MUAM-Proceeding Document

Permanent URI for this collectionhttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/62800

Browse

Recent Submissions

Now showing 1 - 14 of 14
  • Thumbnail Image
    ItemOpen Access
    (ดำ)ริแล้วต้องเริ่ม : การจัดประชุมวิชาการร่วม 3 สถาบันในรูปแบบผสมผสาน
    (2564) ณฐกมล ผดาเวช; Nathakamon Padawech; มหาวิทยาลัยมหิดล. โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอานาจเจริญ
    จากนโยบายของโครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญในการจัดการ เรียนการสอนแบบมุ่งเน้นผลลัพธ์ เพื่อสร้างบัณฑิตที่ตอบสนองความต้องการ ของชุมชนและสังคม (Outcome-based Education) และการพัฒนาการ บริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศ (Excellence Management) นั้น สาขา สาธารณสุขศาสตร์เห็นว่าทางหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิตมีการจัดการ เรียนการสอนในรายวิชา อจสบ 465 ฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพสาธารณสุข ที่ นอกจากนักศึกษาจะได้ฝึกปฏิบัติวิชาชีพในชุมชนแล้ว ยังมุ่งพัฒนานักศึกษาให้ ผลิตผลงานวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาชุมชนให้สอดคล้องกับบริบทด้วย และเพื่อ เป็นการเพิ่มศักยภาพนักศึกษา เห็นว่าการจัดประชุมวิชาการจะเป็นพื้นที่ให้ นักศึกษาได้ฝึกทักษะการนำเสนอผลงานวิจัย อีกทั้งเป็นการเผยแพร่ ผลงานวิจัยที่ทำภายใต้คุณธรรมและจริยธรรมทางการวิจัย และการจัดประชุม โดยประยุกต์ใช้การออนไลน์ร่วมกับเครือข่ายทางวิชาการทั้งใน และ ต่างประเทศจะเป็นการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดภายใต้สถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยปัจจัยสู่ ความสำเร็จได้แก่ นโยบายและการสนับสนุนจากผู้บริหาร ความสัมพันธ์ส่วน บุคคลอันดีระหว่างบุคลากรแต่ละหน่วยงาน ความตั้งใจและความทุ่มเทของ คณะทำงาน
  • Thumbnail Image
    ItemOpen Access
    แนะนำหนังสือใหม่ในห้องสมุดด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมบนสมาร์ทโฟน
    (2561) ธนพร เฟื่องขจร; มหาวิทยาลัยมหิดล. โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ
    วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ออกแบบและพัฒนาบริการแนะนำ หนังสือใหม่ในห้องสมุดด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมบนสมาร์ทโฟน 2) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้บริการห้องสมุดมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขต อำนาจเจริญ ที่มีต่อบริการแนะนำหนังสือใหม่ระบบเทคโนโลยีความเป็นจริง เสริมบนสมาร์ทโฟน เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาบริการแนะนำหนังสือใหม่ ประกอบด้วย การจัดทำ AR code ด้วย เว็บแอพพลิเคชัน HP Reveal การ ออกแบบภาพกราฟฟิกด้วยโปรแกรม Adobe Photoshop , Adobe Illustrator เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาความพึงพอใจ ได้แก่ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ผู้ใช้บริการห้องสมุดมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตอำนาจเจริญ จำนวน 31 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า 1) บริการแนะนำหนังสือใหม่ของห้องสมุดที่ออกแบบและพัฒนา โดยเป็นการนำเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม (AR: Augmented Reality) มา ประยุกต์ใช้ ทำให้เกิดรูปแบบใหม่ของบริการสารสนเทศที่ผู้ใช้ให้ความสนใจ มากกว่าบริการรูปแบบเดิม สามารถให้ข้อมูลที่มีรายละเอียดมากกว่าภาพและ ข้อความ สามารถประหยัดเวลา แรงงานและงบประมาณในการดำเนินการได้ 2) ผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจต่อบริการแนะนำหนังสือใหม่ระบบ เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมบนสมาร์ทโฟน โดยรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.46 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.21
  • Thumbnail Image
    ItemOpen Access
    นวัตกรรมบูรณาการเรียนร่วมด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบ : กรณีศึกษาการพัฒนาผู้สอน-ผู้เรียน ของวิทยาเขตอำนาจเจริญ (2/63) ผ่านการบูรณาการสหสาขาวิชา (นวัตกรรม-เกษตรสุขภาพ)
    (2564) สุภาวดี พันธุมาศ; ธาม เชื้อสถาปนศิริ; ยุวดี สารบูรณ์; ศิริรัตน์ อินทรเกษม; ณฐกมล ผดาเวช; รพีพรรณ สารสมัคร; จีรศักดิ์ เพิ่มฉลาด; วาทินี สุนทรา; เรืองอุไร อมรไชย; มหาวิทยาลัยมหิดล. โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ; มหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว
    นวัตกรรมบูรณาการเรียนร่วมด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบ เป็น ต้นแบบแนวคิดบูรณาการการเรียนในลักษณะเรียนร่วมกันทันที (4i: integrate, inclusion, instantly, innovation) สำหรับผู้เรียน-ผู้สอนจาก สาขานวัตกรรม-เกษตร-สาธารณสุข ขจัดความซ้ำซ้อน ความไม่สัมพันธ์ และ ความไม่ต่อเนื่อง ให้ผู้เรียนได้มองเห็นภาพรวมของความรู้ เกิดการเรียนรู้โดย องค์รวม (Cognitive-Skill-Affective) มุ่งเน้นให้ผู้เรียนนำความรู้ไป ประยุกต์ใช้ได้จริงทันทีผ่านกิจกรรมโจทย์ปัญหา(วิชาการ-วิชาชีพ-วิชาชีวิต) ลดภาระผู้สอน-ผู้เรียน ทำน้อยแต่ได้มาก จัดในปีการศึกษา 2/2563 เพื่อ พัฒนาศักยภาพผู้สอน-ผู้เรียน ผลการประเมิน ด้านผู้เรียนมีคะแนนเฉลี่ยรวม ศักยภาพทุกด้านอยู่ในระดับมากขึ้นไป ได้แก่ ทักษะศตวรรษที่ 21 (4.10+0.81) ความผูกพัน (4.11+0.81) ความมีคุณค่าในตนเอง (4.06 +0.78) และความพึงพอใจต่อโครงการ (4.02+0.83) ตามลำดับนวัตกรรม 4i เกิดการเรียนรู้ที่สามารถนำไปใช้ได้จริงมากกว่าการเรียนรูปแบบเดิม ด้าน ผู้สอนระบุว่ามีศักยภาพต่อการสอนแบบบูรณาการเพิ่มขึ้นมาก เกิดแนวทาง ใหม่ๆ ในการจัดระบบสนับสนุนความรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน เสนอให้ พัฒนาเป็นรายวิชาของวิทยาเขตฯ และขยายกลุ่มเป้าหมายต่อไป
  • Thumbnail Image
    ItemOpen Access
    PA Monitoring โดยใช้ Google Drive
    (2561) ชัยอนันต์ ทุมชาติ; อานนท์ ยอดหอ; วิวัฒน์ชัย อกอุ่น; อรุณวิไล วันทาพรม; มหาวิทยาลัยมหิดล. โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ
    การติดตามกำกับงานตามระบบ PA ภายในส่วนงานมีการรายงานทุกไตรมาส จากรายงานผลการดำเนินตามแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2560 พบว่า มีโครงการที่ได้รับการยกเลิกเนื่องจากผู้รับผิดชอบที่ได้เสนอโครงการตั้งแต่ต้นปีงบประมาณไม่ดำเนินโครงการ จำนวน 11 โครงการ ซึ่งเป็นปัญหาในการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ วัตถุประสงค์: เพื่อติดตามกำกับการปฏิบัติงานตามแผนปฏิบัติการของโครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ มหาวิทยาลัยมหิดลให้มีการดำเนินการทันเวลา วิธีการดำเนินการ: นำข้อมูลผลการดำเนินการตามข้อตกลงในการปฏิบัติงานประจำปีมาวิเคราะห์ และจัดทำระบบข้อมูลในแต่ละฝ่าย เพื่อจัดทำแบบฟอร์มจัดเก็บใน Google Drive ส่วนงาน และออกแบบวิธีการแสดงผลสำหรับผู้บริหารสูงสุดโดยใช้ ipad จำนวน 6 จอ และสำหรับบุคลากรทาง intranet ของส่วนงาน ผลการดำเนินการ: จำนวนโครงการที่ยังไม่มีการขออนุมัติหลักการเพื่อดำเนินโครงการ จำนวน 0 โครงการ สรุปและอภิปรายผล: มีระบบ PA Monitoring โดยใช้ Google Drive ในส่วนงานเพื่อใช้ในการกำกับการดำเนินการของผู้บริหาร
