NS-Proceeding Document

Permanent URI for this collectionhttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/84

Browse

Recent Submissions

Now showing 1 - 20 of 22
  • Thumbnail Image
    ItemOpen Access
    LNIC (Lupus nephritis infection control) โมบายแอปพลิเคชันต้านการติดเชื้อในผู้ป่วยโรคไตอักเสบลูปัส
    (2564) สิริกาญจน์ หาญรบ; ศิริเพ็ญ พงษ์ไพเชฐ; ธนิษฐา สมัย; Sirikarn Hanrop; Siripen Pongpalchet; Thanistha Samai; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์
    โรคไตอักเสบลูปัสมีผลกระทบกับผู้ป่วยอย่างมาก ทั้งทางร่างกาย จิตใจ และเศรษฐกิจจุดมุ่งหมายในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ คือ ทำให้ผู้ป่วย ดำรงชีวิตในระยะสงบให้ยาวนานที่สุด โดยการลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่ทำให้ ผู้ป่วยมีโรคกำเริบ เช่น การส่งเสริมพฤติกรรมการจัดการตนเอง ลดปัจจัยเสี่ยง ที่สำคัญ ได้แก่ การติดเชื้อ ความเครียด และแสงแดด การติดเชื้อเป็นสาเหตุ หลักของการกำเริบในผู้ป่วยโรคไตอักเสบ การติดเชื้อสามารถเกิดขึ้นได้ง่าย และรุนแรงกว่ากลุ่มโรคอื่นๆ สาเหตุเกิดได้จากทั้งระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยที่ ผิดปกติ ผลข้างเคียงจากยากดภูมิคุ้มกัน และพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม โครงการนี้จึงมีจุดประสงค์ในการพัฒนาโมบายแอพลิเคชั่นเป็นภาษาไทยที่ไม่ ซ้ำซ้อนง่ายต่อการใช้งาน เพื่อให้ตอบสนองปัญหาของผู้ป่วยที่เกี่ยวกับการ ป้องกันการติดเชื้อในผู้ป่วยไตอักเสบลูปัสออนไลน์ ให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึง ความรู้มีแนวทางการฝึกทักษะ และได้รับกำลังใจ
  • Thumbnail Image
    ItemOpen Access
    Mom-Mate: คู่หู คู่คิด เพื่อนสนิทคุณแม่
    (2564) กรกนก เกื้อสกุล; ชนิตา ตัณฑเจริญรัตน์; ปิยาภรณ์ ล่าฟ้าเริงรณ; Kornkanok Kuesakul; Chanita Tantacharoenrat; Piyaporn Lahfahroengron; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์
    การตั้งครรภ์เป็นช่วงเวลาที่เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายประการทั้ง ด้านร่างกาย จิตใจ และบทบาทการเป็นมารดา การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ส่งผลให้สตรีตั้งครรภ์มีความวิตกกังวลและต้องการข้อมูลเพื่อนำไปใช้ในการ ส่งเสริมสุขภาพของตนเอง การแสวงหาข้อมูลสุขภาพช่วยให้สตรีตั้งครรภ์มี ความรู้ด้านสุขภาพเพื่อใช้ในการตัดสินใจทางสุขภาพ มีพฤติกรรมสุขภาพที่ เหมาะสม และมีศักยภาพในการดูแลตนเองได้มากขึ้น นำไปสู่ผลลัพธ์ที่ดีของ การตั้งครรภ์ ข้อมูลสุขภาพบนอินเตอร์เน็ตเป็นแหล่งข้อมูลที่ได้รับความนิยม เป็นอย่างมาก เนื่องจากเข้าถึงได้ง่ายและรวดเร็ว แต่ข้อมูลที่อยู่บน อินเตอร์เน็ตนั้นมีความหลากหลาย อาจไม่ได้มาจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ และขัดแย้งกับข้อมูลที่ได้รับจากบุคลากรสุขภาพ อาจทำให้สตรีตั้งครรภ์ได้รับ ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องครบถ้วน จึงได้พัฒนานวัตกรรมโมบายแอปพลิเคชัน “Mom-mate คู่หู คู่คิด เพื่อนสนิทคุณแม่” เพื่อตอบสนองพฤติกรรมการ แสวงหาข้อมูลสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์และผลลัพธ์ที่ดีของการตั้งครรภ์ ภายหลังทดลองใช้งานพบว่า ผู้ใช้งานมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดร้อย ละ 81.8
  • Thumbnail Image
    ItemOpen Access
    การบันทึกข้อมูลงานซ่อมบำรุงประจำวันด้วย Google calendar
    (2564) โกวิทย์ ยอดแก้ว; จิตรสุนทร อ่อนน่วม; อัฐพล แก้วบุตร; สถาพร คล้ายสุบรรณ; ไตรภพ เนียมสุภาพ; สหภาพ เซ่งทอง; Kowit Yoedkaew; Jitsoontorn Onnoum; Attpon Keawboot; Sathaphon Klaysuban; Traipop Niamsupap; Sahapap Sangthong; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์
