Browsing by Author "มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์"
Now showing 1 - 20 of 36
- Results Per Page
- Sort Options
Publication Open Access Factors Predicting Health-Related Quality of Life in Patients with Type 2 Diabetes in Myanmar(2018) Mi Khaing Yin Mon; Aurawamon Sriyuktasuth; Chongjit Saneha; อรวมน ศรียุกตศุทธ; จงจิต เสน่หา; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์Purpose: To investigate the predictive power of gender, type of treatment, comorbidity, and social support on health-related quality of life in patients with type 2 diabetes in Myanmar.Design: Correlational predictive study.Methods: A total of 100 patients with type 2 diabetes diagnosed for at least six months and came to follow-up at the Diabetes Clinic, Yangon General Hospital, Myanmar were recruited in the study. The research instruments included demographic data form, the WHO’s Quality of Life Brief questionnaire (WHOQoL-BREF), the Social-Support Questionnaire, and the Charlson Comorbidity Index (CCI). Data were analyzed with descriptive statistics and multiple regression analysis. Main findings: The findings showed that the participants mean age was 52.82 years (SD = 11.86). Overall, the participants had mild comorbidity (X = 1.45, SD = 1.04) and perceived moderate levels of social support (X = 19.31, SD = 5.26) and health-related quality of life (X = 77.92, SD = 11.40). In multiple regression analysis, gender, type of treatment, comorbidity, and social support jointly accounted for 16.2% of the variance in overall health-related quality of life (R2 = .162, F(4,95) = 4.593, p < .001). Social support was the most important predictor of health-related quality of life (β = .298, p = .002), followed by female gender (β = -.211, p = .029).Conclusion and recommendations: Worsen quality of life among type 2 diabetes patients in Myanmar could be predicted by low social support and female gender. Nurses and health care personnel should assess the patients’ needs for support in order to provide them supportive services during clinic visits. It is also important to pay attention to services provided to women with diabetes to optimize their quality of life.Publication Open Access Factors Related to Diabetic Foot Ulcers in Persons with Type 2 Diabetes(2017) Tran Thi Bich; อรพรรณ โตสิงห์; Orapan Thosingha; วิมลรัตน์ ภู่วราวุฒิพานิช; Wimolrat Puwarawuttipanit; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลศัลยศาสตร์Purpose: To investigate the relationship between age, duration of diabetes, HbA1C, co-morbidity, self-efficacy, and diabetic foot ulcer among persons with type 2 diabetes. Design: Descriptive correlational design. Methods: The sample consisted of 136 persons with type 2 diabetes in the outpatient department, at the Bach Mai Hospital, Hanoi, Vietnam. Data were collected using hospital record and a structured questionnaire. The diabetic foot ulcer was assessed using 60 second Diabetic Foot Screen. Spearman, Rho correlation was employed to test the relationship among variables. Main findings: More than half of subjects were female (60.3%) with mean age of 65.3 years. The majority had type 2 diabetes more than 10 years; hypertension was the most common co-morbid disease with 89%. The mean score of self-efficacy was 54.49 (SD = 8.34) while the mean of diabetic foot ulcer score was 6.05 (SD = 3.14). Age, duration of type 2 diabetes, and co-morbidity were significant positively correlated with the diabetic foot ulcer score (rs = .29, rs = .31, rs = .30; p < .05, respectively) while self-efficacy was negatively correlated with the diabetic foot ulcer score (rs = - .42, p < .05). Conclusion and recommendations: Nurses should routinely assess persons with type 2 diabetes using the 60 second Diabetic Foot Screen, control their co-morbid diseases, and promote their self-efficacy. Standard guidelines to take care feet of diabetic persons concerning those related factors should be developed and implemented.Publication Open Access Factors Related to Functional Status among Patients with Ischemic Stroke(2017) Pham Thi Nga; วัลย์ลดา ฉันท์เรืองวณิชย์; Wallada Chanruangvanich; วิมลรัตน์ ภู่วราวุฒิพานิช; Wimolrat Puwarawuttipanit; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลศัลยศาสตร์; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์Purpose: To examine the relationships between age, co-morbidity, stroke severity, and functional status among patients with ischemic stroke. Design: Descriptive correlational design. Methods: The sample was 115 patients with ischemic stroke who were treated at the Thai Binh General Hospital, Vietnam. Data were collected from the patients’ hospital records and interviewed with 3 research instruments: 1) the National Institute of Health Stroke Scale (NIHSS), 2) Co-morbidity index, and 3) the Modified Barthel Activities of Daily Living Index. Spearman’s rho was employed to test the relationship among studied variables. Main findings: The results supported the proposed hypothesis that age, co-morbidity, and stroke severity were negatively related to functional status after two weeks of treatment (rs = - .42, rs = - .35, rs = - .90, p < . 