CF-Article

Permanent URI for this collectionhttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/162

Browse

Recent Submissions

Now showing 1 - 20 of 21
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    Intelligence Quotient and Emotional Quotient Affecting Body Mass Index Among School-Age Children: A Case Study of Nakhon Pathom Province
    (2022) Sarun Kunwittaya; Khanokporn Donjdee; Orapin Lertawasadatrakul; Nanthanat Songsiri; Winanda Deesawas; ศรัล ขุนวิทยา; กนกพร ดอนเจดีย์; อรพินท์ เลิศอวัสดาตระกูล; นันทนัช สงศิริ; วินันดา ดีสวัสดิ์; Mahidol University. National Institute for Child and Family Development
    This study 1) measured the level of intelligence quotient (IQ), emotional quotient (EQ), and body mass index (BMI) in school-age children 2) compared the intelligence quotient (IQ) and emotional quotient (EQ) in school-age children according to personal factors and 3) investigated the individual, family and social factors affecting body mass index in school-age children in Nakhon Pathom Province. A total of 266 children aged 6-11 years old were randomly selected in each classroom from three schools in urban areas of Nakhon Pathom Province in Thailand using the convenience method for selection. IQ scores were assessed using the fourth edition of the test of nonverbal intelligence (TONI-4), and emotional intelligence (EQ) assessed by the emotional intelligence assessment questionnaire for children aged 6-11 years old, Department of Mental Health (DMH), Ministry of Public Health, Thailand. The data was analyzed by using descriptive statistics, independent Sample t-Test, One-way ANOVA, and multiple regression. The results showed that not more than 5% of parents had higher education level and 21.43% of the family and social status have a family income below 10,000 Thai Baht per month. Moreover, the parents’ education level is shown to impact BMI and IQ, while income status of family shows effects on EQ and IQ, also. However, individual factors, such as age in years, emotional quotient (EQ) and intelligence quotient (IQ) affected the body mass index in school-age children of urban areas of the Nakhon Pathom Province, Thailand (p<0.05).
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    ทัศนคติ และแรงจูงใจในการทำงานด้านสุขภาพจิตนักศึกษาของผู้เข้าร่วมโครงการมหิดลเฟรนด์ มหาวิทยาลัยมหิดล
    (2563) สมบูรณ์ หทัยอยู่สุข; พัชรินทร์ เสรี; แกมแก้ว โบษกรนัฏ; Somboon Hataiyusuk; Patcharin Seree; Kamkaew Bosagaranut; มหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. ภาควิชาจิตเวชศาสตร์; มหาวิทยาลัยมหิดล. สำนักงานอธิการบดี. กองกิจการนักศึกษา
    ปัญหาสุขภาพจิตเป็นปัญหาที่สำคัญในปัจจุบัน นักศึกษาระดับอุดมศึกษาต้องเผชิญกับปัญหาดังกล่าว เป็นจำนวนมาก โรคที่พบบ่อย เช่น โรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า ปัญหาการใช้สารเสพติด ระบบการดูแล สุขภาพจิตนักศึกษาในมหาวิทยาลัยโดยส่วนใหญ่เป็น รูปแบบของศูนย์ให้คำปรึกษา ซึ่งนักศึกษาใช้บริการ น้อยกว่าปัญหาจริงที่มีอยู่ เนื่องจากปัจจัยด้านการตีตรา เวลารอรับบริการ และความไม่สะดวกสบายต่างๆ มหาวิทยาลัยมหิดลจึงจัดโครงการมหิดลเฟรนด์ ให้กับนักศึกษา อาจารย์ และเจ้าหน้าที่สายสนับสนุน เพื่อให้ความรู้สุขภาพจิต ฝึกทักษะการให้คำปรึกษา และแนวทางการส่งต่อ โดยมุ่งหวังให้ผู้เข้าร่วมโครงการ สังเกต ช่วยเหลือ นักศึกษาที่มีปัญหาสุขภาพจิตได้ อย่างเหมาะสม งานวิจัยนี้ทำการศึกษาทัศนคติและ แรงจูงใจในการทำงานด้านสุขภาพจิตของนักศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เข้าร่วมโครงการมหิดลเฟรนด์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557-2562 แบ่งเป็น นักศึกษาจำนวน 39 คน และอาจารย์หรือเจ้าหน้าที่สายสนับสนุน จำนวน 64 คน โดยใช้แบบสอบถามปัจจัยส่วนบุคคล แบบสอบถามทัศนคติในการทำงานดูแลสุขภาพใจ นักศึกษา และแบบสอบถามแรงจูงใจในการทำงานดูแล สุขภาพใจนักศึกษา (ฉบับนักศึกษา), (ฉบับอาจารย์/ เจ้าหน้าที่สายสนับสนุน) ผลการศึกษาพบว่าทัศนคติ ในการทำงานด้านสุขภาพจิตนักศึกษาของนักศึกษา อยู่ในระดับมากที่สุด (Mean 3.34, SD 0.32) ส่วนอาจารย์/เจ้าหน้าที่สายสนับสนุนอยู่ในระดับมาก (Mean 3.15, SD 0.32) แรงจูงใจในการทำงาน ด้านสุขภาพจิตนักศึกษาของนักศึกษาและอาจารย์/ เจ้าหน้าที่สายสนับสนุนอยู่ในระดับมาก (Mean 3.10, SD 0.29 และ Mean 3.03, SD 0.36 ตามลำดับ) ทัศนคติกับแรงจูงใจในการทำงานด้านสุขภาพจิต นักศึกษาของนักศึกษา และอาจารย์/เจ้าหน้าที่สาย สนับสนุน มีความสัมพันธ์กันในทิศทางบวกระดับ ปานกลาง (r = 0.563, p < 0.001) (r = 0.670, p < 0.001) ควรคำนึงถึงปัจจัยทัศนคติและแรงจูงใจ ของผู้เข้าร่วมในทุกกลุ่มเพื่อพัฒนาระบบดูแลและ ช่วยเหลือนักศึกษาด้านสุขภาพจิตให้เกิดระบบที่ยั่งยืน ต่อไป
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    How can mental health develop through early childhood learning activities in Japan?
    (2019) Wimontip Musikaphan; Nanthanat Songsiri; วิมลทิพย์ มุสิกพันธ์; นันทนัช สงศิริ; Mahidol University. National Institute for Child and Family Development
    This qualitative case study investigates concepts on mental health development through early childhood learning concept and activities of Japan. The study sites were an elementary school and a kindergarten in Tokyo, Japan. Data were primarily collected by document research, narrative interviews with sixteen participants and observation with forty five students. Content analysis was used to analyze the data. The key findings are: 1) Japan has encouraged positive attitude as the first step of mental health firmness, following with physical fitness development. 2) Team-based playing is applied as a way to generate personal self-esteem, cooperation and social readiness. 3) Learning by playing is continually promoted. 4) Public mind is embedded in the way of life 5) Learning curriculum is designed and adjusted based on research 6) Simple but delicate education area is focused and 7) Arrangement of mental health educational environment is strongly focused. These finding can be adapted to early childhood and primary education in Thailand since it would help kindergarten, school and parents to hit into the most important point of mental health development as a smart way to “strengthening at heart” of children since they were young. Early childhood education policy for Thailand should be promoted to be based on play-based learning.
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    การพัฒนารูปแบบรายงานและติดตามผลการดำเนินงาน (PA) ออนไลน์
    (2561) อารี อยู่ภู่; วรพจน์ สำราญทรัพย ์; สิริวรรณ ดิษทรัพย์; Aree Yupu; Worapoj Samransap; Siriwan Ditsup; มหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว
    วัตถุประสงค์ของงานวิจัยครั้งนี้คือ การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้กับการรายงานและติดตามผลการดำเนินงานโครงการ (PA) ให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงและทำงานร่วมกันได้พร้อมกันบนคลาวด์คอมพิวติ้ง [5] เพื่อลดเวลาและขั้นตอนการทำงาน สะดวกในการเข้าถึงสามารถติดตามความคืบหน้าและตรวจสอบประวัติการกรอก ข้อมูลได้โดยใช้กูเกิ้ลแอปผ่านแอกเคาน์ของมหาวิทยาลัย (Mahidol.edu) วิธีการพัฒนาระบบใช้หลักการของวงจรการพัฒนาระบบสารสนเทศ (SDLC) มีขั้นตอนในการดำเนินการ ดังนี้คือ 1.ศึกษาระบบงานเดิม 2.วิเคราะห์ ระบบงานเดิม 3.ออกแบบระบบงานใหม่ 4.ทดสอบการใช้งาน 5.ปรับปรุงและประเมินประสิทธิภาพของระบบ ผลการวิจัยพบว่าระบบที่พัฒนาขึ้นช่วยให้การรายงานผลการดำเนินโครงการมีประสิทธิภาพมากขึ้น ผู้ที่กรอกข้อมูล รายงานผลการดำเนินงาน หัวหน้าโครงการมีความพึงพอใจในประสิทธิภาพของระบบในระดับ “ดี” (X ̅ =4.18 , SD = 0.60)
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    การศึกษาโปรแกรมการพัฒนาทักษะการสร้างแบบประเมิน ผลความพึงพอใจของบุคลากรสายสนับสนุน ในสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
    (2561) กนกพร ดอนเจดีย์; สาลินี จันทร์เจริญ; พรรณนิภา หริมเทพาธิป; Khanokporn Donjdee; Salinee Chancharoen; Punnipa Harimtepathip; มหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว
    การศึกษาโปรแกรมการพัฒนาทักษะการสร้างแบบประเมินผลความพึงพอใจของบุคลากรสายสนับสนุน ในสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้โปรแกรมการพัฒนาทักษะการสร้างแบบประเมินผลความพึงพอใจ ของบุคลากรสายสนับสนุน ในสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรสายสนับสนุนที่ปฏิบัติงานภายในสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว จำนวน 15 คน ซึ่งโปรแกรมการพัฒนาทักษะการสร้างแบบประเมินผลความพึงพอใจ เป็นโปรแกรมที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นเอง โดยโปรแกรมดังกล่าวจะประกอบไปด้วยกิจกรรม 3 กิจกรรม คือ 1) กิจกรรมเรียนรู้และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น 2)กิจกรรมแบบประเมิน สร้างได้ไม่ยาก และ 3) กิจกรรมการวิเคราะห์และแปลผลแบบประเมินความพึงพอใจด้วยการใช้โปรแกรมทางสถิติ ใช้เวลาในการดำเนินโปรแกรมทั้งสิ้น 6 ชั่วโมง 30 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทักษะการสร้างแบบประเมินก่อนและหลังเข้ารับโปรแกรมฝึกอบรม และแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย และ The wilcoxon matched pairssigned-ranks test ผลการวิจัย พบว่า หลังจากกลุ่มตัวอย่างเข้าร่วมโปรแกรมการพัฒนาทักษะการสร้างแบบประเมินผลความพึงพอใจ กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความรู้เกี่ยวกับทักษะการสร้างแบบประเมินผลความพึงพอใจก่อนและหลัง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05)
