SI-Work Manual
Permanent URI for this collectionhttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/78
Browse
Recent Submissions
Item Metadata only คู่มือปฏิบัติงาน เรื่อง คู่มือการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดขอดในสมองที่มารับการผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะเพื่อตัดกลุ่มหลอดเลือดขอดในสมองที่ผิดปกติออกในระยะผ่าตัด(2565) วัลยา โชติการณ์โรคหลอดเลือดขอดในสมอง (arteriovenous malformation) เป็นความผิดปกติของหลอดเลือดในกะโหลกศีรษะที่เชื่อมต่อระหว่างระบบหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำในเนื้อสมองและไม่ผ่านระบบหลอดเลือดฝอย (capillary) ซึ่งเป็นความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด จะเห็นเป็นกลุ่มของหลอดเลือดที่ประกอบไปด้วยหลอดเลือดแดงต่อเข้ากับกลุ่มหลอดเลือดผิดปกติ จากนั้นก็จะไหลออกทางหลอดเลือดดำที่มีขนาดใหญ่ โรคหลอดเลือดขอดในสมองเป็นโรคหลอดเลือดสมองที่พบบ่อย และเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตได้ถึง 12.7% หากมีการแตกของหลอดเลือดขอดในสมองขึ้น (ruptured arteriovenous malformation) และพบการเกิดโรคได้ถึง 0.14% ของประชากรโลก โดยทั่วไปผู้ป่วยจะมาพบแพทย์โดยมีกลุ่มอาการที่เกิดจากหลอดเลือดแตก ได้แก่ ปวดศีรษะ อาเจียน ซึ่งเกิดขึ้นทันที ในบางรายอาจหมดสติถ้าเลือดออกมามากจนเป็นก้อนเลือดขนาดใหญ่ (hematoma) นอกจากนั้นอาจมีอาการผิดปกติ เนื่องจากการทำงานที่ผิดปกติไปของสมองบริเวณที่หลอดเลือดแตก เช่น อาการอ่อนแรง ชาของแขนและขา พูดไม่ได้ และกลุ่มอาการหลอดเลือดสมองที่ผิดปกติไปกดเบียดสมองทำให้เกิดความดันสูงในสมอง เกิดอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง มีอาการชาตามส่วนต่างๆของร่างกาย กล้ามเนื้ออ่อนแรง เสียการทรงตัว อัมพาต มีการสูญเสียการมองเห็น หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ถึงขั้นรุนแรงจนสมองบวม อาจเกิดอาการชัก และเสียชีวิตได้ การรักษาโรคหลอดเลือดขอดในสมอง โดยทั่วไปใช้วิธีการผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะเพื่อตัดกลุ่มหลอดเลือดขอดในสมองที่ผิดปกติออกผ่านทางกล้องจุลทรรศน์ศัลยกรรม ในปัจจุบันที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทางการแพทย์มากขึ้น จึงได้มีการนำวิวัฒนาการทางการแพทย์ใหม่ ๆ มาใช้ในการรักษาคือ การผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะร่วมกับการตรวจหลอดเลือดสมองในขณะผ่าตัด (intraoperative cerebral angiogram) ซึ่งเป็นการผ่าตัดด้วยการฉีดสารทึบรังสีไปตามหลอดเลือดแดงที่บริเวณขาหนีบของผู้ป่วยในขณะผ่าตัดโดยรังสีแพทย์ เป็นการตรวจสอบกายวิภาคและยืนยันตำแหน่งของหลอดเลือดให้ชัดเจนที่สุด เพื่อให้ประสาทศัลยแพทย์ตัดกลุ่มหลอดเลือดขอดในสมองที่ผิดปกติออกได้หมด ครบถ้วนสมบูรณ์ เพิ่มความแม่นยำในการผ่าตัดยิ่งขึ้น และลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด ส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับความปลอดภัย และกลับคืนสู่ภาวะปกติได้เร็วมากที่สุด สถิติการผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะร่วมกับการทำ intraoperative cerebral angiogram ของหน่วยผ่าตัดประสาทศัลยศาสตร์โรงพยาบาลศิริราช ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560-2564 ได้แก่ 7 ราย 1 ราย 6 ราย 4 ราย และ 3 ราย ตามลำดับ ซึ่งการผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะร่วมกับการทำ intraoperative cerebral angiogram เป็นการผ่าตัดใหญ่ที่มีขั้นตอนการผ่าตัดที่ยุ่งยากซับซ้อนต้องใช้ระยะในการผ่าตัดยาวนาน ส่งผลให้ผู้ป่วยมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดได้ เช่น ภาวะตกเลือดในสมอง (intracerebral hemorrhage) ภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง (increased intracranial pressure : IICP) เนื่องจากก้อนเลือดและกลุ่มหลอดเลือดขอดในสมองไปกดเบียดภาวะสมองบวมจนอาจเกิดอาการชักและหมดสติหรือเสียชีวิตได้ และการผ่าตัดนี้เป็นการทำงานร่วมกับสหสาขาวิชาชีพ ได้แก่ รังสีแพทย์ พยาบาลรังสีร่วมรักษา ต้องใช้เครื่องมือสำหรับการผ่าตัดจำนวนมาก เช่น เครื่องมือพิเศษสำหรับผ่าตัดเกี่ยวกับหลอดเลือดเลือดสมอง คีมหนีบหลอดเลือดสมอง อุปกรณ์สำหรับใส่สายสวนบริเวณขาหนีบเพื่อตรวจดูกายวิภาคหลอดเลือด เป็นต้น ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยทักษะ ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ของพยาบาลห้องผ่าตัด ปัจจุบันหน่วยงานยังไม่มีคู่มือปฏิบัติการพยาบาลเพื่อดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ ดังนั้นคู่มือการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดขอดในสมองที่มารับการผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะเพื่อตัดกลุ่มหลอดเลือดขอดในสมองที่ผิดปกติออกในระยะผ่าตัดนี้ จึงจัดทำขึ้นสำหรับพยาบาลห้องผ่าตัดในหน่วยผ่าตัดประสาทศัลยศาสตร์และผู้ที่สนใจ โดยเนื้อหาสาระประกอบด้วยการจัดเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ในการผ่าตัดได้อย่างถูกต้อง และแนวทางในการดูแลผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัด ทั้งในระยะก่อนผ่าตัด ระยะผ่าตัด และระยะหลังผ่าตัดอย่างถูกต้องตามมาตรฐานเป็นแนวทางเดียวกัน เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ทางการพยาบาลที่ดีคือผู้ป่วยได้รับความปลอดภัยและไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดItem Metadata only คู่มือปฏิบัติงาน เรื่อง การบันทึกปัญหาเหตุขัดข้องเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ และ ระบบสารสนเทศบนระบบ Enterprise Helpdesk(2567) มลฤดี พึ่งสวัสดิ์ฝ่ายสารสนเทศ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ดำเนินการบริหารจัดการระบบสารสนเทศ ของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลให้มีเสถียรภาพ มั่นคง และปลอดภัยได้ตามมาตรฐานสากล โดยมีเป้าหมาย เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศให้ทันสมัยเอื้ออำนวยให้กระบวนการปฏิบัติงานของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทายาลัยมหิดล เป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพ ทั้งด้านบริการทางการแพทย์ การศึกษา การวิจัย และวิชาการ พัฒนาระบบฐานข้อมูลของคณะฯ ทุกๆ ด้านให้ถูกต้อง เชื่อถือได้ ทั้งข้อมูลการแพทย์ ข้อมูลการเงิน ข้อมูลการบริหาร พัฒนาความรู้ด้านสารสนเทศแก่บุคลากรในคณะฯ ดูแลระบบสารสนเทศให้ดำเนินการได้ตลอดเวลาและ เกิดประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อให้การบริการของฝ่ายสารสนเทศไม่หยุดชะงักเมื่อเกิดเหตุขัดข้องเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์หรือ ระบบสารสนเทศของฝ่ายสารสนเทศ จึงได้มีการจัดตั้งทีมรับแจ้งปัญหาระบบคอมพิวเตอร์ IT Helpdesk เพื่อให้บริการรับแจ้งปัญหาระบบคอมพิวเตอร์ และระบบสารสนเทศ โดยหน้าที่ความรับผิดชอบหลักคือ การให้คำปรึกษาแนะนำ การแก้ไขปัญหาเบื้องต้น ประสานงานผู้เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาให้กับผู้ใช้งานรวมถึงการบันทึกรายละเอียดเหตุขัดข้องที่เกิดขึ้น วิธีการแก้ไขเหตุขัดข้อง สาเหตุของเหตุขัดข้อง ลงบนระบบ Enterprise Helpdesk เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถตรวจสอบ และติดตามผลการดำเนินการเหตุขัดข้องที่เกิดขึ้นได้รับการแก้ไข ทั้งนี้ฝ่ายสารสนเทศสามารถนำข้อมูลที่มีการจัดเก็บมาวิเคราะห์ปัญหาหรือเหตุขัดข้องที่เกิดขึ้นเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาหรือเหตุขัดข้องที่เกิดขึ้นได้อย่างแท้จริง และรวดเร็ว เป็นการลดเวลาในการแก้ไข และเป็นการลดปัญหาหรือเหตุขัดข้องที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ ทั้งนี้ฝ่ายสารสนเทศจึงมีการจัดหาโปรแกรม เพื่อใช้ในการจัดเก็บข้อมูลการรับแจ้งปัญหาหรือเหตุขัดข้องระบบคอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศ โดยได้มีการนำระบบ Enterprise Helpdesk มาใช้งานเพื่อเพื่ออำนวยความสะดวกในการบันทึกข้อมูลการรับแจ้งปัญหาระบบคอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศภายในคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และเป็นการเพิ่มช่องทางให้กับผู้ใช้งาน (User) ในการติดต่อเพื่อแจ้งปัญหา และติดตามเหตุขัดข้องรวมทั้งเป็นระบบที่ช่วยในการจัดการการรับแจ้งปัญหาเหตุขัดข้อง ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการบริการ และการประสานงานระหว่างเจ้าหน้าที่ภายในฝ่ายสารสนเทศ และผู้เกี่ยวข้องในการให้บริการหรือแก้ไขปัญหาเหตุขัดข้องต่างๆ ของฝ่ายสารสนเทศให้ดียิ่งขึ้น คู่มือปฏิบัติงานการบันทึกปัญหาเหตุขัดข้องเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศบนระบบ Enterprise Helpdesk เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานของทีมรับแจ้งปัญหาระบบคอมพิวเตอร์ IT Helpdesk และผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องที่ปฏิบัติงานในลักษณะเดียวกัน สามารถดำเนินการงานเป็นไปในมาตรฐานเดียวกันItem Metadata only คู่มือปฏิบัติงาน เรื่อง การจัดอบรมความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ (IT Security Awareness)(2567) นงนุช โกสียรัตน์ปัจจุบันคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับการรับรองมาตรฐานความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ ISO/IEC 27001 : 2013 โดยคณะฯ ได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนองค์กร ไปสู่ระดับสากล ในปัจจุบัน การใช้สื่อสารสนเทศ เพื่อการบริหารและดำเนินการพันธกิจด้านต่าง ๆ ของคณะฯ เป็นไปอย่างกว้างขวาง และมีบทบาทสำคัญจนกลายเป็นแกนสำคัญ (Backbone) ที่ขาดไม่ได้ สิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งของการใช้งานระบบสารสนเทศ คือ ความน่าเชื่อถือ (Trusted) ที่ต้องมีทั้ง Confidentiality, Integrity และ Availability และการทำงานในระบบสารสนเทศ จำเป็นต้องมีมาตรฐานความปลอดภัยในระดับสากล ตามมาตรฐาน ISO 27001: 2013 ซึ่งในมาตรการการลดความเสี่ยงนั้น จะต้องมีทั้งเครื่องมือ แนวทางปฏิบัติ และบุคลากรที่ทำหน้าที่ตามกระบวนการ Cyber Security Framework Identity, Protect, Detect, Response และ Recover และจุดอ่อนที่องค์กรอาจจะเกิดการถูกโจมตีได้นั้นก็คือ การ Protect ในระดับ บุคลากร หรือ User ของระบบ ซึ่งสามารถเข้าถึง (Access) ระบบสารสนเทศได้ตามสิทธิ และหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย หากบุคลากรซึ่งจะต้องใช้งานระบบสารสนเทศทั้งในการทำงาน และส่วนตัวละเลยมาตรการด้านความปลอดภัยสารสนเทศ ก็จะเป็นช่องทางการโจมตี หรือรั่วไหลของระบบ ผ่านการใช้งานของบุคลากร เพื่อเป็นการป้องกันปัญหา ลดความเสี่ยง และสร้างความตระหนักรู้ความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศให้กับบุคลากรคณะฯ ฝ่ายสารสนเทศ จึงได้ดำเนินการสร้างกระบวนการเรียนรู้ประเมินความรู้ และสะท้อนกลับ ให้กับบุคลากร ครอบคลุมทั้งองค์กร ในการนี้ เพื่อการขับเคลื่อนพันธกิจดังกล่าวให้บรรลุวัตถุประสงค์ และตามประกาศคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง หลักเกณฑ์การรับทราบจรรยาบรรณบุคลากรและวิธีการพัฒนาบุคลากร ด้านความปลอดภัยตามมาตรฐาน พ.ศ. 2564 ซึ่งในปัจจุบันบุคลากรคณะฯ มีจำนวน 16,563 คน ฝ่ายสารสนเทศได้ดำเนินการจัดอบรมให้บุคลากรดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว 12,647 คน ทั้งนี้ งานบริการสารสนเทศและฝึกอบรม ฝ่ายสารสนเทศ เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบหลักในการดำเนินงาน ผู้ปฏิบัติงานจึงต้องมีทักษะในการบริหารจัดการอบรมที่มีความซับซ้อน และต้องมีความละเอียดรอบคอบ ในการจัดทำเนื้อหาการสอน การนำเนื้อหาเข้าสู่ระบบการเรียนการสอนออนไลน์และการวัดผลประเมินผล พร้อมทั้งสามารถรายงานผลการอบรมให้กับบุคลากรรับทราบทั้งระดับตนเอง หน่วยงานและระดับคณะฯ ผู้จัดจึงจัดทำคู่มือปฏิบัติงานเรื่อง การจัดอบรมความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ (IT Security Awareness) เพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติงานของหน่วยงาน ซึ่งได้รวบรวม ระเบียบ ประกาศ ขั้นตอนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องItem Metadata only คู่มือปฏิบัติงาน เรื่อง การขออนุมัติเบิกจ่ายเงินศิริราชมูลนิธิ(2566) อรรถกร อินทรโกสุมItem Metadata only Item Metadata only คู่มือปฏิบัติงาน เรื่อง การจัดประชุมภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล(2566) อรรถกร อินทรโกสุมItem Metadata only Item Metadata only Item Metadata only Item Metadata only Item Metadata only Item Metadata only Item Metadata only Item Metadata only Item Metadata only Item Metadata only คู่มือปฏิบัติงาน เรื่อง กิจกรรมการสอนกลุ่มภาษาไทยโดยวิธีการสอนตรง(2564) นุชเนตร ดำรงรุ่งเรืองItem Metadata only คู่มือปฏิบัติงาน เรื่อง การให้บริการสอนเสริมภาษาไทยเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้(2567) นุชเนตร ดำรงรุ่งเรือง