OP-Article
Permanent URI for this collectionhttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/3316
Browse
Recent Submissions
Publication Open Access แบบฟอร์มสัญญาการวิจัยทางคลินิก มหาวิทยาลัยมหิดล(2564) ชนินาถ สุริยะลังกา; Chaninart Suriyalunggaมหาวิทยาลัยมหิดล ดำเนินการให้บริการวิจัยทางคลินิกแก่แหล่งทุนภายนอกทั้งภาครัฐและภาคเอกชน โดยกองบริหารงานวิจัยเป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลักในการดำเนินงาน การดำเนินการทำวิจัยทางคลินิกจะต้องจัดทำสัญญาการจ้างวิจัย เพื่อเป็นการผูกพันกันทั้งสองฝ่ายให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ในสัญญา และมีผลบังคับในทางกฎหมาย ดังนั้น สัญญาการจ้างวิจัยจึงต้องมีเนื้อหาที่คลอบคลุม ในการจัดหายาหรืออุปกรณ์ สิทธิในผลงานตีพิมพ์ ทรัพย์สินทางปัญญา การประกันภัยอาสาสมัคร จริยธรรมการวิจัยในคน รวมทั้งการระงับข้อพิพาท เป็นต้น จากการให้บริการวิจัยทางคลินิก พบว่าบางแหล่งทุนไม่มีสัญญาการจ้างวิจัยทางคลินิก ดังนั้น กองบริหารงานวิจัยจึงจัดทำแบบฟอร์มสัญญาการวิจัยทางคลินิก มหาวิทยาลัยมหิดล สำหรับใช้เป็นสัญญาการจ้างวิจัยทางคลินิก ในกรณีที่แหล่งทุนไม่มีสัญญาจ้างวิจัย โดยแบบฟอร์มสัญญาฯ ประกอบด้วยเนื้อหาที่ครอบคลุมครบถ้วน อย่างเหมาะสม ทั้งนี้ เนื้อหาในแบบฟอร์มสัญญาฯ จะใช้การเขียนตามสัญญาทางกฎหมายและเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อสามารถใช้เป็นสัญญาที่ผูกพันคลอบคลุมทางกฎหมายได้และใช้ภาษากลางที่เข้าใจได้ง่ายกับทุกแหล่งทุน ซึ่งอาจจะทำให้ผู้จะนำแบบฟอร์มสัญญาฯ ไปใช้เข้าใจได้ยาก โดยบทความนี้จะสรุปเนื้อหาในแต่ละข้อของแบบฟอร์มสัญญาการวิจัยทางคลินิก มหาวิทยาลัยมหิดล (Clinical Trial Agreement Form, Mahidol University) เพื่อให้ผู้นำไปใช้เข้าใจได้ง่ายและตรงตามวัตถุประสงค์ในแบบฟอร์มสัญญาฯPublication Open Access การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและศักยภาพของหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์ประยุกต์ (หลักสูตรนานาชาติ) มหาวิทยาลัยมหิดล(2563) อุษามา แสงเสริม; อรทิพย์ กีรติวุฒิพงศ์; วัชราภรณ์ รัตนจารุ; ตรีศิรินทร์ เฉลิมกิติ; นิรมล รัตนสงเคราะห์; มหาวิทยาลัยมหิดล. สำนักงานอธิการบดี. กองทรัพยากรบุคคลจากวิกฤติการณ์ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจในยุคปัจจุบัน ส่งผลให้ระบบการศึกษาจำเป็นต้องปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงอีกทั้งยังต้องเชื่อมโยงความรู้ทั้งที่อยู่ในตำราเรียนและความรู้ที่ต้องอาศัยประสบการณ์และทักษะในการใช้ชีวิต ดังนั้น การศึกษายุคนี้จึงจำเป็นต้องนำเสนอทั้งโอกาสและทางเลือกให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างไม่มีขีดจำกัดตามความสนใจของตนเอง โดยที่ยังคงต้องรักษาไว้ซึ่งมาตรฐานและรับรองคุณภาพการศึกษาอย่างมีระบบเพื่อขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาและยกระดับการศึกษาของประเทศให้สามารถแข่งขันกับนานาชาติได้ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (SWOT ANALYSIS) จึงเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือในการประเมินศักยภาพของหลักสูตรเพื่อตอบสนองต่อบริบททางสังคมและสภาวะแวดล้อม