่วยผู้ ตรวจสอบเพื่อลดเวลาในการตรวจสอบ/เทียบเคียงให้สั้นลงItem Open Access ผ่อนผันทหารฯ ส่งเอกสารทันท่วงที Recheck ได้ที่กระบวนการ(2561) นพวรรณ ระลึกมูล; Noppawan Ralukmul; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารการปรับกระบวนการทำงานเรื่อง “ผ่อนผันทหารฯ ส่งเอกสาร ทันท่วงที Recheck ที่กระบวนการ” มีวัตถุประสงค์เพื่อไม่ให้มีนักศึกษาส่ง เอกสารการผ่อนผันทหารฯ ล่าช้า เพราะอาจมีผลกระทบกับนักศึกษา เช่น กรณีไม่ไปขึ้นทะเบียนทหาร หรือ กรณีไม่ไปรับหมายเรียกฯ ตามกฎหมาย กำหนด จะมีความผิดจำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับไม่เกิน 300 บาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับ และ 3) อาจต้องพักการเรียนเพื่อเข้าเกณฑ์ทหาร กระบวนการแบบเดิมใช้เฉพาะทางอีเมล์ ซึ่งมีจุดบอดเสี่ยงต่อการ เกิดผลกระทบต่อนักศึกษา เพื่อป้องกันการเกิดปัญหา จึงได้ปรับกระบวนการ แบบใหม่ โดยมี 4 กระบวนการย่อย คือ 1) ส่งอีเมล์ 2) ประชาสัมพันธ์ผ่านจอ LCD 3) ประชาสัมพันธ์ผ่าน Facebook นักศึกษา 4) ให้นักศึกษาลงชื่อ รับทราบและติดตามในกรณีไม่ลงชื่อ ผลจากการปรับกระบวนการ โดยการวิเคราะห์ข้อมูลนักศึกษาที่ส่ง เอกสารการผ่อนผันทหารฯ ล่าช้า ย้อนหลัง (Recheck) พบว่ากระบวนการ เดิมในปี 2558 - 2559 มีล่าช้าปีละ 3 ราย ในปีพ.ศ.2560 มี 1 ราย และ เมื่อ ปรับใช้กระบวนการแบบใหม่ ปี 2561 พบว่าไม่มีผู้ส่งเอกสารล่าช้า
- «
- 1 (current)
- 2
- 3
- »