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    การพัฒนาระบบบริหารจัดการเอกสารสำนักงานอัตโนมัติ ด้านข่าวประกาศ ข้อมูลบุคลากร และแบบฟอร์มอิเล็กทรอนิกส์ สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว
    (2562) วรรณอนงค์ พิพัฒนอารยกุล; สุเมต ชื่นชู; Wannaanong Pipatthanaarayakul; Sumate Chuenchoo; มหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว
    การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. พัฒนาระบบบริหารจัดการเอกสารสำนักงานอัตโนมัติ ด้านข่าว ประกาศ ข้อมูลบุคลากร และแบบฟอร์มอิเล็กทรอนิกส์ และ 2. เพื่อประเมินประสิทธิภาพและความพึงพอใจ ของ ระบบบริหารจัดการเอกสารสำนักงานอัตโนมัติด้านข่าวประกาศ ข้อมูลบุคลากร และแบบฟอร์มอิเล็กทรอนิกส์ เป็นการวิจัยและพัฒนา โดยใช้หลักการของวงจรการพัฒนาระบบ (System Development Life Cycle: SDLC) พัฒนาด้วยระบบ MUSIS (Mahidol University Share Information Service System) ซึ่งพัฒนามาจากระบบ Microsoft SharePoint มีกลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรที่ปฏิบัติงานภายในสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและ ครอบครัว จำนวน 30 คน โดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า การพัฒนาระบบบริหาร จัดการเอกสารสำนักงานอัตโนมัติ ด้านข่าวประกาศ ข้อมูลบุคลากร และแบบฟอร์มอิเล็กทรอนิกส์ สถาบันแห่งชาติ เพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ในภาพรวมมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.11) โดยเมื่อ พิจารณาประสิทธิภาพในแต่ละระบบโดยเรียงจากค่าเฉลี่ยในระดับมากไปหาน้อย พบว่า ระบบข้อมูลบุคลากร มี ประสิทธิภาพอยู่ในระดับสูงที่สุด (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.17) รองลงมา คือ แบบฟอร์มอิเล็กทรอนิกส์ และระบบข่าว ประกาศ (ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.10 และ 4.07) นอกจากนี้ ผู้ใช้งานยังมีความพึงพอใจต่อระบบ ในภาพรวมอยู่ใน ระดับมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.09) โดยเมื่อพิจารณาความพึงพอใจในแต่ละระบบโดยเรียงจากค่าเฉลี่ยในระดับมาก ไปหาน้อย พบว่า ผู้ใช้งานมีความพึงพอใจในระบบข่าวประกาศมากที่สุด (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.13) รองลงมา คือ ระบบข้อมูลบุคลากร และแบบฟอร์มอิเล็กทรอนิกส์ (ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.10 และ 4.03)
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    การพัฒนาแบบคัดกรองพัฒนาการอารมณ์-สังคมของเด็กไทย อายุแรกเกิด- 48 เดือน
    (2563) ฒามรา สุมาลย์โรจน์; ประพา หมายสุข; แก้วตา นพมณีจารัสเลิศ; ธนยศ สุมาลย์โรจน์; Tamara Sumalrot; Prapa Maisook; Kaewta Nopmaneejumruslers; Thanayot Sumalrot; มหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. ภาควิชาจิตเวชศาสตร์
    การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Cross-Sectional Descriptive Studies) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบคัดกรองพัฒนาการอารมณ์-สังคมของเด็กไทยอายุแรกเกิด -48 เดือน และตรวจสอบคุณสมบัติในการวัด โดยพัฒนาตามกรอบแนวคิดของพัฒนาการทางอารมณ์ สังคม (Functional Emotional Development) แบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ระยะ คือระยะที่ 1 การพัฒนาข้อคาถามและการตรวจสอบคุณภาพเบื้องต้น ข้อคำถามที่ร่างขึ้นผ่านการพิจารณาความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 6 คน พบว่าค่า IOC ส่วนใหญ่มีค่า ≥ 0.5 แล้วตรวจสอบค่าความเชื่อมั่นแบบสอดคล้องภายใน พบว่าในช่วงอายุ 6-9 เดือน มีค่าต่ำกว่าเกณฑ์ จึงทำการปรับข้อคาถามเพิ่มเติม ระยะที่ 2 การตรวจสอบคุณสมบัติในการวัดของแบบคัดกรองฯ กลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ปกครองของเด็กปกติจำนวน 223 คน ผลการวิจัยพบว่า ความเชื่อมั่นแบบสอดคล้องภายในมีค่า Cronbach’s alpha อยู่ระหว่าง 0.604-0.904 และความสัมพันธ์ของคะแนนรายข้อคำถามกับคะแนนรวม (CITC) ส่วนใหญ่มีค่ามากกว่า 0.2 ขึ้นไป และความเที่ยงตรงเชิงจำแนกระหว่างคะแนนที่ได้จากกลุ่มเด็กพัฒนาการปกติกับเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการอารมณ์สังคม จานวน 28 คน พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (Z = -4.483, p-value < .001) และค่าคะแนนเฉลี่ย (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) จากแบบวัดแบ่งตามช่วงอายุ 0-5, 6-9, 10-18, 19-30 และ 31-48 เดือน มีค่าเท่ากับ 20.11(3.09), 48.96(5.96), 84.88(9.90), 103.32(16.61) และ 139.81(18.28) ตามลำดับ ผลสรุป แบบคัดกรองที่พัฒนาขึ้นมีคุณสมบัติในการวัดที่เหมาะสม มีความเชื่อมั่นดี สามารถใช้ในการแยกแยะเด็กที่มีพัฒนาการปกติและเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการอารมณ์สังคมได้ โดยผู้ใช้ควรต้องมีความรู้ ความเข้าใจพัฒนาการอารมณ์สังคมร่วมด้วย