    หน่วยซ่อมบำรุงของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้รับผิดชอบดูแลในการดำเนินงานซ่อมวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ในคณะฯ ให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอจากเดิมเมื่อมีอุปกรณ์เสียหายผู้รับผิดชอบของหน่วยงานนั้นต้องเขียนใบส่งซ่อม และหน่วยซ่อมบำรุงจะบันทึกข้อมูลในกระดาน เพื่อนำไปใช้เป็นหลักฐานและติดตามการทำงานส่งซ่อม และนำข้อมูลการส่งซ่อม บันทึกลงในคอมพิวเตอร์อีกครั้งทำให้เกิดความซ้ำซ้อนในการทำงานข้อมูลเกิดความล่าช้าส่งผลให้มีระยะเวลาการส่งซ่อมยาวนานเมื่อถึงเวลาค้นหาข้อมูลจึงทำให้เสียเวลาในการค้นหาข้อมูลผู้พัฒนาโครงการจึงได้พัฒนาระบบการบันทึกข้อมูลสำหรับการซ่อมบำรุง โดยการนำ Google calendar เข้ามามีส่วนช่วยให้มีระบบการทำงานที่ง่ายขึ้น ทำให้การบันทึกข้อมูลรายละเอียดการทำงานต่างๆ มีความผิดพลาดน้อยลง และยังช่วยให้เราสามารถบริหารกิจกรรมต่าง ๆ ในแต่ละวันได้อย่างแม่นยำ และทำให้การทำงานนั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้นคิดเป็นร้อยละ 100
  • Thumbnail Image
    ItemOpen Access
    ท่องพิพิธภัณฑ์ออนไลน์...ด้วยปลายนิ้วในสถานการณ์ Covid-19
    (2564) อัญชลี เพลินมาลัย; ปริชาติ แก้วสำราญ; Anchalee Plernmalai; Parichart Kaewsumran; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์
    จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา-19 (Covid-19) ท าให้มีการควบคุมจำนวนการรวมตัว การเดินทางข้ามพื้นที่ และกำหนดระยะเวลาเปิด-ปิดของสถานที่ ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของพิพิธภัณฑ์การพยาบาลไทยของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นอย่างมากจึงได้จัดทำโครงการเพื่อพัฒนาแนวทางการสื่อสารและการนำชมออนไลน์ของพิพิธภัณฑ์การพยาบาลไทยในสถานการณ์ Covid-19 และเพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์ของพิพิธภัณฑ์ให้มีผู้ติดตามที่หลากหลายกลุ่มเพิ่มขึ้น โดยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลต่างๆ ที่เราใช้เป็นประจำในปัจจุบันมาปรับและประยุกต์การใช้งานให้เข้ากับสถานการณ์ ทำให้เข้าถึงกลุ่มผู้สนใจเข้าชมพิพิธภัณฑ์หรือข้อมูลข่าวสารประวัติการพยาบาลไทยได้ทราบข้อมูลง่ายขึ้น และสามารถขยายกลุ่มเป้าหมายในการรับชมพิพิธภัณฑ์ได้หลากหลายกลุ่มเพิ่มขึ้น ซึ่งจากเดิมได้มุ่งเป้าไปเพียงแค่นักศึกษาพยาบาล และบุคลากรวิชาชีพการพยาบาลจากผลการดำเนินการ พบว่า ผู้เข้าชมที่มาจากทุกกลุ่มอาชีพมีความพึงพอใจ ต่อการเข้าชมพิพิธภัณฑ์ออนไลน์ ร้อยละ 85 และจำนวนผู้ติดตามช่องทางประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ ของพิพิธภัณฑ์มากขึ้น ร้อยละ 90
  • Thumbnail Image
    ItemOpen Access
    การพัฒนาระบบการเบิกจ่ายค่าตอบแทนนักศึกษาที่ปฏิบัติงานให้คณะพยาบาลศาสตร์นอกเวลา
    (2564) สมใจ ละครศรี; ชัญญา แสงจันทร์; ปริณดา สันติสุขวันต์; อุราภรณ์ จ้อยจินดา; เวหา เกษมสุข; ธิราวรรณ เชื้อตาเล็ง; Chanya Sangchan; Parinda Santisukhawanta; Uraporn Joyjinda; Weha Kasemsuk; Thirawan Chuetaleng; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์
    งานพัฒนานักศึกษาจัดกิจกรรมการสนับสนุนทุนการศึกษาผ่านการปฏิบัติงานให้คณะพยาบาลศาสตร์นอกเวลา ซึ่งประกอบด้วย 3 กิจกรรมย่อยอย่างต่อเนื่องทุกเดือนตลอด 1 ปีงบประมาณ จากการดำเนินงานที่ผ่านมานักศึกษาได้รับเงินค่าตอบแทนหลังการปฏิบัติงาน 2-3 เดือน จึงไม่ทันต่อความจำเป็นในการนำมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน เนื่องจากนักศึกษาเขียนเอกสารการเบิกจ่ายไม่ครบถ้วนไม่ถูกต้องเอกสารการเบิกจ่ายกระจัดกระจายการส่งเอกสารล่าช้า และใช้เวลามากในการแก้ไขและรวบรวมเอกสาร งานพัฒนานักศึกษาวิเคราะห์หาสาเหตุ ปรับปรุง พัฒนาระบบ มีแนวทางในการดำเนินงาน ดังนี้ 1) ประชุมนักศึกษา 2) สร้างไลน์กลุ่ม 3) คัดเลือกตัวแทนนักศึกษาเพื่อประสานงาน ติดตาม ตรวจสอบเอกสาร 4) จัดทำแฟ้ม 3 แฟ้มสำหรับ 3 กิจกรรม ภายในแฟ้มประกอบด้วย คู่มือการเขียนเอกสารเบิกจ่าย เอกสารตารางเซ็นชื่อและลงเวลาปฏิบัติงานแยกซองเป็นรายบุคคลอย่างชัดเจน 5) ขออนุมัติยืมเงินทดรองจ่าย ผลการดำเนินงานพบว่านักศึกษาได้รับเงินค่าตอบแทนตามเวลาที่กำหนด ร้อยละ 100 หลักฐานการเบิกจ่ายผิดพลาดลดลง ร้อยละ 100 ระยะเวลาในการรวบรวมหลักฐานการเบิกจ่ายลดลง ร้อยละ 100 และนักศึกษาพึงพอใจต่อการดำเนินการ ร้อยละ 83.4
  • Thumbnail Image
    ItemOpen Access
    การบริหารจัดการระบบงานสารบรรณของงานห้องสมุด
    (2564) ธารริน คงฤทธิ์; ศิริเพ็ญ เดโชสว่าง; ตะวัน ละม้ายแข; Thanrin Kongrit; Siripen Dechosawang; Tawan Lamaykhae; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. สำนักงานการศึกษา (งานห้องสมุด)
    งานห้องสมุดคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิด ให้บริการห้องสมุดทั้ง 3 วิทยาเขต ได้แก่ บางกอกน้อย ศาลายา และบางขุน นนท์ ซึ่งภาระงานหลักงานสารบรรณของงานห้องสมุดนั้น แต่เดิมมี ผู้รับผิดชอบหลัก 1 คน แต่ปัจจุบันได้รับมอบหมายจำนวนผู้ปฏิบัติงานมากขึ้น จึงทำให้ขาดการจัดระบบการบริหารงานสารบรรณที่ดี การดำเนินงานเกิด ความซ้าซ้อน ล่าช้า งานห้องสมุดจึงได้จัดทำโครงการครั้งนี้ขึ้น โดยนำร่อง เรื่องการจัดระบบการใช้งานของทะเบียนคุมออกเลขที่หนังสือ ซึ่งจากเดิมนั้น เป็นสมุดบันทึก 1 เล่ม มีผู้ปฏิบัติงานหลักเป็นผู้รับผิดชอบ เมื่อผู้ปฏิบัติงานมี จำนวน 2 คนขึ้นไป ใช้สมุดบันทึกร่วมกันทุกวิทยาเขต มีผู้รับผิดชอบหลักเป็น ดูแลสมุดทะเบียนการออกเลขที่หนังสือ และเนื่องด้วยสถานการณ์โรคระบาด Covid-19 นี้ ส่งผลให้ผู้ปฏิบัติงานปฏิบัติตามนโยบายของมหาวิทยาลัย ในการ ปฏิบัติงานที่บ้าน (WFH.) และสำนักงาน เพื่ออำนวย ความสะดวก ลดขั้นตอน การทำงาน ลดทรัพยากร ลดเวลาในการขอเลขที่หนังสือ และตรวจสอบได้ จึง เกิดผลงานนี้ขึ้น โดยนำร่องการบริหารจัดการสมุดออกเลขที่หนังสือในรูปแบบ “ทะเบียนคุมเลขที่หนังสือออนไลน์” ผ่าน Office 365
  • Thumbnail Image
    ItemOpen Access
    การจัดพิธีประกาศการสำเร็จการศึกษาในรูปแบบออนไลน์
    (2564) อรรถพล ศิริพร; วัชรินทร์ ควรหาเวช; ปาลิดา วาศเตชาวุฒิ; บุลากร บัวหลวง; ขวัญใจ เนียมพิทักษ์; Attapon Siriporn; Vatcharin Kounhavad; Palida Wasteshawut; Bulakorn Bualuang; Khwanjai Niempituk; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์
    พิธีประกาศการสำเร็จการศึกษาเป็นกิจกรรมที่สร้างความภาคภูมิใจ ให้แก่ผู้สำเร็จการศึกษา ทำให้เกิดความรัก ความผูกพันระหว่างครู-ศิษย์ เพื่อน ร่วมรุ่น และรุ่นพี่-รุ่นน้องในสถาบันการศึกษา แต่เนื่องจากสถานการณ์การ แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ส่งผลให้ไม่สามารถจัด กิจกรรมที่มีผู้เข้าร่วมมากกว่า 50 คนภายในมหาวิทยาลัยมหิดล ทั้งในพื้นที่ ศาลายา และบางกอกน้อยได้ คณะพยาบาลศาสตร์ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของพิธีประกาศการ สำเร็จการศึกษา รวมถึงปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) จึงได้ปรับกระบวนการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศได้ร่วมมือกับงานบริการการศึกษา และงานบริการ วิชาการ ในการวิเคราะห์และวางแผนเพื่อการจัดเตรียมอุปกรณ์และสื่อ วิดีทัศน์ต่าง ๆ เพื่อจัดพิธีการประกาศการสำเร็จการศึกษาในรูปแบบออนไลน์ สร้างความภาคภูมิใจให้แก่ผู้สำเร็จการศึกษา ก่อให้เกิดความรักและสาย สัมพันธ์ที่ดีงามระหว่างสถาบันการศึกษา ครูและศิษย์ ทั้งยังเปิดโอกาสให้ บุคคลในครอบครัว รุ่นพี่รุ่นน้อง และเพื่อนร่วมงาน ได้มีโอกาสร่วมแสดงความ ยินดีในความสำเร็จนี้ผ่านช่องทางออนไลน์ได้อีกด้วย
  • Thumbnail Image
    ItemOpen Access
    E-Requirement Students Forms for New Situations
    (2564) วงศ์วรรธน์ บุญวัฒน์; กฤศรามณ ฮวดศรี; สุชลิตา ยืนนาน; Wongwat Boonyawat; Krissaramon Haudsri; Suchalita Yeunnan; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์
    E-Requirement Students Forms For New Situation เป็นการ พัฒนากระบวนการให้บริการด้านการขอเอกสารรับรองต่างๆ ของงานบริการ การศึกษาด้วยระบบออนไลน์จากที่ใดก็ได้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบ การให้บริการการขอใบคำร้องในการออกเอกสารรับรองต่างๆ ของงานบริการ การศึกษาผ่านระบบออนไลน์ ลดขั้นตอน และระยะเวลาการให้บริการการยื่น คำร้องของนักศึกษา ซึ่งจากเดิมนักศึกษาจะต้องเดินทางมาติดต่อขอรับบริการ ที่สำนักงานการศึกษา งานบริการการศึกษา One Stop Services คณะ พยาบาลศาสตร์ ศาลายา เปลี่ยนเป็นการกรอกข้อมูลออนไลน์ เมื่อกรอกเสร็จ เรียบร้อยแล้ว ระบบจะแปลงข้อมูลเป็นไฟล์ใบคำร้อง (สกุล Pdf) อัตโนมัติเข้า Email นักศึกษา, เจ้าหน้าที่การศึกษาที่เกี่ยวข้อง และอาจารย์ที่ปรึกษาโดย อัตโนมัติ ซึ่งระบบดังกล่าวเป็นการประยุกต์ใช้โปรแกรมร่วมกันระหว่าง Google Form, Google Slide, และส่วนเสริม Auto Crat จะช่วยอำนวย ความสะดวกให้กับนักศึกษาเป็นอย่างมาก
  • Thumbnail Image
    ItemOpen Access
    พัฒนารูปแบบการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ของสำนักงานบัณฑิตศึกษา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
    (2564) กาญจนา คงวารี; สุรีย์รัตน์ ดีสั้น; บุลากร บัวหลวง; Kanjana Kongvaree; Sureerat Deesaw; Bulakorn Bualuang; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์
    สำนักงานบัณฑิตศึกษา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มี หน้าที่สนับสนุนด้านการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษาแก่นักศึกษา และ อาจารย์ โดยมีกระบวนการทำงานตั้งแต่ก่อนรับเข้าศึกษาเข้ามาในหลักสูตร จนกระทั่งสำเร็จการศึกษา จึงเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่หลักในการประสานงาน ระหว่างนักศึกษาอาจารย์ และบุคลากรกับบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล รวมถึงหน่วยงานอื่นๆ ทั้งภายใน และภายนอก เพื่อ สนับสนุนการดำเนินการด้านการศึกษาตามแผนยุทธศาสตร์ พันธกิจ และ วิสัยทัศน์ของคณะพยาบาลศาสตร์ ดังนั้น การสื่อสารและประชาสัมพันธ์ของสำนักงานบัณฑิตศึกษา จึง นับเป็นภารกิจหนึ่งที่มีความสำคัญ เพื่อให้เกิดการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ และทันเหตุการณ์ สำหรับการเรียนของนักศึกษา ผู้จัดทำโครงการจึงมีความต้องการพัฒนา รูปแบบการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ของสำนักงานฯ กับนักศึกษาระดับ บัณฑิตศึกษา ให้ดำเนินงานอย่างเป็นขั้นตอน และมีประสิทธิภาพ กล่าวคือ นักศึกษาได้รับข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน มีความถูกต้อง ชัดเจน รวดเร็ว ทัน เหตุการณ์ สามารถส่งข้อมูลหรือโต้ตอบ และติดต่อสอบถามได้ ทำให้ได้รับ การชี้แจงข้อมูลต่างๆ อย่างรวดเร็ว มีช่องทางการสื่อสารที่หลากหลาย สอด รับกับฐานวิถีชีวิตใหม่ (new normal) ของผู้คนในสังคมยุคดิจิทัล
  • Thumbnail Image
    ItemOpen Access
    โครงการ Smart Work Smart Time from Anywhere
    (2564) สิริลักษณ์ แซ่โล้ว; รัตนศิริ เจริญสุข; พัฒนะ ผ่องศรี; อริยา ธัญญพืช; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์
    ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVID-19) ทำ ให้การบันทึกเวลาเข้า-ออกงานและบันทึกภาระงานของบุคลากรที่ทำงานที่ บ้าน (Work Form Home) มีความจำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นเครื่องมือใน การกำกับการดำเนินงาน ทำให้เห็นเป้าหมายของการทำงานในแต่ละวันที่ ชัดเจนขึ้น จากที่ผ่านมาคณะพยาบาลศาสตร์ ได้ให้บุคลากรใช้การบันทึกเวลา เข้าออกด้วย google document และส่งภาระงานรายบุคคลทาง e-mail ซึ่ง พบข้อมูลไม่ถูกต้อง ไม่ครบถ้วน และไม่สามารถเชื่อมโยงและนำไปใช้ในงาน อื่น ๆ ได้ งานทรัพยากรบุคคลร่วมกับงานเทคโนโลยีสารสนเทศจึงได้ร่วมกัน ปรับเปลี่ยนวิถีการลงเวลาการปฏิบัติงานของบุคลากร ให้สามารถใช้ได้ทุกที่ ทุกเวลา เข้าถึงสะดวก โดยผ่านแอพพลิเคชั่นบนมือถือของแต่ละบุคคล ทำให้ คณะพยาบาลศาสตร์ มีข้อมูลการบันทึกเวลาปฏิบัติงานของบุคลากรและ เป้าหมายในการทำงานของแต่ละวันของบุคลากร นำไปสู่การวางแผนการ ดำเนินงานและการตัดสินใจในการบริหารงานในพันธกิจที่สำคัญของคณะพยาบาลศาสตร์
  • Thumbnail Image
    ItemOpen Access
    การพัฒนาระบบฐานข้อมูลศิษย์เก่าระดับบัณฑิตศึกษา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
    (2564) สุกัญญา กิจจาสุนทร; ขวัญใจ เนียมพิทักษ์; เสาวณี หม่าตระกูล; พัฒนะ ผ่องศรี; Sukanya Kitjasoonthorn; Khwanjai Niempituk; Saowanee Mahtragul; Patana Pongsri; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์
    การพัฒนาระบบฐานข้อมูลศิษย์เก่าระดับบัณฑิตศึกษา คณะ พยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาปรับ กระบวนการทำงานแบบเดิม โดยใช้ Google Form, Excel และใช้โปรแกรม ASP (Active Server Pages) ในการพัฒนาระบบฐานข้อมูลครอบคลุมทั้งใน ด้านข้อมูลนำเข้า การประมวลผล และการแสดงผล ผลลัพธ์คือ เพื่อลด ขั้นตอนการทำงาน จากเดิม 4 ขั้นตอน เหลือ 1 ขั้นตอน ลดระยะเวลาสืบค้น ข้อมูล ลดทรัพยากร ข้อมูลมีความถูกต้อง ชัดเจน ครบถ้วน เป็นปัจจุบัน ร้อย ละ 100 และผู้ใช้ระบบมีความพึงพอใจในระดับดี ร้อยละ 90 นอกจากนี้ผู้ที่ สามารถเข้าถึงข้อมูลต้องเป็นผู้ที่ได้รับมอบหมาย โดยมี username และ password ในการเข้าถึงข้อมูล ซึ่งช่วยรักษาความปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคล ของศิษย์เก่าได้ดี ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 (PDPA : Personal Data Protection Act, B.E. 2562 (2019) ในอนาคต สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับหลักสูตรอื่นๆ ของคณะฯ และสามารถใช้ข้อมูล ในการประชาสัมพันธ์ หรือกิจกรรมข่าวสารต่างๆ ของคณะฯ และ มหาวิทยาลัย นอกจากนี้ข้อมูลศิษย์เก่าใช้อ้างอิงในการตัดสินใจของผู้บริหาร ระดับคณะ และมหาวิทยาลัย
  • Thumbnail Image
    ItemOpen Access
    พัฒนารูปแบบการจัดเก็บข้อมูล KPI Online ตามเกณฑ์ต่างๆ ของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (NSMU KPI Online)
    (2564) กณพ คำสุข; นภัสสร ลาภณรงค์ชัย; ดารานิตย์ กิ่งวัน; มุยรี ดีรอบ; กัลยา จิตรอรุณไสว; กมลทิพย์ ดีรอบ; วริษา หาเรือนธรรม; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์
    การพัฒนารูปแบบการจัดเก็บข้อมูล KPI Online ตามเกณฑ์ต่างๆ ของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (NSMU KPI Online) จัดทำขึ้น เพื่อลดความซ้ำซ้อนของการขอข้อมูลตัวชี้วัดจากหน่วยงานอื่นเพื่อให้ได้ข้อมูล ตัวชี้วัดที่ถูกต้องและครบถ้วนครอบคลุมเกณฑ์ ในฐานข้อมูลรูปแบบออนไลน์ (NSMU KPI Online) และสามารถใช้ในการตัดสินใจของผู้บริหาร และ บุคลากรภายใน โดยเป็นการทำงานร่วมกันระหว่าง งานพัฒนาคุณภาพและบริหาร ความเสี่ยง และงานนโยบายและแผนฯ กระบวนการเริ่มต้นจากการพิจารณา ตัวชี้วัดที่มีความซ้ำซ้อนของทั้ง 2 หน่วยงาน สามารถลดจำนวนตัวชี้วัดจาก ของเดิม 335 ตัวชี้วัด เป็น 144 ตัวชี้วัด และเป็นฐานข้อมูลออนไลน์เดียวที่ รวบรวมตัวชี้วัดที่ใช้ในเกณฑ์ต่างๆ ได้แก่ EdPEx /TQA, CHE QA Online3D, สภาการพยาบาล, AUN-QA, แผนยุทธศาสตร์ของคณะพยาบาลศาสตร์, PA ส่วนงาน, สงป. อีกทั้งยังเป็นการทำให้ได้ข้อมูลตัวชี้วัดที่เป็นปัจจุบัน สามารถ นำไปใช้ในการตัดสินใจ การเทียบเคียงข้อมูลกับคู่แข่ง ส่งผลให้คณะฯ มีการดำเนินงานที่บรรลุวิสัยทัศน์ในการเป็นสถาบันการศึกษาทางการพยาบาลชั้นนำในระดับชาติและนานาชาติ
  • Thumbnail Image
    ItemOpen Access
    การศึกษาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดทางการพยาบาลในประเทศไทย
    (2564) สุรางค์ ศิโรโรตม์สกุล; ยุพิน ยังสวัสดิ์; นิภาพร เดชะ; วรรณทิน ยิ่งพัฒนพันธ์; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ห้องสมุดคณะพยาบาลศาสตร์
    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการและความร่วมมือระหว่างห้องสมุดทางการ พยาบาลในประเทศไทย พัฒนาเครือข่ายห้องสมุดทางการพยาบาลแห่งประเทศไทยโดยใช้ LINE Application และ พัฒนาเว็บไซต์ข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์ทางการพยาบาลในลักษณะ Open Access เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ใช้ แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลจากหัวหน้าห้องสมุดของสถาบันการศึกษาทางการพยาบาลของรัฐทั้งหมดจำนวน 40 คน ผลการวิจัยพบว่า ได้รับแบบสอบถามคืนจำนวน 36 ชุด (ร้อยละ 90.00) หัวหน้าห้องสมุดจำนวน 31 แห่ง (ร้อยละ 77.50) เข้าร่วมกลุ่มเครือข่ายห้องสมุดทางการพยาบาลแห่งประเทศไทย รูปแบบของกิจกรรมความร่วมมือ ที่หัวหน้าห้องสมุดส่วนใหญ่ต้องการมากที่สุด ร้อยละ 91.67 คือ การพัฒนาฐานข้อมูลที่ให้บริการออนไลน์ในลักษณะ Open Access หัวข้อที่ต้องการให้ปรากฎในฐานข้อมูลมากที่สุด ร้อยละ 88.89 คือ ข้อมูลสิ่งพิมพ์และฐานข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์ทั้งที่ห้องสมุดแต่ละแห่งจัดซื้อและแบบ Open Access กิจกรรมความร่วมมือระหว่างห้องสมุด ประกอบด้วย การแบ่งปันข้อมูลสิ่งพิมพ์และฐานข้อมูล และการพัฒนาเว็บไซต์ Thailand Nursing Research & Educational Resources Gateway ผลการวิจัยพบว่า หัวหน้าห้องสมุดมีคะแนนการรับรู้ระดับความร่วมมือ ระหว่างห้องสมุดช่วงก่อนและหลังดำเนินกิจกรรมแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05)
  • Thumbnail Image
    ItemOpen Access
    บริหารจัดการด้วยปฏิทินออนไลน์
    (2561) บุลากร บัวหลวง; ปาลิดา วาศเตชาวุฒิ; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์
    งานเทคโนโลยีสารสนเทศ มีหน้าที่ติดตั้ง ดูแล คอมพิวเตอร์ และโสตทัศนูปกรณ์ ผลิต และเผยแพร่สื่อต่างๆ บันทึกภาพนิ่ง, วีดิทัศน์, การสอนในชั้นเรียน และนำเข้าระบบ e-Learning เพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงาน จึงได้จัดทำปฏิทินตารางสอน และกิจกรรมของคณะฯ เพื่อตรวจสอบวัน เวลา สถานที่ปฏิบัติงาน ช่วงแรกใช้การพิมพ์แบบปฏิทินเปล่าลงในกระดาษ นำมาเขียนด้วยมือเพื่อเป็นต้นฉบับ แล้วทำสำเนาให้ผู้เกี่ยวข้อง ต่อมาถ้ามีการเปลี่ยนแปลง จะต้องนำต้นฉบับนั้นมาแก้แล้วสำเนาให้ผู้เกี่ยวข้องใหม่อีกครั้ง สิ้นเปลืองทรัพยากรและเวลา ข้อมูลมีหลายสำเนาสร้างความสับสน จึงได้ปรับปรุงนำปฏิทินออนไลน์ Google Calendar มาใช้แทน ผู้เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงได้อย่างสะดวก รวดเร็ว สามารถเพิ่มเติม แก้ไขได้ตลอดเวลาจากทุกที่ เป็นข้อมูลชุดเดียวกันที่มีความถูกต้อง ผลจากการเปลี่ยนมาใช้ปฏิทินออนไลน์พบว่า ช่วยลดปริมาณสำเนาที่ต้องส่งให้ผู้เกี่ยวข้อง ทุกครั้งที่มีการแก้ไขปฏิทิน เหลือเพียง 6.66% การปรับแก้ข้มูลทำได้สะดวก สามารถเข้าดู และบริหารจัดการปฏิทินได้ทุกที่ ทุกเวลา จากอุปกรณ์และช่องทางที่หลากหลาย ผู้เกี่ยวข้องทุกคนเข้าถึงข้อมูลชุดเดียวกันที่มีความถูกต้อง ครบถ้วน
  • Thumbnail Image
    ItemOpen Access
    Google Slides Speed Up
    (2561) วัชรินทร์ ควรหาเวช; อรรถพล ศิริพร; Vatcharin Kounhavad; Attapon Siriporn; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์
    ปัจจุบันระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบาทในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในองค์กร โดยประยุกต์ใช้ในงานด้านๆ ทั้งเพื่อบริหารจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบ การสืบค้นข้อมูล หรือแม้กระทั่งการใช้งานด้านการประชาสัมพันธ์Google Slides เป็น Web Application มีหลักการทำงานเช่นเดียวกับ Microsoft PowerPoint สำหรับสร้างสไลด์เพื่อใช้ในการนำเสนอ แต่ Google Slides สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ และจัดเก็บไฟล์หรือทำงานบนระบบ Cloud จึงทำให้สามารถเปิดและแก้ไขไฟล์ผ่าน Laptop, Smartphone ที่สามารถเข้าใช้งานอินเตอร์เน็ตได้ อีกทั้งยังสามารถกำหนดสิทธิ์ผู้เข้าถึงเอกสารได้ กระบวนการการเพิ่มเติม/แก้ไข/ลบ Banner ข่าวประชาสัมพันธ์ผ่านเว็บไซต์ Nurseintranet เดิมจำเป็นต้องแก้ไข Code HTML ที่ประยุกต์กับ Javascript จึงใช้เวลามากในการแก้ไข และจำเป็นต้องแก้ไขผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อ Server คณะพยาบาลศาสตร์ได้เท่านั้น และต้องใช้เจ้าหน้าที่ที่มีความเข้าใจด้านภาษา HTML และไม่มีระบบช่วยจัดการหรือกำหนดสิทธิ์เพื่อให้ทำงานร่วมกันหลายบุคคลได้ คณะผู้จัดทำจึงนำ Google Slides ฝัง embed code บนเว็บไซต์ Nurseintranet เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการประชาสัมพันธ์ข่าวสารของคณะฯ ให้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น
