Publication: ผลของท่าทางในระยะฟื้นตัวภายหลังการออกกาลังกายแบบหนักที่มีการพักระหว่างช่วง ต่ออุณหภูมิแกนของร่างกายและสมรรถนะภายหลังการพักฟื้น
Issued Date
2011-07
Resource Type
Language
tha
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Rights Holder(s)
สมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬาแห่งประเทศไทย (สวกท)
Sports Science Society of Thailand (SSST)
Sports Science Society of Thailand (SSST)
Bibliographic Citation
วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา. ปีที่ 11, ฉบับที่ 1, (ก.ค. 2554), 221-229
Suggested Citation
ฉัตรลดา ภาวงศ์, จตุพร ติคัมรัมย์, กิตติพงศ์ พูลชอบ, ไถ้ออน ชินธเนศ, เมตตา ปิ่นทอง ผลของท่าทางในระยะฟื้นตัวภายหลังการออกกาลังกายแบบหนักที่มีการพักระหว่างช่วง ต่ออุณหภูมิแกนของร่างกายและสมรรถนะภายหลังการพักฟื้น. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา. ปีที่ 11, ฉบับที่ 1, (ก.ค. 2554), 221-229. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/1451
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
ผลของท่าทางในระยะฟื้นตัวภายหลังการออกกาลังกายแบบหนักที่มีการพักระหว่างช่วง ต่ออุณหภูมิแกนของร่างกายและสมรรถนะภายหลังการพักฟื้น
Other Contributor(s)
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของท่าทางในระยะฟื้นตัวภายหลังการออกกำลังกายแบบหนักที่มีการพักระหว่างช่วงต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิแกนของร่างกายและสมรรถนะภายหลังการพักฟื้น โดยเปรียบเทียบระหว่างท่านั่ง และท่านอนหงายยกขาสูง45 องศา ในกลุ่มอาสาสมัครชายที่มีสุขภาพดี อายุ 20.2 ± 0.8 ปี จำนวน11 คน ภายหลังการออกกำลังกายบนลู่วิ่งตามโปรแกรมที่ระดับความหนัก-เบาเป็นช่วงๆ (นาน 45 นาที) จากนั้นพักฟื้นระหว่างท่านั่งหรือท่านอนหงายยกขาสูง45 องศา เป็นเวลา 15 นาที หลังจากการพักฟื้นภายหลังออกกำลังกายทำการทดสอบกำลังกล้ามเนื้อสูงสุดด้วยการปั่นจักรยานด้วยความเร็วสูงสุด หนักเบาเป็นช่วงๆ จำนวน 6 รอบ อาสาสมัครกลุ่มเดิมได้รับการวัดซ้ำห่างกันอย่างน้อย 1อาทิตย์ บันทึกค่าอุณหภูมิแกนทางทวารหนักและอัตราการเต้นของหัวใจทุก 1 นาที ตลอดช่วงการออกกำลังกายและการพัก อุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ของห้องในวันที่ทำการทดสอบแต่ละครั้งไม่แตกต่างกัน (ท่านั่ง: 25.09 ± 0.12 องศาเซลเซียส, 49.05 ± 1.83 เปอร์เซ็นต์ และท่านอนหงายยกขาสูง 45 องศา: 24.98 ± 0.14 องศาเซลเซียส, 47.24 ± 1.28 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ) ผลการวิจัยพบว่า 1) ภายหลังการออกกำลังกายบนลู่วิ่ง ค่าของอุณหภูมิแกนไม่แตกต่างกัน (ท่านั่ง: 38.73 ± 0.16 องศาเซลเซียส และท่านอน 38.72 ± 0.13องศาเซลเซียส) แต่การพักฟื้นด้วยท่านอนหงายยกขาสูง45 องศา ส่งผลให้อุณหภูมิแกนของร่างกายต่ำกว่าการพักฟื้นในท่านั่ง ในนาทีที่ 15 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) 2) อัตราการเต้นของหัวใจทันทีที่หยุดการออกกำลังกายไม่แตกต่างกันระหว่างท่านั่ง (177 ± 2.7 ครั้ง/นาที) และท่านอหงายยกขาสูง (179 ± 2.8 ครั้ง/นาที) 3). ภายหลังจากการพักฟื้น 15 นาที พบว่าการพักฟื้นในท่านอนหงายยกขาสูงส่งผลให้อัตราการเต้นของหัวใจลดลง (88 ± 3.2 ครั้ง/นาที) มากกว่าการพักฟื้นในท่านั่ง (98 ± 3.53 ครั้ง/นาที) อย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.05) 4) ท่าทางในการพักฟื้นไม่มีผลต่อค่ากำลังสูงสุดเฉลี่ย สรุปว่าการพักฟื้นด้วยท่านอนหงายยกขาสูง 45 องศา มีผลช่วยในการลดอุณหภูมิแกนของร่างกายและลดการทำงานของหัวใจและระบบไหลเวียนเลือดในขณะพักฟื้นได้ดีกว่าการพักฟื้นในท่านั่ง แต่ท่าทางในการพักฟื้นไม่มีผลต่อสมรรถนะทางกาย ผลของท่าทางในระยะพักฟื้นทีมีต่ออุณหภูมิแกนของร่างกายและอัตราการเต้นของหัวใจอาจเป็นผลมาจากการระดับกระตุ้นบาโรรีเซบเตอร์ที่แตกต่างกัน