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    การสำรวจความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว
    (2559) สายสุนีย์ เบ็ญจโภคี; Saisunee Benjapokee; มหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว
    การสำรวจความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัวมี วัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากร 2. ศึกษาปัจจัยด้านประสบการณ์ในการทำงาน ของบุคลากร 3. ศึกษาเปรียบเทียบความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและ ครอบครัว ที่มีปัจจัยส่วนบุคคลต่างกัน และ 4. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันต่อองค์การกับปัจจัยด้าน ประสบการณ์ในการทำงานของบุคลากรสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัย เชิงสำรวจ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 92 คน การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างทำโดยใช้สูตรของยามาเน่ (Yamane) ระดับความเชื่อมั่น 95% และค่าความคลาดเคลื่อน 5 % สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้ ส่วนที่ 1 สถิติเชิงพรรณา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความถี่ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนที่ 2 การวิเคราะห์ข้อมูลแบบ อ้างอิงชั้นสูง ได้แก่ การทดสอบที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-Way ANOVA) และ การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson’s Correlation Coefficient) โดยกา หนดระดับนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า ระดับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรโดยรวมอยู่ในระดับมาก ระดับ ความคิดเห็นของบุคลากรต่อปัจจัยด้านประสบการณ์ในการทำงานโดยรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนการเปรียบเทียบ ความแตกต่างระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลของบุคลากรกับความผูกพันต่อองค์การ พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลด้าน สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อายุงาน ประเภทของบุคลากร ระดับเงินเดือน ตำแหน่งบริหาร และสังกัดงาน ที่ แตกต่างกันจะมีความผูกพันต่อองค์การแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) และจากการศึกษาความ สัมพันธ์ระหว่างความผูกพันต่อองค์การกับปัจจัยด้านประสบการณ์ในการทำงานทุกด้าน พบว่ามีความสัมพันธ์เชิง เส้นในทิศทางเดียวกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05)
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาเด็ก วัยรุ่นและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
    (2561) เสรี สิงห์โงน; สาลินี จันทร์เจริญ; Seree Sing-ngon; Salinee Chancharoen; มหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว. งานสนับสนุนการศึกษา; มหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว. ศูนย์วิจัยวิชาการด้านพัฒนาการมนุษย์
    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับเหตุผลที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อ และเพื่อเปรียบเทียบ ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาเด็ก วัยรุ่น และ ครอบครัวที่มี เพศ อายุ สาขาวิชาที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ระดับคะแนนเฉลี่ย ประสบการณ์ทำงาน รายได้ สถานภาพสมรส แตกต่างกัน เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน การวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลจากประชากรที่สมัครเข้าสอบคัดเลือกเพื่อเข้าศึกษา จำนวน 65 คน การวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่มีสิทธิ์เข้าสอบสัมภาษณ์ จำนวน 10 คน วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณ t-test และ One-Way ANOVA สำหรับข้อมูลเชิงปริมาณ และใช้การวิเคราะห์ เนื้อหา จำแนก จัดกลุ่ม และแยกประเภทข้อมูลสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาพบว่า เหตุผลที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อมากเป็นอันดับหนึ่งคือ ด้านความภาคภูมิใจ (x̄= 4.38) รองลงมาคือ ด้านหลักสูตรและวิชาการ (x̄= 4.16) ด้านความคาดหวังในอนาคต (x̄= 4.09) และด้านเศรษฐกิจและสังคม (x̄= 3.21) ผลการเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ สาขาวิชาที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ระดับคะแนนเฉลี่ย ประสบการณ์ทำงาน รายได้ สถานภาพสมรส ที่แตกต่างกันมีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ยกเว้นด้านอายุที่แตกต่างกันมีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    การสำรวจความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว
    (2559) สายสุนีย์ เบ็ญจโภคี; มหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว. สำนักงานผู้อำนวยการ
    การสำรวจความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัวมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากร 2. ศึกษาปัจจัยด้านประสบการณ์ในการทำงานของบุคลากร 3. ศึกษาเปรียบเทียบความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ที่มีปัจจัยส่วนบุคคลต่างกัน และ 4. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันต่อองค์การกับปัจจัยด้าน ประสบการณ์ในการทำงานของบุคลากรสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 92 คน การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างทำโดย ใช้สูตรของยามาเน่ (Yamane) ระดับความเชื่อมั่น 95% และค่าความคลาดเคลื่อน 5 % สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้ ส่วนที่ 1 สถิติเชิงพรรณา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความถี่ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนที่ 2 การวิเคราะห์ข้อมูลแบบ อ้างอิงชั้นสูง ได้แก่ การทดสอบที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-Way ANOVA) และการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson’s Correlation Coefficient) โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า ระดับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรโดยรวมอยู่ในระดับมาก ระดับ ความคิดเห็นของบุคลากรต่อปัจจัยด้านประสบการณ์ในการทำงานโดยรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนการเปรียบเทียบ ความแตกต่างระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลของบุคลากรกับความผูกพันต่อองค์การ พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลด้าน สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อายุงาน ประเภทของบุคลากร ระดับเงินเดือน ตำ แหน่งบริหาร และสังกัดงาน ที่ แตกต่างกันจะมีความผูกพันต่อองค์การแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) และจากการศึกษาความ สัมพันธ์ระหว่างความผูกพันต่อองค์การกับปัจจัยด้านประสบการณ์ในการทำงานทุกด้าน พบว่ามีความสัมพันธ์เชิง เส้นในทิศทางเดียวกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05)
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    A review of studies on children's well-being and life assets
    (2014) Naoko Nakayama; Suriyadeo Tripathi; St. Luke International University; Mahidol University. National Institute for Child and Family Development
    Objective: The purpose of this article was to review the reported studies at the 21st IUHPE World Conference which focused on children's well-being, community and life assets (Tripathi. S et al). Methods: Studies on children's well-being, community and life assets were selectively reviewed from the symposiums and workshops, oral and poster session, and other sessions of this conference. Results: The presentations and reports related to children's well-being were reported from many different aspects. We paid more attention to the life assets projects which used the knowledge-based evaluation index of 48 items and focused on five essential factors of the youth's positive power. Then, three proposals were suggested to improve the youth's life assets: 1) evaluate individual and social factors as the protective factors of the youth; 2) set up a plan to build the youth's life assets by using available community resources; 3) improve the community activities for the youth Furthermore, the importance of the monitoring role of the relevant national policies was also reported. Conclusion: The children's well-being demands multi-sectoral action based on family, school and community. Thus, it is necessary to develop for the advisable environment on the point of the family, school and community.
