SC-Proceeding Document
Permanent URI for this collectionhttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/62801
Browse
Recent Submissions
Item Open Access การจัดการสนามกีฬาระบบ MUSC-Gym(2564) ณัฐพัชร์ เหลืองสถิต; นิรมล สมจิตร; ปพิชญา นิเทศ; ศุภนันนท์ ไกรตะนะ; นัชย์นภัส เราอัครรุ่งเรือง; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะวิทยาศาสตร์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีสนามกีฬาอาคารสตางค์ มงคลสุข ให้บริการสนามกีฬา สระว่ายน้ำ และห้องออกกำลังกาย แก่นักศึกษา บุคลากรของคณะวิทยาศาสตร์ และบุคคลภายนอก มีขั้นตอนการขอใช้สนาม กีฬาหลายขั้นตอน ทำให้เกิดความไม่สะดวกและความล่าช้า ในการขอใช้ บริการสนามกีฬา จึงต้องพัฒนาระบบการทำงานเพื่อให้มีการบริการจัดการ การรองรับการขอใช้บริการสนามกีฬา สระว่ายนำ้ และห้องออกกำลังกาย ที่มี ประสิทธิภาพ และมีความสะดวกแก่ผู้มาใช้บริการมากขึ้น งานบริหารและ ธุรการ คณะวิทยาศาสตร์ ได้ร่วมมือกับงานพัฒนาระบบและเทคโนโลยี พัฒนาออกแบบระบบ MUSC-Gym นี้ขึ้นมา เพื่อนำระบบ MUSC-Gym มา ปรับใช้ในขั้นตอนต่าง ๆ ของสนามกีฬา แทนขั้นตอนการทำงานแบบเดิมที่มี หลายขั้นตอน และรองรับการชาระเงินค่าใช้บริการให้สะดวกยิ่งขึ้นItem Open Access ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการเรียนบทเรียนออนไลน์บทปฏิบัติการชีววิทยา ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล(2561) อัสนีย์ เหมกระศรี; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะวิทยาศาสตร์การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มี ต่อการเรียนบทเรียนออนไลน์บทปฏิบัติการชีววิทยา ด้านการใช้สื่อบทเรียน ออนไลน์ ด้านผลสัมฤทธิ์การเรียนบทเรียนออนไลน์ และด้านพฤติกรรมการ เรียนบทเรียนออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ นักศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดลที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา SCBI102 ปฏิบัติการชีววิทยา 1, รายวิชา SCBI 115 พื้นฐานแห่งชีวิต และรายวิชา SCBI 117 หลักมูลแห่ง ชีวิต ในภาคเรียนที่ 1 ปี การศึกษา 2560 จำนวน 1,164 คน เครื่องมือที่ใช้ใน การวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการ วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดลที่ลงทะเบียนเรียนบทเรียนออนไลน์บท ปฏิบัติการชีววิทยา มีความพึงพอใจด้านสื่อบทเรียนออนไลน์โดยรวมอยู่ใน ระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าทุกด้าน คือ ส่วนบทเรียนออนไลน์, ส่วนเนื้อหา, ส่วนแบบทดสอบ และส่วนภาพรวม อยู่ในระดับมาก 2) นักศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดลที่ลงทะเบียนเรียนบทเรียนออนไลน์บทปฏิบัติการชีววิทยา มีความพึงพอใจด้านผลสัมฤทธิ์การเรียนบทเรียนออนไลน์ในระดับมาก 3) นักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดลที่ลงทะเบียนเรียนบทเรียนออนไลน์บทปฏิบัติการ ชีววิทยามีพฤติกรรมในการเรียนรู้ในระดับมาก แนวทางการพัฒนา นักศึกษามี ระดับความสามารถในการเรียนรู้ต่างกัน นักศึกษาบางส่วนไม่สามารถบรรลุ วัตถุประสงค์การเรียนรู้ในเวลาที่กำหนด ควรกระตุ้นให้นักศึกษาศึกษาค้นคว้า ทบทวนบทเรียนเพิ่มเติมตามความสนใจเกี่ยวกับบทเรียนที่เรียนไปแล้ว เพื่อ ทำให้เกิดการพัฒนาความรู้อยู่เสมอ และควรเพิ่มการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่าง อาจารย์และนักศึกษา เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของนักศึกษาให้มีประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้นItem Open Access ปัจจัยที่ส่งผลต่อปัญหาการเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 2-4 ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล(2564) ภัคจิรา เกตุบุตร; อัสนีย์ เหมกระศรี; Puckjira Gatebute; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะวิทยาศาสตร์. ภาควิชาชีววิทยาการวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อปัญหาการเรียนของ นักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปี 2-4 ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลทาง สถิติ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยการ เรียนของนักศึกษาโดยรวมมีระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เมื่อ พิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด 1 ด้าน คือ ด้านหลักสูตร และในระดับมาก 4 คือ ด้านอาจารย์ผู้สอน, ด้านการประเมินผลการเรียน, ด้านอุปกรณ์และสื่อการเรียน และด้านผู้เรียน ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบ ปัจจัยที่ส่งผลต่อปัญหาการเรียนของนักศึกษาจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า จำแนกตามค่าใช้จ่ายต่อเดือนของนักศึกษา และจำแนกตามรายได้ เฉลี่ยต่อเดือนของผู้ปกครองไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05 2) แนวทางการพัฒนาการเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ภาควิชาชีววิทยาฯ ควรส่งเสริมให้นักศึกษาจัดสรรเวลาให้ถูกต้อง และควรจัด ให้มีบริการแนะแนวให้คำปรึกษาช่วยเหลือนักศึกษาในด้านต่าง ๆItem Open Access สภาพปัญหาและแนวทางการควบคุมภายในด้านการรับและจ่ายตามแนวคิดระบบ COSO คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล(2561) นันทิดา เอี่ยมอิ่ม; จารุณี มีสมบัติ; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะวิทยาศาสตร์การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหา และ 2) เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการดำเนินการควบคุมภายในด้านการรับและจ่าย ตามแนวคิดระบบ COSO ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ประชากร คือ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานด้านการเงินที่ประจำอยู่ในภาควิชา และหน่วยงานต่างๆภายในคณะวิทยาศาสตร์ จำนวน 110 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานด้านการเงินมีการควบคุมภายในด้านรับและจ่ายโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 51.00) ซึ่งอาจจะทำให้เกิดความเสี่ยงในการปฏิบัติงานด้านการรับและจ่าย 2) แนวทางการพัฒนาจึงควรมีการส่งข้อมูล ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศแนวทางปฏิบัติให้เป็นข้อมูลกลาง เข้าในระบบสารสนเทศและเพื่อให้เจ้าหน้าที่ ปฏิบัติงานด้านการเงินที่ประจำอยู่ในภาควิชา งาน และหน่วยงานต่างๆภายในคณะวิทยาศาสตร์ สามารถเข้าไปค้นหาข้อมูล ได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น สามารถทำความเข้าใจได้ด้วยตัวเอง เพื่อลดความเสี่ยงในการปฏิบัติงานด้านการรับและจ่าย ผู้วิจัยจึงขอเสนอแนะแนวทางในการมีขั้นตอนการปฏิบัติงาน หลักเกณฑ์และวิธีการควบคุมภายในถือปฏิบัติเป็นมาตรฐานเดียวกันอย่าง เคร่งครัด และติดตามประเมินผลItem Open Access แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานด้านการตรวจสอบเอกสารการเบิกจ่าย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล(2561) กฤษฎา สุวรรณานุรักษ์; วีรวัฒน์ เปล่งปลื้ม; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะวิทยาศาสตร์การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน และเสนอแนะแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานด้านการตรวจสอบเอกสารการเบิกจ่าย ประชาการที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 37 คน ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านกลยุทธ์ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เนื่องจากผู้ปฏิบัติงานบางส่วน อาจขาดความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย หรือ ไม่เข้าใจขั้นตอนการจัดทำเอกสาร แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพ ต้องมีการ กำหนดแนวทางและเป้าหมายของการขั้นตอนการทำงานให้ชัดเจนประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านกระบวนการ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เนื่องจากผู้ปฏิบัติงานบางส่วน อาจขาดความเข้าใจในกฎ ระเบียบที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงจากเดิม ทำให้ไม่สามารถให้คำแนะนำ หรือเสนอวิธีแก้ไขปัญหาได้แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพ ต้องมีการจัดทำรายงานวิเคราะห์ถึงสาเหตุของปัญหา และแนวทางการแก้ไขปัญหา ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านผลผลิต มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง เนื่องจากผู้ปฏิบัติงานบางส่วน อาจต้องการพัฒนาตนเองซึ่งเป็นประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านผลผลิต ที่ก่อให้เกิดประสิทธิผลที่ดีต่อองค์กร แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพ ต้องมีการเพิ่มพูนทักษะให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน เพื่อให้ทันต่อเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาItem Open Access แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล(2561) มลฤดี ธรรมรงค์; วันเพ็ญ วัดน้อย; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะวิทยาศาสตร์การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชี 2) เสนอแนะแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงาน ด้านการเงินและบัญชี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชี จำนวน 45 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชี มีสภาพการปฏิบัติงานด้านการเงิน และบัญชี โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าทุกข้ออยู่ในระดับ มาก เรียงตามลำดับ 3 ลำดับ คือ มีความรู้ความเข้าใจภาษาและคอมพิวเตอร์อย่าง เหมาะสมแก่การปฏิบัติงานในหน้าที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานด้านการเงิน และบัญชีอย่างต่อเนื่อง มีความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์ได้อย่างเหมาะสมกับ หน้าที่ 2) ข้อเสนอแนะ ควรมีการรายงานผลการดำเนินการใช้งบประมาณให้ เป็นไปตามแผนงานและงบประมาณ เพื่อให้เบิกจ่ายได้ทันกับแผนงานและ งบประมาณที่ตั้งไว้ 3) แนวทางการพัฒนา ควรจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานด้านการเงินและ บัญชี ควรเข้ารับการอบรมพัฒนาความรู้ด้านการเงินและบัญชี โดยกำหนดนโยบาย ให้ผู้ปฏิบัติงานเข้าอบรมสม่ำเสมอ เพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถของผู้ปฏิบัติงาน และเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานItem Open Access การศึกษาลักษณะและวิธีการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานด้านการเงินที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพงานของ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล(2561) ณัฏฐินี สุริยวงศ์; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะวิทยาศาสตร์การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะและวิธีการ ปฏิบัติงาน กระบวนการแก้ไขปัญหาและการพัฒนา ประชากรที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 26 คน ผลการวิจัยพบว่า 1. ลักษณะและวิธีการปฏิบัติงานห้องปฏิบัติงานมีพื้นที่เพียงพอ มีอุปกรณ์ทันสมัย ผู้ร่วมงานช่วยเหลือกันและผู้บังคับบัญชาให้การสนับสนุนให้ได้รับการอบรมรวมทั้งแจ้งข่าวสารให้ทราบอย่างสม่ำเสมอ ผู้ปฏิบัติงานจำเป็นต้องทราบขั้นตอนการขออนุมัติหลักการและการตรวจสอบเอกสารอย่างละเอียด การรอคอยเอกสารจากผู้อื่นจะดำเนินการเบิกเงินได้ช้า รวมทั้งผู้ปฏิบัติงานมีความเห็นว่าข้อบังคับ/ประกาศ ยุ่งยาก ไม่เอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติงาน 2. กระบวนการแก้ไขปัญหาการปฏิบัติงาน ผู้ปฏิบัติงานจบการศึกษาไม่ตรงกับงาน มีการแจ้งผู้เกี่ยวข้องให้ทราบถึงเอกสารการเบิกเงิน การจัดลำดับความสำคัญ การเก็บเอกสารจำแนกตามปีงบประมาณ การปรึกษาปัญหากับงานคลังและพัสดุ รวมทั้งการถ่ายรูปครุภัณฑ์และเก็บเป็นระบบ มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างชัดเจน 3. การพัฒนาการปฏิบัติงาน การนำทฤษฎี PDCA มาประยุกต์ใช้ 1)การวางแผนการดำเนินงานแต่ละเดือน 2) ปฏิบัติตามแผนตามความสำคัญของงานและขั้นตอน 3) ตรวจสอบแผนและผลการปฏิบัติงาน 4) ปรับปรุงแก้ไขขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติงานItem Open Access ความพึงพอใจต่อการใช้แบบฟอร์มการเบิกจ่ายเงินแบบใหม่ ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหิดล ว่าด้วย การบริหารเงินอุดหนุนการวิจัย พ.