  • Thumbnail Image
    ItemOpen Access
    การใช้ Google Calendar ในการบันทึกข้อมูลกิจกรรม และการลาของบุคลากร
    (2561) พานิชกรณ์ สุภาจันทร์; มหาวิทยาลัยมหิดล. โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ
    โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญมีบุคลากรยังไม่มากนัก และบุคลากรมีภาระงานที่ต้องปฏิบัติในหลายพื้นที่ และมีการลางาน ข้อมูลการปฏิบัติงานจึงมีความจำเป็นในการวางแผน และการติดต่อประสานงานในแต่ละวัน ซึ่งทำให้นักทรัพยากรบุคคลต้องคอยให้บริการข้อมูลบุคลากรในแต่ละวันจำนวนมาก วัตถุประสงค์: เพื่อลดขั้นตอนในการตรวจสอบการปฏิบัติงานของบุคลากรโครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ วิธีการดำเนินการ: นำสภาพปัญหาที่พบในการปฏิบัติงานมาวิเคราะห์ และปรับปรุงกระบวนการทำงานโดยใช้แอพพลิเคชั่น Google Calendar ในการจัดเก็บข้อมูลการปฏิบัติงานเจ้าหน้าที่ และแชร์ให้กับบุคลากร ดำเนินการระหว่างตุลาคม 2560 – สิงหาคม 2561 ประเมินผลจากแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบ ผลการศึกษา: แบบประเมินความพึงพอใจในการใช้แอพพลิเคชั่น Google Calendar พบว่า ความพึงพอใจภาพรวมของนักศึกษาต่อการใช้ Google Calendar 4.35 ± 0.65 คะแนน ความพึงพอใจมากกว่า 4 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 97.1 สรุปและอภิปรายผล: การปรับปรุงกระบวนการให้ข้อมูลบุคลากรโดยใช้แอพพลิเคชั่น Google Calendar ทำให้ลดขั้นตอนการทำงาน ของงานทรัพยากรบุคคลได้
  • Thumbnail Image
    ItemOpen Access
    การพัฒนาระบบการติดตามหนังสือรับเข้า – ส่งออก สำหรับบุคลากร แบบคลิกปุ๊บ เจอปั๊บ
    (2561) กนกพร ศรีโคตร; มหาวิทยาลัยมหิดล. โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ
    ในแต่ละปีมีปริมาณของหนังสือรับเข้า ส่งออกในความรับผิดชอบของงานสารบรรณมากกว่า 1,000 เรื่อง ปัญหาของหนังสือรับเข้า และส่งออกหาย ทำให้บุคลากรต้องเสียเวลาในการติดตาม และสืบค้นข้อมูล กับทางเจ้าหน้าที่งานสารบรรณ วัตถุประสงค์: เพื่อลดขั้นตอนการติดตามหนังสือสูญหายของขั้นตอนการทำงานของงานสารบรรณ วิธีการดำเนินการ: เก็บข้อมูลการดำเนินการจากปีที่ผ่านมา และวิเคราะห์กระบวนการทำงาน และปรับปรุงกระบวนการทำงานจากปัญหาหนังสือสูญหาย ดำเนินการระหว่างตุลาคม 2560 – สิงหาคม 2561 ประเมินผลจากแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ใช้ ระบบ ผลการศึกษา: แบบประเมินความพึงพอใจในการใช้บริการระบบ MUSIS ผู้ใช้ระบบ พบว่า ส่วนใหญ่ระบุว่า ระบบ MUSIS ช่วยลดการใช้กระดาษ คะแนนเฉลี่ย 4.33 ± 0.97 คะแนน รองลงมาได้แก่ ความเป็นประโยชน์ในการใช้งานระบบ MUSIS คะแนนเฉลี่ย 4.22 ± 0.88 คะแนน สรุปและอภิปรายผล: การปรับปรุงกระบวนการทำงานทำให้ลดการใช้กระดาษ ลดการสูญ แต่ยังคงต้องมีการประชาสัมพันธ์วิธีการใช้งานระบบให้มากขึ้น
  • Thumbnail Image
    ItemOpen Access
    การพัฒนาระบบการประชุมออนไลน์ผ่านแอพลิเคชั่น Zoom
    (2561) ชัยอนันต์ ทุมชาติ; อานนท์ ยอดหอ; วิวัฒน์ชัย อกอุ่น; มหาวิทยาลัยมหิดล. โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ
    Zoom application เป็นแอพพลิเคชั่นที่มีความเสถียรในการใช้จัดประชุมโดยไม่จำกัดสถานที่ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ มีพื้นที่ในการปฏิบัติงานของบุคลากรทั้งในส่วนที่อยู่ที่วิทยาเขตศาลายา และที่โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ นอกจากนั้นยังมีข้อจำกัดในด้านบุคลากรไม่เพียงพอ มีภาระงานมาก และบุคลากรมีการเดินทางไปปฏิบัติงานนอกสถานที่ ทำให้ส่งผลกระทบต่อการจัดประชุมติดตามกำกับงาน วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรในการใช้แอพลิเคชั่น Zoom เพื่อจัดการประชุมออนไลน์ วิธีการศึกษา: ศึกษาแอพพลิเคชั่น และจัดอบรมเพื่อพัฒนาความสามารถบุคลากรในการใช้แอพพลิเคชั่น Zoom ประเมินความพึงพอใจในการจัดอบรม ประชาสัมพันธ์ให้บุคลากรรับทราบ และให้ความช่วยเหลือในการจัดประชุมกรณีเกิดปัญหา ผลการศึกษา: บุคลากรที่เข้าร่วมอบรม ได้แก่ เจ้าหน้าที่และอาจารย์ โดยมีผู้เข้าร่วมที่เป็นตัวแทนงานและหลักสูตร จำนวน 30 คน มีคะแนนความพึงพอใจในการประชุม 4.56 คะแนน บุคลากรใช้ระบบเพื่อจัดประชุมจำนวน 30 ครั้ง สรุปและอภิปรายผล: บุคลากรได้รับการพัฒนาทักษะการใช้แอพพลิเคชั่น Zoom และมีการใช้งานแอพลิเคชั่นใน การจัดประชุมออนไลน์
  • Thumbnail Image
    ItemOpen Access
    การพัฒนาหลักสูตรโดยใช้ผลลัพธ์การเรียนรู้เป็นฐาน : แนวทางเพื่อการนำไปใช้ในการปฏิบัติ
    (2561) จิราวัลณ์ วินาลัยวนากูล; พรพักตร์ สุรำไพนิธิพร; รวีวรรณ เผ่ากัณหา; เรืองอุไร อมรไชย; รุจิระชัย เมืองแก้ว; Chirawan Winalaivanakoon; Pornpuak Surumpainithiporn; Raweewan Paokanha; Ruangurai Amornchai; Rujirachai Mangkaew; มหาวิทยาลัยมหิดล. โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ
    จากกระแสของการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมที่ส่งผลกระทบต่อวิธีการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในสังคมอย่างทั่วถึง จึงต้องมีการตื่นตัวและเตรียมพร้อมในการเรียนรู้ให้มีทักษะสำหรับดำรงชีวิตในโลกแห่งศตวรรษใหม่ กอปรกับปัญหาด้านสุขภาพและโครงสร้างประชากรที่มีแนวโน้มเป็นสังคมผู้สูงอายุในอนาคตอันใกล้ แต่จำนวนบุคลากรที่ดูแลสุขภาพของประชาชนทุกช่วงวัยนั้นกลับขาดแคลน ดังนั้น สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ จึงได้พัฒนาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตโดยใช้ผลลัพธ์การเรียนรู้เป็นฐาน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ได้นวัตกรรมทางการศึกษา คือ 1) หลักสูตรที่เน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ (Outcome based Education) เป็นสำคัญมีความทันสมัยและสอดคล้องกับความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 2) เป็นเครื่องมือในการผลิตพยาบาลวิชาชีพ เนื่องจากหลักสูตรเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการจัดการเรียนการสอนที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพในมิติต่างๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นด้านความรู้ความเข้าใจ ทักษะการคิด การแก้ปัญหา ทักษะปฏิบัติเชิงวิชาชีพ หรือด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของการเป็นพลเมืองที่ดีของสังคม ประเทศ และโลกต่อไป
  • Thumbnail Image
    ItemOpen Access
    การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยการฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพสาธารณสุข สำหรับนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 4
    (2561) ประเสริฐ ประสมรักษ์; อิสระพงศ์ โพธิ์สุข; Prasert Prasomrak; Issarapong Phosuk; มหาวิทยาลัยมหิดล. โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ
    การฝึกปฎิบัติงานวิชาชีพสาธารณสุข เป็นรายวิชาที่มุ่งบูรณาการองค์ความรู้สู่การทักษะวิชาชีพและคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้สำหรับนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 4 ด้วยกระบวนการ PDCA ในปี 2559-2560 นักศึกษาจำนวน 23 และ 36 คน ตามลำดับเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบประเมินความพึงพอใจ และแบบนิเทศวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยการฝึกปฏิบัติวิชาชีพสาธารณสุข ประกอบด้วย ขั้นที่ 1) ปรับฐานการวิจัยโดยฝึกปฏิบัติการทำวิจัยรายกลุ่ม มีอาจารย์ที่ปรึกษาที่ดูแลใกล้ชิด 2) เพิ่มความเข้มข้นกระบวนการเตรียมฝึก โดยการสอนเสริมด้านการจัดการชุมชนและการวิจัย 3) เติมพลังการฝึกปฏิบัติด้านวิจัยและวิชาชีพ 4) ชูศักยภาพให้โดดเด่นโดยเผยแพร่ผลงานทั้งภายในและนอกมหาวิทยาลัย ส่งผลให้มีผลงานวิจัยที่สอดคล้องกับปัญหาในพื้นที่ มีนวัตกรรมที่ใช้ต้นทุนในชุมชน ผลงานได้รับการเผยแพร่ในเวทีวิชาการ ชุมชนได้รับการพัฒนาศักยภาพให้จัดการสุขภาพ นักศึกษาและอาจารย์พี่เลี้ยง มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้เพิ่มขึ้น
  • Thumbnail Image
    ItemOpen Access
    การพัฒนาฐานข้อมูลศิษย์เก่า โดยใช้ระบบ Google Map
    (2561) อานนท์ ยอดหอ; ชัยอนันต์ ทุมชาติ; วิวัฒน์ชัย อกอุ่น; มหาวิทยาลัยมหิดล. โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ
    เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2538 ได้มีมติในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ ให้มหาวิทยาลัยมหิดลได้ขยายวิทยาเขตออกไปสู่ภูมิภาคเพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้กับท้องถิ่นในภูมิภาคต่าง ๆ โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้จัดตั้งที่จังหวัดอำนาจเจริญ โดยมีวิสัยทัศน์ “เป็นองค์กรชั้นนำแถบลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง “ ดังนั้นการเก็บรวบรวมข้อมูลภูมิลำเนาของนักศึกษาที่เข้ามาศึกษาที่โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ จึงมีความจำเป็นและสำคัญเป็นอย่างมากถึงตัวชี้วัดให้เห็นว่าการจั้งตั้งวิทยาเขตที่อำนาเจริญ สามารถเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้กับนักเรียนนักศึกษาในพื้นที่แถบภูมิภาคได้มากน้อยเพียงใด พร้อมทั้งช่วยในการวางแผนถึงการประชาสัมพันธ์ให้โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญเป็นที่รู้จักในจังหวัด ต่างๆ โดยดูข้อมูลภูมิลำเนาของนักศึกษาว่ามาจากจังหวัดไหนบ้าง จังหวัดไหนบ้างที่ยังขาดนักศึกษาในการจัดเก็บข้อมูลได้ใช้ระบบ Google Map เข้ามาช่วยในการจัดเก็บเป็นฐานข้อมูลกลางของโครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ โดยเริ่มต้นได้จัดเก็บข้อมูลในส่วนของศิษย์เก่าเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลต่อไป
  • Thumbnail Image
    ItemOpen Access
    การสังเคราะห์ข้อเสนอในการพัฒนาหลักสูตรจากเสียงของผู้ใช้บัณฑิตในอนาคต
    (2561) พรพรรณ ประพัฒน์พงษ์; ประเสริฐ ประสมรักษ์; Pornpun Prapatpong; Prasert Prasomrak; มหาวิทยาลัยมหิดล. โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ
    การพัฒนาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิตของมหาวิทยาลัยมหิดลโครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญจำเป็นจะต้อง สอดคล้องกับพันธกิจและความต้องการของผู้ใช้บัณฑิตในอนาคตเพื่อพัฒนาบัณฑิตให้สามารถทำงานเพื่อตอบแทนท้องถิ่น สังคมและประเทศชาติ ดังนั้นการพัฒนาคุณภาพงานครั้งนี้มีการศึกษาในกลุ่มผู้ใช้บัณฑิตในอนาคต 663 หน่วยงาน โดยใช้แบบสอบถามความคาดหวังและความต้องการบัณฑิต และการอภิปรายกลุ่มเพื่อกำหนดข้อเสนอในการพัฒนาหลักสูตร เก็บข้อมูลระหว่างเดือนกรกฎาคม – สิงหาคม 2561 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาอัตราตอบกลับคิดเป็น 8.6% โดยผู้ตอบแบบสอบถาม 98.2% มาจากหน่วยงานราชการ ซึ่งหลายหน่วยงานไม่รู้จักวิทยาเขตอำนาจเจริญ ด้านความคาดหวังภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดในทุกด้าน โดยมีความต้องการรับบุคลากรในสาขาสาธารณสุขชุมชน อนามัยสิ่งแวดล้อม และสาธารณสุข ศาสตร์ ดังนั้นข้อเสนอในการพัฒนาหลักสูตร ประกอบด้วย 1) ส่งเสริมความร่วมมือกับสถานประกอบการ 2) ขยายความร่วมมือกับผู้ใช้บัณฑิตในอนาคต 3) พัฒนาหลักสูตรและระบบจัดการเรียนรู้ที่มุ่งทักษะวิชาชีพ 4) สร้างประสบการณ์ด้านการวิจัย พัฒนานวัตกรรมสุขภาพ 5) เพิ่มศักยภาพด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศ การสื่อสารภาษาต่างประเทศ 6) สร้างเสริม ประสบการณ์ คุณธรรมและทักษะชีวิต
  • Thumbnail Image
    ItemOpen Access
    การออกแบบงานหรือภาระงานให้ผู้เรียนปฏิบัติสำหรับการวัดประเมินผลโดยใช้แฟ้มสะสมผลงาน หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต หลักสูตรใหม่ พ.ศ.2561 โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ มหาวิทยาลัยมหิดล
    (2561) เรืองอุไร อมรไชย; พรพักตร์ สุรำไพนิธิพร; จิราวัลณ์ วินาลัยวนากู; รวีวรรณ เผ่ากัณหา; รุจิระชัย เมืองแก้ว; Ruangurai Amornchai; Chirawan Winalaivanakoon; Chirawan Winalaivanakoon; Raweewan Paokanha; Rujirachai Muangkaew; มหาวิทยาลัยมหิดล. โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ
    การออกแบบงานหรือภาระงานให้ผู้เรียนปฏิบัติสำหรับการวัด ประเมินผลโดยใช้แฟ้มสะสมผลงาน เริ่มตั้งแต่การวิเคราะห์คำอธิบายรายวิชา จุดมุ่งหมายและจุดประสงค์ของรายวิชาผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตรที่ รายวิชารับผิดชอบ เชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างรายวิชากับผลลัพธ์การ เรียนรู้ระดับหลักสูตร นำไปสู่การกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับรายวิชาและ การออกแบบงานหรือภาระงานให้ผู้เรียนปฏิบัติซึ่งเน้นงานที่ให้ผู้เรียนได้ใช้ ความรู้และทักษะในการผลิตชิ้นงาน เป็นงานที่ใช้วัสดุอุปกรณ์ปฏิบัติในสภาพ ที่เป็นจริงมีการให้เวลาในการทำงานอย่างเพียงพอ ผู้เรียนและผู้สอน ปรึกษาหารือและให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อการปรับปรุงงานเป็นระยะ มีการ กำหนดเกณฑ์การให้คะแนนชัดเจน เป็นงานที่ทำชิ้นเดียวแต่สามารถวัด ผลลัพธ์ที่หลากหลายได้ โดยมีการเก็บข้อมูลเพื่อการวัดประเมินผลระหว่าง การเรียนการสอนอย่างต่อเนื่องในลักษณะเก็บสะสมคะแนนไม่ใช่การวัด ประเมินผลสุดท้ายเพียงครั้งเดียว การออกแบบคู่มือการใช้แฟ้มสะสมผลงาน การศึกษาความเหมาะสมของการออกแบบ และการศึกษาผลลัพธ์การเรียนรู้ ระหว่างเรียนและสรุปรวมของผู้เรียนทั้งระดับบุคคล ระดับรายวิชา และ เชื่อมโยงไปสู่ระดับหลักสูตร
  • Thumbnail Image
    ItemOpen Access
    การพัฒนากระบวนการฝึกปฏิบัติงานพัฒนาอนามัยชนบทสำหรับนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ มหาวิทยาลัยมหิดล
    (2561) พิศมัย นาทัน; Pisamai Natun; มหาวิทยาลัยมหิดล. โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ
    การฝึกปฏิบัติงานพัฒนาอนามัยชนบทของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต มีข้อมูลจากแบบสำรวจความพึงพอใจ และความไม่พึงพอใจของนักศึกษาเป็นข้อมูลนำเข้าที่นำมาใช้พัฒนาหลักสูตรและรายวิชา วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการพัฒนากระบวนการฝึกปฏิบัติงานพัฒนาอนามัยชนบทของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ วิธีการศึกษา: เก็บรวบรวมข้อมูลผลความพึงพอใจโดยใช้แบบสอบถามความพึงพอใจ และการถอดบทเรียน จากนักศึกษาชั้นปีที่ 3 ทั้งหมด 41 คน น าข้อมูลสรุปและเปรียบเทียบผลจากการดำเนินโครงการในปีที่ผ่านมาเพื่อใช้ในการปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน ผลการศึกษา: มีการดำเนินการจัดกิจกรรมการเตรียมวิชาการก่อนการออกฝึกปฏิบัติงานในชุมชนพื้นที่ตำบลโนนหนามแท่ง อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ ความพึงพอใจในภาพรวมของโครงการเท่ากับ 4.2 ± 0.59 คะแนน สรุปและอภิปรายผล: การทบทวนกระบวนการจัดการเรียนการสอนจากการเก็บข้อมูลความพึงพอใจและความไม่พึงพอใจสามารถนำมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง
  • Thumbnail Image
    ItemOpen Access
    การพัฒนารูปแบบโครงการมหาวิทยาลัยสัมพันธ์กับชุมชนก้าวสู่นวัตกรรมการเรียนรู้ทางสังคม
    (2561) สมศิริ โพธารินทร์; มหาวิทยาลัยมหิดล. โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ
    มหาวิทยาลัยมหิดลมีนโยบายมหาวิทยาลัยสัมพันธ์กับชุมชน (Social engagement) โดยโครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญได้ตั้งเป้าหมายในการดำเนินการตามข้อตกลงการปฏิบัติงาน (PA) ของส่วนงาน อย่างไรก็ตามจากการดำเนินงานที่ผ่านมา โครงการจัดตั้งฯ ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายในการดำเนินการได้ วัตถุประสงค์: เพื่อให้โครงการจัดตั้งวิทยาเขต อำนาจเจริญบรรลุเป้าหมายการดำเนินการตามข้อตกลงในการปฏิบัติงาน(PA) ในโครงการมหาวิทยาลัยสัมพันธ์กับชุมชน วิธีการศึกษา: นำข้อมูลตัวชี้วัดตามข้อตกลงการปฏิบัติงาน (PA) ในปีงบประมาณที่ผ่านมามาทบทวนและจัดทำแผนกลยุทธ์ จัดผู้รับผิดชอบ และปรับปรุงระบบการติดตามกำกับงาน ผลการศึกษา: โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญมีโครงการมหาวิทยาลัยสัมพันธ์กับชุมชนจำนวน 4 โครงการบรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้โดยจัดกระบวนการติดตามและควบคุมการกำกับงานโดยใช้ระบบรายงานต่อผู้บริหารรายไตรมาสในที่ประชุมคณะกรรมการบริหาร สรุปและอภิปรายผล : ฃการปรับปรุงระบบการติดตามและควบคุมการกำกับการและการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบที่ชัดเจน และการกำกับโดยผู้นำสูงสุดขององค์การเป็นปัจจัยที่ทำให้สามารถบรรลุตามตัวชี้วัดได้