GR-Proceeding Document
Permanent URI for this collectionhttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/62802
Browse
Recent Submissions
Item Open Access โครงการ: 30 นาที ขยับกาย สบายจิต ชาวบัณฑิตวิทยาลัย(2561) กาญจนา กิ่งสวัสดิ์; ประสาน เจริญเอม; มหาวิทยาลัยมหิดล. บัณฑิตวิทยาลัยการจัดโครงการ 30 นาที ขยับการ สบายจิต ชาวบัณฑิตวิทยาลัย มีวัตถุประสงค์รณรงค์การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของบุคลากรเพื่อการออกกำลังกายที่เพิ่มขึ้น พร้อมจัดทำสมุดคู่มือดูแลสุขภาพเบื้องต้นจากการวัดความดันโลหิตและการชั่งน้ำหนักพร้อมคำอธิบายเกณฑ์ค่าความดันโลหิต ค่าBMI และการชั่งน้ำหนัก จัดทำขึ้นเพื่อส่งเสริมสุขภาพและการออกกำลังกายของ บุคลากร จากสรุปผลการตรวจสุขภาพบุคลากรบัณฑิตวิทยาลัย ประจำปี 2559 พบว่าบุคลากร 5 กลุ่ม มีดัชนีมวลกาย (ค่าBMI) ดังนี้ กลุ่มน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ กลุ่มปกติ กลุ่มน้ำหนักเกิน กลุ่มมีภาวะอ้วน และกลุ่มอ้วนมาก ซึ่งกลุ่มน้ำหนักเกิน และกลุ่มมีภาวะอ้วน มีแนวโน้มภาวะเสี่ยงโรคอ้วน และกลุ่มโรคอ้วน ซึ่งจะส่งผลให้มีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้นถ้าไม่ได้รับการดูแลและเอาใจใส่สุขภาพจึงจัดโครงการ 30 นาที ขยับกาย สบายจิต ชาวบัณฑิตวิทยาลัย รณรงค์และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของบุคลากร ให้มีการออกกำลังกาย พร้อมจัดทำสมุดคู่มือดูแลสุขภาพเบื้องต้นจากการวัดความดันโลหิตและการชั่งน้ำหนักพร้อมคำอธิบายเกณฑ์ค่าความดันโลหิต ค่าBMI และการชั่งน้ำหนักItem Open Access การพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษสำหรับบุคลากร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล(2561) อมรรัตน์ ภู่นคร; สมชัย ตระการรุ่ง; Amornrat Phunakhon; Somchai Trakarnrung; มหาวิทยาลัยมหิดล. บัณฑิตวิทยาลัยการศึกษาวิเคราะห์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารตลอดจนปัญหา และอุปสรรคของการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของบุคลากรบัณฑิตวิทยาลัย กลุ่มเป้าหมาย คือ บุคลากรบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดลที่ปฏิบัติงานในวิทยาเขตศาลายา และบัณฑิตวิทยาลัยสาขาทุกสาขา จำนวน 128 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ คะแนนเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน คำถามปลายเปิด และ การสอบวัดความรู้หลังการเรียนรู้ ผลการศึกษาวิเคราะห์ พบว่า บุคลากรบัณฑิตวิทยาลัยมีทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษแตกต่างกัน โดยบุคลากรที่สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีขึ้นไป มีระดับทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ 3 ระดับ ดังนี้ 1) ระดับต้น 2) ระดับกลาง และ 3) ระดับสูง โดยในด้านความถี่การใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร ส่วนใหญ่เป็นบุคลากรบัณฑิตวิทยาลัยที่ปฏิบัติงานในส่วนของการให้บริการ Front office มีการใช้ภาษาอังกฤษทุกวัน ทั้งนี้หลังการเรียนรู้บัณฑิตวิทยาลัยสนับสนุนให้บุคลากรบัณฑิตวิทยาลัยสอบวัดความรู้ MU Grad test และ TOEIC โดยบัณฑิตวิทยาลัยกำหนดเป้าหมายให้บุคลากรสอบผ่านร้อยละ 30 ต่อปี พบว่า ในปี 2560 มีบุคลากรสอบผ่านร้อยละ 33.59Item Open Access QR Code Payment (Quick Response Code Payment)(2561) สุเมธ แก้วสุพัฒน์; วรเดช ศรีปัญญาวุฒิคุณ; Sumeth Kaewsupat; Wauradate Sripunyavutikun; มหาวิทยาลัยมหิดล. บัณฑิตวิทยาลัยบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล มีความประสงค์จะเพิ่มช่องทางการชำระเงินของนักศึกษา จึงได้พัฒนาระบบการชำระเงินโดยการนำ QR Code มาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มช่องและเพื่อความสะดวกแก่นักศึกษาและผู้ที่ใช้งาน โดยในการพัฒนาระบบ QR Code Payment นี้ ได้ศึกษาข้อกำหนดตามมาตรฐานที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้กำหนดในปัจจุบันบัณฑิตวิทยาลัยได้นำ QR Code Payment มาใช้ในการรับชำระเงินกับการสอบ MU GRAD TEST ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2561 และ ระบบลงทะเบียน ปีการศึกษา 2561 นี้ โดยมีแผนที่จะนำการชำระเงินด้วยคิวอาร์โค้ดไปประยุกต์ใช้กับทุกๆ ระบบที่มีการรับชำระเงินของบัณฑิตวิทยาลัยต่อไป