05, respectively). Conclusion and recommendations: Nurses should assess and manage patients’ stroke severity, and try to control their co-morbidities. Standard guidelines should be developed and implemented to promote the transition from stroke illness to an independent functional status.Publication Open Access Factors Related to Quality of Life among Patients with Inflammatory Bowel Disease(2017) Le Thi Thuy; วัลย์ลดา ฉันท์เรืองวณิชย์; Wallada Chanruangvanich; วิมลรัตน์ ภู่วราวุฒิพานิช; Wimolrat Puwarawuttipanit; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลศัลยศาสตร์; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์Purpose: To explore factors related to quality of life (QOL) among patients with Inflammatory Bowel Diseases (IBD). Design: Descriptive correlational study. Methods: The sample was 115 out-patients with IBD in the Gastrointestinal Department and Functional Examinations Department, Bach Mai Hospital, Hanoi, Vietnam. Data were collected using patients’ hospital records and 3 questionnaires: 1) the 36-Item Short Form Health Survey (SF-36) to assess QOL, 2) the Hopkins Symptom Checklist-25 (HSCL-25) to assess anxiety and depression, and 3) the Crohn’s and Colitis Knowledge Score (CCKNOW) to assess IBD-related knowledge. Descriptive statistics and Spearman’s rho were employed to analyze general characteristics and test the relationships among studies variables. Main findings: The findings indicated that anxiety and depression were significantly negative related to QOL of patients with IBD (rs = - .649, p < .05); while BMI and knowledge about disease were significantly positive related to QOL of patients with IBD (rs = .345, rs = .565, p < .05). Conclusion and recommendations: The result revealed that patients with IBD had a below average level of QOL. Anxiety and depression were negatively related to QOL; while BMI and knowledge about disease were positively related to QOL of patients with IBD. Therefore, nurses should develop program to provide the knowledge about disease and decrease anxiety and depression of the patients with IBD in order to promote QOLPublication Open Access Factors Related to Satisfaction of Patients Receiving CT Scan(2017) Do Thi Yen Mai; วัลย์ลดา ฉันท์เรืองวณิชย์; Wallada Chanruangvanich; อรพรรณ โตสิงห์; Orapan Thosingha; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลศัลยศาสตร์; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์Purpose: To explore the relationships between waiting time, anxiety, communication, environmental factors, and satisfaction of patients receiving CT scan. Design: Descriptive correlational design. Methods: Sample was 126 patients receiving CT scan at Bach Mai Hospital, Hanoi, Vietnam. Data were collected using 4 questionnaires: 1) the Hamilton Anxiety Rating Scale (HAM-A), 2) the communication questionnaire, 3) the environmental questionnaire, and 4) the satisfaction questionnaire. Spearman’s rho was employed to test the relationships among studied variables. Main findings: The result illustrated that anxiety was negatively related to satisfaction (rs = - .48, p < .05). Communication and environment were positively related to satisfaction (rs = .46, .34, p < .05, respectively). Nevertheless, waiting time was not significantly related to satisfaction (p > .05). Conclusion and recommendations: Nurses should assess anxiety level of patients while they were waiting for CT scan and provide nursing care to reduce anxiety appropriately. In addition, communication skills should be concerned for heath care team as well as improved environment to ensure satisfaction of patients using services in the radiology department.Publication Open Access Relationships between Lung Function, Dyspnea Experience, Social Support, and Quality of Life in Patients with Chronic Obstructive Pulmonary Disease(2017) Le Thi Trang; วิมลรัตน์ ภู่วราวุฒิพานิช; Wimolrat Puwanawuttipanit; วัลย์ลดา ฉันท์เรืองวณิชย์; Wallada Chanruangvanich; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลศัลยศาสตร์Purpose: To identify the relationships between lung function (FEV1), dyspnea experience, social support, and quality of life (QOL) in patients with chronic obstructive pulmonary disease (COPD). Design: Descriptive correlational design. Methods: The sample composed of 115 participants including males and females aged 18 years and older with COPD who were treated at Thanh Hoa General Hospital in Thanh Hoa City, Vietnam. Data were collected using the patients’ hospital records, lung function test, and 3 questionnaires: 1) the dyspnea-12 scale, 2) the Multidimensional Scale of Perceived Social Support (MSPSS), 3) the Clinical COPD Questionnaire (CCQ) to measure QOL. Descriptive statistics and Spearman’s Rho Correlation were used to analyze the data. Main findings: The findings revealed that dyspnea experience was negatively related to QOL (rs = - .587, p < .05), lung function (FEV1) was positively related to QOL (rs = .336, p < .05), while the social support was not correlated with QOL (p > .05). Conclusion and recommendations: The researcher recommended that nurses should promote QOL of COPD patients by developing an intervention program to prevent dyspnea and increase lung function.Publication Open Access Relationships between Self-efficacy, Depression, Anxiety and Quality of Life among Patients with Chronic Obstructive Pulmonary Disease(2017) Pham Thi Thanh Phuong; วิมลรัตน์ ภู่วราวุฒิพานิช; Wimolrat Puwarawuttipanit; วัลย์ลดา ฉันท์เรืองวณิชย์; Wallada Chanruangvanich; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลศัลยศาสตร์; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์Purpose: To examine the relationships between self-efficacy, depression, anxiety, and quality of life (QOL) in patients with Chronic Obstructive Pulmonary Disease (COPD). Design: Descriptive correlational design. Methods: Sample was 115 COPD patients who were treated at Hai Duong General Hospital, Hai Duong City, Vietnam. Data were collected with 5 questionnaires including demographic data, COPD Self-efficacy Scale (CSES), patient health questionnaire 9 (PHQ-9) to measure depression, generalized anxiety disorder 7-item (GAD-7), and a clinical COPD questionnaire (CCQ) to measure quality of life. Data were analyzed using descriptive statistics and Spearman’s Rho correlation. Main findings: The findings revealed self-efficacy was positively correlated with quality of life (rs = .586, p < .05). Depression and anxiety were negatively correlated quality of life (rs = - .279, and - .506, p < .05). Conclusion and recommendations: The results showed that self-efficacy significantly increased QOL, but depression and anxiety significantly reduced QOL among COPD patients. Therefore, nurses should consider to create pulmonary rehabilitation program using these variables to improve QOL in COPD patients.Publication Open Access การประยุกต์ใช้หลักฐานเชิงประจักษ์เพื่อป้องกันหลอดเลือดดำอุดกั้นในผู้ป่วยอายุรกรรม-ศัลยกรรม(2011) พรทิพย์ สารีโส; Porntip Sareeso; เกศรินทร์ อุทริยะประสิทธ์; Ketsarin Utriyaprasit; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลศัลยศาสตร์หลอดเลือดดำอุดกั้น หมายถึง กระบวนการอักเสบที่เกิดขึ้นภายในผนังหลอดเลือดดำส่วนลึกทำให้มีการอุดตันจากลิ่มเลือด มีสาเหตุมาจาก 1) การหยุดนิ่งของเลือดดำ 2) ผนังภายในหลอดเลือดดำได้รับอันตรายและ 3) มีการเปลี่ยนแปลงปัจจัยในการแข็งตัวของเลือดซึ่งพบได้บ่อยในผู้ป่วยอายุรกรรม-ศัลยกรรมที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เนื่องจากกลุ่มผู้ป่วยดังกล่าวมีองค์ประกอบของการเกิดหลอดเลือดดำอุดกั้นทั้ง 3 ประการร่วมกัน หลอดเลือดดำอุดกั้นเป็นภาวะแทรกซ้อนจากการถูกจำกัดการเคลื่อนไหวทำให้ผู้ป่วยต้องอยู่ในโรงพยาบาลนานขึ้นและอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตจากการหลุดของลิ่มเลือดไปอุดที่หลอดเลือดดำของปอด ดังนั้น การประเมิน การป้องกันภาวะแทรกซ้อนและการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์นับเป็นบทบาทที่สำคัญยิ่งของพยาบาล แนวปฏิบัติการพยาบาลที่พัฒนาขึ้นในรายงานฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันหลอดเลือดดำอุดกั้น โดยรวบรวมจาการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์เมื่อนำไปใช้พบว่าสามารถปฏิบัติได้ง่าย พยาบาลมีความความมั่นใจและพึงพอใจในการปฏิบัติพยาบาลและเป็นการเพิ่มคุณภาพในการดูแลผู้ป่วยให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นPublication Open Access ความร่วมมือในการรับประทานยาวาร์ฟาริน และปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้ป่วยภาวะหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะชนิดหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว(2562) วราภรณ์ พานิชปฐม; อรวมน ศรียุกตศุทธ; ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ; ฉัตรกนก ทุมวิภาต; Varaporn Panichpathom; Aurawamon Sriyuktasuth; Doungrut Wattanakitkrileart; Chatkanok Dumavibhat; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. ศูนย์โรคหัวใจสมเด็จพระบรมราชินีฯวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาระดับความร่วมมือในการรับประทานยาวาร์ฟาริน และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความร่วมมือในการรับประทานยาวาร์ฟารินในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะชนิดหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว รูปแบบการวิจัย: การศึกษาความสัมพันธ์เชิงทำนาย วิธีดำเนินการวิจัย: การวิจัยครั้งนี้ศึกษาที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในประเทศไทย เก็บข้อมูลในผู้ป่วยภาวะหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะชนิดหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วที่ได้รับยาวาร์ฟารินจำนวน 120 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความร่วมมือในการรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด ดัชนีชี้วัดความซับซ้อนของแผนการใช้ยา แบบสอบถามความรู้เท่าทันทางสุขภาพ แบบสอบถามความเชื่อเกี่ยวกับการใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด ฉบับภาษาไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา สหสัมพันธ์แบบลำดับที่ของสเปียร์แมน และสถิติถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย: ผู้เข้าร่วมการวิจัยทุกรายมีความร่วมมือในการรับประทานยาวาร์ฟารินอยู่ในระดับสูง (gif.latex?{\bar{X} = 5.76, SD = .25) แต่มีเพียง 45.8% ที่มีค่าไอเอนอาร์ (INR) อยู่ในช่วงที่เหมาะสม ความซับซ้อนของแผนการใช้ยาวาร์ฟาริน ความรู้เท่าทันทางสุขภาพ การรับรู้ประโยชน์และการรับรู้อุปสรรคในการรับประทานยาวาร์ฟารินสามารถร่วมกันทำนายความร่วมมือในการรับประทานยาวาร์ฟารินได้ ร้อยละ 14 (R2 = .140, F(4,115) = 4.664, p = .002) และพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีการรับรู้อุปสรรคในการรับประทานยาวาร์ฟารินน้อย มีความร่วมมือในการรับประทานยาวาร์ฟารินสูง (β = -.285, p = .002) สรุปและข้อเสนอแนะ: ถึงแม้ว่าผู้เข้าร่วมการวิจัยทุกคนมีความร่วมมือในการรับประทานยาวาร์ฟารินแต่ยังคงมีความเสี่ยงต่อความผันแปรของค่า INR บุคลากรสุขภาพควรให้ความสนใจในการลดอุปสรรคของการรับประทานยาวาร์ฟาริน เพื่อเพิ่มความร่วมมือในการรับประทานยาและคงค่าไอเอนอาร์ (INR) ให้อยู่ในช่วงการรักษาPublication Open Access บทบาทพยาบาลกับผู้ป่วยปอดอุดกั้นเรื้อรัง(2011) พรรณิภา สืบสุข; Pannipa Suebsuk; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเป็นภาวะที่ระบบทางเดินหายใจมีการอุดกั้นของทางเดินหายใจอย่างถาวร โดยสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการสูบบุหรี่ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงภายในหลอดลมหรือในเนื้อปอดทำให้หลอดลมตีบแคบลงการดำเนินของโรคจะค่อยๆ เลวลงโดยไม่กลับคืนสู่สภาพปกติผู้ป่วยมีอาการ ไอ หายใจลำบาก หอบเหนื่อย มีเสมหะ และอาจมีอาการของโรคกำเริบหรือมีภาวะแทรกซ้อนซึ่งทำให้ผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลบ่อยครั้งส่งผลกระทบต่อระบบสาธารณสุขและมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นในการสูญเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมาก การรักษาและการป้องกันเป็นแนวทางปฏิบัติที่ต้องกระทำควบคู่กัน พยาบาลมีบทบาทเป็นผู้ช่วยเหลือผู้ป่วยให้ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติ ตัวที่ถูกต้องแนะนำการปรับรูปแบบการดำเนินชีวิต เช่น การงดสูบบุหรี่ การออกกำลังกายและการพักผ่อนอย่างเพียงพอ นอกจากนี้พยาบาลยังมี บทบาทเป็นผู้บริหารจัดการในการวางแผนและดำเนินการช่วยเหลือผู้ป่วยและเป็นผู้ร่วมทีมสุขภาพในการดูแลผู้ป่วย รวมทั้งเฝ้าระวังเพื่อป้องกันการกำเริบของโรคการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดและสมรรถภาพทางกาย ตลอดจนการส่งเสริมให้ผู้ป่วยเห็นคุณค่าในตนเองการสนับสนุนของครอบครัว เพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วย พยาบาลจะเป็นผู้ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวและส่งเสริมให้ผู้ป่วยดำเนินกิจวัตรประจำวันด้วยตนเองได้อย่างมีความสุขPublication Open Access บทบาทและสมรรถนะของอาจารย์พยาบาลที่มีการปฏิบัติพยาบาลสัมพันธ์กับบทบาทการพยาบาลขั้นสูงสาขาการพยาบาลอายุรศาสตร์ - ศัลยศาสตร์(2558) ธนิษฐา สมัย; Thanistha Samai; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์อาจารย์พยาบาล มีบทบาทรับผิดชอบหลักด้านการสอนและคุมการฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษาพยาบาลในหน่วยบริการต่าง ๆ ปัจจุบันการดูแลผู้ป่วยมีความซับซ้อนมากขึ้น อาจารย์พยาบาลจึงต้องมีการปฏิบัติพยาบาลและพัฒนาสมรรถนะทางการพยาบาลเฉพาะทางตามสาขาที่ตนเชี่ยวชาญ เพื่อพัฒนาศักยภาพในการสอนและคุมการฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษาพยาบาลในหน่วยบริการต่างๆ โดยดูแลผู้ป่วย ครอบคลุมถึงครอบครัว/ชุมชน ทั้งนี้ต้องได้รับวุฒิบัตรรับรองจากสภาการพยาบาล ในสาขาที่ตนปฏิบัติและเชี่ยวชาญ การปฎิบัติการพยาบาลขั้นสูงของอาจารย์ มีกิจกรรมที่ปฏิบัติประกอบด้วย การบริการพยาบาลที่ให้โดยตรงแก่ผู้ใช้บริการกลุ่มเป้าหมาย/กลุ่มเฉพาะโรคที่มีปัญหาซับซ้อน ซึ่งต้องอาศัยทักษะการพยาบาลขั้นสูง โดยการบูรณาการบทบาทนักปฏิบัติ ผู้สอน นักวิจัย นักบริหาร และเป็นที่ปรึกษาให้กับผู้ร่วมงานในการพัฒนาความรู้และทักษะงานเชิงวิชาชีพ ตลอดจนติดตามประเมินคุณภาพและจัดการผลลัพธ์ โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงประเมินผล เพื่อแสดงออกอย่างชัดเจนถึงความเป็นนักวิชาการในคลินิก แนวคิดของการปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงของอาจารย์จึงเป็นการบูรณาการการบริการ การวิจัยและการศึกษา เพื่อการพัฒนาความเป็นเลิศของวิชาชีพการพยาบาล ในประเทศไทย อาจารย์พยาบาลที่ได้รับวุฒิบัตรการปฏิบัติพยาบาลขั้นสูงในสาขาการพยาบาลอายุรศาสตร์ - ศัลยศาสตร์นั้นต้องมีการปฏิบัติพยาบาลตามขอบเขตและสมรรถนะหลักเกี่ยวกับผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงในสาขาดังกล่าวตามที่สภาการพยาบาลกำหนดไว้ ทั้งในด้านการดูแลประสานงาน การสอน การให้คำปรึกษา การใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ และการจัดการผลลัพธ์โดยบทบาทที่สำคัญของอาจารย์ในการปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงจะต้องสามารถตอบสนองปัญหาและความต้องการของผู้รับบริการทางอายุรศาสตร์ - ศัลยศาสตร์ในกลุ่มเป้าหมาย/กลุ่มเฉพาะโรคที่มีปัญหาซับซ้อนได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ซึ่งการปฏิบัติบทบาทการพยาบาลนั้นต้องอยู่บนพื้นฐานของการใช้ความรู้และความเชี่ยวชาญในการประเมินและวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้น ตลอดจนแก้ปัญหาและสร้างความรู้จากการปฏิบัติได้Publication Open Access ประสบการณ์การมีอาการนอนไม่หลับกลวิธีการจัดการกับอาการนอนไม่หลับ และคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง(2560) ประภาพรรณ สุคนธจิตต์; Prapapan Sukhonthachit; ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ; Doungrut Wattanakitkrileart; คนึงนิจ พงศ์ถาวรกมล; Kanaungnit Pongthavornkamol; เจริญ ชูโชติถาวร; Charoen Chuchottaworn; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์; จังหวัดนนทบุรี. สถาบันทรวงอกวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสบการณ์การมีอาการนอนไม่หลับ กลวิธีการจัดการกับอาการนอนไม่หลับ คุณภาพ ชีวิตผู้ป่วยปอดอุดกั้นเรื้อรังศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์การมีอาการนอนไม่หลับประสิทธิผลของการ จัดการกับอาการนอนไม่หลับ และคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยปอดอุดกั้นเรื้อรัง รูปแบบการวิจัย: ศึกษาความสัมพันธ์เชิงพรรณนา วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 126 ราย เป็นผู้ป่วยที่มารับการรักษาที่คลินิกโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังโรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินอาการนอนไม่หลับ แบบสัมภาษณ์วิธีการจัดการกับอาการนอนไม่หลับ และแบบประเมินคุณภาพชีวิต (SF-12) เวอร์ชั่น 2 มีค่าสัมประสิทธิ์ แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .85, .80 และ .72 ตามลำดับ วิเคราะห์โดยใช้สถิติพรรณนา และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ โดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัย: พบว่าจากการคัดกรองประสบการณ์การมีอาการนอนไม่หลับเบื้องต้น กลุ่มตัวอย่างทุกคนมีประสบการณ์อาการนอนไม่หลับอย่างน้อย 1 อาการขึ้นไป กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 50 มีอาการนอนไม่หลับระดับเล็กน้อย กลวิธีการจัดการกับอาการนอนไม่หลับที่ปฏิบัติมากที่สุด คือ จัดห้องให้มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ส่วนกลวิธีการจัดการ กับอาการนอนไม่หลับที่ช่วยให้นอนหลับได้เพียงพอมากที่สุด คือ ออกกำลังกายในช่วงเช้าหรือเย็น คุณภาพชีวิตโดยรวมและคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพกายพบว่า อยู่ในระดับไม่ดี (X = 45.82, SD = 5.56, X = 38.64, SD = 9.48 ตามลำดับ) ประสบการณ์การมีอาการนอนไม่หลับมีความสัมพันธ์ทางลบกับคุณภาพชีวิตอย่างมีนัยสำคัญ (r = - .195, p < .05) และประสิทธิผลของการจัดการกับอาการนอนไม่หลับมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .151, p > .05) สรุปและข้อเสนอแนะ: จากผลการวิจัยครั้งนี้ พยาบาลควรประเมินอาการนอนไม่หลับของผู้ป่วย และวางแผนให้ ข้อมูลจัดการกับอาการนอนไม่หลับ เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยปอดอุดกั้นเรื้อรังให้ดีขึ้นPublication Open Access ประสบการณ์การมีอาการอ่อนล้ากลวิธีการจัดการกับอาการและภาวะการทำหน้าที่ในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง(2559) อรุรินทร์ กิตติสุขตระกูล; Arurin Kittisuktarkul; ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ; Doungrut Wattanakitkrileart; คนึงนิจ พงศ์ถาวรกมล; Kanaungnit Pongthavornkamol; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษา 1) ประสบการณ์การมีอาการอ่อนล้า กลวิธีการจัดการกับอาการ และภาวะการทำหน้าที่ 2) ความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์การมีอาการอ่อนล้าและภาวะการทำหน้าที่ และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างผลของการจัดการอาการอ่อนล้าและภาวะการทำหน้าที่ในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง รูปแบบการวิจัย: การศึกษาความสัมพันธ์เชิงบรรยาย วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังจำนวน 88 คนที่เข้ารับการรักษาในคลินิกโรคระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรสาคร เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ประกอบด้วย 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบประเมินประสบการณ์การมีอาการอ่อนล้า 3) แบบประเมินวิธีการจัดการกับอาการอ่อนล้าและ ผลจากการจัดการกับอาการอ่อนล้า และ 4) แบบประเมินการทำหน้าที่ของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัย: ประสบการณ์การมีอาการอ่อนล้าโดยรวมอยู่ในระดับเล็กน้อย (M = 3.92, SD = 1.75) กลวิธีการจัดการกับอาการอ่อนล้าที่กลุ่มตัวอย่างเลือกปฏิบัติและมีประสิทธิพลมากที่สุด ได้แก่ งีบหลับ หรือนอนหลับช่วงสั้นๆ คะแนนภาวะการทำหน้าที่โดยรวมอยู่ในระดับปานกลางค่อนข้างสูง (M = 3.08, SD = .65) ประสบการณ์อาการอ่อนล้ามีความสัมพันธ์เชิงลบกับภาวะการทำหน้าที่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .45, p < .05) แต่ผลของการจัดการอาการอ่อนล้ากับภาวะการทำหน้าที่ไม่มีความสัมพันธ์กัน (r = .16, p > .05) สรุปและข้อเสนอแนะ: พยาบาลควรตระหนักถึงอาการอ่อนล้าและช่วยเหลือให้ผู้ป่วยจัดการกับอาการอย่างเหมาะสม เพื่อส่งเสริมภาวะการทำหน้าที่ในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังPublication Open Access ประสิทธิผลของโปรแกรมการอบรมความรู้และทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเองต่อความเชื่อด้านสุขภาพและการตรวจเต้านมด้วยตนเองของอาสาสมัครสาธารณสุขสตรีในชุมชน(2554) สิริรัตน์ ฉัตรชัยสุชา; Sirirat Chatchaisucha; คนึงนิจ พงศ์ถาวรกมล; Kanaungnit Pongthavornkamol; กุลชลี พิมพา; Kunchalee Pimpa; สุพัตรา พรสุขสว่าง; Supattra Pornsuksawang; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลรากฐาน; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์; โรงพยาบาลศิริราช. ศูนย์ถันยรักษ์; สํานักอนามัยกรุงเทพมหานคร. ศูนย์บริการสาธารณสุข 29วัตุถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการอบรมความรู้และทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเองต่อความเชื่อด้านสุขภาพของกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขสตรีในชุมชน รูปแบบการวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง วิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขสตรีในชุมชนเขตกรุงเทพมหานคร จํานวน 30 คน อายุระหว่าง 41-67 ปี โดยการสุ่มแบบสะดวก เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบมีการวัดซ้ำ ผลการวิจัย: พบว่าความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านมก่อนและหลังการอบรมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ทั้ง 3 ระยะ คือ หลังการอบรมทันที หลัง 6 เดือนและ 1 ปี (p < .01) พฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ หลังการอบรม 1 ปี (p < .01) พฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเอง (BSE) มีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสําคัญกับความรู้เรื่องโรคฯ (r = 0.300, p < .01) และมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความเชื่อด้านการรับรู้ประโยชน์ฯ (r = 0.145, p < .01) การรับรู้อุปสรรคฯ (r = 0.193, p < .01) และการรับรู้สมรรถนะฯ (r = 0.225, P < .01) สรุปและข้อเสนอแนะ: ผลจากการวิจัยแสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการอบรมความรู้เรื่องการตรวจเต้านมด้วยตนเองมีประโยชน์และสามารถนําไปใช้ในการส่งเสริมความรู้และพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเอง จึงควรจัดโครงการอบรมความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านม และการฝึกทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเองแก่สตรีกลุ่มเสี่ยงในชุมชนอื่นๆ ต่อไปPublication Open Access ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมความสามารถในการแก้ไขปัญหาต่อความสม่ำเสมอในการรับประทานยาในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2(2011) นงลักษณ์ อิงคมณี; Nongluck Ingkamanee; ศศิมา กุสุมา ณ อยุธยา; Sasima Kusuma Na Ayuthya; วิมลรัตน์ ภู่วราวุฒิพานิช; Wimolrat Puwarawuttipanit; ธวัชชัย พีรพัฒน์ดิษฐ์; Thavatchai Peerapatdit; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมความสามารถในการแก้ไขปัญหาต่อความสม่ำเสมอในการรับประทานยาในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 รูปแบบการวิจัย : การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อน หลังการทดลอง และแบบเปรียบเทียบสองกลุ่ม วิธีดำเนินการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ได้รับการรักษาที่คลินิกเบาหวานแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลเสนา ที่เข้าร่วมการทดลองสุทธิ 51 คน เป็นตัวอย่างกลุ่มควบคุม 25 คน กลุ่มทดลอง 26 คน กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ คือ ได้รับความรู้จากพยาบาลประจำคลินิกเป็นรายบุคคลเกี่ยวกับเบาหวานและการปฏิบัติตนเมื่อเป็นโรคเบาหวาน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมความสามารถในการแก้ไขปัญหาในการรับประทานยาระยะเวลา 12 สัปดาห์ ประกอบด้วยการให้ความรู้รายบุคคล การให้ความรู้รายกลุ่ม การฝึกทักษะ การแก้ไขปัญหาในการรับประทานยา การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการรับประทานยาและวิธีการแก้ไขปัญหาที่พบในชีวิตประจำวันได้รับคู่มือการแก้ไขปัญหาเมื่อใช้ยาเบาหวานชนิดกินและแบบบันทึกการรับประทานยาขณะอยู่บ้าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทดสอบค่าทีและการทดสอบวิลคอกซัน ผลการวิจัย : 1. ผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมความสามารถในการแก้ไขปัญหาในการรับประทานยามีความสม่ำเสมอในการรับประทานยาสูงกว่าก่อนได้รับ โปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .001) 2. ผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมความสามารถในการแก้ไขปัญหาในการรับประทานยามีความสม่ำเสมอในการรับประทานยาสูงกว่าผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่ได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติ (p< .05) สรุปและข้อเสนอแนะ : พยาบาลและบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่คลินิกเบาหวานสามารถนำโปรแกรมส่งเสริมความสามารถในการแก้ไขปัญหาในการรับประทานยาไปใช้ในระบบการดูแลผู้ป่วยที่คลินิกเบาหวาน เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยเบาหวานตัดสินใจแก้ปัญหาที่พบในชีวิตประจำวันโดยใช้เหตุผลส่งผลให้รับ ประทานยาสม่ำเสมอเพิ่มขึ้นPublication Open Access ประสิทธิผลของโมบายแอพพลิเคชั่นต่อความร่วมมือในการรับประทานยาในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง(2560) สุธิดา นครเรียบ; Suthida Nakhornriab; ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ; Doungrut Wattanakitkrileart; วิชชุดา เจริญกิจการ; Vishuda Charoenkitkarn; สงคราม โชติกอนุชิต; Songkram Chotikanuchit; วชิรศักดิ์ วานิชชา; Vajirasak Vanijja; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล; มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. คณะเทคโนโลยีสารสนเทศวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโมบายแอพพลิเคชั่นต่อความร่วมมือในการรับประทานยา ระหว่างผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ได้รับโมบายแอพพลิเคชั่น และผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลตามปกติ รูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงทดลอง วิธีดําเนินการวิจัย : การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโมบายแอพพลิเคชั่นต่อความร่วมมือในการรับประทานยาในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง อายุ 18 ปีขึ้นไป จํานวน 56 คน ที่รับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองด้วยการสุ่มแบบบล็อก กลุ่มละ 28 คน กลุ่มทดลองได้รับการดูแลแบบปกติ ได้รับคู่มือการรับประทานยาสําหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง และได้รับโมบายแอพพลิเคชั่นติดตั้งบนสมาร์ทโฟน ประกอบด้วย การเตือนรับประทานยาและนัดหมาย ฐานข้อมูลยา อาการของโรคหลอดเลือดสมอง ระบบบันทึกการสถิติรับประทานยา และการเชื่อมต่อข้อมูลกับผู้วิจัย กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลแบบปกติ และได้รับคู่มือการรับประทานยาสําหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ใช้ระยะเวลาการทดลอง 4 สัปดาห์ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบสอบถามความร่วมมือในการรับประทานยา มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .81 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติแมน-วิทนีย์ ยู ผลการวิจัย : ภายหลังการทดลองคะแนนความร่วมมือในการรับประทานยาของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ได้รับโมบายแอพพลิเคชั่นมากกว่ากลุ่มที่ควบคุมอย่างมีนัยสําาคัญทางสถิติ (p < .05) และพบว่าผู้ป่วยในกลุ่มทดลองมีความร่วมมือในการรับประทานยาเพิ่มขึ้นร้อยละ 42.86 สรุปและข้อเสนอแนะ: ผลการศึกษาครั้งนี้ยืนยันถึงประสิทธิผลของโมบายแอพพลิเคชั่นในการเพิ่มความร่วมมือในการรับประทานยาในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ควรมีพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นต่อไปโดยใช้ในระบบปฏิบัติการอื่นๆ เพื่อให้มีความเหมาะสมต่อการนําไปใช้โดยผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมากขึ้นPublication Open Access ปัจจัยทำนายการรู้คิดในผู้ป่วยที่มีภาวะหายใจผิดปกติขณะหลับ(2563) ธัญชนก รูปงาม; วิมลรัตน์ ภู่วราวุฒิพานิช; ศรัณยา โฆสิตะมงคล; พลพร อภิวัฒนเสวี; Thanchanok Roopngam; Wimolrat Puwarawuttipanit; Sarunya Koositamongkol; Polporn Apiwattanasawee; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์; มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช. คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาลวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอำนาจการทำนายของ ระดับความรุนแรงของภาวะหายใจผิดปกติขณะหลับ ดัชนีมวลกาย ระดับแอลบูมินในเลือด และระดับของกิจกรรมทางกายต่อการรู้คิดในผู้ป่วยที่มีภาวะหายใจผิดปกติขณะหลับ รูปแบบการวิจัย: การศึกษาความสัมพันธ์เชิงทำนาย วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่มีภาวะหายใจผิดปกติขณะหลับจำนวน 140 คนที่มารับบริการที่ห้องตรวจโสต ศอ นาสิก คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล โดยกลุ่มตัวอย่างต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไป และมีคะแนนทดสอบระดับความง่วงนอนเอ็บเวิร์ธมากกว่าหรือเท่ากับ 10 เก็บข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูล แบบทดสอบระดับความง่วงนอนจากเอ็บเวิร์ธภาษาไทยฉบับปรับปรุง แบบประเมินขนาดของกิจกรรมทางกาย และแบบประเมินสภาพสมอง MMSE-Thai 2002 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติถดถอยพหุโลจิสติก ผลการวิจัย: ผู้ป่วยที่มีภาวะหายใจผิดปกติขณะหลับที่มีระดับแอลบูมินในเลือดต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ สามารถทำนายโอกาสเกิดภาวะพร่องการรู้คิด (AOR = 11.87, 95%CI = 2.91, 48.35, p < .001) และผู้ป่วยที่มีภาวะหายใจผิดปกติขณะหลับที่มีระดับกิจกรรมทางกายที่ไม่เพียงพอ สามารถทำนายโอกาสเกิดภาวะพร่องการรู้คิด (AOR = 63.84, 95%CI = 16.76, 243.16, p < .001) ซึ่งตัวแปรทั้งสองร่วมกันทำนายภาวะพร่องการรู้คิดได้ร้อยละ 66.8 (Negelkerke R2 = .668) สรุปและข้อเสนอแนะ: ผลการวิจัยพบว่า ระดับแอลบูมินที่ต่ำกว่าเกณฑ์และการมีกิจกรรมทางกายที่ไม่เพียงพอร่วมทำนายการเกิดภาวะบกพร่องทางการรู้คิดในผู้ป่วยที่มีภาวะหายใจผิดปกติขณะหลับอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้น พยาบาลควรติดตามระดับแอลบูมินที่ต่ำ และแนะนำเรื่องการรับประทานอาหารเพื่อเพิ่มระดับแอลบูมิน ส่งเสริมการจัดกิจกรรมทางกายที่เหมาะสมและเพียงพอตามวัย เพื่อลดการเกิดภาวะพร่องการรู้คิดPublication Open Access ปัจจัยทำนายความกดดันทางจิตใจในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง(2555) ลาวัณย์ ตุ่นทอง; Lawan Toontong; ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ; Doungrut Wattanakitkrileart; คนึงนิจ พงศ์ถาวรกมล; Kanaungnit Pongthavornkamol; เจริญ ชูโชติถาวร; Charoen Chuchottaworn; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์; กระทรวงสาธารณสุข. สถาบันทรวงอก. กลุ่มงานอายุรศาสตร์ปอดวัตถุประสงค์ : ความกดดันทางจิตใจเป็นผลมาจากการตอบสนองต่อความเครียดของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังทำให้มuพฤติกรรมทางสังคม อารมณ์ และอาการทางกายที่เปลี่ยนไปจากปกติ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความกดดันทางจิตใจในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังและปัจจัยทำนาย รูปแบบงานวิจัย: การศึกษาความสัมพันธ์เชิงทำนาย วิธีดำเนินงานวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่เข้ารับการตรวจรักษาที่คลินิกโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง สถาบันโรคทรวงอก จังหวัดนนทบุรีจำนวน 107 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความรุนแรงของโรค แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม แบบสอบถามการประเมินสถานการณ์เกี่ยวกับภาวะสุขภาพ แบบสอบถามสุขภาพทั่วไป วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยายและวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคุณแบบเชิงชั้น ผลการวิจัย: พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 90.7 ไม่มีความกดดันทางจิตใจ การประเมินสถานการณ์เกี่ยวกับ ภาวะสุขภาพเป็นสิ่งที่คุกคาม เป็นอันตราย และความรุนแรงของโรค มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความกดดันทางจิตใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติส่วนการประเมินสถานการณ์เกี่ยวกับภาวะสุขภาพว่าเป็นสิ่งที่ท้าทาย และไม่เกี่ยวข้องกับตนเอง รวมทั้งการรับรู้แรงสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางลบกับความกดดันทางจิตใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติตัวแปรทุกตัวร่วมกันทำนายความกดดันทางจิตใจได้ร้อยละ 40 (R2 = .40, p < .01) เมื่อควบคุมตัวแปรอื่นๆ ที่ศึกษาปัจจัยที่สามารถทำนายความกดดันทางจิตใจ ได้แก่ การประเมินสถานการณ์เกี่ยวกับภาวะสุขภาพเป็นอันตรายต่อตนเอง (β = .26, p < .05) และการประเมินสถานการณ์เกี่ยวกับภาวะสุขภาพเป็นสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกับตนเอง (β = - .25, p < .01) สรุปและข้อเสนอแนะ: ควรสนับสนุนให้ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังได้รับแหล่งประโยชน์ที่มีอิทธิพลต่อการลดภาวะความกดดันทางจิตใจด้วยการส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีการประเมินสถานการณ์ที่เหมาะสม มีการปฏิบัติเพื่อลดความรุนแรงของโรคและมีการสนับสนุนด้านข้อมูลที่เหมาะสมและด้วยหลากหลายวิธีแก่ผู้ป่วยPublication Open Access ปัจจัยทำนายความผิดปกติของผลคูณแคลเซียมและฟอสเฟตในผู้ป่วยฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม(2017) สุนันทา สุทธิศักดิ์ภักดี; วิมลรัตน์ ภู่วราวุฒิพานิช; จงจิต เสน่หา; สุชาย ศรีทิพยวรรณ; Sunantha Suttisakphakdee; Wimolrat Puwarawuttipanit; Chongjit Saneha; Suchai Srithippayawan; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. ภาควิชาอายุรศาสตร์วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอำนาจการทำนายของ อายุ โรคร่วม ระดับอัลบูมินในเลือด พฤติกรรมการควบคุมฟอสเฟต ในเลือด ต่อความผิดปกติของผลคูณแคลเซียมและฟอสเฟตในผู้ป่วยฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม รูปแบบการวิจัย: การศึกษาความสัมพันธ์เชิงทำนาย วิธีดำเนินการวิจัย: ผู้ป่วยฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมมูลนิธิโรคไตแห่งประเทศไทย จำนวน 120 คน เก็บรวบรวม ข้อมูลโดยให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามข้อมูล ส่วนบุคคล แบบสอบถามพฤติกรรมการควบคุมฟอสเฟต วิเคราะห์ ข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติเชิงบรรยาย และวิเคราะห์อำนาจการทำนายด้วยสมการถดถอยโลจิสติก ผลการวิจัย : พบว่าพฤติกรรมการควบคุมฟอสเฟตเป็นปัจจัยที่สามารถทำนายความผิด ปกติของค่าผลคูณของ แคลเซียมและฟอสเฟต (odds ratio = .98, 95%CI = .95 - 1.01, p < .05) ระดับอัลบูมินในเลือดสามารถทำนายความ ผิดปกติของผลคูณแคลเซียมและฟอสเฟตในผู้ป่วยฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (odds ratio = .42, 95%CI = .22 - .82, p < .05) และสามารถร่วมทำนายความผิดปกติของผลคูณแคลเซียมและฟอสเฟตได้ร้อยละ 14 (R² = .14, p < .05) สรุปและข้อเสนอแนะ: พฤติกรรมการควบคุมฟอสเฟต และระดับอัลบูมินในเลือดสามารถทำนายความผิดปกติของ ผลคูณแคลเซียมและฟอสเฟตได้ ดังนั้น พยาบาลควรสนับสนุนและส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยให้ปฏิบัติ ได้ถูกต้องเพื่อควบคุมผลคูณของแคลเซียมและฟอสเฟตให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมในผู้ป่วยฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมPublication Open Access ปัจจัยทำนายความสุขของผู้สูงอายุในชุมชนที่มีโรคเรื้อรัง(2561) กันยารัตน์ อุบลวรรณ; อัจฉริยา พ่วงแก้ว; วิยะการ แสงหัวช้าง; กุลิสรา ขุนพินิจ; Kanyarat Ubolwan; Autchariya Poungkaew; Wiyakarn Sanghuachang; Kulisara Khunpinit; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาเพื่อศึกษา ระดับความสุขและปัจจัยทำนายความสุขของผู้สูงอายุ ที่มีโรคเรื้อรังในชุมชน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการ สัมภาษณ์ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ที่มีโรค เรื้อรัง จำานวน 234 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการ คำนวณค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความสุขเท่ากับคนทั่วไป (Mean = 48.59, SD = 6.61) กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 36.80 มีความสุข มากกว่าคนทั่วไป ร้อยละ 43.60 มีความสุขเท่ากับ คนทั่วไป และร้อยละ 19.60 มีความสุขต่ำกว่าคนทั่วไปปัจจัยทำนายความสุขของผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง ได้แก่ ความเพียงพอของรายได้ (p < 0.001) การรับรู้ภาวะ สุขภาพที่ดี (p < 0.001) ความพึงพอใจในความเป็นอยู่ ปัจจุบัน (p < 0.01) และการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม อย่างสม่ำเสมอ (p < 0.05) โดยร่วมทำนายความสุข ได้ร้อยละ 26.6 (Adjusted R2= 0.266, p < 0.001) เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรังในชุมชุนมีความสุข ทีมสุขภาพควรจัดบริการสุขภาพให้ผู้สูงอายุเข้าร่วม กิจกรรมทางสังคมอย่างสม่ำเสมอ ผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง ที่มีรายได้ไม่เพียงพอ มีการรับรู้ภาวะสุขภาพไม่ดี และไม่พึงพอใจในความเป็นอยู่ ควรได้รับการจัดบริการ สุขภาพที่จะส่งเสริมให้ผู้สูงอายุกลุ่มนี้มีความสุขเพิ่มขึ้น