ผลของโปรแกรมการกำกับตนเองต่อการออกกำลังกายของผู้สูงอายุชาวไทยมุสลิมที่เป็นโรคเบาหวานในชุมชน กรุงเทพมหานคร
Issued Date
2553
Copyright Date
2553
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ญ, 161 แผ่น : ภาพประกอบ
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การพยาบาลสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2553
Suggested Citation
วรรณา งามประเสริฐ ผลของโปรแกรมการกำกับตนเองต่อการออกกำลังกายของผู้สูงอายุชาวไทยมุสลิมที่เป็นโรคเบาหวานในชุมชน กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การพยาบาลสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2553. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93065
Title
ผลของโปรแกรมการกำกับตนเองต่อการออกกำลังกายของผู้สูงอายุชาวไทยมุสลิมที่เป็นโรคเบาหวานในชุมชน กรุงเทพมหานคร
Alternative Title(s)
Effects of self-regulation program on exercise among Thai Muslim elderly with diabetes in community, Bangkok Metropolitan
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการกำกับตนเองต่อการออกกำลังกายของผู้สูงอายุชาวไทยมุสลิมที่เป็นโรคเบาหวานในชุมชนเขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ 30 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการกำกับตนเองต่อการออกกำลังกาย ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบได้รับการพยาบาลตามปกติ สำ หรับโปรแกรมการกำกับตนเอง ประกอบด้วยกิจกรรมในเรื่องการสังเกตตนเอง กระบวนการตัดสินใจ และ การแสดงปฏิกิริยาต่อตนเอง โดยกลุ่มทดลองเลือกออกกำลังกายด้วยวิธีการเดินเร็วประมาณวันละ 30 นาที สัปดาห์ละ 3-5 วัน ตามวิถีการดำเนินชีวิตประจำวัน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลคุณลักษณะประชากร และ พฤติกรรมการออกกำลังกาย การทดสอบสมรรถนะร่างกายโดยการเดินทดสอบ 6 นาที (6-minute walk test ) ก่อน และหลังการทดลอง ใช้ระยะเวลาในการศึกษาวิจัยทั้งสิ้น 8 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลและนำเสนอด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนเบี่ยงเบนควอไทล์ Chi-square, Mann-Whitney test, Paired t-test และ Independent t-test ภายหลังการทดลอง พบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการออกกำลังกายและ สมรรถนะร่างกาย (Cardiovascular fitness) มากกว่าก่อนการทดลอง และมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) ผลการวิจัยพบว่า โปรแกรมการกำกับตนเองต่อการออกกำลังกาย มีผลต่อการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมการออกกำลังกายและสมรรถนะร่างกายของผู้สูงอายุชาวไทยมุสลิมที่เป็นโรคเบาหวานในทางที่ ดีขึ้น จึงเป็นแนวทางจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพด้านการออกกำลังกายโดยประยุกต์ใช้โปรแกรมการกำกับ ตนเองในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโรคเรื้อรังอื่น ๆ ในชุมชนต่อไป
Description
การพยาบาลสาธารณสุข (มหาวิทยาลัยมหิดล 2553)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
คณะสาธารณสุขศาสตร์
Degree Discipline
การพยาบาลสาธารณสุข
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล