DT-Proceeding Document
Permanent URI for this collection
Browse
Recent Submissions
Now showing 1 - 10 of 19
- ItemBite block ผู้ป่วยไม่มีฟันหน้า(2564) ณัฐพร ธีระรังสิกุล; สราวุฒิ ใหม่น้อย; นงค์นุช วงศาลาภ; สมหญิง สว่างสุวรรณ; ปรียานุช วิชชุกรจิรภัค; ปณิดา ฉิมภู่; ภรณ์รักษ์ คำฝั้น; น้ำเพชร ปราสาทศรี; Natthaphon Thirarangsikun; Nongnuch Wongsalab; Somying Sawangsuwan; Preeyanuch Vichukornjirapak; Panida Chimpoo; Pornrak Khamfan; Namphet Prasatsri; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะทันตแพทยศาสตร์. โรงพยาบาลทันตกรรมมหาจักรีสิรินธรคลินิกรังสีวิทยาช่องปากและใบหน้าขากรรไกรมีการถ่ายภาพรังสี Panoramic พบว่าผู้ป่วยบางคนไม่มีฟันหน้าสำหรับกัด Bite block มาตรฐานจากโรงงาน หรือใช้อุปกรณ์รองคาง (Chin support) ทำให้เกิดปัญหาการซ้อนทับของฟัน ทางคลินิกจึงได้พัฒนาอุปกรณ์สำหรับกัดที่มีลักษณะเหมาะสำหรับผู้ป่วยไม่มีฟันหน้าบน ฟันหน้าล่าง และไม่มีฟันหน้าบนและล่าง โดยใช้อุปกรณ์ที่มีอยู่ภายในคลินิก เพื่อทดแทนความสูงของตัวฟันหน้าที่หายไปของผู้ป่วยทั้งยังช่วยในการจัดท่าผู้ป่วยให้สะดวกขึ้น ลดการถ่ายภาพรังสีซ่อมเนื่องจากฟันซ้อนทับกัน จากการทดลองใช้อุปกรณ์ที่พัฒนาขึ้นกับการ ถ่ายภาพ Panoramic ในผู้ป่วยที่ไม่มีฟันหน้าเปรียบเทียบกับการใช้อุปกรณ์เดิม พบว่าสามารถลดการถ่ายภาพรังสีแก้ไขในสาเหตุฟันซ้อนทับกันได้ และสะดวกในการจัดท่าผู้ป่วยสำหรับถ่ายภาพรังสี Panoramic มากขึ้น
- ItemCatalogs หัว Bur ที่ใช้ในงานทันตกรรม(2564) ธิญาดา ไชยรินทร์; สุมาลี เสิกภูเขียว; นริศอารีย์ ดวงทิพย์; ศรัญญา วิลาชัย; สุนิสา นาคมงคลกิจ; สายรุ้ง โสดา; Thiyada Chaiyarin; Sumalee Serkphukhieo; Naritaree Duangtip; Saranya Vilachai; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะทันตแพทยศาสตร์. โรงพยาบาลทันตกรรมมหาจักรีสิรินธรงานทางทันตกรรมมีการใช้หัว Bur หรือหัวกรอจำนวนมากหลายประเภทซึ่งพบความผิดพลาดในการเบิกจากระบบพัสดุเพราะเข้าใจผิดประเภท คลินิกทันตกรรมพิเศษจึงได้จัดทำ Catalog หัว Bur ที่ใช้ในงานทันตกรรม เพื่อลดความผิดพลาด ลดเวลาและเพิ่มความสะดวกให้แก่ผู้ที่เบิกพัสดุและผู้ที่เกี่ยวข้องในการเบิกหัว Bur ในแต่ละครั้ง โดย Catalogs หัว Bur ประกอบด้วย ชื่อรหัสทางงานพัสดุ และตัวอย่างจริงที่ถูกต้องของหัว Bur ประเภทนั้น ๆ ประกอบในแต่ละรหัสพัสดุ จากการพัฒนาดังกล่าวทำให้ลดความผิดพลาดจากการเบิกหัว Bur ผู้เบิกพัสดุสามารถเบิกหัว Bur ได้อย่างถูกต้อง และระยะเวลาค้นหารหัสในการเบิกหัว Bur ลดลง รวมทั้งทันตแพทย์ยังสามารถใช้เลือกแบบหัว Bur ให้ตรงกับการใช้งาน ลดความสิ้นเปลืองของ การเบิกหัว Bur ผิดพลาด
- Itemพัฒนาต่อยอด “กล่องกรออะคริลิก COVID-19”(2564) อุษา สินสวัสดิ์; Usa Sinsawat; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะทันตแพทยศาสตร์. โรงพยาบาลทันตกรรมมหาจักรีสิรินธรจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 โรงพยาบาลทันตกรรมมหาจักรีสิรินธรเปิดให้บริการโดยกรณีหัตถการที่ต้องมีการกรอแต่งชิ้นงานทันตกรรมนอกช่องปาก ซึ่งก่อนการระบาดของโรค COVID-19 ไม่มีอุปกรณ์ป้องกันขณะกรอชิ้นงานอะคริลิกต่าง ๆ แต่เพื่อเป็นการควบคุมการแพร่กระจายของโรค COVID-19 บุคลากรในคลินิกทันตกรรมพิเศษได้พัฒนานวัตกรรม “กล่องกัก COVID-19” มาใช้เป็นอุปกรณ์ช่วยควบคุมการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 จำนวน 1 กล่อง และนำไปให้ทันตแพทย์จัดฟันทดลองใช้งาน จากการสอบถามทันตแพทย์หลังการใช้งานพบว่าสามารถใช้งานได้ และมีข้อแนะนำเพิ่มเติมหลังการใช้งาน ทางคลินิกจึงใช้ข้อมูลดังกล่าวมาปรับปรุงกล่องกรออะคริลิกให้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและจำนวนเพียงพอในการปฏิบัติงาน โดยเน้นความปลอดภัยของบุคลากร ผู้ป่วย ผลิตได้ง่าย ทนทาน ใช้งานสะดวก ราคาไม่แพง ซึ่งได้พัฒนาปรับปรุง “กล่องกรออะคริลิก COVID-19” เพิ่มเติมทั้งหมด 4 แบบ รวมจำนวน 22 เพื่อใช้ในคลินิกต่าง ๆ ของโรงพยาบาลทันตกรรรมมหาจักรีสิรินธร คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ความพึงพอใจการใช้งาน ของทันตแพทย์ อยู่ในเกณฑ์ “ดีมาก” สามารถลดค่าใช้จ่ายการจัดซื้อกล่องสำเร็จรูปได้ 19,800 บาท และลดความฟุ้งกระจายของฝุ่นกรออะคริลิกตามพื้นผิวในยูนิตทันตกรรม และมีทันตแพทย์สั่งผลิตกล่องกรออะคริลิก COVID-19 เพื่อนำไปใช้งานคลินิกภายนอกโรงพยาบาล จำนวน 7 กล่อง
- Itemระบบลงทะเบียนล่วงหน้าทำฟันฟรีวันทันตสาธารณสุขแห่งชาติ(2564) ทัชพงษ์ ปิ่นแก้ว; รัตนพงศ์ ยี่หวั่นจ่าย; มัสนันท์ มีสุภาพ; Tachpong Pinkeaw; Rattanapong Yeewanjai; Mussanun Mesuparb; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะทันตแพทยศาสตร์โรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้มีโครงการทำฟันฟรีให้กับประชาชนทั่วไปในทุก ๆ ปี เนื่องจากเป็นวันทันต สาธารณสุขแห่งชาติ เพื่อเป็นพระราชกุศลให้กับสมเด็จพระศรีนครินทราบรม ราชชนนี และเนื่องในวันทันสาธารณสุขแห่งชาติ ซึ่งในแต่ละปีจะมีประชาชน สนใจเข้าร่วมกิจกรรมจำนวนมาก แต่ด้วยในช่วงปี 2563-2564 เกิด สถานะการณ์โรคระบาดไวรัสโคโรน่า 19 โรงพยาบาลทันตกรรมจึงต้องมี มาตราการและวิธีการให้บริการทางทันตกรรมที่ป้องกัน และควมคุมการแพร่ ระบาดของเชื้อดังกล่าว พร้อมทั้งยังสามารถให้บริการกับประชาชนในกิจกรรม ดังกล่าวได้เหมือนทุกปีที่ผ่านมา ดังนั้นจึงได้มีการพัฒนาระบบสารสนเทศ เพื่อ มารองรับการลงทะเบียนล่วงหน้าสำหรับประชาชนที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมทำ ฟันฟรี เพื่อให้ฝ่ายกิจกรรมสามารถนำข้อมูลบริหารจัดการผู้เข้าร่วมกิจกรรม ได้ตามมาตราการของรัฐที่กำหนดไว้ ซึ่งการพัฒนาระบบดังกล่าว ผู้พัฒนา ระบบได้พัฒนาระบบในรูปแบบเว็ปแอฟพลิเคชั่นที่สามารถบันทึกข้อมูล ระบบออนไลน์ได้ ผลการพัฒนาระบบลงทะเบียนล่วงหน้าทำฟันฟรี ทำให้โรงพยาบาล ทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และโรงพยาบาลทัน ตกรรม มหาจักรีสิรินธร มีระบบสารสนเทศในการจัดการข้อมูลของประชาชน ที่เข้าร่วมกิจกรรมในปี 2563 ทั้งนี้ระบบสารสนเทศสามารถพัฒนาต่อยอดใช้ งานในโอกาสถัดไปได้อีกด้วย
- Itemหนุมาน คลุกฝุ่น(2564) สุวพร ใบยา; ศิริวรรณ จินดาโชติ; Suwaporn Baiya; Siriwan Jindachot; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะทันตแพทยศาสตร์คลินิกวิทยาเอ็นโดดอนต์ให้บริการรักษารากฟัน มีการใช้หัวกรอฟัน ประเภท Long shank round steel bur และประสบปัญหาหัวกรอ Long shank round steel bur ขึ้นสนิมหลังจากใช้งานแล้วนำไปอบฆ่าเชื้อ ซึ่ง คลินิกพยายามแก้ปัญหาโดยการให้เจ้าหน้าที่ทำการขัดสนิมที่เกิดขึ้น ซึ่งทำให้ เสียเวลา แรงงาน และทำให้เจ้าหน้าที่เกิดโรคจากการทำงาน (นิ้วล๊อค) หาก ขัดแก้ไขไม่ได้ก็ต้องใช้แล้วทิ้ง จัดซื้อ Long shank Carbide bur มาทดแทน ก่อให้เกิดความสิ้นเปลือง และพบว่าไม่คุ้มทุนโดยเฉพาะเมื่อนำมาใช้กับระบบ การเรียนการสอนซึ่งมีการคิดค่ารักษาในราคาต่ำ ทางคลินิกจึงค้นหาวิธีการ แก้ปัญหาโดยการเก็บหัว Long shank round steel bur ระหว่างวันก่อน นำไปอบฆ่าเชื้อในผงแป้งฝุ่นเพื่อดูดความชื้น พบว่าสามารถลดการเกิดสนิม ของเครื่องมือได้
- Itemอยู่ตำแหน่งตรงไหนก็รู้ว่าไปเอกซเรย์มา(2564) ดาวิกา ปัญจะแก้ว; นิตยา ผลชะอุ่ม; อลิสษา มงคล; Davika Punjakeaw; Nittaya Phonchaaum; Alissa Mongkol; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะทันตแพทยศาสตร์คลินิกทันตกรรมสหสาขาและศูนย์ทันตกรรมรากเทียมให้บริการทาง ทันตกรรมโดยต่อวันจะมีทันตแพทย์ลงปฏิบัติงานตั้งแต่ 5-9 ยูนิต ซึ่งพบ ปัญหาที่ทันตแพทย์ส่งผู้ป่วยไปถ่ายภาพรังสีที่คลินิกรังสีทันตกรรมและแจ้งให้ กลับมายังคลินิกทันตกรรม สหสาขาฯ เพื่อทำหัตถการ เมื่อผู้ป่วยกลับจาก ถ่ายภาพรังสีผู้ป่วยจะมาติดต่อตรงจุดเคาน์เตอร์เนื่องจากผู้ป่วยร้อยละ 80 ไม่ สามารถให้ข้อมูลว่าทำการรักษาจากห้องไหน ทันตแพทย์ชื่ออะไร เพราะ ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ ซึ่งทำให้จุดเคาน์เตอร์เกิดสับสนค้นหาข้อมูลใน ระบบเพราะคิดว่าเป็นผู้ป่วยที่ต้องการติดต่อนัดหมายหรือมายื่นบัตรนัดรอคัด กรอง ดังนั้นทางคลินิกจึงได้หาวิธีแก้ไขปัญหาเพื่อสื่อสารในทีมดูแลผู้ป่วยกลุ่ม นี้ที่มาติดต่อให้เข้าใจตรงกันว่าเป็นผู้ป่วยที่ไปถ่ายภาพรังสีกลับมาด้วยการใช้ ใบนำส่งเอกซเรย์ที่ทางคลินิกได้จัดทำขึ้น เพื่อลดความสับสนของเจ้าหน้าที่ เคาน์เตอร์ อีกทั้งยังสามารถแจ้งทันตแพทย์ในห้องที่รอดูภาพถ่ายรังสีได้อย่าง ทันที
- Itemโควิดตัวร้ายกับนายคัดกรอง(2564) หทัยรัตน์ ราชวงษา; วาสนา คำหล้า; นันทิดา หอมนวน; นัฐฐะ วิเศษชาติ; สุภัสสรา ชุมพล; ธนิษฐา อินทรบุตร; Hatairat Ratwongsa; Wassana Kamla; Nantida Homnual; Nattha Wisetchat; Suphatsara Chumpol; Thanitta Intarabut; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะทันตแพทยศาสตร์. โรงพยาบาลทันตกรรมมหาจักรีสิรินธรเนื่องจากสถานการณ์ในปัจจุบันที่ทุกคนต้องเผชิญกับปัญหา สถานการณ์โควิดที่มีการระบาดไปทั่วทุกมุมโลกไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทย จึง ทาให้การดำเนินชีวิตต้องมีการปรับเปลี่ยนไปในรูปแบบใหม่ (New Normal) ดังนั้นในการให้บริการทางทันตกรรมของคลินิกทันตกรรมผู้สูงอายุและ ประดิษฐ์ใบหน้าขากรรไกรโรงพยาบาลทันตกรรมมหาจักรีสิรินธรได้เล็งเห็น และตอบรับกับสถานการณ์การดังกล่าว จึงได้นำเทคโนโลยีไลน์ Official ที่มี ใช้แพร่หลายในปัจจุบันเข้ามามีบทบาทในการให้บริการทางทันตกรรมไม่ว่า จะเป็นการนัดหมายการคัดกรองผู้ป่วยก่อนเข้ารับการรักษาทางทันตกรรม ในช่วงสถานการณ์โควิด การให้คำปรึกษาหรือการแก้ปัญหาเบื้องต้นทางทัน ตกรรม เป็นต้น ซึ่งการดำเนินการทางไลน์ Official นอกจากจะลดการแออัด ของผู้ป่วยในคลินิกทันตกรรมผู้สูงอายุและประดิษฐ์ใบหน้าขากรรไกร โรงพยาบาลทันตกรรมมหาจักรีสิรินธร ได้แล้ว ยังพบว่าช่วยลดค่าใช้จ่ายใน ส่วนของค่าโทรศัพท์ ลดระยะเวลาในการทำงานของผู้ช่วยทันตแพทย์ ลด ความผิดพลาดในการสื่อสาร ได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
- Itemการพัฒนาระบบสารสนเทศแบบ V-Model กรณีศึกษาระบบลงทะเบียนข้อมูลออนไลน์เพื่อขอคำปรึกษาด้านทันตกรรมจัดฟัน(2564) รัตนพงศ์ ยี่หวั่นจ่าย; วิชวินท์ พันธรังษี; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะทันตแพทยศาสตร์การพัฒนาระบบสารสนเทศที่ใช้โดยทั่วไปในองค์กร คือ แนวคิด System Development Life Cycle (SDLC) และเป็นแบบน้ำตก (Water Fall Model) ซึ่งแบ่งขั้นตอนเป็นชั้นๆ (เหมือนน้ำตก) มีข้อจำกัด คือ ต้องเก็บ ความต้องการให้ชัดเจน เพื่อพัฒนาระบบให้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้งาน ให้มากที่สุดโดยลดการแก้ไขหรือเพิ่มความต้องการในภายหลังเริ่มใช้งานระบบ แล้ว ดังนั้นการพัฒนาระบบตามแนวคิด SDLC แบบตัววี (V-Model) จึงมี วัตถุประสงค์เพื่อเป็นกระบวนการสำหรับพัฒนาระบบสารสนเทศขนาดเล็กที่มี ระยะเวลาจำกัด และลดการเพิ่มความต้องการภายหลังติดตั้งใช้งาน ทั้งนี้ ในแต่ละขั้นตอนของการพัฒนาระบบตามแนวคิด SDLC แบบ ตัววี (V-Model) นั้น ผู้ใช้งานต้องมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนรวมทั้งต้องยืนยันผล การดำเนินการในแต่ละขั้นตอน จึงจะดำเนินการในขั้นตอนต่อไป ผลจากการ พัฒนาระบบตามแนวคิด SDLC แบบตัววี (V-Model) กรณีศึกษาระบบ ลงทะเบียนข้อมูลออนไลน์เพื่อขอคำปรึกษาด้านทันตกรรมจัดฟัน พบว่า พัฒนาระบบได้สำเร็จตามระยะเวลาที่กำหนดและครอบคลุมความต้องการ ของผู้ใช้งานโดยไม่พบปัญหาและเพิ่มความต้องการระบบหลังเปิดใช้งานแล้ว
- Itemการพัฒนาระบบเชื่อมโยงข้อมูลรายได้ค่ารักษาพยาบาลระหว่างระบบสารสนเทศโรงพยาบาล (HIS) กับระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและวางแผนทรัพยากรองค์กร (SAP)(2564) โสพิศา ส่งสมบูรณ์; วิชวินท์ พันธรังษี; Sophisa Songsomboon; Wichawin Phantarangsee; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะทันตแพทยศาสตร์คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีการบันทึกรายได้ค่า รักษาพยาบาลตามศูนย์ต้นทุน (CO) แบบระบบเก่าในรูปแบบ manual export data excel file แล้วผู้ปฏิบัติงานดำเนินการคีย์ข้อมูลต่าง ๆ ลงใน ระบบ SAP ซึ่งทำให้เกิดความล่าช้าของการรับรู้รายได้และอาจทำให้ข้อมูล ผิดพลาดจากผู้ปฏิบัติได้และกระบวนการเดิมยังไม่สามารถบันทึกค่ารายได้ไป ถึงหลักสูตร (IO) ได้ จึงได้มีการพัฒนาปรับปรุงระบบการส่งข้อมูลรายได้ให้ดี ยิ่งขึ้นเพื่อให้ระบบข้อมูลและสารสนเทศมีความถูกต้อง รวดเร็ว และสามารถ ใช้เพื่อการบริหารสำนักงานแยกรายได้ตามหน่วยงาน ตามพันธกิจได้ นอกจากนี้ยังแสดงรายงานทางการเงินเพื่อส่งมหาวิทยาลัยได้อย่างมี ประสิทธิภาพโดยการสร้างระบบที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างระบบ สารสนเทศเพื่อการบริหารและวางแผนทรัพยากรองค์กร(SAP)กับระบบ สารสนเทศโรงพยาบาล(HIS) ใช้รูปแบบสถาปัตยกรรมบริการ(SOA) เทคโนโลยีเว็บเซอร์วิส โดยการส่งข้อมูลเป็นแบบ REAL-TIME (การ ประมวลผลแบบทันที) และแบบ Batch (ประมวลผลที่ทำต่อเนื่องกันไป ตามลำดับ) มีกระบวนวิเคราะห์สาเหตุแบบ Systems Development Life Cycle โดยเริ่มดำเนินการที่โรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ พบว่ามีประสิทธิภาพและประสิทธิผลดี ในปี 2564 ทางโรงพยาบาลทันตกรรม มหาจักรีสิรินธรจึงมีแนวคิดจะดำเนินการกระบวนการดังกล่าวด้วย ผลการพัฒนาระบบเชื่อมโยงระหว่างระบบสารสนเทศเพื่อการ บริหารและวางแผนทรัพยากรองค์กร(SAP) กับระบบสารสนเทศโรงพยาบาล (HIS) ทำให้โรงพยาบาลทันตกรรมและโรงพยาบาลทันตกรรมจักรีสิรินธร ของ คณะทันตแพทยศาสตร์ มีการรับส่งข้อมูลรายได้ค่ารักษาพยาบาลจากระบบ สารสนเทศโรงพยาบาล (HIS) ส่งไปยังระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและ วางแผนทรัพยากรองค์กร(SAP)มีความถูกต้อง รวดเร็ว ลดความซ้ำซ้อนและมี ประสิทธิภาพมากขึ้น
- ItemComplications associated with intravenous midazolam and fentanyl sedation in patients undergoing minor oral surgery(2018) Krittika Saiso; Pornnarin Adnonla; Pornnarin Adnonla; Benjamas Apipan; Duangdee Rummasak; Natthamet Wongsirichat; Mahidol University. Faculty of DentistryBACKGROUND: Anxiety control remains an important concern in dental practice. We evaluated the incidence, nature, and sequelae of complications during and after minor oral surgeries performed under intravenous midazolam and fentanyl sedation using the titration technique. METHODS: The medical records of patients who had undergone minor oral surgeries under moderate intravenous midazolam and fentanyl sedation at our institution between January 1, 2015 and December 31, 2015 were retrospectively evaluated. Age, sex, body mass index, medical history, American Society of Anesthesiologists (ASA) classification, indications for sedation, amount of sedative used, surgical duration, and recovery time were evaluated for all patients. RESULTS: In total, 107 patients aged 9-84 years were included. ASA class I and class II were observed for 56.1% and 43.9% patients, respectively. Complications associated with sedation occurred in 11 (10.2%) patients. There were no serious adverse events. Oxygen saturation reached 95% during the procedure in six patients; this was successfully managed by stimulating the patients to take a deep breath. Two patients exhibited deep sedation and one exhibited paradoxical excitement. After the procedure, one patient experienced nausea without vomiting and one exhibited a prolonged recovery time. The surgical procedures were completed in all patients. Obesity was found to be significantly associated with sedation-related complications.