ความต้องการทางวิชาการและวิชาชีพ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์ประยุกต์ (หลักสูตรนานาชาติ) เป็นหลักสูตรใหม่ของคณะศิลปะศาสตร์ มีนักศึกษาที่กำลังศึกษาทั้งสิ้น ๒ รุ่น จำนวน ๑๐ คน ได้ให้ความเห็นว่าหลักสูตรฯ มีทั้งจุดแข็งและจุดอ่อนและยังเสนอแนวทางการพัฒนา ทั้งในด้านอาจารย์ ด้านเนื้อหา ด้านสภาพแวดล้อม ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกและด้านการบริหารจัดการPublication Open Access การพัฒนาระบบบริหารจัดการข้อมูลการวิจัยทางคลินิก(2563) ชนินาถ สุริยะลังกา; พัชรีย์ จิตตพิทักษ์ชัย; Chaninart Suriyalungga; Patcharee Chittaphithakchai; มหาวิทยาลัยมหิดล. สำนักงานอธิการบดี. กองบริหารงานวิจัย; กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 5 สมุทรสงครามกองบริหารงานวิจัย เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบหลักในการประสานงานและบริหารจัดการโครงการวิจัยทางคลินิกของมหาวิทยาลัยมหิดล จำนวนโครงการในแต่ละปีงบประมาณมีจำนวนมากและมีแนวโน้มเพิ่มปริมาณขึ้น โดยการจัดการข้อมูลการวิจัยทางคลินิกเดิมใช้โปรแกรมระบบตารางคำนวณ (Microsoft Excel) ซึ่งพบปัญหา ดังเช่น การบันทึก สืบค้นและติดตามผล ซ้ำซ้อนและล่าช้า เป็นต้น ดังนั้น ผู้จัดทำจึงต้องการพัฒนาระบบการบริหารจัดการฐานข้อมูลการวิจัยทางคลินิก เพื่อให้การดำเนินงานด้านข้อมูลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยใช้โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล (Microsoft Access) เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการพัฒนาระบบการบริหารฯ ขอบเขตข้อมูลเป็นการดำเนินงานการวิจัยในทุกขั้นตอน ได้แก่ การตรวจสัญญาการวิจัยทางคลินิก การขึ้นทะเบียนโครงการ การเบิกจ่าย การรายงานความก้าวหน้า และการปิดโครงการ โดยทดสอบการบันทึกข้อมูลและการสืบค้นข้อมูลระหว่างโปรแกรมจัดการฐานข้อมูล และโปรแกรมระบบตารางคำนวณ พบว่า โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล เวลารวมในการการบันทึกข้อมูลมีประสิทธิภาพมากกว่าร้อยละ 43.71 และการสืบค้นข้อมูลมากกว่าร้อยละ 86.29 โดยในแต่ละขั้นตอนการดำเนินงานการวิจัยเปรียบเทียบความแตกต่างทางสถิติ ดังนี้ ขั้นตอนการตรวจสัญญาการวิจัยทางคลินิก (การบันทึกข้อมูล) และ การขึ้นทะเบียนโครงการ (การบันทึกข้อมูลและการรสืบค้นข้อมูล) ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกนั้นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยโปรแกรมจัดการฐานข้อมูล มีประสิทธิภาพมากกว่าร้อยละ ดังนี้ การตรวจสัญญาการวิจัยทางคลินิก (การสืบค้นข้อมูล 42.86), การเบิกจ่าย (การบันทึกข้อมูล 55.33, การสืบค้นข้อมูล 99.52), การรายงานความก้าวหน้า (การบันทึกข้อมูล 88.22, การสืบค้นข้อมูล 93.81) และการปิดโครงการ (การบันทึกข้อมูล 65.2, การสืบค้นข้อมูล 88.57) ประโยชน์ที่ได้รับจากการพัฒนาการบริหารจัดการข้อมูลวิจัยคลินิกโดยใช้โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยที่ต้องการระบบจัดเก็บข้อมูลการวิจัยทางคลินิก ที่รวดเร็ว ถูกต้อง อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ควรมีการพัฒนาต่อในด้านการกำหนดสิทธิ์การเข้าถึง ความจุของโปรแกรมในการเก็บและการวางแผนการสำรองข้อมูล (Back up) เพื่อให้ได้ระบบการจัดการฐานข้อมูลที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นต่อไปPublication Open Access การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและศักยภาพของหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์ประยุกต์ (หลักสูตรนานาชาติ) มหาวิทยาลัยมหิดล(2563) อุษามา แสงเสริม; อรทิพย์ กีรติวุฒิพงศ์; วัชราภรณ์ รัตนจารุ; ตรีศิรินทร์ เฉลิมกิติ; นิรมล รัตนสงเคราะห์; มหาวิทยาลัยมหิดล. สำนักงานอธิการบดี. กองทรัพยากรบุคคลจากวิกฤติการณ์ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจในยุคปัจจุบัน ส่งผลให้ระบบการศึกษาจำเป็นต้องปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงอีกทั้งยังต้องเชื่อมโยงความรู้ทั้งที่อยู่ในตำราเรียนและความรู้ที่ต้องอาศัยประสบการณ์และทักษะในการใช้ชีวิต ดังนั้น การศึกษายุคนี้จึงจำเป็นต้องนำเสนอทั้งโอกาสและทางเลือกให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างไม่มีขีดจำกัดตามความสนใจของตนเอง โดยที่ยังคงต้องรักษาไว้ซึ่งมาตรฐานและรับรองคุณภาพการศึกษาอย่างมีระบบเพื่อขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาและยกระดับการศึกษาของประเทศให้สามารถแข่งขันกับนานาชาติได้ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (SWOT ANALYSIS) จึงเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือในการประเมินศักยภาพของหลักสูตรเพื่อตอบสนองต่อบริบททางสังคมและสภาวะแวดล้อม ความต้องการทางวิชาการและวิชาชีพ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์ประยุกต์ (หลักสูตรนานาชาติ) เป็นหลักสูตรใหม่ของคณะศิลปะศาสตร์ มีนักศึกษาที่กำลังศึกษาทั้งสิ้น ๒ รุ่น จำนวน ๑๐ คน ได้ให้ความเห็นว่าหลักสูตรฯมีทั้งจุดแข็งและจุดอ่อนและยังเสนอแนวทางการพัฒนา ทั้งในด้านอาจารย์ ด้านเนื้อหา ด้านสภาพแวดล้อม ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกและด้านการบริหารจัดการPublication Open Access ปัญหาวันที่มีผลทางกฎหมายของคำสั่งลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรงจากการใช้อำนาจทางปกครอง(2563) วัชรพงศ์ พิพิธพรรณพงศ์; อาริยารักษ์ จันทะเขต; มหาวิทยาลัยมหิดล. สำนักงานอธิการบดี. กองกฎหมายการปกครองดูแลบุคลากรของผู้บริหารหรือผู้บังคับบัญชาขององค์กรหรือหน่วยงานต่าง ๆ ที่ใช้อำนาจทางปกครอง มีเครื่องมืออย่างหนึ่งที่สำคัญคือ วินัย หากบุคลากรผู้ใดฝ่าฝืนและไม่ยึดถือปฏิบัติตามแล้ว จะต้องถูกลงโทษอันเป็นผลร้ายแก่ตัวบุคลากรผู้นั้นเอง ซึ่งการลงโทษจะต้องทำเป็นหนังสือที่เป็นลายลักษณ์อักษร โดยคำสั่งลงโทษมีสถานะเป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ไม่ว่าจะเป็นคำสั่งลงโทษทางวินัยอย่างไม่ร้ายแรงหรือคำสั่งลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรงก็ตาม คำสั่งลงโทษทางวินัยจะต้องมีผลทางกฎหมายที่เป็นธรรมและไม่ขัดต่อกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คำสั่งลงโทษที่เป็นการลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรง หากมีความไม่เป็นธรรมหรือขัดต่อกฎหมายก็อาจถูกยกเลิกเพิกถอนในภายหลังได้ จากการศึกษาพบว่า