  • Thumbnail Image
    ItemOpen Access
    การประเมินผลออนไลน์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน
    (2561) ตติยา พนมวัน ณ อยุธยา; Tatiya Panomvan Na Ayudhya; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์
    ผลงานการนำเสนอครั้งนี้เป็นการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ (แบบฟอร์มออนไลน์) เข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยในการลดขั้นตอนและระยะเวลาในการทำงาน อำนวยความสะดวกให้กับนักศึกษาให้ง่ายต่อการเข้าถึงการประเมินด้วยแบบสอบถามออนไลน์ และลดการใช้ทรัพยากรที่ไม่จำเป็นจากขั้นตอนการทำงานแบบเดิม พบปัญหาในทางปฏิบัติเรื่องของการเสียเวลาและค่าใช้จ่ายเดินทาง และการรอผลการประเมินของนักศึกษากลับมา ทางหลักสูตรฯ จึงได้นำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (แบบฟอร์มออนไลน์) เข้ามาอำนวยความสะดวกให้กับนักศึกษาและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานหลังจากการใช้แบบฟอร์มออนไลน์ พบว่า การทำงานนั้นง่าย สะดวกสบาย รวดเร็วมากยิ่งขึ้น นักศึกษาสามารถเข้าถึงแบบฟอร์มการประเมินออนไลน์ได้ทันที นอกจากช่วยแก้ปัญหาการเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางแล้ว การประเมินผลออนไลน์ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ลดระยะเวลาในการประมวลผลข้อมูล ซึ่งเป็นการช่วยลดขั้นตอนและลดระยะเวลาการทำงานของเจ้าหน้าที่ และที่เห็นได้ชัดคือ ช่วยลดการใช้กระดาษ
  • Thumbnail Image
    ItemOpen Access
    การประทับหมายเลขในใบปะหน้าชุดข้อสอบ การสอบรวบยอด สาขาพยาบาลศาสตร์
    (2561) กฤศรามณ ฮวดศรี; วงศ์วรรธน์ บุญวัฒน์; นันทวรรณ ผ่องมณี; Wongwat Boonyawat; Nantawan Pongmanee; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์
    การสอบรวบยอด สาขาพยาบาลศาสตร์ เป็นการจัดสอบวัดความรู้นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 4 ของคณะพยาบาลศาสตร์และสถาบันสมทบ 8 แห่ง ก่อนการสำเร็จการศึกษาของนักศึกษาในแต่ละปีการศึกษา ประมาณปีการศึกษาละ 1,000 คน โดยนักศึกษาต้องสอบทั้งหมดจำนวน 8 หมวดวิชา จึงเป็นความรับผิดชอบของงานบริการศึกษา คณะพยาบาลศาสตร์ ที่ต้องจัดทำชุดข้อสอบเพื่อใช้ในการสอบดังกล่าว ซึ่งเดิมการประทับหมายเลขในใบปะหน้าชุดข้อสอบ ประมาณ 10,000 ชุด ใช้วิธีการประทับหมายเลขด้วยระบบ Manual ทำให้มีโอกาสผิดพลาดได้สูง และยังใช้เวลาในการประทับหมายเลขในใบปะหน้าชุดข้อสอบค่อนข้างมาก ดังนั้นจึงได้พัฒนาขั้นตอนการประทับหมายเลขในใบปะหน้า โดยนำความรู้ทักษะด้าน Microsoft Office มาใช้ ด้วยวิธีการสร้างไฟล์ใน Microsoft Excel ร่วมกับการใช้คำสั่ง Merge ในโปรแกรม Microsoft Word ในการประทับหมายเลขในใบปะหน้าชุดข้อสอบ ภายหลังการดำเนินการด้วยวิธีดังกล่าวพบว่า1. ระยะเวลาในการปฏิบัติงานลดลง ใช้ระยะเวลาการปฏิบัติงานลดลงจากเดิม 90 นาที เป็น 60 นาที คิดเป็นร้อยละ 66.67 และหลังการ ดำเนินการครั้งที่ 2 ลดลงจาก 60 นาที เป็น 30 นาที คิดเป็นร้อยละ 50.00 2. การใช้ทรัพยากรบุคคลในการปฏิบัติงาน ลดลงจากเดิม 7 คน เป็น 4 คน คิดเป็นร้อยละ 57.14 3. ข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นระหว่างปฏิบัติงาน ลดลงจากเดิม 7 ครั้ง เป็น 3 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 42.86
  • Thumbnail Image
    ItemOpen Access
    ความร่วมมือระหว่างประเทศส่งผลอย่างไรต่อค่าอ้างอิงของงานวิจัยบนฐานข้อมูล SCOPUS ?
    (2561) สุทธิศักดิ์ ศรีสวัสดิ์; Sutthisak Srisawad; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์
    การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานที่เป็นพันธกิจของงานส่งเสริมและพัฒนางานวิจัย คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล และสนับสนุนยุทธศาสตร์ด้านการวิจัยในด้าน/ความร่วมมือระหว่างประเทศในด้านการวิจัย ศึกษาแนวทางในการเพิ่มศักยภาพด้านการพัฒนางานวิจัยเพื่อตีพิมพ์บทความวิจัยในระดับนานาชาติบนฐานข้อมูล Scopus และศึกษาแนวทางการเพิ่มค่าอ้างอิง (Citation Index) ของหน่วยงานให้สูงขึ้น โดยเก็บข้อมูลเป็นงานวิจัยจากคณะพยาบาลศาสตร์ที่ตีพิมพ์บนฐานข้อมูล Scopus ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 – 2558 จำนวน 349 บทความ ผลการศึกษาพบว่า พบว่า งานวิจัยที่มีความร่วมมือในระดับต่างประเทศจะมีค่า SJR ของวารสารที่ตีพิมพ์ค่าอ้างอิงเฉลี่ยต่อปีและค่าอ้างอิงใน 3 ปีแรก สูงกว่า ความร่วมมือเฉพาะภายในประเทศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและความร่วมมือในกลุ่มประเทศที่มีค่า H-Index สูงสุด 10 อันดับแรก จะทำให้แนวโน้มค่าอ้างอิงใน 3 ปีแรกสูงกว่ากลุ่มอื่นๆ ในด้านการศึกษาความสัมพันธ์พบว่า ความร่วมมือในระหว่างประเทศจะส่งผลต่อค่าอ้างอิงเฉลี่ยต่อปีผ่านอิทธิพลทางอ้อมคือคุณภาพของวารสารที่ตีพิมพ์ (SJR) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(Indirect Effect = 0.176) (Zsobel = 3.457; P = 0.0005) ซึ่งผลการศึกษาแสดงให้เห็นถึงประโยชน์ของความร่วมมือด้านการวิจัยระดับต่างประเทศซึ่งถือเป็นหนึ่งในนโยบายที่สำคัญในด้านการพัฒนาศักยภาพในด้านการตีพิมพ์งานวิจัยในระดับนานาชาติของคณะพยาบาลศาสตร์และมหาวิทยาลัยมหิดล
  • Thumbnail Image
    ItemOpen Access
    Team based learning: from paper to paperles
    (2561) ศรินรัตน์ ศรีประสงค์; Sarinrut Sriprason; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์
    การเรียนแบบทีม (Team based learning) เป็นวิธีการเรียนแบบห้องเรียนกลับทางวิธีหนึ่ง ที่เน้นการแก้ปัญหาแบบกลุ่ม วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาการใช้เทคโนโลยีช่วยในกิจกรรมหลักของการเรียน คือ การทดสอบการเตรียมความพร้อมของผู้เรียน (readiness assurance tests) และการให้ข้อมูลย้อนกลับต่อนักศึกษา เพื่อให้บรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ต้องการ การพัฒนาและดำเนินการ ใช้แนวคิด Deming Cycle คือ PDCA ร่วมกับแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ จำนวน 3 รอบ คือ 0) ก่อนการใช้สื่อเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์ ในการจัดการเรียนแบบทีม 1) การใช้ Google form ร่วมกับการใช้กระดาษ และ 2) การใช้Google form ร่วมกับ Quizizz ในนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 3 จำนวนกลุ่มละ 37 - 92 คน วัดผลลัพธ์จากความเป็นไปได้ ความพึงพอใจของนักศึกษา ผลลัพธ์ข้อดีคือสะดวก รวดเร็ว อาจารย์ลดภาระก่อนและหลังการสอน นักศึกษามีความพึงพอใจ ควบคุมเวลาได้ดีข้อเสีย คือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ไม่เพียงพอ internet ช้า นักศึกษายังไม่คุ้นเคยและคิดว่าเป็นการเล่นเกมเพื่อทำคะแนน ดังนั้น การพัฒนาการใช้เทคโนโลยีมาประกอบการสอนทำให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
  • Thumbnail Image
    ItemOpen Access
    Enhanced leadership skills with simulation
    (2561) เบ็ญจมาศ โอฬารรัตน์มณี; กาญจนา ครองธรรมชาติ; สุดาภรณ์ พยัคฆเรือง; สมสิริ รุ่งอมรรัตน์; Benjamat Olanratmanee; Kanjana Krongthammachart; Sudaporn Payakkaraung; Somsiri Rumgamornrat; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์
    ภาวะผู้นำเป็นกระบวนการเสริมสร้างอิทธิพลและใช้อิทธิพลของบุคคลหนึ่งต่อบุคคลอื่น ๆ ให้เกิดการปฏิบัติด้วยความสมัครใจและพึงพอใจ เพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมกัน ภาวะผู้นำสำคัญต่อวิชาชีพ พยาบาลที่ต้องรับมือกับการเปลี่ยนแปลงภาวะสุขภาพประชาชน ผู้นำจะช่วยแก้ไขและจัดการกับปัญหาสุขภาพประชาชนได้ ควรสร้างพยาบาลให้มีภาวะผู้นำตั้งแต่เริ่มเรียนรู้ ในวิชาชีพการจัดการศึกษาวิชาปฏิบัติการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต กำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านภาวะผู้นำโดยให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติบนหอผู้ป่วย แต่สถานการณ์บนหอผู้ป่วยไม่เอื้อต่อการฝึก พบปัญหาว่านักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติทักษะผู้นำน้อยเนื่องจากนักศึกษาต้องอยู่ภายใต้การดูแลของอาจารย์ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องออกแบบการเรียนรู้ให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติภาวะผู้นำการออกแบบการเรียนรู้ภาวะผู้นำยึดหลักของกานเย เน้นด้านความคิดเกี่ยวกับภาวะผู้นำ และเลือกใช้เทคนิก Simulation ให้ผู้เรียนเล่นสถานการณ์ที่มีบทบาท ข้อมูล และกติกาการเล่น สะท้อนความเป็นจริง และมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ทำให้นักศึกษาพยาบาลเกิดการเรียนรู้ภาวะผู้นำภายในตนเอง ช่วยให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์เกี่ยวกับผู้นำและดึงข้อมูลมาแสดงในสถานการณ์จำลอง การคิดวิเคราะห์จะนำไปสู่การแก้ปัญหาและตัดสินใจซึ่งเป็นสมรรถนะที่สำคัญของผู้นำทางการพยาบาล