RA-Article

Browse

Recent Submissions

Now showing 1 - 10 of 1076
  • Publication
    ขนาดของ LVOT ในเด็กทารกแรกเกิดที่คลอดก่อนกำหนด
    (2564) อุเทน บุญมี; Uthen Bunmee
    เด็กทารกแรกเกิดที่คลอดก่อนกำหนดเป็นภาวะที่กายวิภาคและสรีรวิทยาของระบบหัวใจและหลอดเลือดในร่างกายยังไม่สมบูรณ์การเทียบขนาดอวัยวะของเด็กคลอดก่อนกำหนดด้วยเกณฑ์ของเด็กที่คลอดครบกำหนดเพื่อวินิจฉัยความผิดปกติจึงอาจมีข้อจำกัดแม้แต่ขนาด Left ventricular out flow tract; LVOT ที่เป็น Echocardiographic parameter สำคัญก็เช่นกัน เพราะการอธิบายความผิดปกติของขนาดของหลอดเลือด และระดับความรุนแรงของรอยโรคบางชนิดจำเป็นต้องใช้ขนาดของ LVOT มาคำนวณ แต่เนื่องจากผลการศึกษาเกี่ยวกับขนาด LVOT ในเด็กคลอดก่อนกำหนดชาวไทยและชาวเอเชียนั้นยังมีไม่หลากหลาย ส่วนใหญ่ใช้ค่า Z score ของประชากรตะวันตกมาใช้อ้างอิงเป็นหลัก จึงเกิดการศึกษาวิจัยนี้ขึ้น โดยอาศัยการทบทวนผลตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจของทารกคลอดก่อนกำหนดชาวไทยทั้งสิ้น 102 ราย อายุไม่เกิน 4 สัปดาห์ เพศชาย ร้อยละ 53.9 เพศหญิงร้อยละ 46.1 ไม่มีพยาธิสภาพชนิดที่ส่งผลต่อโครงสร้างของหัวใจและหลอดเลือด พบว่าเด็กแรกเกิดชาวไทยเพศชายกับเพศหญิงมีขนาด LVOT ไม่แตกต่างกัน แต่ผู้ป่วยที่มีน้ำหนักเฉลี่ยมากกว่า 1,400 กรัม จะมีขนาด LVOT ที่ใหญ่กว่ากลุ่มที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 1,400 กรัม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P value < 0.05) โดยที่ระดับ Z score 0-0.5 กลุ่มที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 1,400 กรัมจะมีขนาด LVOT 5.10 – 5.50 มิลลิเมตร ส่วนกลุ่มน้ำหนัก 1,400 กรัมขึ้นไป จะมีขนาด LVOT 5.50 – 5.70 มิลลิเมตร ในจำนวนนี้มี 60 ราย ที่ถูกติดตามเพื่อเปรียบเทียบขนาด LVOT ในระยะ Patent ductus arteriosus กับระยะ Ductus arteriosus closed แต่ไม่พบความแตกต่างกันของขนาด LVOT ในทั้งสองระยะ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นองค์ความรู้สำคัญที่สนับสนุนและเป็นตัวเลือกให้ผู้ตรวจวัดสามารถเลือกนำค่าปกติไปใช้เทียบแปลผลในเด็กไทยได้สะดวกเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้อีกทาง
  • Publication
    การศึกษาเปรียบเทียบค่าระดับเริ่มได้ยินในคนที่มีการได้ยินปกติ โดยใช้สัญญาณเสียง Pure Tone กับเสียง Warble Tone
    (2567) โสภณวิชญ์ คงศิริสวัสดิ์; รัตตินันท์ ฏิระวณิชย์กุล; อนันต์ ศักดิ์ศรีสุวรรณ; สุนิสา พัฒนวณิชย์กุล; สิริวิมล สุนทรวิภาต; Sophonwit Kongsirisawad; Rattinan Tiravanitchakul; Anan Saksrisuwan; Sunisa Patanawanitkul; Siriwimon Sunthonwiphat
    เสียงบริสุทธิ์ (Pure Tone) เป็นเสียงมาตรฐานที่ใช้ในการตรวจการได้ยินเพื่อวินิจฉัยชนิดและระดับของการสูญเสียการได้ยิน ปัจจุบันเครื่องตรวจการได้ยินมีเสียงต่าง ๆ ให้เลือกเพื่อใช้ในการตรวจ เช่น เสียงที่มีการเปลี่ยนแปลงความถี่ตามเวลา (Warble Tone) เสียงที่มีการเปลี่ยนแปลงความดังเป็นจังหวะ (Pulsed Tone) สัญญาณเสียงดังกล่าวจะช่วยให้ผู้ป่วยฟังเสียงตรวจได้ง่ายมากขึ้นโดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีเสียงดังในหู ถึงแม้ว่ามีหลายการศึกษาที่ผ่านมาเปรียบเทียบค่าระดับเริ่มได้ยินโดยใช้เสียง Pure Tone กับ Warble Tone ผลที่ได้ก็ยังไม่สอดคล้องกัน การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบค่าระดับเริ่มได้ยินเมื่อตรวจโดยใช้เสียงทั้งสอง และกำหนดว่าสามารถใช้ทดแทนกันได้หรือไม่ในคนไทย โดยทำการศึกษาในคนที่มีการได้ยินปกติจำนวน 31 หู อายุ 18-28 ปี ตรวจการได้ยินผ่านการนำเสียงทางอากาศที่ความถี่ 250-8000 Hz วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ Bland-Altman plot พบว่าที่ความถี่ 250, 500, 2000, 4000 และ 8000 Hz มีค่าความแตกต่างของระดับเริ่มได้ยินจากเสียงทั้งสองชนิดทั้งหมดอยู่ในช่วง