วันที่มีผลทางกฎหมายของคำสั่งลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรงควรที่จะต้องเป็นวันที่บุคลากรผู้ถูกลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรงได้รับทราบคำสั่งลงโทษนั้น ตามมาตรา 42 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 และวันที่ประสงค์ที่จะให้มีผลทางกฎหมายของคำสั่งลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรงก็จะต้องสอดคล้องกับหลักกฎหมายปกครองPublication Open Access ความยินยอมในการทํานิติกรรมกับการก่อหนี้ร่วมระหว่างสามีและภริยา(2563) สุธาสินี สัณหรัติ; มหาวิทยาลัยมหิดล. สำนักงานอธิการบดี. กองกฎหมายPublication Open Access การคืนค่าธรรมเนียมการศึกษา(2563) กุลวดี ปุณทริกโกทก; มหาวิทยาลัยมหิดล. สำนักงานอธิการบดี. กองกฎหมายPublication Open Access การสั่งย้ายการปฏิบัติงานอย่างไรให้อยู่ภายใต้หลักธรรมาภิบาล(2563) เวียงพร ไกรเกียรติสกุล เภาทอง; มหาวิทยาลัยมหิดล. สำนักงานอธิการบดี. กองกฎหมายPublication Open Access ใบเสนอราคาจ้างใช้บังคับต่อคู่สัญญาได้เพียงใด ?(2563) อาริยารักษ์ จันทะเขต; มหาวิทยาลัยมหิดล. สำนักงานอธิการบดี. กองกฎหมายPublication Open Access ข้อบังคับมหาวิทยาลัยที่ออกมาใช้บังคับในปี พ.ศ.2563 เดือนมกราคม 2563 ถึง เดือนมิถุนายน 2563(2563) พัศนาภรณ์ แก้วสัมฤทธิ์; มหาวิทยาลัยมหิดล. สำนักงานอธิการบดี. กองกฎหมายPublication Open Access การให้สัญลักษณ์ F นักศึกษาที่ทุจริตในการสอบ(2563) สุนิสา ปริพฤติพงศ์; มหาวิทยาลัยมหิดล. สำนักงานอธิการบดี. กองกฎหมายPublication Open Access กำหนดระยะเวลาตามบทเฉพาะกาล(2563) พัศนาภรณ์ แก้วสัมฤทธิ์; มหาวิทยาลัยมหิดล. สำนักงานอธิการบดี. กองกฎหมายPublication Open Access การพ้นจากตำแหน่งของคณะกรรมการที่มีวาระการดำรงตำแหน่งตามวาระของผู้ที่แต่งตั้ง(2563) พัชร์ ทาสีลา; มหาวิทยาลัยมหิดล. สำนักงานอธิการบดี. กองกฎหมายPublication Open Access การออกคําสั่งให้เจ้าหน้าที่ชดใช้เงินค่าสินไหมทดแทน(2563) สุนิสา ปริพฤติพงศ์; มหาวิทยาลัยมหิดล. สำนักงานอธิการบดี. กองกฎหมายPublication Open Access การชำระค่าเช่าในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)(2563) พัชร์ ทาสีลา; มหาวิทยาลัยมหิดล. สำนักงานอธิการบดี. กองกฎหมายPublication Open Access การนับระยะเวลาการยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองกรณีต้องอุทธรณ์ก่อนฟ้องคดี(2563) ณัฐกิตติ์ สมสุข; มหาวิทยาลัยมหิดล. สำนักงานอธิการบดี. กองกฎหมายPublication Open Access ความแตกต่างผลทางกฎหมายระหว่าง “มาทำงานแต่ไม่ลงชื่อ” กับ “ลงชื่อแต่ไม่มาทำงาน”(2563) เวียงพร ไกรเกียรติสกุล เภาทอง; มหาวิทยาลัยมหิดล. สำนักงานอธิการบดี. กองกฎหมายPublication Open Access หลักการเขียนบทนิยามในข้อบังคับและประกาศของมหาวิทยาลัย(2563) วิชญาพร ไฝขาว; มหาวิทยาลัยมหิดล. สำนักงานอธิการบดี. กองกฎหมายPublication Open Access ผิดวินัยร้ายแรงเพราะเป็นผู้บังคับบัญชาแต่ปล่อยปละละเลยไม่ควบคุมดูแลจนผู้ใต้บังคับบัญชาทุจริต(2563) วัชรพงศ์ พิพิธพรรณพงศ์; มหาวิทยาลัยมหิดล. สำนักงานอธิการบดี. กองกฎหมายPublication Open Access กฎหมายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในประเทศไทย(2563) สุธาสินี สัณหรัติ; มหาวิทยาลัยมหิดล. สำนักงานอธิการบดี. กองกฎหมาย