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    การใช้กิจกรรมศิลปะเพื่อส่งเสริมการยอมรับความหลากหลายวัฒนธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษา จังหวัดปัตตานี
    (2553-11) บัญญัติ ยงย่วน; ชัยวัฒน์ ผดุงพงษ์; มหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว; มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. คณะศึกษาศาสตร์
    การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้กิจกรรมศิลปะในบริบทที่องค์ประกอบของห้องเรียน ต่างกันที่ส่งผลต่อการยอมรับความหลากหลายวัฒนธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จังหวัดปัตตานี กลุ่มตัวอย่าง ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ของโรงเรียนในเขตอำเภอเมืองปัตตานี ประจำปีการศึกษา 2549 จำนวน 114 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ประกอบด้วยห้อ งเรียน จำนวน 4 ห้อง ดังนี้ 1) ห้องเรียน ไทยพุทธ-ไทยมุสลิมที่เข้าร่วมกิจกรรมศิลปะแบบพหุวัฒนธรรม 2) ห้องเรียนไทยพุทธ-ไทยมุสลิมที่เข้าร่วมกิจกรรม ศิลปะแบบปกติ 3) ห้องเรียนไทยมุสลิมล้วนที่เข้าร่วมกิจกรรมศิลปะแบบพหุวัฒนธรรม 4) ห้องเรียนไทยมุสลิมล้วน ที่เข้าร่วมกิจกรรมศิลปะแบบปกติ แบบแผนการทดลอง คือ แบบพหุเหตุปัจจัย แบบมีกลุ่มควบคุม มีการทดสอบก่อน และหลังการทดลองที่มีตัวแปรอิสระ 2 ตัว เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมศิลปะแบบพหุวัฒนธรรม 2) แผนการจัดกิจกรรมศิลปะแบบปกติ และ 3) แบบวัดการยอมรับความหลากหลายวัฒนธรรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการวิเคราะห์ ความแปรปรวนแบบสองทาง ผลการวิจัย พบว่า มีกิริยาร่วมระหว่างกิจกรรมศิลปะและองค์ประกอบของห้องเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ดังนี้ 1) นักเรียนห้องเรียนไทยมุสลิมล้วนที่เข้าร่วมกิจกรรมศิลปะแบบพหุวัฒนธรรม ยอมรับความหลากหลายวัฒนธรรมสูงกว่านักเรียนจากห้องเรียนไทยมุสลิมล้วนที่เข้าร่วมกิจกรรมศิลปะแบบปกติ 2) นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมศิลปะแบบพหุวัฒนธรรมจากห้องเรียนไทยมุสลิมล้วนยอมรับความหลากหลาย วัฒนธรรมสูงกว่านักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมศิลปะแบบพหุวัฒนธรรมจากห้องเรียนไทยพุทธ-ไทยมุสลิม
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    การสำรวจการยอมรับความหลากหลายวัฒนธรรมของครูในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย
    (2553-09) บัญญัติ ยงย่วน; จิระพันธ์ เดมะ; อินทิรา หิรัญสาย; มหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว; มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. คณะศึกษาศาสตร์; สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 1
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับการยอมรับความหลากหลายวัฒนธรรมของครูในสามจังหวัด ชายแดนภาคใต้ เพื่อเปรียบเทียบการยอมรับความหลากหลายวัฒนธรรมของครู ตามตัวแปร เพศ ศาสนา ระดับ การศึกษา สังกัดของโรงเรียน และภูมิลำเนา และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเข้าใจในวัฒนธรรมกับการ ยอมรับความหลากหลายวัฒนธรรมของครู กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนระดับประถมศึกษา ในสามจังหวัด ชายแดนภาคใต้ คือ ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส จำนวน 792 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสำรวจ การยอมรับความหลากหลายวัฒนธรรม และแบบวัดความเข้าใจในวัฒนธรรม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์พหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ครูไทยมุสลิมยอมรับ ความหลากหลายวัฒนธรรมด้านชาติพันธุ์ ภาษา ศาสนา ขนบประเพณี วิถีชีวิต และรวมทุกด้าน อยู่ในระดับ ค่อนข้างสูง ขณะที่ครูไทยพุทธยอมรับความหลากหลายวัฒนธรรมด้านชาติพันธุ์ ศาสนา ขนบประเพณี วิถีชีวิต และรวมทุกด้าน อยู่ในระดับค่อนข้างสูง แต่การยอมรับความหลากหลายวัฒนธรรมด้านภาษา อยู่ในระดับ ปานกลาง ครูในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีความแตกต่างกันด้านเพศ ศาสนา ระดับการศึกษา สังกัดของ โรงเรียน และภูมิลำเนา มีการยอมรับความหลากหลายวัฒนธรรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และพบว่า ความเข้าใจในวัฒนธรรมของครู ด้านชาติพันธุ์ ด้านภาษา ด้านขนบประเพณี ด้านวิถีชีวิต และความเข้าใจใน วัฒนธรรมโดยรวม มีความสัมพันธ์กับ การยอมรับความหลากหลายวัฒนธรรมในทิศทางบวก
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    Enriched environment attenuates changes in Water-Maze performance and BDNF level caused by prenatal alcohol exposure
    (2014-05-15) Rungpiyada Tipyasang; Sarun Kunwittaya; Sujira Mukda1; Nittaya J Kotchabhakdi; Naiphinich Kotchabhakdi; Mahidol University. Institute of Molecular Biosciences; Mahidol University. National Institute for Child and Family Development; Mahidol University. Ramathibodi Hospital. Faculty of Medicine
    Prenatal exposure to alcohol can result in fetal alcohol syndrome (FAS), characterized by significant changes in the physiology, structural plasticity of hippocampal function, including long-term deficits in learning and memory. Environmental enrichment has long been known to improve motor and cognitive function levels, causes several neurochemical and morphological alterations in the brain. Therefore, the effects of environmental enrichment on the neurobehavioral and neurotrophic changes in mice exposed prenatally to alcohol were investigated in this study. The pregnant dams were given 25 % ethanol (w/v) or isocaloric sucrose by liquid diet from gestation day 7 to 20. After weaning on postnatal day 28, offspring were exposed to standard cage (CC, CFAS) or enriched living conditions (CE, EFAS) for 8 weeks. Neurobehavioral studies both on hippocampus-dependent spatial learning and place and cue learning strategy, a striatum-dependent test, were measured by the Morris water maze task. Moreover, the reverse-transcriptase polymerase chain reaction (RT-PCR) technique was also used in order to study the expression of brain-derived neurotrophic factor (BDNF) level in both the hippocampus and striatum of mice. Neurobehavioral studies show that animals exposed prenatally to alcohol were impaired as shown in both hippocampal-dependent spatial/place and striatal-dependent response/cue learning tests. Moreover, the levels of BDNF expression both in the hippocampus and striatum of mice were also decreased. Interestingly, environmental enrichment can ameliorate the effects of prenatal alcohol exposure both on the neurobehavioral and neurotrophic levels. These observations indicated that enriched environment attenuated memory impairment of prenatal alcohol exposure both in hippocampal and striatal circuitry.
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    ผลของกิจกรรมศิลปะที่มีต่อการยอมรับความหลากหลายวัฒนธรรมของนักเรียนระดับมัธยมศีกษาที่อยู่ในองค์ประกอบห้องเรียนต่างกัน
    (2558) ชัยวัฒน์ ผดุงพงษ์; บัญญัติ ยงย่วน; มหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลของ การใช้กิจกรรมศิลปะในบริบทองค์ประกอบของ ห้องเรียนต่างกัน ที่ส่งผลต่อการยอมรับความหลาก หลายวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จังหวัดปัตตานี กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ของโรงเรียนในเขต อำเภอเมืองปัตตานี ประจำปีการศึกษา 2554 จำนวน 115 คน ซึ่งได้มาโดย การสุ่มแบบหลายขั้นตอน ประกอบด้วยห้องเรียน จำนวน 4 ห้อง 1) ห้องเรียนไทย พุทธ-ไทยมุสลิม ได้รับกิจกรรมศิลปะแบบพหุ วัฒนธรรม 2) ห้องเรียนไทยพุทธ-ไทยมุสลิม ได้รับ กิจกรรมศิลปะแบบปกติ 3) ห้องเรียนไทยมุสลิมล้วน ได้รับกิจกรรมศิลปะแบบพหุวัฒนธรรม และ4) ห้องเรียนไทยมุสลิมล้วน ได้รับกิจกรรมศิลปะแบบปกติ แบบแผนการทดลองคือ แบบพหุเหตุปัจจัย แบบมีกลุ่ม ควบคุม และทดสอบหลังการทดลอง เครื่องมือในการิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) แบบวัดการยอมรับความหลากหลาย วัฒนธรรม2) แบบวัดความตระหนักรู้ในวัฒนธรรม 3) แผนการจัดกิจกรรมศิลปะแบบพหุวัฒนธรรม และ 4) แผนการจัดกิจกรรมศิลปะแบบปกติ เวลาที่ใช้ใน การทดลอง คือสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ครั้งละ 2 คาบติดต่อกัน ต่อเนื่อง 14 สัปดาห์ สถิติที่ใช้ ได้แก่ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความ แปรปรวนร่วมแบบสองทางพบว่า 1) นักเรียนที่เข้าร่วม กิจกรรมศิลปะแบบพหุวัฒนธรรม และนักเรียนที่เข้าร่วม กิจกรรมศิลปะแบบปกติ มีการยอมรับความหลากหลาย วัฒนธรรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 2) นักเรียนในห้องเรียนไทยพุทธ-มุสลิม และ นักเรียนในห้องเรียนไทยมุสลิมล้วน มีการยอมรับความ หลากหลายวัฒนธรรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .05 3) ไม่พบกิริยาร่วมระหว่างกิจกรรม ศิลปะ และองค์ประกอบของห้องเรียน
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    โครงการศึกษาสภาวการณ์ต้นทุนชีวิต นักเรียนมัธยมทั่วประเทศ
    (2556) สุริยเดว ทรีปาตี; พรรณนิภา สังข์ทอง; สิริวิมล ศาลาจันทร; มหาวิทยาลัยมหิดล.สถาบันพัฒนาเด็กและครอบครัว
    จากแนวโน้มของปัญหาสังคมที่หลากหลาย หากวัยรุ่นไทยไม่มีความเข้มแข็งพอที่จะจัดการปัญหาที่ประสบได้ ย่อมนำไปสู่ทางออกที่ไม่พึงปรารถนา ดังนั้นจึงถือเป็นความจำเป็นและสำคัญ อย่างยิ่งที่จะต้องสร้างและเสริมภูมิคุ้มกันให้วัยรุ่นไทยได้มีต้นทุนชีวิตที่เข้มแข็ง พร้อมที่จะดำรงตน ได้อย่างปลอดภัยและมีความสุขสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้พัฒนาเครื่องมือแบบสำรวจ ต้นทุนชีวิต 5 พลัง (ประกอบด้วยพลังตัวตน พลังครอบครัว พลังสร้างปัญญา พลังเพื่อนและ กิจกรรม และพลังชุมชน) 48 ตัวชี้วัดเพื่อวางแผนพัฒนาตั้งแต่ระดับชุมชนท้องถิ่นในการพัฒนา เด็กและเยาวชนด้วยการสะท้อนวิถีชิวตตามตัวชี้วัดและนำประเด็นที่อ่อนแอหรือพลังที่อ่อนแอมา พัฒนาร่วมกันแบบมีส่วนร่วมAdolescent is an age group of the most vulnerable in risky behaviors but also be an age of the greatest opportunities for sustain and strengthening their well being. The National Institute for Child and Family Development, Mahidol University and Thai Health Promotion Foundation developed a tool of positive youth development in a Thai life style and culture which is called Life assets questionnaire with 48 indicators and five main power which is power of self, power of family, wisdom power, power of peer and power of community. The life assets (positive youth development) survey tool for Thai adolescents that was developed is a starting point for the development of community strategies to build up their weakest assets and also meaningful participation from the power which is the weakest one. The results of measuring the positive model indicators of Thai adolescents will allow us to know about the weak points in youths’ social immunity in various areas as power of social immunity in youth so that these indicators can be developed or promoted through activities that are in accordance with their needs.
  • Publication
    Improving neonatal health in South-East Asia
    (2012) H. Nair; G. Arya; J. Vidnapathirana; S. Tripathi; S.H. Talukder; V. Srivastava; Mahidol University. National Institute for Child and Family Development
    The countries in South-east Asia have wide disparities in socio-economic and health indicators. This region accounts for almost one-third of global mortality in neonates and children under 5 years of age, and many countries in the region are unlikely to attain Millennium Development Goal 4. Over the past decade, several countries have initiated innovative projects with the aim of improving child health. This paper examines the innovations in neonatal health in four countries – Bangladesh, India, Sri Lanka and Thailand – and analyses the extent to which these have been successful in meeting their goals. This case study will inform national governments and donor agencies wishing to scale up or modify existing neonatal health interventions.
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    Respondent-driven sampling: reaching male youth with drug use experience in Thailand
    (2011) Sawitri Thayansin; Mahidol University. National Institute for Child and Family Development.
    Respondent-Driven Sampling (RDS) was developed and has been widely used for recruiting sample from hard-to-reach populations such as populations at risk of HIV, injection drug users, males who have sex with males, and commercial sex workers. This article reports on the use of RDS technique in a research among Thai male youth aged 15-24 years who ever used drugs. Beginning with seventeen respondents who were used as initial seeds for recruiting more eligible subjects, the research was able to include 749 male youth with drug use experience in the sample. Majority of the recruited youth (41.3%) reported amphetamine as their first drug, followed by those who used mitragyna speciosa (20.1%), marijuana (17.2%), and inhalant (13.7%). Distribution of the sample youth recruited by this technique was found to be relatively normal which suggested that RDS was a reliable strategy for recruiting a sample of hard-to-reach populations. It is believed that this sampling technique can also be useful for the study of general hidden populations.
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    Cyber-bullying among secondary and vocational students in bangkok
    (2011) Nanthanat Songsiri; Wimontip Musikaphan; Mahidol University. National Institute for Child and Family Development.
    The objective of this research is to study the relationship between individual characteristics, the family context and cyber-bullying. We examine the nature, frequency, degree of violence and prevalence of cyber-bullying using data from a survey of 1,200 secondary and vocational students in Bangkok. The data were analyzed by using descriptive statistics. The results showed a considerable degree of cyberbullying among Thai youth. More than half had ever seen or heard of cyber-bullying occurring to their friends. About 11.0% of students had seen or heard online fights using electronic messages with angry and vulgar language more than 6 times per month. The potential relationship between cyber-bullying and duration of using the internet, family relationships, experience of violence in the family and family income is also examined.
  • Thumbnail Image
    PublicationOpen Access
    Influence of connectedness to parents and peers on drug use among male youth
    (2008-01) Sawitri Thayansin; Chai Podhisita; ชาย โพธิสิตา; Boonlert Leoprapai; Mahidol University. Institute for Population and Social Research
    Drug use, especially use of amphetamine, has been an increasing national problem in recent years despite much effort to control and suppress it. The main objective of this study was to understand the influence of parent and peer connectedness on drug use among male youth. This quantitative study employed Respondent Driven Sampling strategy to select male youth for interview. The sample consisted of 1,184 youth aged 15-24 years. Of all youth in the sample 70 percent were 15-19 years of age; about 54 percent were students and 63 percent had used some kind of illicit drugs. Analysis shows that nearly half of the sample with drug experience used amphetamines at their first try. About three-fourths of the users began drug using before age 20 with an average age at first use of 16.2. Logistic regression analysis revealed that youth who showed strong parent connectedness were less likely to use drugs, whereas those who showed strong peer connectedness were more likely to involve in drug use. The findings have significant policy implications. Successful programs for this purpose should enhance strong connectedness to parents while creating awareness of an undesirable aspect of peer influence among youth.