limits of agreement ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 เมื่อทดสอบด้วยสถิติ Wilcoxon signed rank test มีเพียงความถี่ 3000 Hz มีค่าความต่างของระดับเริ่มได้ยิน 1.29 dB อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตามค่าความต่างของระดับเริ่มได้ยินที่ได้ มีค่าไม่เกิน 5 dB สามารถนำไปใช้ทางคลินิกได้ ภายใต้เงื่อนไขการปรับความดังเพิ่มครั้งละ 5 dB และเสียง Warble Tone มีค่า Frequency-Modulated ที่อัตราความถี่ 5 Hz และมีค่าเบี่ยงเบนอยู่ที่ +5% จากความถี่กลาง สรุปผลการศึกษาครั้งนี้พบว่า สามารถใช้เสียง Warble Tone แทนเสียง Pure Tone ในการปฏิบัติงานในคลินิกได้.
  • Publication
    แนวทางการเขียนบทความสุขภาพเพื่อประชาสัมพันธ์บนเว็บไซต์
    (2567) ชมภูนุช ฉัตรนภารัตน์; Chompunuch Chatnaparat
    การจัดทำบทความเรื่อง "แนวทางการเขียนบทความสุขภาพเพื่อประชาสัมพันธ์บนเว็บไซต์" มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายแนวทางและวิธีการเขียนบทความสุขภาพเพื่อประชาสัมพันธ์บนเว็บไซต์ ในบทความนี้ ผู้นิพนธ์จะกล่าวถึงความหมายของบทความ ประเภทของบทความ ลักษณะเฉพาะของบทความเพื่อการประชาสัมพันธ์บนเว็บไซต์ ขั้นตอนการเขียนบทความ ซึ่งประกอบด้วย การเตรียมเนื้อหาบทความสุขภาพ และกระบวนการประชาสัมพันธ์บทความสุขภาพ พร้อมตัวอย่างการเขียนและบทสรุป เพื่อเป็นแนวทางในการจัดทำบทความสุขภาพที่มีคุณภาพเพื่อเผยแพร่ต่อไป
  • Publication
    ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในทารกเกิดก่อนกำหนดอายุ 4 เดือน
    (2566) สุมาลี ปิงวัง; ทิพวัลย์ ดารามาศ; จริยา วิทยะศุภร; Sumalee Pingwung; Tipawan Daramas; Jariya Wittayasooporn
    การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทำนาย เพื่อศึกษาอำนาจการทำนายของทัศนคติในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ บรรทัดฐานของกลุ่มอ้างอิงในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และการรับรู้สมรรถนะในตนเองในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ต่อากรเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในมารดาทารกเกิดก่อนกำหนดอายุ 4 เดือน กลุ่มตัวอย่างคือมารดาและทารกเกิดก่อนกำหนดที่มาตรวจสุขภาพตามนัดที่แผนกผู้ป่วยนอกกุมารเวชศาสตร์ ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ถึง สิงหาคม 2564 จำนวน 77 ราย เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์คัดเข้า เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจำนวน 5 ชุด ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของมารดาและทารกเกิดก่อนกำหนด แบบสอบถามความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แบบสอบถามทัศนคติเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แบบสอบถามบรรทัดฐานของกลุ่มอ้างอิงในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และแบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะในตนเองในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและสถิติถดถอยโลจิสติก ผลการศึกษาพบว่า ตัวแปรที่สามารถทำนายการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในทารกเกิดก่อนกำหนดอายุ 4 เดือนได้ คือ การรับรู้สมรรถนะในตนเองในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งสามารถอธิบายความผันแปรของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 4 เดือนในทารกเกิดกำหนดได้ร้อยละ 25 ดังนั้น พยาบาลควรให้คำแนะนำและส่งเสริมให้มารดาทารกเกิดก่อนกำหนดมีความเชื่อมั่นในสมรรถนะของตนเองในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพื่อช่วยให้มารดามีความมั่นใจและสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้
  • Publication
    บทบาทพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่ได้รับการติดเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง (Holter monitor) : กรณีศึกษา
    (2567) ณัฐฐิรา ชาญไววิทย์; อุมาวรัทย์ สาริสาย; จันทรา แก้วภักดี; Nattira Chanviavit; Umawarat Sarisai; Jantra Keawpugdee
    ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (cardiac arrhythmia) เป็นอาการที่หัวใจเต้นผิดปกติ คือ ภาวะที่หัวใจมีอัตราการเต้นเร็วหรือช้ากว่าปกติ ไม่เหมาะสมกับสภาพของร่างกายในขณะนั้นซึ่งอาจมีจังหวะการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติร่วมด้วย การตรวจค้นหาความผิดปกติของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะด้วยการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (electrocardiogram: EKG) ซึ่งตรวจได้ง่ายและรวดเร็วที่สุดด้วยขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยาก สามารถให้คำตอบเบื้องต้นได้ แต่สำหรับผู้ที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะเป็นครั้งคราวช่วงระยะเวลาสั้นๆ อาจไม่สามารถตรวจพบได้ในขณะที่มาพบแพทย์จึงมีการนำเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง มาใช้ทำให้สามารถตรวจจับความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจได้มากขึ้น บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เข้าใจบทบาทของพยาบาลในการประเมิน ดูแล และให้การพยาบาลผู้ป่วยที่มีความจำเป็นต้องใช้เครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจต่อเนื่อง 24 ชั่วโมงทั้งก่อน ขณะ และหลังการติดเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง การให้การพยาบาลที่ถูกต้องและเหมาะกับผู้ป่วยในแต่ละราย จะทำให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้องนำมาสู่การวินิจฉัยที่แม่นยำรวดเร็ว
  • Publication
    Factors Related to Sleep Duration and Night Waking in Hospitalized Infants with Cyanotic Congenital Heart Disease
    (2024) Porntiwa Sanpawut; Autchareeya Patoomwan; Jariya Wittayasooporn; พรทิวา สรรพาวุฒิ; อัจฉรียา ปทุมวัน; จริยา วิทิยะศุุภร
    This study aims to describe factors related to sleep duration and night waking in infants aged 6–12 months old with cyanotic congenital heart disease (CCHD) who were admitted to a pediatric cardiology ward at a tertiary hospital between December 2019 and September 2021. Data were obtained using the Demographic Data Record Form, Sleep-related Factors Questionnaires (the severity of heart failure, temperament,and caregiving activity), and the Infants’ Sleep-wake States Record Form. The record forms were assessed using video recording of the infants during 24 hours, and the data were then analyzed using descriptive statistics, the Pearson product-moment correlation coefficient, and Spearman’s rho correlation. The results revealed that most hospitalized infants with CCHD had a mean total sleep duration during the 24 hours of 770.44 minutes. The average number of night waking was 14.26 times/night. According to the correlation analysis, the severity of heart failure did not show a statistically significant correlation with sleep duration or night waking. Temperament was moderately and significantly correlated with sleep duration but not with night waking. Caregiving activities were moderately and significantly correlated with sleep duration and night waking. These results demonstrate that nurses and healthcare professionals should be aware of sleep problems in infants with cyanotic congenital heart disease and plan interventions to manage sleep disturbance to ensure good sleep quality.
  • Publication
    Factors Influencing Self-Concept of Adolescents with Epilepsy
    (2024) Chuthathip Mongkholkham; Autchareeya Patoomwan; Apasri Lusawat; จุฑาทิพย์ มงคลคำ; อัจฉรียา ปทุมวัน; อาภาศรี ลุสวัสดิ์
    This cross-sectional descriptive study was designed to investigate the self-concept of adolescents with epilepsy and its influencing factors of gender, severity of epilepsy, and family functioning on the self-concept of adolescents with epilepsy guided by Bracken’s Self-Concept Model. A total of 82 adolescents with epilepsy, 12-18 years of age,were selected by purposive sampling from pediatric neurology outpatient clinics from three tertiary care medical centers, who had a minimum standard score above 70 on the Peabody Picture Vocabulary Test, Fourth Edition. Participants completed the Demographic Questionnaire, Epilepsy Severity Scale, Piers-Harris Self-Concept Scale,3rd Edition, and General Functioning 12-item Subscale. Neurology clinic charts were reviewed for the type and frequency of seizures, and the number of antiepileptic drugs.The data were analyzed using descriptive statistics and multiple regression. The findings revealed that the participants had an average level of self-concept overall and in most domains. However, they had a low level in two domains of self-concept: happiness and satisfaction, and intellectual and school status. Epilepsy severity and family functioning could co-predict overall self-concept by 7.10 % significantly, while there was no correlation between gender and self-concept. Based on the study findings, nursing implications should screen individuals' self-concept (particularly happiness and satisfaction, intellectual and school status), and emphasize the severity of epilepsy and family functioning to promote adolescents with epilepsy for a positive self-concept.
  • Publication
    Factors Related to Sleep Duration and Night Waking in Hospitalized Infants with Cyanotic Congenital Heart Disease
    (2024) Porntiwa Sanpawut; Autchareeya Patoomwan; Jariya Wittayasooporn; พรทิวา สรรพาวุฒิ; อัจฉรียา ปทุมวัน; จริยา วิทยะศุุภร
    This study aims to describe factors related to sleep duration and night waking in infants aged 6–12 months old with cyanotic congenital heart disease (CCHD) who were admitted to a pediatric cardiology ward at a tertiary hospital between December 2019 and September 2021. Data were obtained using the Demographic Data Record Form, Sleep-related Factors Questionnaires (the severity of heart failure, temperament,and caregiving activity), and the Infants’ Sleep-wake States Record Form. The record forms were assessed using video recording of the infants during 24 hours, and the data were then analyzed using descriptive statistics, the Pearson product-moment correlation coefficient, and Spearman’s rho correlation. The results revealed that most hospitalized infants with CCHD had a mean total sleep duration during the 24 hours of 770.44 minutes. The average number of night waking was 14.26 times/night. According to the correlation analysis, the severity of heart failure did not show a statistically significant correlation with sleep duration or night waking. Temperament was moderately and significantly correlated with sleep duration but not with night waking. Caregiving activities were moderately and significantly correlated with sleep duration and night waking. These results demonstrate that nurses and healthcare professionals should be aware of sleep problems in infants with cyanotic congenital heart disease and plan interventions to manage sleep disturbance to ensure good sleep quality.