ศ.2560(2561) วีรวัฒน์ เปล่งปลื้ม; กฤษฎา สุวรรณานุรักษ์; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะวิทยาศาสตร์การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อ แบบฟอร์มการเบิกจ่ายเงินแบบใหม่ ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหิดล ว่าด้วย การบริหารเงินอุดหนุนการวิจัย พ.ศ. 2560 และ 2) เพื่อเสนอแนะแนว ทางการพัฒนาปรับปรุงแบบฟอร์มการเบิกจ่ายเงินอุดหนุนการวิจัยให้มี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ หัวหน้าโครงการวิจัย จำนวน 1 คน เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องประจำแต่ละโครงการวิจัยจำนวน 8 คน และนักวิชาการพัสดุจำนวน 1 คน รวมทั้งสิ้น 10 คน เก็บข้อมูลโดยการใช้ แนวคำถามสำหรับการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) เป็นคำถามที่ ผู้วิจัยวิเคราะห์จากสภาพปัญหาของกระบวนการเบิกจ่ายเงินอุดหนุนการวิจัย ที่มีการเปลี่ยนแปลงแบบฟอร์มการเบิกจ่ายเงินแบบเก่า และความพึงพอใจต่อ แบบฟอร์มการเบิกจ่ายเงินแบบใหม่ ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหิดล ว่าด้วย การบริหารเงินอุดหนุนการวิจัย พ.ศ. 2560 โดยการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัย เชิงคุณภาพครั้งนี้ทำโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis)Item Open Access ความคิดเห็นของผู้ปฏิบัติงานต่อการให้บริการด้านการเบิกจ่ายเงินอุดหนุนการวิจัยงานคลังและพัสดุ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล(2561) วันเพ็ญ วัดน้อย; สุนันทา สมวจีเลิศ; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะวิทยาศาสตร์การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นต่อการให้บริการด้านการเบิกจ่ายเงินอุดหนุนการวิจัย และ 2) เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพการให้บริการด้านการเบิกจ่ายเงินอุดหนุนการวิจัย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ปฏิบัติงานด้านการเบิกจ่ายเงินอุดหนุนการวิจัย จำนวน 45 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ปฏิบัติงานด้านการเบิกจ่ายเงินอุดหนุนการวิจัย มีความคิดเห็นต่อการให้บริการด้านการเบิกจ่ายเงินอุดหนุนการวิจัยในแต่ละด้านโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าทุกด้านอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับ คือ ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ สิ่งอำนวยความสะดวก คุณภาพการให้บริการ และกระบวนการ/ขั้นตอนการให้บริการ 2) ข้อเสนอแนะ เอกสารแนบการเบิกจ่ายให้น้อยลง ขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ชัดเจน เพื่อลดกระบวนการเบิกจ่าย ทำให้กระบวนการเบิกจ่ายเร็วขึ้น 3) แนวทางการพัฒนา จัดทำคู่มือการเบิกจ่ายเงินอุดหนุนการวิจัยปรับเปลี่ยนรูปแบบเอกสารการเบิกจ่าย ลดขั้นตอนการปฏิบัติงานเพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานItem Open Access คุณภาพการให้บริการด้านการจ่ายเช็ค หน่วยการเงิน งานคลังและพัสดุ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล(2561) สุนันทา สมวจีเลิศ; วันเพ็ญ วัดน้อย; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะวิทยาศาสตร์การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาคุณภาพการให้บริการด้าน การจ่ายเช็ค 2) เสนอแนะแนวทางการพัฒนาคุณภาพการให้บริการด้านการจ่ายเช็ค หน่วยการเงิน งานคลังและพัสดุ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กลุ่ม ประชากรที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 182 ราย ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ที่ได้รับ มอบหมายจากบริษัท ห้างหุ้นส่วน จำกัด ร้านค้าให้ทำการรับเช็ค โดยการเก็บ รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัย พบว่า 1) ผู้ใช้บริการด้านการจ่ายเช็ค หน่วยการเงิน งานคลังและพัสดุ คณะ วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีความคิดเห็นต่อการให้บริการด้านการจ่ายเช็ค โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ข้อเสนอแนะ ควรมีช่องทางที่สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่าง สะดวกรวดเร็ว ควรมีช่องทางการรับฟังความคิดเห็นของผู้ใช้บริการ ควรใช้เอกสาร ในการรับเช็คให้น้อยลง และควรมีขั้นตอนการปฏิบัติอย่างชัดเจน 3) แนวทางการพัฒนา จัดทำรูปแบบวิธีการแจ้งข้อมูลข่าวสารให้ ผู้ใช้บริการเข้าใจมากยิ่งขึ้น และชี้แจงลำดับขั้นตอนการให้บริการอย่างชัดเจน เพื่อ เพิ่มคุณภาพการให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพItem Open Access ความพึงพอใจของผู้ปฏิบัติงานประเภทสนับสนุนต่อการให้บริการของหน่วยพัสดุ งานคลังและพัสดุ สำนักงานคณบดี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล(2561) จิรายุ ธนาวุฒิ; อารีรัตน์ บุญทองสุข; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะวิทยาศาสตร์การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้ปฏิบัติงานประเภทสนับสนุนต่อการให้บริการ เปรียบเทียบความพึงพอใจจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการให้บริการ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ปฏิบัติงานประเภทสนับสนุนภายในคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 181 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม ใช้การทดสอบค่าที่ในกรณีตัวแปรต้น 2 กลุ่ม และทดสอบค่าเอฟ กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัย พบว่า 1. ผู้ปฏิบัติงานประเภทสนับสนุนมีความพึงพอใจต่อการให้บริการโดยรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.05 คะแนน) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความเท่าเทียมกันในการให้บริการอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.31 คะแนน) ส่วนด้านความต่อเนื่องในการให้บริการ ด้านความก้าวหน้าในการให้บริการ ด้านความรวดเร็วในการให้บริการ และด้านความเพียงพอใน การให้บริการอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.17, 4.12, 3.39 และ 3.71 คะแนน ตามลำดับ) 2. ผู้ปฏิบัติงานประเภทสนับสนุนที่มีปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกันประกอบด้วย เพศ หน่วยงานที่สังกัด ระดับการศึกษา และสถานภาพของบุคลากร มีความพึงพอใจต่อการให้บริการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ 0.05 3. ข้อเสนอแนะ ควรเพิ่มความรวดเร็วในการให้บริการ ความต่อเนื่องและความก้าวหน้าในการให้บริการ และความเพียงพอในการให้บริการ เพื่อให้ผู้มารับบริการมีความพึงพอใจที่เพิ่มมากขึ้น และแนวทางการพัฒนา ควรลดขั้นตอนในการปฏิบัติงานให้น้อยลง ปรับเปลี่ยนรูปแบบของเอกสารที่มีความซับซ้อน เพื่อที่ให้เกิดความเข้าใจที่ง่ายยิ่งขึ้น และเพิ่มช่องทางในการติดต่อสื่อสารและให้บริการกับผู้มารับบริการItem Open Access การศึกษาความรู้ความเข้าใจด้านการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมและค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล(2561) จารุณี มีสมบัติ; ณัฏฐินี สุริยวงศ์; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะวิทยาศาสตร์การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความรู้ความเข้าใจด้านการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และ 2) เสนอแนะแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพด้านการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมและค่าใช้จ่ายในการเดินทางคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ปฏิบัติงานด้านการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง จำนวน 45 คน ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้ปฏิบัติงานด้านการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง มีความรู้ความเข้าใจต่อการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2. ข้อเสนอแนะ ควรจัดฝึกอบรมให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน เพื่อเพิ่มความรู้ความเข้าใจในระเบียบ อัตราการเบิกจ่าย และสิทธิการเบิกจ่ายของตนเองได้อย่างถูกต้อง 3. แนวทางการพัฒนา ควรจัดทำคู่มือการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง คู่มือการปฏิบัติงาน โดยระบุทางเดินเอกสาร ขั้นตอนการเบิกจ่าย ระเบียบ อัตราการเบิกจ่าย และสิทธิการเบิกจ่าย เพื่อลดข้อผิดพลาดเกี่ยวกับการเบิกจ่าย และลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง