Design and synthesis of chromone derivatives as plasmepsin II inhibitors
Issued Date
2012
Copyright Date
2012
Resource Type
Language
eng
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
xvi, 110 leaves : ill.
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
Mahidol University
Bibliographic Citation
Thesis (M.Sc. (Pharmaceutical Chemistry and Phytochemistry))--Mahidol University, 2012
Suggested Citation
Pradith Lerdsirisuk Design and synthesis of chromone derivatives as plasmepsin II inhibitors. Thesis (M.Sc. (Pharmaceutical Chemistry and Phytochemistry))--Mahidol University, 2012. Retrieved from: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/95139
Title
Design and synthesis of chromone derivatives as plasmepsin II inhibitors
Alternative Title(s)
การออกแบบและสังเคราะห์อนุพันธุ์ของโครโมนเพื่อใช้เป็นสารยับยั้งเอนไซม์พลาสเมบซิน 2
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
พลาสเมบซิน II เป็นเอนไซม์ในกลุ่มแอสปาติกโปรทีเอส ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการย่อยสลาย ฮีโมโกลบินภายในถุงอาหารของเชื้อปรสิต ซึ่งเกิดขึ้นระหว่างช่วงวงจรชีวิตที่เชื้ออาศัยอยู่ภายในเม็ดเลือดแดง เอนไซม์ชนิดนี้ได้รับความสนใจในการเป็นเป้าหมายสำหรับการออกแบบยาที่คาดว่าจะเป็นยาต้านมาลาเรีย เนื่องจากเอชไอวี-1โปรทีเอส เป็นเอนไซม์ในกลุ่มของแอสปาติกโปรทีเอสเช่นเดียวกับพลาสเมบซิน สารซึ่งยับยั้ง เอชไอวี-1โปรทีเอสหลายชนิดสามารถออกฤทธิ์ยับยั้งพลาสเมบซิน II และมีฤทธิ์ต้านมาลาเรียกับเชื้อพลาสโม- เดียม ฟาลซิปารัมได้ จากการค้นพบเหล่านี้บ่งชี้ว่าสารยับยั้งเอชไอวี-1โปรทีเอส อาจช่วยในการกำจัดเชื้อพลาสโม- เดียมและใช้เป็นยาต้านมาลาเรียได้ การคัดกรองเบื้องต้นในการออกฤทธิ์ยับยั้งพลาสเมบซิน II ของอนุพันธุ์ โครโมนจำนวน 46 อนุพันธุ์ ซึ่งได้สังเคราะห์ในงานวิจัยก่อนหน้านี้และพบว่ามีฤทธิ์ยับยั้งเอชไอวี-1โปรทีเอส ทำ โดยวิธีด๊อกกิง นำอนุพันธุ์โครโมนที่แสดงค่าพลังงานการจับกันกับพลาสเมบซิน II ได้ดีและมีฤทธิ์ในการยับยั้ง เอชไอวี-1โปรทีเอสที่ดี (ฤทธิ์ยับยั้งมากกว่า 70%) มาประเมินความสามารถในการออกฤทธิ์ต้านมาลาเรียกับเชื้อ พลาสโมเดียม ฟาลซิปารัม (สายพันธุ์ K1) ด้วยวิธี microculture radioisotope พบว่าโครโมน 35 เป็นสารที่มีฤทธิ์ ดีที่สุด โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 0.95 ไมโครโมลาร์ ในขณะที่ primaquine และ tafenoquine มีค่า IC50 เท่ากับ 2.41 ± 0.10 และ 1.95 ± 0.06 ไมโครโมลาร์ ตามลำดับ ผลจากการศึกษาด๊อกกิงได้ทำการออกแบบและสังเคราะห์ อนุพันธ์โครโมนกลุ่มใหม่เพื่อใช้เป็นสารยับยั้งพลาสเมบซิน II วิธีการสังเคราะห์แบ่งออกเป็นสองส่วนหลัก ส่วน แรก คือ การสังเคราะห์โครงสร้างหลักของโครโมนเตรียมโดยปฏิกิริยา Baker-Venkataraman rearrangement และตามด้วยการปิดวงโดยมีกรดแก่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา วิธีการนี้เป็นวิธีที่เหมาะสมและประหยัดค่าใช้จ่ายในการ สังเคราะห์โครงสร้างหลักของโครโมน ส่วนที่สอง คือ ทำการปฏิกิริยาเอสเทอริฟิเคชัน ที่ตำแหน่ง 6 และ 7 ของ โครโมน เพื่อให้ได้อนุพันธุ์โครโมนที่ได้ออกแบบไว้ สารประกอบที่สังเคราะห์ขึ้นใหม่นำไปประเมินทางชีวภาพ สำหรับการออกฤทธิ์ต้านมาลาเรีย พบว่าสารที่ออกแบบขึ้นใหม่ไม่มีฤทธิ์ต้านเชื้อพลาสโมเดียม ฟาลซิปารัม
Description
Pharmaceutical Chemistry and Phytochemistry (Mahidol University 2012)
Degree Name
Master of Science
Degree Level
Master's degree
Degree Department
Faculty of Pharmacy
Degree Discipline
Pharmaceutical Chemistry and Phytochemistry
Degree Grantor(s)
Mahidol University