  • Publication
    ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้ที่บาดเจ็บไขสันหลัง
    (2566) ดลิน รัตนสุุข; วรางคณา สาริพันธุ์; Dalin Rattanasuk; Warangkana Saripan
    การศึกษาเชิงทำนายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้ที่บาดเจ็บไขสันหลังโดยใช้แบบจำลองPRECEDE-PROCEED เป็นกรอบแนวคิดในการศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือผู้ที่บาดเจ็บไขสันหลังจำนวน150 รายเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม 4 ชุด เพื่อประเมินข้อมูลส่วนบุคคล ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง การสนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมสุขภาพ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือสถิติเชิงพรรณนาสถิติสหสัมพันธ์และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่าความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและการสนับสนุนทางสังคม มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมสุขภาพของผู้ที่บาดเจ็บไขสันหลังอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติแต่อายุและระดับการศึกษาไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของผู้ที่บาดเจ็บไขสันหลัง การสนับสนุนทางสังคมและความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมสุขภาพของผู้ที่บาดเจ็บไขสันหลังได้ร้อยละ 23 โดยที่การสนับสนุนทางสังคมเป็นตัวแปรทำนายที่มีอิทธิพลมากที่สุด จากผลการศึกษานี้พยาบาลควรส่งเสริมให้ผู้ป่วยรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง และส่งเสริมให้ครอบครัวผู้ดูแลร่วมส่งเสริมให้ผู้ป่วยพฤติกรรมสุขภาพที่ดีอย่างต่อเนื่อง
  • Publication
    พฤติกรรมการดูแลตนเองด้านการใช้ยาและปัญหาการใช้ยาในผู้สูงอายุวัยปลายกลุ่มโรคเรื้อรัง
    (2566) สุุรีย์ภรณ์ แสนทวีสุข; พรทิพย์ มาลาธรรม; นุชนาฏ สุุทธิ; Sureeporn Santaweesook; Porntip Malathum; Nuchanad Sutti
    การวิจัยเชิงบรรยายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านการใช้ยาและปัญหาการใช้ยาในผู้สูงอายุวัยปลายกลุ่มโรคเรื้อรัง โดยใช้ทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเร็มเป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 80 ปี ขึ้นไป ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูงและ/หรือโรคเบาหวานในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้รับการคัดเลือกแบบเจาะจง มีกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 107 ราย โดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างเกือบครึ่งหนึ่งใช้บริการและรับยาจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมากกว่าแหล่งบริการอื่น ๆ ส่วนใหญ่ ร้อยละ 82 สามารถบริหารยาได้ด้วยตนเองโดยจดจำลักษณะและสีของเม็ดยา บรรจุภัณฑ์ ชื่อยา และวิธีรับประทานยา และมีวิธีการบริหารยาโดยการอ่านซองยา การเขียนชื่อยา หรือทำสัญลักษณ์ไว้บนหน้าซองยา แต่กลุ่มตัวอย่างเกือบทั้งหมด คือร้อยละ 90 ไม่ได้ตรวจสอบวันหมดอายุของยา กลุ่มตัวอย่างเลือกใช้สถานที่หรืออุปกรณ์แตกต่างกัน ตามที่ใช้ในชีวิตประจำวันในเก็บรักษายา ในด้านการจัดการเมื่อมีคำสั่งแพทย์ให้หยุดใช้ยา กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่นำยาที่ไม่ได้ใช้ไปคืนโรงพยาบาล กลุ่มตัวอย่างประมาณร้อยละ 20 ลืมรับประทานยาและใช้ยาไม่ตรงตามคำสั่งการรักษาทั้งมื้อยาขนาด และชนิดของยาในกลุ่มตัวอย่างที่เคยมีอาการข้างเคียงจากยา น้อยกว่าครึ่งหนึ่งไปพบแพทย์ก่อนนัด ส่วนที่เหลือมักสังเกตอาการผิดปกติของตนเองหากไม่มีอาการ ผิดปกติร้ายแรง มักรอไปพบแพทย์ตามนัดเดิม ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาแนวทางการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองในด้านการใช้ยาที่เหมาะสมและลดอาการไม่พึงประสงค์จากยาในผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรัง